ASTVผู้จัดการรายวัน - ศาลสั่งส่งตัว “ไมเคิล สมิธ” ชาวอังกฤษ กลับดูไบไปดำเนินคดีฐานปลอมเอกสาร-ฉ้อโกง 5,000 ล้านบาท ระบุแม้ไม่มีสนธิสัญญาผู้ร้ายข้ามแดน แต่ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงเจตนาชัดแจ้งส่งตัวผู้ต้องหาแบบต่างตอบแทนให้ไทยเช่นกัน ขณะที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศจี้กระทรวงบัวแก้ว ประสานขอตัว"นักโทษแม้ว"มารับโทษ เป็นการต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน
วานนี้ (18 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีที่ อัยการฝ่ายต่างประเทศเป็นโจทก์ร้องขอให้ส่งตัวนายไมเคิล ไบรอัน สมิธ (Mr. Michael Brayan หรือ Smith Michael Bryan Smith) อายุ 43 ปี สัญชาติอังกฤษ อดีตผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคล บริษัท ลิมิตลิส (Limitless Company) สำนักงานใหญ่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปดำเนินคดีที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารกระทำผิดในการโอนเงินของบริษัทเข้าบัญชีตนเองโดยมิชอบ และฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268 และ 341
คำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 51 นายซิค อัล-ดีนจาฟาร์ ผู้ดำเนินการแทนบริษัท ลิมิตลิส เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนนครดูไบว่า บริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำของนายไมเคิล ผู้ต้องหา ซึ่งรับผิดชอบการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าทำงานในบริษัท โดยผู้ต้องหาได้แต่งตั้งพนักงานนายแฟรงค์ มอสส์ (Frank Moss) ค่าจ้างเดือนละ 125,000 เหรียญสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.51 - 31 พ.ค.51รวมเป็นเงิน 298,388 เหรียญสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ แต่ปรากฏชัดในภายหลังว่า ผู้ต้องหานำเงินดังกล่าวมาเป็นของตน นอกจากนี้ผู้ต้องหายังโอนเงินสดจำนวน 2,124,740 เหรียญสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ หรือคิดเป็นเงินไทย 5,000 ล้านบาท ไปยังบริษัท แซนฟอร์ด ลี (Sanford Lee) ในประเทศอังกฤษ ที่ทราบว่าเป็นบริษัทของผู้ต้องหาเอง โดยผู้ต้องหาอ้างว่าการโอนเงินดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายติดต่อ เพื่อว่าจ้างพนักงานจำนวน 12 คน
โดยบริษัท แซนฟอร์ด ลี (Sanford Lee) ทำงานให้กับบริษัท ลิมิตลิส (Limitless Company) แต่ภายหลังปรากฏข้อมูลว่า การว่าจ้างพนักงานชุดดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยตรงไม่ผ่านบริษัทจัดหางานใดๆ นอกจากนี้ ผู้ต้องหาเป็นผู้ลงนามในเอกสารจ่ายเงินกับบริษัท แซนฟอร์ด ลี (Sanford Lee) โดยเงินถูกโอนผ่านไปยังบัญชีธนาคาร FPME ประเทศไซปรัส ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับบัญชีเงินเดือนนายแฟรงค์ มอสส์ (Frank Moss) เหตุเกิดเมื่อวันที่ 11 มี.ค. - 31 พ.ค.51 ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และประเทศไซปรัส
ต่อมาวันที่ 25 ส.ค.51 สำนักงานอัยการประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ออกหมายจับนายไมเคิล ผู้ต้องหา โดยความผิดของผู้ต้องหาดังกล่าวเทียบเท่ากฎหมายไทย ฐานปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268 และ 341 ซึ่งความผิดมีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่ใช่ความผิดทางการเมือง หรือทางการทหาร และคดียังไม่หมดอายุความ และเมื่อทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทราบว่า ผู้ต้องหาหลบหนีมาพำนักอยู่บ้านเลขที่ 99/173 หมู่บ้านร่วมสุขวิลล่า แขวงสะพานใหม่ เขตสายไหม กทม. และบ้านเลขที่ 39-591 หมู่บ้านอารายาวิเลจ ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงได้มีหนังสือขอให้ประเทศไทยดำเนินการจับกุมและคุมขังชั่วคราวผู้ต้องหา เพื่อไต่สวนผู้ต้องหาในการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ไปดำเนินคดีที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อไป
โดยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำประเทศไทย ได้มีคำร้องขอตามหนังสือทางการทูตเลขที่ 1265 ลงวันที่ 29 ต.ค.51 ที่ 1317 ลงวันที่ 11 พ.ย.51, ที่ 1431 ลงวันที่ 17 ธ.ค.51 และ 24 ลงวันที่ 9 ม.ค.52 โดยได้ส่งผ่านวิธีทางการทูตไปยังกระทรวงการต่างประเทศ และมีหนังสือถึงสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอพิจารณาดำเนินการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ตาม พ.ร.บ.ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 มาตรา 8
จำเลยให้การปฏิเสธอ้างว่า ลาออกจากงานที่บริษัท ลิมิตลิส เพราะมีปัญหากับผู้บริหารระดับสูง ก่อนย้ายมาอยู่ในประเทศไทยได้ 1 ปี จึงถูกจับกุม ส่วนเหตุที่คัดค้านการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน เพราะคู่กรณีเป็นผู้บริหารระดับสูงของประเทศเกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
ขณะที่อัยการโจทก์มีนักการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เบิกความถึงรายละเอียดคำร้องของทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาปลอม และใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง และถูกอัยการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกหมายจับก่อนส่งเอกสารทางช่องทางการทูต เห็นว่าทางการไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน
แต่ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน อีกทั้งความผิดทั้ง 2 ข้อหาของจำเลยมีความผิดตามประมวลอาญาไทย ต้องตามหลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 มาตรา 8 จึงมีคำสั่งให้ขังจำเลยไว้ เพื่อส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนภายใน 30 วัน หากภายใน 90 วันยังไม่สามารถดำเนินการส่งตัวได้ให้ปล่อยจำเลยไป
วันเดียวกัน นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ กล่าวภายหลังศาลอาญามีคำสั่งดังกล่าวว่า กรณีที่อัยการยื่นคำร้องขอให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น อัยการได้ยื่นคำร้องผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปแล้ว ยังไม่ได้รับการแจ้งตอบกลับว่าได้ดำเนินการไปอย่างไรบ้างแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศรับไปเจรจากับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผ่านทางช่องทางการทูตให้รับคดีไว้พิจารณา เนื่องจากไม่มีสนธิสัญญา ซึ่งหากทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รับคดีไว้แล้ว อัยการจะรับมาดำเนินการต่อ และเชื่อว่าจะได้รับความร่วมมือ
วานนี้ (18 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีที่ อัยการฝ่ายต่างประเทศเป็นโจทก์ร้องขอให้ส่งตัวนายไมเคิล ไบรอัน สมิธ (Mr. Michael Brayan หรือ Smith Michael Bryan Smith) อายุ 43 ปี สัญชาติอังกฤษ อดีตผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคล บริษัท ลิมิตลิส (Limitless Company) สำนักงานใหญ่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปดำเนินคดีที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารกระทำผิดในการโอนเงินของบริษัทเข้าบัญชีตนเองโดยมิชอบ และฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268 และ 341
คำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 51 นายซิค อัล-ดีนจาฟาร์ ผู้ดำเนินการแทนบริษัท ลิมิตลิส เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนนครดูไบว่า บริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำของนายไมเคิล ผู้ต้องหา ซึ่งรับผิดชอบการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าทำงานในบริษัท โดยผู้ต้องหาได้แต่งตั้งพนักงานนายแฟรงค์ มอสส์ (Frank Moss) ค่าจ้างเดือนละ 125,000 เหรียญสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.51 - 31 พ.ค.51รวมเป็นเงิน 298,388 เหรียญสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ แต่ปรากฏชัดในภายหลังว่า ผู้ต้องหานำเงินดังกล่าวมาเป็นของตน นอกจากนี้ผู้ต้องหายังโอนเงินสดจำนวน 2,124,740 เหรียญสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ หรือคิดเป็นเงินไทย 5,000 ล้านบาท ไปยังบริษัท แซนฟอร์ด ลี (Sanford Lee) ในประเทศอังกฤษ ที่ทราบว่าเป็นบริษัทของผู้ต้องหาเอง โดยผู้ต้องหาอ้างว่าการโอนเงินดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายติดต่อ เพื่อว่าจ้างพนักงานจำนวน 12 คน
