xs
xsm
sm
md
lg

“คำนูณ” จี้ส่งไม้ต่อวุฒิฯ ถกถอด “ชายจืด” ห้ามจุ้นการเมือง 5 ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คำนูณ สิทธิสมาน
“คำนูณ” ทักท้วงที่ประชุมวุฒิฯ หยิบประเด็นถอดถอน “สมชาย” มาเริ่มพิจารณาใหม่ ทั้งที่ ป.ป.ช.ชี้มูลให้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ด้าน กก.ที่ปรึกษา กม.ปธ.วุฒิฯ รับลูกเสนอรายงาน ชี้แม้จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว วุฒิฯ สามารถถอดถอนต่อได้ เพราะเกี่ยวเนื่องโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีด้วย

วันนี้ (25 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมวุฒิสภาสมัญทั่วไปนัดแรก วันนี้ ซึ่งมี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม วาระเรื่องด่วนที่ 6 รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง โดยวาระดังกล่าวบรรจุในวาระตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 โดย น.ส.ทัศนาได้สั่งให้แจกเอกสารสำนวนที่ ป.ป.ช.ชี้มูลแก่ ส.ว. เพื่อศึกษาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนถึงวันประชุมนัดแรก ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาข้อ 115 อย่างไรก็ดี นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ทักท้วงว่า วันนี้ควรจะมาหารือว่าจะดำเนินการต่อหรือหยุดดำเนินการ เพราะนายสมชายพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว “เรื่องนี้ตอนบรรจุวาระครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม ประธานเพียงแจ้งให้รับทราบว่า หยุดดำเนินการเพราะนายสมชายพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งไม่มีใครเอะใจ”

ต่อมาในการประชุมครั้งถัดไป ที่ประชุมวุฒิสภาจึงทักท้วงว่าต้องดำเนินการต่อ เพราะถ้าวุฒิสภามีมติถอดถอน มีโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีด้วย ซึ่งประธานจึงมอบให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจไปศึกษามาจนได้ข้อสรุป ฉะนั้น วันนี้หากแจกเอกสาร หมายความว่าจะต้องดำเนินการต่อไปตามข้อบังคับการประชุมข้อ 117 ที่ประธานต้องนัดประชุมนัดแรกภายใน 20 วัน นับแต่ได้รับรายงานและความเห็นของ ป.ป.ช. เพื่อกำหนดวันแถลงของ ป.ป.ช.และผู้ถูกกล่าวหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการทักท้วง ทำให้ น.ส.ทัศนาสั่งระงับการแจกเอกสารสำนวน และชี้แจงว่า จะให้ที่ประชุมหารือว่าจะดำเนินการในกรณีนี้ต่อไป อย่างไรก็ดีมีกรณีเทียบเคียงคือ กรณีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ ถือครองหุ้นไม่ถูกต้อง ตอนนั้น ป.ป.ช.ชี้มูลและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ปรากฏว่านายวิรุฬลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญจำหน่ายคดี

จากนั้น นายสมัคร เชาวภานันท์ ประธาน กมธ.การยุติธรรมชี้แจงว่า ที่อ้างถึงศาลรัฐธรรมนูญจำหน่ายคดีเป็นคนละเรื่อง เพราะกรณีนั้นเป็นเรื่องฐานะความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่จากการกระทำการต้องห้าม และเข้ามายังวุฒิสภาคนละมาตรา แต่กรณีนี้เป็นไปตามมาตรา 270 หากวุฒิสภามีมติถอดถอน ทำให้สิทธิ์เฉพาะตัวหายไป นั่นคือการห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี

