สิ่งเลวร้ายในทุกด้านที่เกิดขึ้น เช่น การทำรัฐประหาร 14 ครั้ง, ร่างรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับอย่างผิดๆ, การจลาจลใหญ่ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519, 19-20 พฤษภาทมิฬ 2535, มีงบประมาณที่ไหนที่นั่นมีการคอร์รัปชัน ความไม่เป็นธรรมในสังคม อิทธิพลเถื่อน หนี้สาธารณะมากมายมหาศาล ปัญหายาเสพติด ปัญหาเยาวชน ปัญหาแบ่งแยก 3 จังหวัดภาคใต้ ปัญหาเสียดินแดนให้เขมร, ครอบครัวแตกแยก ปัญหาชาวนา ปัญหากรรมกร ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมันเป็นผล มันเป็นปรากฏการณ์ที่มาจากเหตุคือการเมืองการปกครองแบบเผด็จการทั้งสิ้น
หลักและวิธีคิดที่สำคัญในเรื่องกฎแห่งกรรม หรือ กฎสัมพันธภาพระหว่างเหตุและผลอันเป็นกฎธรรมชาติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน สื่อให้แก่ท่านผู้อ่านเพื่อเป็นพลังทางปัญญาสำคัญให้แก่ประเทศชาติของเราต่อไป ได้แก่
1. กฎอิทัปปัจจยตา คือกฎของความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยระหว่างเหตุและผล อันเป็นกฎทั่วไป (General Law) ที่ครอบคลุมเหตุปัจจัยทั้งหมดทั้งฝ่ายกุศล กลางๆ และอกุศล คือ
1) “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี” หรือ เมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล คือถ้าเหตุดี ผลดี ถ้าเหตุชั่ว ผลชั่ว
2) “เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น” หรือ เมื่อเหตุเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น คือถ้าเหตุดีเกิดขึ้น ผลดีก็เกิดขึ้น และถ้าเหตุชั่วเกิดขึ้น ผลชั่วก็เกิดขึ้น
3) “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี” หรือ เมื่อเหตุไม่มี ผลก็ไม่มี คือถ้าทั้งเหตุดีและชั่วไม่มี ทั้งผลดีและชั่วก็ไม่มี (อพฺยากตาธมฺมา ธรรมที่เป็นกลางๆ)
4) “เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ” หรือ เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ (ด้วย)
พระพุทธองค์ ทรงนำมาอธิบายกับการปรุงแต่งของจิต เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง ฯลฯ อันก่อให้เกิดความทุกข์ ขัดแย้ง ทรงเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ปฏิจจสมุปบาท” (ปฏิจจะ แปลว่าอาศัย, สมุปบาท แปลว่า เกิดขึ้นครบถ้วน) “กล่าวคือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ฯลฯ” ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ทั้งนี้เมื่อคิดจะดับทุกข์ก็สืบสาวไปหาเหตุ คือ อวิชชา
การปรุงแต่งจิตในแต่ละครั้ง แต่ละคราว เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมแปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เมื่อเกิดขึ้นมาเท่าไร ก็ดับไปเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเวียนว่ายตายเกิด ทางจิต ขณะจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นบนความสัมพันธ์ระหว่างกฏปฏิจจสมุปบาท อันเป็นกฎลักษณะเฉพาะ (Individual law) หมายถึงการปรุงแต่งเกิดขึ้นเป็นของใครของมัน จะแสดงด้วยสัญลักษณ์เกิดขึ้นดุจดังฟันเฟืองของเครื่องจักร ดังนี้
อธิบายขยายความได้ว่า เมื่ออวิชชาเป็นปัจจัย (สิ่งนี้มี) จึงมีสังขาร (สิ่งนี้จึงมี)
ขณะเดียวกัน สังขารเป็นปัจจัย (สิ่งนี้มี) จึงมีวิญญาณ (สิ่งนี้จึงมี)
ขณะเดียวกัน วิญญาณเป็นปัจจัย (สิ่งนี้มี) จึงมีนามรูป (สิ่งนี้จึงมี)…
เป็นลำดับเรื่อยไป จนกระทั่ง ชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมเป็นไปอย่างนี้
2. ปฏิจจสมุบาทกับอริยสัจ 4 แสดงให้เห็นชัดว่า
ทุกข์ ย่อมเป็นผลจากสมุทัย
สมุทัย ย่อมเป็นเหตุของทุกข์
หมายความว่า อวิชชา ย่อมเป็นเหตุของสาร สังขาร (การปรุงแต่งทางใจ) เป็นผลของอวิชชา ขณะเดียวกัน สังขารย่อมเป็นเหตุของวิญญาณ วิญญาณเป็นผลของสังขาร... เรื่อยไปเป็นไปตามลำดับ อันเป็นขบวนการของการเกิดทุกข์
