ASTVผู้จัดการรายวัน- “กอน.”ตอกหน้าพาณิชย์ยืนยันน้ำตาลเพียงพอกางตัวเลขน้ำตาลยังไม่ขึ้นงวดถึง 1.7 ล้านตัน แถมไม่มีนโยบายขึ้นราคา ส่งสัญญาณไม่จัดสรรโควตาพิเศษให้ คลอด4 มาตรการรับมือติดตามผลใน 10 วันหากพบกักตุนพาณิชย์พร้อมออกประกาศบทลงโทษหนัก เตรียมเรียก ผู้ผลิตเพื่อส่งออก 106 รายหารือ 25 ก.พ.นี้แจ้งประกาศนโยบายตัดสิทธิ์ใช้โควตาค. 5 ปีหากพบไม่ใช้สิทธิตามที่ยื่นขอ
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยหลังการประชุมกอน.วานนี้(22ก.พ.) ว่า กอน.ได้หารือถึงปัญหาปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ(โควตาก.) ตึงตัวโดยยืนยันถึงปริมาณโควตาก.ปี 52/53 ที่กำหนดไว้ 2.1 ล้านตันที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำหนดไว้ 1.9 ล้านตันหรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่ม 10.5% รวมถึงยังมีปริมาณน้ำตาลทรายที่ยังไม่ได้ขึ้นงวดรวมกว่า 1.7 ล้านตัน ดังนั้นจึงมีน้ำตาลเพียงพอกับความต้องการและไม่มีนโยบายที่จะปรับขึ้นราคาขายปลีกแต่อย่างใดแม้ว่าราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดโลกจะสูงเฉลี่ย 23-24 บาทต่อกิโลกรัม
สำหรับกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ระบุที่จะขอให้กอน.จัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายโควตาพิเศษประมาณ 5 แสนกระสอบเพื่อนำไปบริหารเองนั้น นายวิฑูรย์ยืนยันว่า กอน.ได้กำหนดมาตรการในการดูแลแล้วยืนยันว่ามีปริมาณน้ำตาลเพียงพอดังนั้นคงจะไม่จำเป็นที่จะต้องจัดสรรให้กระทรวงพาณิชย์แต่อย่างใดและการประชุมครั้งนี้ทางกระทรวงพาณิชย์เองก็ไม่ได้เสนอเรื่องเข้ามาตามที่เสนอข่าว
นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า กอน.ได้หารือและร่วมมือกับทุกส่วนที่จะติดตามแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดมาตรการสำคัญ 4 มาตรการได้แก่ 1. กรมการค้าภายในและสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)จะกำกับดูแลการขึ้นงวด รวมทั้งเข้มงวดป้องกันมิให้มีการกักตุน 2. ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหมและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ติดชายแดนให้ตรวจจับการลักลอบส่งออกน้ำตาลโดยผิดกฏหมาย
3. เตรียมออกประกาศโดยคณะกรรมการน้ำตาลทราย(กนอ.)เร็วๆ นี้ตัดสิทธิ์บริษัทผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่รับสิทธิ์การใช้น้ำตาลทรายโควตาค.(ส่งออก) แต่กลับไม่ใช้สิทธิ์ทั้งปีถึง 70% โดยไม่มีเหตุผลเป็นระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งเดิมกำหนดตัดสิทธิ์เพียง 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นวันที่ 25 ก.พ.นี้จะเชิญผู้ผลิตเพื่อส่งออกที่แจ้งขอใช้สิทธิ์โควตาค.106รายมารับทราบนโยบาย
“ในจำนวน 106 รายที่แจ้งขอใช้สิทธิ์รวม 3.6 แสนตัน ขณะนี้ได้ทำสัญญาที่จะใช้สิทธิ์โควตาค.กับโรงงานแล้วคิดเป็นน้ำตาลทราย 2.4 แสนตัน แต่พบว่ายังไม่มีการทำสัญญา 24 รายคิดเป็นปริมาณน้ำตาล 1.2 แสนกว่าตัน ซึ่งเราคงจะต้องติดตามส่วนนี้เป็นพิเศษว่าได้หันไปใช้โควตาก.หรือไม่”นายประเสริฐกล่าว
4. ขอความร่วมมือโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 แห่งให้ระมัดระวังการจำหน่ายน้ำตาลทรายโควตาก.แก่ผู้ซื้อ ผู้ค้าส่ง และผู้ผลิตสินค้าส่งออกเพื่อลดโอกาสการซื้อไปเก็บสำรอง หรือกักตุน โดยได้มีมาตรการเข้มงวดรถบรรทุกออกจากโรงงานจะต้องระบุชื่อพนักงานขับ เวลา สถานที่การขนย้ายโดยจะไม่ต่อใบอนุญาตการขนย้ายที่กำหนดไว้ 15 วันเว้นแต่จะเกิดเหตุฉุกเฉินเช่น ฝนตกหนักน้ำท่วมเส้นทาง เป็นต้น
นายประเสริฐกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะใช้เวลาติดตามประมาณ 10 วันซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาแต่หากกรณีพบว่ามีการกักตุนกระทรวงพาณิชย์เองก็สามารถจะออกประกาศว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของคณะกรรมการกลางว่าด้วยกฏหมายราคาสินค้าและบริการได้ซึ่งจะมีบทลงโทษคือ จำคุก 5 ปีปรับ 1 แสนบาทหรือทั้งจำและปรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการหารือกอน.ตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาด้านนอกห้องประชุมและหารือกันราว 10 นาทีจึงเดินเข้าไปประชุมใหม่ ซึ่งวงในระบุว่าตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอ ขอน้ำตาลโควตาพิเศษตามที่นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์มีนโยบายจะนำมาบริหารเองหลังรับแจ้งจากหลายจังหวัดขาดแคลนแต่ตัวแทนทั้งชาวไร่และโรงงานไม่ยินยอม