ฉะนั้นวันนี้ควรพิจารณาว่า จะต้องดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาหมวด 6 หรือไม่ ทั้งนี้รายงานของ กมธ. มี 2 แนวทางคือ 1.การพ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่จะดำเนินการถอดถอนไม่เป็นเหตุที่ต้องยุติกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วยการถอดถอน มิฉะนั้นมาตรการการลงโทษจะไร้ผล ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการผลักดันผู้ที่มีพฤติการณ์ ส่อไปในทางมิชอบให้ออกจากระบบ และป้องกันไม่ให้ผู้นั้นกลับเข้ามาอีก 2.เมื่อบุคคลได้พ้นตำแหน่งไปแล้วก่อนที่วุฒิสภาจะมีมติถอดถอน ย่อมทำให้องค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนบุคคลดังกล่าวหมดสิ้นไป เพราะการดำรงตำแหน่งของบุคคลผู้ถูกถอดถอนเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่กฎหมายมุ่งจะบังคับแก่บุคคลนั้น

ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ชี้แจงว่า คณะกรรมการฯ มีความเห็นออกเป็น 2 แนวทาง คือ 1.หากบุคคลผู้ถูกกล่าวหาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ได้พ้นจากตำแหน่งก่อนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะมีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอให้ถอดถอนมีมูลแล้ว ทางวุฒิสภาไม่อาจที่จะดำเนินการเพื่อมีมติถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 274 ต่อไปได้ โดยเหตุที่ตำแหน่งซึ่งเป็นองค์ประกอบและสาระสำคัญในการ ที่จะขอให้วุฒิสภามีมติถอนถอนตามกฎหมายได้หมดสิ้นไป หรือพ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้ว ประกอบกับหากบุคคลผู้ที่ถูกกล่าวหาได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องหยุดปฏิบัติในตำแหน่งนั้นไปโดยปริยาย

2.เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูล และได้ส่งรายงานและเอกสารมายังประธานวุฒิสภา เพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา 273 แล้ว ประธานวุฒิสภาจะต้องจัดให้มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อให้พิจารณาว่าจะถอดถอนบุคคลนั้นออกจากตำแหน่งหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงบุคคลผู้ถูกกล่าวหาจะพ้นจากตำแหน่งแล้วก็ตาม โดยมีเหตุผลคือ 1.แม้บุคคลที่กระทำผิดจะพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่วุฒิสภายังสามารถดำเนินการเพื่อลงโทษถอดถอนได้ ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บัญญัติให้วุฒิสภาต้องยุติกระบวนการการถอดถอนออกจากตำแหน่ง 2. รัฐธรรมนูญมาตรา 274 มีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนอกเหนือจากโทษทางอาญาไว้ 2 กรณี คือ การถอดถอนจากตำแหน่ง และการตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

3.การตีความโดยยึดหลักการดำรงตำแหน่งเป็นหลักจะมีผลทำให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 270-274 ไม่มีผลบังคับใช้ไปโดยปริยาย ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ก็จะหาทางลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการถอดถอนของวุฒิสภา และ 4.ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 57 บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังคงมีอำนาจดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการ นอกจากจะถึงแก่ความตาย ทั้งนี้เพื่อที่จะดำเนินคดีอาญา ดำเนินการทางวินัย หรือขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนเสร็จแล้ว จะต้องส่งเรื่องไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อให้พิจารณาถอดถอน และอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป ดังนั้นแม้ผู้ถูกกล่าวหาไปแล้ว วุฒิสภาก็ยังคงมีอำนาจที่จะต้องพิจารณาลงโทษทางการเมืองหรือการถอดถอนบุคคลนั้นออกจากตำแหน่งออกไปได้

นายไพบูลย์กล่าวว่า ดังนั้นคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาพิจารณาแล้ว มีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 เห็นชอบในความเห็นที่ 2 คือ ให้วุฒิสภามีอำนาจดำเนินการ เพื่อลงมติถอดถอนนายสมชายออกจากตำแหน่ง และมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควร ที่จะได้มีการเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาเป็นผู้พิจารณาเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น น.ส.ทัศนา ได้เปิดให้ที่ประชุมอภิปรายถึงแนวทางการดำเนินการว่า จะสามารถถอดถอนหรือยุติการถอดถอน







กำลังโหลดความคิดเห็น