นิโรธ ความดับทุกข์ย่อมเป็นผลของมรรค
มรรค (มรรคมีองค์ 8) หนทางปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ ย่อมเป็นเหตุนิโรธ กล่าวคือ สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ) ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสังกัปปะ (คิดชอบ) สัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมาวาจา ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมากัมมันตะ (ทำชอบ) สัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) สัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวายามะ (เพียรชอบ) สัมมาวายมะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
สัมมาสติ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) ดังนี้ ต่างเป็นเหตุเป็นผลพัฒนาก้าวหน้าทางปัญญาเป็นลำดับๆ ไป และในระดับอริยบุคคลชั้นสูง สัมมาสมาธิ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาญาณ (รู้ชอบ) สัมมาญาณย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ สู่พระอรหันตผลวิมุตติ) จากรากฐานแห่งปัญญาอันเป็น ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) อันยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนาดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดปัญญาแจ้งชัดตามความเป็นจริงว่า
พระอาทิตย์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของดาวเคราะห์ หรือ ดวงอาทิตย์มาก่อนดาวเคราะห์
จุดมุ่งหมาย ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือจุดมุ่งหมายต้องมาก่อน
ยุทธศาสตร์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของยุทธวิธี หรือยุทธศาสตร์ต้องมาก่อนยุทธวิธีเสมอไป ธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของการเมืองที่แท้จริง หรือมาก่อนการเมืองเสมอไป
การเมือง ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของการปกครอง หรือการเมืองต้องมาก่อนการปกครอง
รัฐศาสตร์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของนิติศาสตร์ (กฎหมาย) หรือรัฐศาสตร์ต้องมาก่อนกฎหมาย
หลักการปกครองโดยธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของ วิธีการปกครองโดยธรรม หรือหลักการปกครองฯ ต้องมาก่อนวิธีการปกครอง เสมอไป ฯลฯ
หลักการปกครองโดยธรรมย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่รัฐธรรมนูญ หรือ หลักการปกครองโดยธรรมต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญย่อมเป็นเหตุปัจจัยของรัฐบาล รัฐบาลย่อมเป็นปัจจัยของกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว บุคคล
อีกนัยหนึ่ง หลักการปกครองโดยธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้การเมืองโดยธรรม การเมืองโดยธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดระบบเศรษฐกิจโดยธรรม หรือ “การเมืองเป็นธรรม ระบบเศรษฐกิจเป็นธรรม” ระบบเศรษฐกิจย่อมเป็นผลของการเมืองเสมอไป เศรษฐกิจไม่ดี เพราะการเมืองไม่ดี นั่นเอง ต้องสืบสาวไปหาเหตุ เหตุแห่งความเลวร้ายของชาติ คืออะไร
เราผิดพลาดมาแล้วยาวนานถึง 78 ปีแล้ว หากไม่เปลี่ยนทัศนะ ประเทศชาติต้องหายนะต่อไป หากเราเป็นผู้มีปัญญาย่อมเปลี่ยนทัศนะ ไปสู่ความถูกต้องยิ่งใหญ่ของปวงชนในชาติ
ในยุคสมัยใหม่ มีการเมืองการปกครองสมัยใหม่ จะต้อง มีหลักการโดยธรรม อันเป็นรากฐาน รากแก้ว แก่นแท้ของชาติอันเป็นลักษณะพิเศษประจำชาติไทยเรา เพราะไทยเราไม่เคยสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ไทยเราจึงไม่มีจุดมุ่งหมายร่วมแห่งชาติ เรามีเพียงขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งไม่เพียงพอแล้วในยุคปัจจุบัน เพราะเราไม่มีจุดมุ่งหมายของชาตินี่เอง ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือการขัดแย้งทางการเมืองของคนในชาติ บ่อนทำลายกันเอง ล้าหลัง พัฒนาสู่ความก้าวหน้าไม่ได้ ประชาชนไม่มีความรู้ทางการเมือง จึงก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก และรัฐธรรมนูญกลายเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้ง นับแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันนี้
