เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ได้จัดงานเสวนา หัวข้อการประเมินคลื่นความถี่โทรคมนาคม กรณี 3G ของไทยโดยมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)ให้การสนับสนุน เพื่อเสนอผลการศึกษาวิธีการประมูลความถี่พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่นิด้าได้ศึกษามา
ผศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเงิน คณะบริหารธุรกิจ นิด้ากล่าวว่าจากผลการศึกษาและการจัดการรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง(โฟกัสกรุ๊ป) ได้ข้อสรุปว่า วิธีการประมูลที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยมากที่สุดคือการประเมินคลื่นความถี่ด้วยวิธี Business Based เนื่องจากเป็นวิธีการที่ คำนึงถึงสภาวะตลาดที่เป็นอยู่จริงมากที่สุดและเป็นวิธีที่เข้าใจง่าย แต่เพื่อความแม่นยำควรใช้วิธีการประเมินด้วย Benchmarking และ Econometric รวมด้วย ซึ่งการศึกษาควรแยกกันดำเนินการให้ความเป็นอิสระจากกัน เพื่อนำมาซึ่งวิธีการประเมินที่เที่ยงตรงมากที่สุด
อย่างไรก็ตามวิธีการประเมินที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เลือกใช้ คือการประเมินมูลค่าด้วยวิธี Econometric ที่ NERA ซึ่งเป็นที่ปรึกษากำหนดวิธีการประมูล 3G นำเสนอ ด้วยการนำตัวแปรที่สำคัญและแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาใส่ในโมเดลที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้ประเมินราคาที่เหมาะสม โดยNERA ประเมินราคาใบอนุญาต 3Gบนความถี่ 2.1 GHz ทั้งหมดที่ 287ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,471 ล้านบาท
ทั้งนี้ วิธีการประเมินมูลค่าความถี่ด้วย Econometric มีจุดอ่อน เนื่องจากราคาประเมินที่ได้จะออกมาตรงกับสมมุติฐาน ซึ่งหากมีการตั้งสมมุติฐานไม่ครบหรือ ผิดเพี้ยนอาจจะส่งผลให้ราคาประเมินไม่ถูกต้องทันที ฉะนั้นวิธีนี้มีความเสี่ยงสูง
อย่างไรก็ตาม นิด้าพบข้อเสนอแนะว่าโมเดลการประเมินมูลค่าความถี่ควรบอกว่าจะให้ประโยชน์อะไรแก่สังคม โดยมีความเห็นแตกต่างกันเป็น 2ส่วนคือ ความเห็นที่หนึ่งเสนอให้ประมูลในราคาประมูลสูง เพราะจะทำให้รัฐบาลได้เงินจำนวนมาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆส่งผลให้สังคมโดยรวมได้ประโยชน์ ความเห็นที่2 ให้ประมูลในราคาต่ำ เพื่อให้บริการ 3G มีราคาถูกประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้สังคมโดยรวมได้ประโยชน์
ทั้งนี้ในการเสวนา นักวิชาการที่เข้าร่วมต่างแสดงความเห็นตรงกันว่าควรให้ราคาประมูลต่ำ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้และสามารถส่งต่อราคาค่าใช้บริการในอัตราที่ถูกส่งผลให้บริการ 3G มีการใช้งานอย่างแพร่หลายกระจายไปยังต่างจังหวัดทำให้ประชาชนในต่างจังหวัดมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อยกระดับชีวิตได้เช่นเดียวกับชุมชนเมือง
นอกจากนี้รัฐซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานเดิมควรลดส่วนแบ่งรายได้ให้เอกชนภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมเพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนเหล่านี้ไปขอใบอนุญาตใหม่พร้อมโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปจนหมด ส่วนการเสนอให้ตั้งราคาการประมูลสูงนั้น นักวิชาการไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ได้ไปพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงาน กทช. กล่าวว่าจากผลการศึกษาของนิด้าครั้งนี้ อาจจะส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนราคาเริ่มต้นการประมูล และจำนวนใบอนุญาต 3G แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับกทช.ชุดใหม่ว่าจะมีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร
ขณะนี้สำนักงานกทช.ได้รับหนังสือโปรดเกล้ากทช.ชุดใหม่ 4 รายได้แก่พ.อ.นที ศุกลรัตน์ อดีตประธานคณะอนุกรรมการด้านวิทยุชุมชน กทช. รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม อดีตประธานคณะอนุกรรมการเคเบิลทีวี ของ กทช.นายบัณฑูร สุภัควณิช และนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร อดีตเลขาธิการ กทช. อย่างเป็นทางการแล้ว หลังกทช.ทั้ง 4 รายได้โปรดเกล้าฯแล้วตั้งแต่วันที่ 18ก.พ.ที่ผ่านมา
ผศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเงิน คณะบริหารธุรกิจ นิด้ากล่าวว่าจากผลการศึกษาและการจัดการรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง(โฟกัสกรุ๊ป) ได้ข้อสรุปว่า วิธีการประมูลที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยมากที่สุดคือการประเมินคลื่นความถี่ด้วยวิธี Business Based เนื่องจากเป็นวิธีการที่ คำนึงถึงสภาวะตลาดที่เป็นอยู่จริงมากที่สุดและเป็นวิธีที่เข้าใจง่าย แต่เพื่อความแม่นยำควรใช้วิธีการประเมินด้วย Benchmarking และ Econometric รวมด้วย ซึ่งการศึกษาควรแยกกันดำเนินการให้ความเป็นอิสระจากกัน เพื่อนำมาซึ่งวิธีการประเมินที่เที่ยงตรงมากที่สุด
อย่างไรก็ตามวิธีการประเมินที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เลือกใช้ คือการประเมินมูลค่าด้วยวิธี Econometric ที่ NERA ซึ่งเป็นที่ปรึกษากำหนดวิธีการประมูล 3G นำเสนอ ด้วยการนำตัวแปรที่สำคัญและแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาใส่ในโมเดลที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้ประเมินราคาที่เหมาะสม โดยNERA ประเมินราคาใบอนุญาต 3Gบนความถี่ 2.1 GHz ทั้งหมดที่ 287ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,471 ล้านบาท
ทั้งนี้ วิธีการประเมินมูลค่าความถี่ด้วย Econometric มีจุดอ่อน เนื่องจากราคาประเมินที่ได้จะออกมาตรงกับสมมุติฐาน ซึ่งหากมีการตั้งสมมุติฐานไม่ครบหรือ ผิดเพี้ยนอาจจะส่งผลให้ราคาประเมินไม่ถูกต้องทันที ฉะนั้นวิธีนี้มีความเสี่ยงสูง
อย่างไรก็ตาม นิด้าพบข้อเสนอแนะว่าโมเดลการประเมินมูลค่าความถี่ควรบอกว่าจะให้ประโยชน์อะไรแก่สังคม โดยมีความเห็นแตกต่างกันเป็น 2ส่วนคือ ความเห็นที่หนึ่งเสนอให้ประมูลในราคาประมูลสูง เพราะจะทำให้รัฐบาลได้เงินจำนวนมาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆส่งผลให้สังคมโดยรวมได้ประโยชน์ ความเห็นที่2 ให้ประมูลในราคาต่ำ เพื่อให้บริการ 3G มีราคาถูกประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้สังคมโดยรวมได้ประโยชน์
ทั้งนี้ในการเสวนา นักวิชาการที่เข้าร่วมต่างแสดงความเห็นตรงกันว่าควรให้ราคาประมูลต่ำ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้และสามารถส่งต่อราคาค่าใช้บริการในอัตราที่ถูกส่งผลให้บริการ 3G มีการใช้งานอย่างแพร่หลายกระจายไปยังต่างจังหวัดทำให้ประชาชนในต่างจังหวัดมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อยกระดับชีวิตได้เช่นเดียวกับชุมชนเมือง
นอกจากนี้รัฐซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานเดิมควรลดส่วนแบ่งรายได้ให้เอกชนภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมเพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนเหล่านี้ไปขอใบอนุญาตใหม่พร้อมโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปจนหมด ส่วนการเสนอให้ตั้งราคาการประมูลสูงนั้น นักวิชาการไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ได้ไปพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงาน กทช. กล่าวว่าจากผลการศึกษาของนิด้าครั้งนี้ อาจจะส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนราคาเริ่มต้นการประมูล และจำนวนใบอนุญาต 3G แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับกทช.ชุดใหม่ว่าจะมีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร
ขณะนี้สำนักงานกทช.ได้รับหนังสือโปรดเกล้ากทช.ชุดใหม่ 4 รายได้แก่พ.อ.นที ศุกลรัตน์ อดีตประธานคณะอนุกรรมการด้านวิทยุชุมชน กทช. รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม อดีตประธานคณะอนุกรรมการเคเบิลทีวี ของ กทช.นายบัณฑูร สุภัควณิช และนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร อดีตเลขาธิการ กทช. อย่างเป็นทางการแล้ว หลังกทช.ทั้ง 4 รายได้โปรดเกล้าฯแล้วตั้งแต่วันที่ 18ก.พ.ที่ผ่านมา