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยหลังการประชุมกอน.วานนี้(22ก.พ.) ว่า กอน.ได้หารือถึงปัญหาปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ(โควตาก.) ตึงตัวโดยยืนยันถึงปริมาณโควตาก.ปี 52/53 ที่กำหนดไว้ 2.1 ล้านตันที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำหนดไว้ 1.9 ล้านตันหรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่ม 10.5% รวมถึงยังมีปริมาณน้ำตาลทรายที่ยังไม่ได้ขึ้นงวดรวมกว่า 1.7 ล้านตัน ดังนั้นจึงมีน้ำตาลเพียงพอกับความต้องการและไม่มีนโยบายที่จะปรับขึ้นราคาขายปลีกแต่อย่างใดแม้ว่าราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดโลกจะสูงเฉลี่ย 23-24 บาทต่อกิโลกรัม
สำหรับกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ระบุที่จะขอให้กอน.จัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายโควตาพิเศษประมาณ 5 แสนกระสอบเพื่อนำไปบริหารเองนั้น นายวิฑูรย์ยืนยันว่า กอน.ได้กำหนดมาตรการในการดูแลแล้วยืนยันว่ามีปริมาณน้ำตาลเพียงพอดังนั้นคงจะไม่จำเป็นที่จะต้องจัดสรรให้กระทรวงพาณิชย์แต่อย่างใดและการประชุมครั้งนี้ทางกระทรวงพาณิชย์เองก็ไม่ได้เสนอเรื่องเข้ามาตามที่เสนอข่าว
นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า กอน.ได้หารือและร่วมมือกับทุกส่วนที่จะติดตามแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดมาตรการสำคัญ 4 มาตรการได้แก่ 1. กรมการค้าภายในและสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)จะกำกับดูแลการขึ้นงวด รวมทั้งเข้มงวดป้องกันมิให้มีการกักตุน 2. ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหมและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ติดชายแดนให้ตรวจจับการลักลอบส่งออกน้ำตาลโดยผิดกฏหมาย
3. เตรียมออกประกาศโดยคณะกรรมการน้ำตาลทราย(กนอ.)เร็วๆ นี้ตัดสิทธิ์บริษัทผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่รับสิทธิ์การใช้น้ำตาลทรายโควตาค.(ส่งออก) แต่กลับไม่ใช้สิทธิ์ทั้งปีถึง 70% โดยไม่มีเหตุผลเป็นระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งเดิมกำหนดตัดสิทธิ์เพียง 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นวันที่ 25 ก.พ.นี้จะเชิญผู้ผลิตเพื่อส่งออกที่แจ้งขอใช้สิทธิ์โควตาค.106รายมารับทราบนโยบาย
“ในจำนวน 106 รายที่แจ้งขอใช้สิทธิ์รวม 3.6 แสนตัน ขณะนี้ได้ทำสัญญาที่จะใช้สิทธิ์โควตาค.กับโรงงานแล้วคิดเป็นน้ำตาลทราย 2.4 แสนตัน แต่พบว่ายังไม่มีการทำสัญญา 24 รายคิดเป็นปริมาณน้ำตาล 1.2 แสนกว่าตัน ซึ่งเราคงจะต้องติดตามส่วนนี้เป็นพิเศษว่าได้หันไปใช้โควตาก.หรือไม่”นายประเสริฐกล่าว
4. ขอความร่วมมือโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 แห่งให้ระมัดระวังการจำหน่ายน้ำตาลทรายโควตาก.แก่ผู้ซื้อ ผู้ค้าส่ง และผู้ผลิตสินค้าส่งออกเพื่อลดโอกาสการซื้อไปเก็บสำรอง หรือกักตุน โดยได้มีมาตรการเข้มงวดรถบรรทุกออกจากโรงงานจะต้องระบุชื่อพนักงานขับ เวลา สถานที่การขนย้ายโดยจะไม่ต่อใบอนุญาตการขนย้ายที่กำหนดไว้ 15 วันเว้นแต่จะเกิดเหตุฉุกเฉินเช่น ฝนตกหนักน้ำท่วมเส้นทาง เป็นต้น
นายประเสริฐกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะใช้เวลาติดตามประมาณ 10 วันซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาแต่หากกรณีพบว่ามีการกักตุนกระทรวงพาณิชย์เองก็สามารถจะออกประกาศว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของคณะกรรมการกลางว่าด้วยกฏหมายราคาสินค้าและบริการได้ซึ่งจะมีบทลงโทษคือ จำคุก 5 ปีปรับ 1 แสนบาทหรือทั้งจำและปรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการหารือกอน.ตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาด้านนอกห้องประชุมและหารือกันราว 10 นาทีจึงเดินเข้าไปประชุมใหม่ ซึ่งวงในระบุว่าตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอ ขอน้ำตาลโควตาพิเศษตามที่นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์มีนโยบายจะนำมาบริหารเองหลังรับแจ้งจากหลายจังหวัดขาดแคลนแต่ตัวแทนทั้งชาวไร่และโรงงานไม่ยินยอม