โดยบริษัท แซนฟอร์ด ลี (Sanford Lee) ทำงานให้กับบริษัท ลิมิตลิส (Limitless Company) แต่ภายหลังปรากฏข้อมูลว่า การว่าจ้างพนักงานชุดดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยตรงไม่ผ่านบริษัทจัดหางานใดๆ นอกจากนี้ ผู้ต้องหาเป็นผู้ลงนามในเอกสารจ่ายเงินกับบริษัท แซนฟอร์ด ลี (Sanford Lee) โดยเงินถูกโอนผ่านไปยังบัญชีธนาคาร FPME ประเทศไซปรัส ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับบัญชีเงินเดือนนายแฟรงค์ มอสส์ (Frank Moss) เหตุเกิดเมื่อวันที่ 11 มี.ค. - 31 พ.ค.51 ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และประเทศไซปรัส
ต่อมาวันที่ 25 ส.ค.51 สำนักงานอัยการประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ออกหมายจับนายไมเคิล ผู้ต้องหา โดยความผิดของผู้ต้องหาดังกล่าวเทียบเท่ากฎหมายไทย ฐานปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268 และ 341 ซึ่งความผิดมีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่ใช่ความผิดทางการเมือง หรือทางการทหาร และคดียังไม่หมดอายุความ และเมื่อทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทราบว่า ผู้ต้องหาหลบหนีมาพำนักอยู่บ้านเลขที่ 99/173 หมู่บ้านร่วมสุขวิลล่า แขวงสะพานใหม่ เขตสายไหม กทม. และบ้านเลขที่ 39-591 หมู่บ้านอารายาวิเลจ ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงได้มีหนังสือขอให้ประเทศไทยดำเนินการจับกุมและคุมขังชั่วคราวผู้ต้องหา เพื่อไต่สวนผู้ต้องหาในการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ไปดำเนินคดีที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อไป
โดยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำประเทศไทย ได้มีคำร้องขอตามหนังสือทางการทูตเลขที่ 1265 ลงวันที่ 29 ต.ค.51 ที่ 1317 ลงวันที่ 11 พ.ย.51, ที่ 1431 ลงวันที่ 17 ธ.ค.51 และ 24 ลงวันที่ 9 ม.ค.52 โดยได้ส่งผ่านวิธีทางการทูตไปยังกระทรวงการต่างประเทศ และมีหนังสือถึงสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอพิจารณาดำเนินการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ตาม พ.ร.บ.ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 มาตรา 8
จำเลยให้การปฏิเสธอ้างว่า ลาออกจากงานที่บริษัท ลิมิตลิส เพราะมีปัญหากับผู้บริหารระดับสูง ก่อนย้ายมาอยู่ในประเทศไทยได้ 1 ปี จึงถูกจับกุม ส่วนเหตุที่คัดค้านการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน เพราะคู่กรณีเป็นผู้บริหารระดับสูงของประเทศเกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
ขณะที่อัยการโจทก์มีนักการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เบิกความถึงรายละเอียดคำร้องของทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหาปลอม และใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง และถูกอัยการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกหมายจับก่อนส่งเอกสารทางช่องทางการทูต เห็นว่าทางการไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน
แต่ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน อีกทั้งความผิดทั้ง 2 ข้อหาของจำเลยมีความผิดตามประมวลอาญาไทย ต้องตามหลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 มาตรา 8 จึงมีคำสั่งให้ขังจำเลยไว้ เพื่อส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนภายใน 30 วัน หากภายใน 90 วันยังไม่สามารถดำเนินการส่งตัวได้ให้ปล่อยจำเลยไป
วันเดียวกัน นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ กล่าวภายหลังศาลอาญามีคำสั่งดังกล่าวว่า กรณีที่อัยการยื่นคำร้องขอให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น อัยการได้ยื่นคำร้องผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปแล้ว ยังไม่ได้รับการแจ้งตอบกลับว่าได้ดำเนินการไปอย่างไรบ้างแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศรับไปเจรจากับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผ่านทางช่องทางการทูตให้รับคดีไว้พิจารณา เนื่องจากไม่มีสนธิสัญญา ซึ่งหากทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รับคดีไว้แล้ว อัยการจะรับมาดำเนินการต่อ และเชื่อว่าจะได้รับความร่วมมือ