ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยธุรกิจบัตรเครดิตกลับมาคึกคัก สรุปยอดล่าสุดเดือนธ.ค.ปริมาณการใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นถึง 35.55% จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 40.36% และยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าสูงถึง 25.16% สวนทางสินเชื่อส่วนบุคคลที่ลดทั้งยอดคงค้าง-ปริมาณบัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของธปท.ล่าสุดสิ้นเดือนธ.ค.หรือไตรมาส 4 ปี 52 พบว่า ยอดคงค้างสินเชื่ออยู่ที่ 1.97 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 1.35 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 7.36% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.37 พันล้านบาท คิดเป็น 3.90% ขณะที่ปริมาณบัตรมีทั้งสิ้น 13.50 ล้านใบ เพิ่มขึ้นทั้งไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน คือ 2.63 แสนใบ คิดเป็น 1.99% และ5.18 แสนใบ คิดเป็น 3.99% ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป(เอ็นพีแอล)จำนวนทั้งสิ้น 5.04 พันล้านบาท ซึ่งลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน คือลดลง 1.68 พันล้านบาท ลดลง 24.93% และลดลง 148 ล้านบาท หรือลดลง 2.28% ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 1.02 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.66 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 35.55% เทียบไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.51 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 17.44% โดยหากพิจารณาประเภทการใช้จ่าย พบว่าปริมาณการใช้จ่ายในประเทศที่มีทั้งสิ้น 7.94 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.28 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 40.36% ในไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 1.48 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 22.84%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะเดียวกันมีการใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศทั้งสิ้น 3.16 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 14 ล้านบาท ลดลง 0.43% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 623 ล้านบาท คิดเป็น 24.55% เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่มียอดรวม 1.90 หมื่นล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น 3.83 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.16% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับลดลง 297 ล้านบาท ลดลง 1.53%
ด้านสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 2.14 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.33 พันล้านบาท คิดเป็น 1.08% และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.51 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 6.58% เช่นเดียวกับจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 8.75 ล้านบัญชี ลดลงทั้งไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน คือลดลง 1.48 แสนบัญชี คิดเป็น 1.67% และ 1.58 ล้านบัญชี หรือลดลง 15.27% ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในระบบมียอดสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 6.5 พันล้านบาท ลดลง 952 ล้านบาท หรือลดลง 12.78% เทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 1.75 พันล้านบาท หรือลดลง 21.24% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของธปท.ล่าสุดสิ้นเดือนธ.ค.หรือไตรมาส 4 ปี 52 พบว่า ยอดคงค้างสินเชื่ออยู่ที่ 1.97 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 1.35 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 7.36% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.37 พันล้านบาท คิดเป็น 3.90% ขณะที่ปริมาณบัตรมีทั้งสิ้น 13.50 ล้านใบ เพิ่มขึ้นทั้งไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน คือ 2.63 แสนใบ คิดเป็น 1.99% และ5.18 แสนใบ คิดเป็น 3.99% ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป(เอ็นพีแอล)จำนวนทั้งสิ้น 5.04 พันล้านบาท ซึ่งลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน คือลดลง 1.68 พันล้านบาท ลดลง 24.93% และลดลง 148 ล้านบาท หรือลดลง 2.28% ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 1.02 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.66 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 35.55% เทียบไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.51 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 17.44% โดยหากพิจารณาประเภทการใช้จ่าย พบว่าปริมาณการใช้จ่ายในประเทศที่มีทั้งสิ้น 7.94 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.28 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 40.36% ในไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 1.48 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 22.84%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะเดียวกันมีการใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศทั้งสิ้น 3.16 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 14 ล้านบาท ลดลง 0.43% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 623 ล้านบาท คิดเป็น 24.55% เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่มียอดรวม 1.90 หมื่นล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น 3.83 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.16% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับลดลง 297 ล้านบาท ลดลง 1.53%
ด้านสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 2.14 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.33 พันล้านบาท คิดเป็น 1.08% และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.51 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 6.58% เช่นเดียวกับจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 8.75 ล้านบัญชี ลดลงทั้งไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน คือลดลง 1.48 แสนบัญชี คิดเป็น 1.67% และ 1.58 ล้านบัญชี หรือลดลง 15.27% ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในระบบมียอดสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 6.5 พันล้านบาท ลดลง 952 ล้านบาท หรือลดลง 12.78% เทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 1.75 พันล้านบาท หรือลดลง 21.24% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน