ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เคมิคอล เร่งตรวจเช็คอุปกรณ์เครื่องจักรและประเมินความเสียหาย หลังโรงไฟฟ้าโกลว์หยุดป้อนไฟกระทันเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ทำให้โรงโอเลฟินส์ 2 โรงต้องหยุด คิดเป็น 40% ของกำลังการผลิตรวม เผยเบื้องต้นอาจหยุด 1 สัปดาห์หากเสียหายน้อย
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ( PTTCH ) เปิดเผยว่า ถึงกรณีที่โรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงานได้หยุดส่งไฟฟ้าและไอน้ำกระทันหันเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่งผลให้โรงโอเลฟินส์ของบริษัท 2 โรง ( โรงงานI4-1และ I4-2 ) ต้องหยุดผลิตกระทัน คาดว่าจะมีอุปกรณ์การผลิตเสียหาย บริษัทฯต้องเร่งตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อน หากเสียหายไม่มากเชื่อว่าจะกลับมาผลิตได้ตามปกติในอีก 1 สัปดาห์ ขณะที่แผนการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน I1 คงต้องเลื่อนออกไปจากไตรมาสแรก จนกว่าโรงงาน I4 เปิดดำเนินการผลิตได้
ทั้งนี้ กำลังการผลิตโรงงานI4 คิดเป็นกำลังผลิตโอเลฟินส์ขนาด 7 แสนตัน/ปี หรือ 40% ของกำลังการผลิตรวม ส่วนการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์นี้ เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินได้ คงต้องรอให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์การผลิตว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด รวมทั้งดูรายละเอียดสัญญาต่างๆว่าจะเรียกร้องค่าเสียหายจากโกลว์ได้หรือไม่
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ติดคดีมาบตาพุดทำให้ไม่สามารถผลิตได้นั้น ส่งผลกระทบทำให้โรงผลิตเอทลีน แครกเกอร์ 1 ล้านตันไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะป้อน คาดว่าจะผลิตโรงงานใหม่นี้จะผลิตได้เพียง 60-70%ของกำลังการผลิต โดยจะนำวัตถุดิบจากโรงโอเลฟินส์หน่วยอื่นมาป้อนแทน
ทั้งนี้ เมื่อโรงเอทลีน แครกเกอร์ไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มที่ก็จะส่งผลต่อกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกโรงงานใหม่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกLLDPE ขนาด 4แสนตัน ที่เดินเครื่องจักรแล้ว แต่ผลิตไม่เต็มที่ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกLDPE ขนาด 3 แสนตัน ที่จะเปิดเดินเครื่องในไตรมาส 2 นี้ ส่วนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกHDPE ขนาด 3แสนตันยังไม่สามารถผลิตได้เพราะเป็นหนึ่งใน 64 โครงการที่ถูกระงับ
สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในช่วงนี้พบว่าปริมาณตึงตัว โดยเฉพาะเอทิลีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติก มีราคาใกล้เคียงกับราคาเม็ดพลาสติกHDPE ที่ตันละ 1,300 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกเสร็จก่อนโรงงานโอเลฟินส์ทำให้มีความต้องการใช้เอทลีนมาผลิตสินค้าก่อน แต่เชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้นเมื่อโรงโอเลฟินส์ใหม่ทยอยแล้วเสร็จ ปัญหาการซัปพลายตึงตัวจะหมดไป
" ราคาโอเลฟินส์ตึงตัวมาประมาณ 1 เดือนแล้ว และหาซื้อไม่ได้ ขาดตลาดเพราะโครงการที่ขึ้นใหม่ดาวน์สตรีมขึ้นเร็วกว่าอัพสตรีม ไม่สอดคล้องกัน แต่คงเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว ส่วนจะคลี่คลายเมื่อไรขึ้นอยู่กับโครงการที่จะขึ้นใหม่ อย่างในตะวันออกกลางจะขึ้นได้แค่ไหน"นายวีรศักดิ์ กล่าว
วานนี้ (11 ก.พ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานร่วมกับนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในพิธีลงนามความเข้าใจความร่วมมือโครงการผลิตและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางการแพทย์ ระหว่างองค์การเภสัชกรรม และบริษัท ปตท.เคมิคอลจำกัด (มหาชน) โดยเบื้องต้นจะมีการร่วมทุนตั้งโรงงานผลิตถุงบรรจุน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ประมาณ 10 ล้านถุง คาดใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน 3ปีข้างหน้า
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ( PTTCH ) เปิดเผยว่า ถึงกรณีที่โรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงานได้หยุดส่งไฟฟ้าและไอน้ำกระทันหันเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่งผลให้โรงโอเลฟินส์ของบริษัท 2 โรง ( โรงงานI4-1และ I4-2 ) ต้องหยุดผลิตกระทัน คาดว่าจะมีอุปกรณ์การผลิตเสียหาย บริษัทฯต้องเร่งตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อน หากเสียหายไม่มากเชื่อว่าจะกลับมาผลิตได้ตามปกติในอีก 1 สัปดาห์ ขณะที่แผนการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน I1 คงต้องเลื่อนออกไปจากไตรมาสแรก จนกว่าโรงงาน I4 เปิดดำเนินการผลิตได้
ทั้งนี้ กำลังการผลิตโรงงานI4 คิดเป็นกำลังผลิตโอเลฟินส์ขนาด 7 แสนตัน/ปี หรือ 40% ของกำลังการผลิตรวม ส่วนการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์นี้ เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินได้ คงต้องรอให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์การผลิตว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด รวมทั้งดูรายละเอียดสัญญาต่างๆว่าจะเรียกร้องค่าเสียหายจากโกลว์ได้หรือไม่
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ติดคดีมาบตาพุดทำให้ไม่สามารถผลิตได้นั้น ส่งผลกระทบทำให้โรงผลิตเอทลีน แครกเกอร์ 1 ล้านตันไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะป้อน คาดว่าจะผลิตโรงงานใหม่นี้จะผลิตได้เพียง 60-70%ของกำลังการผลิต โดยจะนำวัตถุดิบจากโรงโอเลฟินส์หน่วยอื่นมาป้อนแทน
ทั้งนี้ เมื่อโรงเอทลีน แครกเกอร์ไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มที่ก็จะส่งผลต่อกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกโรงงานใหม่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกLLDPE ขนาด 4แสนตัน ที่เดินเครื่องจักรแล้ว แต่ผลิตไม่เต็มที่ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกLDPE ขนาด 3 แสนตัน ที่จะเปิดเดินเครื่องในไตรมาส 2 นี้ ส่วนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกHDPE ขนาด 3แสนตันยังไม่สามารถผลิตได้เพราะเป็นหนึ่งใน 64 โครงการที่ถูกระงับ
สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในช่วงนี้พบว่าปริมาณตึงตัว โดยเฉพาะเอทิลีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติก มีราคาใกล้เคียงกับราคาเม็ดพลาสติกHDPE ที่ตันละ 1,300 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกเสร็จก่อนโรงงานโอเลฟินส์ทำให้มีความต้องการใช้เอทลีนมาผลิตสินค้าก่อน แต่เชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้นเมื่อโรงโอเลฟินส์ใหม่ทยอยแล้วเสร็จ ปัญหาการซัปพลายตึงตัวจะหมดไป
" ราคาโอเลฟินส์ตึงตัวมาประมาณ 1 เดือนแล้ว และหาซื้อไม่ได้ ขาดตลาดเพราะโครงการที่ขึ้นใหม่ดาวน์สตรีมขึ้นเร็วกว่าอัพสตรีม ไม่สอดคล้องกัน แต่คงเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว ส่วนจะคลี่คลายเมื่อไรขึ้นอยู่กับโครงการที่จะขึ้นใหม่ อย่างในตะวันออกกลางจะขึ้นได้แค่ไหน"นายวีรศักดิ์ กล่าว
วานนี้ (11 ก.พ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานร่วมกับนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในพิธีลงนามความเข้าใจความร่วมมือโครงการผลิตและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางการแพทย์ ระหว่างองค์การเภสัชกรรม และบริษัท ปตท.เคมิคอลจำกัด (มหาชน) โดยเบื้องต้นจะมีการร่วมทุนตั้งโรงงานผลิตถุงบรรจุน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ประมาณ 10 ล้านถุง คาดใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน 3ปีข้างหน้า