ด้วยปัญหาอันใหญ่ยิ่งของชาติ ดังกล่าวแล้ว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องมีหลักการปกครองโดยธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วม เป็นจุดมุ่งหมายทั่วไป ของปวงชนในชาติ ด้วยการศึกษา เข้าใจ ผลักดัน เรียกร้อง สู่การสถาปนา หลักการปกครองโดยธรรม หรือระบอบการปกครองโดยธรรม ถือธรรมเป็นใหญ่ เป็น ธรรมาธิปไตย อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติ อันเป็นพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดิน ที่จะทรงสถาปนาและพระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของปวงชนในชาติ และความก้าวหน้า ความมั่นคงในทุกด้านอย่างยิ่งใหญ่
ดูลึกเข้าไปในหัวใจของผู้นำนักการเมืองไทยบางคน (Individual) เป็นใจที่โลภ ฉลาดแกมโกง และมีจุดยืนเพื่อประโยชน์แห่งตนเป็นที่ตั้ง ต่างก็เห็นชัดแล้วว่าโกงชาติ ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันทั้งโคตร พวกเขาเอาเงินของชาติอันเป็นภาษีประชาชนทั่วไปไปแจกชาวบ้าน จนทำให้ชาวบ้านซึ่งขาดโอกาสอยู่แล้วรู้สึกเป็นบุญคุณ ผลของกระบวนการกรรมชั่ว ระบอบการเมืองชั่วย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีแต่นักการเมืองชั่ว นักการเมืองชั่วย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ประเทศชาติพินาศ หายนะ เราจะได้เห็นนักการเมืองโกงกินชาติ ความขัดแย้งภายในชาติอย่างไม่มีวันหมดสิ้น เว้นแต่ปัญญาชนของชาติมองเห็นเหตุวิกฤตชาติ เหตุแห่งความพินาศหายนะของปวงชนไทย แล้วร่วมมือร่วมใจแก้ไขให้ผ่านพ้นไป พึ่งรัฐบาลก็ยากเต็มทีเพราะรัฐบาลเข้าใจว่าไทยเราเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว เป็นแล้วจะแก้ไขอะไรกันอีก แต่ผลมันเลวร้ายลงทุกวัน จะโกหก หลงผิดกันไปถึงไหน คงจะมีเพียงฝ่ายตุลาการเท่านั้นที่จะพึ่งได้
หลักและวิธีคิดที่สำคัญในเรื่องกฎแห่งกรรม หรือ กฎสัมพันธภาพระหว่างเหตุและผลอันเป็นกฎธรรมชาติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน สื่อให้แก่ท่านผู้อ่านเพื่อเป็นพลังทางปัญญาสำคัญให้แก่ประเทศชาติของเราต่อไป ได้แก่
1. กฎอิทัปปัจจยตา คือกฎของความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยระหว่างเหตุและผล อันเป็นกฎทั่วไป (General Law) ที่ครอบคลุมเหตุปัจจัยทั้งหมดทั้งฝ่ายกุศล กลางๆ และอกุศล คือ
1) “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี” หรือ เมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล คือถ้าเหตุดี ผลดี ถ้าเหตุชั่ว ผลชั่ว
2) “เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น” หรือ เมื่อเหตุเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น คือถ้าเหตุดีเกิดขึ้น ผลดีก็เกิดขึ้น และถ้าเหตุชั่วเกิดขึ้น ผลชั่วก็เกิดขึ้น
3) “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี” หรือ เมื่อเหตุไม่มี ผลก็ไม่มี คือถ้าทั้งเหตุดีและชั่วไม่มี ทั้งผลดีและชั่วก็ไม่มี (อพฺยากตาธมฺมา ธรรมที่เป็นกลางๆ)
4) “เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ” หรือ เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ (ด้วย)
พระพุทธองค์ ทรงนำมาอธิบายกับการปรุงแต่งของจิต เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง ฯลฯ อันก่อให้เกิดความทุกข์ ขัดแย้ง ทรงเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ปฏิจจสมุปบาท” (ปฏิจจะ แปลว่าอาศัย, สมุปบาท แปลว่า เกิดขึ้นครบถ้วน) “กล่าวคือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ฯลฯ” ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ทั้งนี้เมื่อคิดจะดับทุกข์ก็สืบสาวไปหาเหตุ คือ อวิชชา
การปรุงแต่งจิตในแต่ละครั้ง แต่ละคราว เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมแปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เมื่อเกิดขึ้นมาเท่าไร ก็ดับไปเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเวียนว่ายตายเกิด ทางจิต ขณะจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นบนความสัมพันธ์ระหว่างกฏปฏิจจสมุปบาท อันเป็นกฎลักษณะเฉพาะ (Individual law) หมายถึงการปรุงแต่งเกิดขึ้นเป็นของใครของมัน จะแสดงด้วยสัญลักษณ์เกิดขึ้นดุจดังฟันเฟืองของเครื่องจักร ดังนี้
อธิบายขยายความได้ว่า เมื่ออวิชชาเป็นปัจจัย (สิ่งนี้มี) จึงมีสังขาร (สิ่งนี้จึงมี)
ขณะเดียวกัน สังขารเป็นปัจจัย (สิ่งนี้มี) จึงมีวิญญาณ (สิ่งนี้จึงมี)
ขณะเดียวกัน วิญญาณเป็นปัจจัย (สิ่งนี้มี) จึงมีนามรูป (สิ่งนี้จึงมี)…
เป็นลำดับเรื่อยไป จนกระทั่ง ชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมเป็นไปอย่างนี้
2. ปฏิจจสมุบาทกับอริยสัจ 4 แสดงให้เห็นชัดว่า
ทุกข์ ย่อมเป็นผลจากสมุทัย
สมุทัย ย่อมเป็นเหตุของทุกข์
หมายความว่า อวิชชา ย่อมเป็นเหตุของสาร สังขาร (การปรุงแต่งทางใจ) เป็นผลของอวิชชา ขณะเดียวกัน สังขารย่อมเป็นเหตุของวิญญาณ วิญญาณเป็นผลของสังขาร... เรื่อยไปเป็นไปตามลำดับ อันเป็นขบวนการของการเกิดทุกข์
นิโรธ ความดับทุกข์ย่อมเป็นผลของมรรค
มรรค (มรรคมีองค์ 8) หนทางปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ ย่อมเป็นเหตุนิโรธ กล่าวคือ สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ) ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสังกัปปะ (คิดชอบ) สัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมาวาจา ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมากัมมันตะ (ทำชอบ) สัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) สัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวายามะ (เพียรชอบ) สัมมาวายมะ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
สัมมาสติ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) ดังนี้ ต่างเป็นเหตุเป็นผลพัฒนาก้าวหน้าทางปัญญาเป็นลำดับๆ ไป และในระดับอริยบุคคลชั้นสูง สัมมาสมาธิ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาญาณ (รู้ชอบ) สัมมาญาณย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ สู่พระอรหันตผลวิมุตติ) จากรากฐานแห่งปัญญาอันเป็น ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) อันยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนาดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดปัญญาแจ้งชัดตามความเป็นจริงว่า
พระอาทิตย์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของดาวเคราะห์ หรือ ดวงอาทิตย์มาก่อนดาวเคราะห์
จุดมุ่งหมาย ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือจุดมุ่งหมายต้องมาก่อน
ยุทธศาสตร์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของยุทธวิธี หรือยุทธศาสตร์ต้องมาก่อนยุทธวิธีเสมอไป ธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของการเมืองที่แท้จริง หรือมาก่อนการเมืองเสมอไป
การเมือง ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของการปกครอง หรือการเมืองต้องมาก่อนการปกครอง
รัฐศาสตร์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของนิติศาสตร์ (กฎหมาย) หรือรัฐศาสตร์ต้องมาก่อนกฎหมาย
หลักการปกครองโดยธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของ วิธีการปกครองโดยธรรม หรือหลักการปกครองฯ ต้องมาก่อนวิธีการปกครอง เสมอไป ฯลฯ
หลักการปกครองโดยธรรมย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่รัฐธรรมนูญ หรือ หลักการปกครองโดยธรรมต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญย่อมเป็นเหตุปัจจัยของรัฐบาล รัฐบาลย่อมเป็นปัจจัยของกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว บุคคล
อีกนัยหนึ่ง หลักการปกครองโดยธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้การเมืองโดยธรรม การเมืองโดยธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดระบบเศรษฐกิจโดยธรรม หรือ “การเมืองเป็นธรรม ระบบเศรษฐกิจเป็นธรรม” ระบบเศรษฐกิจย่อมเป็นผลของการเมืองเสมอไป เศรษฐกิจไม่ดี เพราะการเมืองไม่ดี นั่นเอง ต้องสืบสาวไปหาเหตุ เหตุแห่งความเลวร้ายของชาติ คืออะไร
เราผิดพลาดมาแล้วยาวนานถึง 78 ปีแล้ว หากไม่เปลี่ยนทัศนะ ประเทศชาติต้องหายนะต่อไป หากเราเป็นผู้มีปัญญาย่อมเปลี่ยนทัศนะ ไปสู่ความถูกต้องยิ่งใหญ่ของปวงชนในชาติ
ในยุคสมัยใหม่ มีการเมืองการปกครองสมัยใหม่ จะต้อง มีหลักการโดยธรรม อันเป็นรากฐาน รากแก้ว แก่นแท้ของชาติอันเป็นลักษณะพิเศษประจำชาติไทยเรา เพราะไทยเราไม่เคยสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ไทยเราจึงไม่มีจุดมุ่งหมายร่วมแห่งชาติ เรามีเพียงขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งไม่เพียงพอแล้วในยุคปัจจุบัน เพราะเราไม่มีจุดมุ่งหมายของชาตินี่เอง ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือการขัดแย้งทางการเมืองของคนในชาติ บ่อนทำลายกันเอง ล้าหลัง พัฒนาสู่ความก้าวหน้าไม่ได้ ประชาชนไม่มีความรู้ทางการเมือง จึงก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก และรัฐธรรมนูญกลายเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้ง นับแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันนี้
ด้วยปัญหาอันใหญ่ยิ่งของชาติ ดังกล่าวแล้ว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องมีหลักการปกครองโดยธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วม เป็นจุดมุ่งหมายทั่วไป ของปวงชนในชาติ ด้วยการศึกษา เข้าใจ ผลักดัน เรียกร้อง สู่การสถาปนา หลักการปกครองโดยธรรม หรือระบอบการปกครองโดยธรรม ถือธรรมเป็นใหญ่ เป็น ธรรมาธิปไตย อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติ อันเป็นพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดิน ที่จะทรงสถาปนาและพระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของปวงชนในชาติ และความก้าวหน้า ความมั่นคงในทุกด้านอย่างยิ่งใหญ่
ดูลึกเข้าไปในหัวใจของผู้นำนักการเมืองไทยบางคน (Individual) เป็นใจที่โลภ ฉลาดแกมโกง และมีจุดยืนเพื่อประโยชน์แห่งตนเป็นที่ตั้ง ต่างก็เห็นชัดแล้วว่าโกงชาติ ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันทั้งโคตร พวกเขาเอาเงินของชาติอันเป็นภาษีประชาชนทั่วไปไปแจกชาวบ้าน จนทำให้ชาวบ้านซึ่งขาดโอกาสอยู่แล้วรู้สึกเป็นบุญคุณ ผลของกระบวนการกรรมชั่ว ระบอบการเมืองชั่วย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีแต่นักการเมืองชั่ว นักการเมืองชั่วย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ประเทศชาติพินาศ หายนะ เราจะได้เห็นนักการเมืองโกงกินชาติ ความขัดแย้งภายในชาติอย่างไม่มีวันหมดสิ้น เว้นแต่ปัญญาชนของชาติมองเห็นเหตุวิกฤตชาติ เหตุแห่งความพินาศหายนะของปวงชนไทย แล้วร่วมมือร่วมใจแก้ไขให้ผ่านพ้นไป พึ่งรัฐบาลก็ยากเต็มทีเพราะรัฐบาลเข้าใจว่าไทยเราเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว เป็นแล้วจะแก้ไขอะไรกันอีก แต่ผลมันเลวร้ายลงทุกวัน จะโกหก หลงผิดกันไปถึงไหน คงจะมีเพียงฝ่ายตุลาการเท่านั้นที่จะพึ่งได้