เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ – ผู้ป่วยที่นอนไม่ได้สติมา 5 ปีเต็ม สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ด้วยความคิด ในการศึกษาที่นักวิจัยเรียกว่าเป็น ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีสภาพผัก
นักวิจัยจากสภาวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษ และมหาวิทยาลัยลีจในเบลเยียม ใช้เครื่องสแกนสมองเอฟเอ็มอาร์ไอแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยชายคนดังกล่าวที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองขั้นรุนแรงในอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อปี 2003 สามารถตอบคำถามว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’ ด้วยการใช้ความคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนกิจกรรมในสมอง
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผลลัพธ์นี้หมายความว่า แพทย์ควรประเมินผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการโคมาใหม่ รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาคนไข้เหล่านี้ในอนาคต
หลังจากตรวจพบสัญญาณการรับรู้ แพทย์ได้สแกนสมองของผู้ป่วยชายคนดังกล่าวพร้อมกับตั้งคำถามอย่างเช่น ‘พ่อคุณชื่อโธมัสใช่หรือไม่?’ โดยขอให้เขาตอบว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’
ทั้งนี้คณะผู้วิจัยบอกให้เขาใช้จินตนาการในเชิง “มอเตอร์” อย่างเช่น การแข่งขันเทนนิส เมื่อต้องการตอบว่า “ใช่” และใช้จินตนาการในเชิง “สถานที่” อย่างเช่นการเดินไปตามท้องถนน หากต้องการตอบว่า “ไม่ใช่”
เนื่องจากการคิด 2 ประเภทนี้ จะปรากฏกิจกรรมในสมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นด้วยการใช้เครื่องสแกนสมอง จึงทำให้คณะนักวิจัยสามารถทราบได้ว่าเขาตอบคำถามหรือไม่ และตอบว่าอะไร แล้วผลลัพธ์ที่ออกมาก็แสดงว่า ชายผู้นี้สามารถสื่อสารตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของเขาได้อย่างถูกต้อง 5 ใน 6 คำถามที่ขอให้เขาตอบ
“การสแกนสมองเหล่านี้ไม่เพียงบอกเราว่าผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในสภาพผักเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เป็นครั้งแรกในรอบห้าปีที่ผู้ป่วยมีวิธีสื่อสารความคิดให้คนภายนอกรับรู้” เอเดรียน โอเวน ผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษาจากสภาวิจัยทางการแพทย์ กล่าว
ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายหนุ่มอายุ 29 ปี และเป็นผู้ป่วย 1 ใน 23 รายที่ถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาพผัก และได้รับการสแกนสมองด้วยเครื่องเอฟเอ็มอาร์ไอ (เทคนิคการใช้ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)
นักวิจัยอธิบายไว้ในวารสารนิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซินฉบับวันพุธ (3) ว่าผลการสแกนพบสัญญาณการรับรู้ในผู้ป่วย 4 ราย
เทคนิคเอฟเอ็มอาร์ไอสามารถถอดรหัสคำตอบของสมองต่อคำถามในผู้ป่วยสุขภาพดีได้อย่างแม่นยำเต็ม 100% แต่ยังไม่เคยมีใครนำมาทดลองกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวได้มาก่อน
นิโคลัส ชิฟฟ์ นักประสาทวิทยาจากเวลล์ คอร์เนลล์ เมดิคัล คอลเลจในนิวยอร์ก แสดงความเห็นว่าการค้นพบนี้เป็น ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ ที่อาจมีผลลึกซึ้งและกว้างขวางในวงการการแพทย์ และยังมีนัยบ่งชี้ว่าควรมีการประเมินผู้ป่วยทั้งหมดที่ถูกวินิจฉัยว่า ‘มีสติสัมปะชัญญะน้อยมาก’ หรืออยู่ในสภาพ ‘ผัก’ กันใหม่
อัลลัน ร็อปเปอร์ จากโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมนส์ในบอสตัน เสริมว่างานศึกษานี้บ่งชี้ว่า การสแกนสมองอาจเป็นหนึ่งในหลายๆ การทดสอบที่แพทย์สามารถนำไปใช้กับคนไข้ที่ฟื้นจากอาการโคมาแต่ยังไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง
อย่างไรก็ดี ร็อปเปอร์ย้ำว่า มีการตรวจพบการทำงานของสมองในผู้ป่วยน้อยรายมากๆ และก็พบเฉพาะในผู้ป่วยรายที่ได้รับบาดเจ็บขั้นรุนแรงเท่านั้น ไม่ใช่ในรายที่สมองทั้งหมดเสียหายจากการขาดออกซิเจน เนื่องจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกฉับพลัน หรืออาการหัวใจวาย
ทางด้านผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์ของบีบีซีนิวส์ชี้ว่า ผลการวิจัยครั้งนี้ยังทำให้เกิดประเด็นข้อถกเถียงทางจริยธรรมขึ้นมาด้วย เป็นต้นว่า ในอังกฤษเวลานี้เป็นเรื่องถูกกฎหมายที่จะยกเลิกการบำบัดรักษาทั้งหมดเพื่อปล่อยให้คนไข้ในสภาพผักอย่างถาวรเสียชีวิตไป แต่ถ้าคนไข้คนใดเกิดแสดงให้เห็นว่าเขายังตอบสนองต่อสิ่งภายนอกได้ ก็จะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ถึงแม้เขาอาจจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต้องการให้หยุดรักษาเขาก็ตามที
นักวิจัยจากสภาวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษ และมหาวิทยาลัยลีจในเบลเยียม ใช้เครื่องสแกนสมองเอฟเอ็มอาร์ไอแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยชายคนดังกล่าวที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองขั้นรุนแรงในอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อปี 2003 สามารถตอบคำถามว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’ ด้วยการใช้ความคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนกิจกรรมในสมอง
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผลลัพธ์นี้หมายความว่า แพทย์ควรประเมินผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการโคมาใหม่ รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาคนไข้เหล่านี้ในอนาคต
หลังจากตรวจพบสัญญาณการรับรู้ แพทย์ได้สแกนสมองของผู้ป่วยชายคนดังกล่าวพร้อมกับตั้งคำถามอย่างเช่น ‘พ่อคุณชื่อโธมัสใช่หรือไม่?’ โดยขอให้เขาตอบว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’
ทั้งนี้คณะผู้วิจัยบอกให้เขาใช้จินตนาการในเชิง “มอเตอร์” อย่างเช่น การแข่งขันเทนนิส เมื่อต้องการตอบว่า “ใช่” และใช้จินตนาการในเชิง “สถานที่” อย่างเช่นการเดินไปตามท้องถนน หากต้องการตอบว่า “ไม่ใช่”
เนื่องจากการคิด 2 ประเภทนี้ จะปรากฏกิจกรรมในสมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นด้วยการใช้เครื่องสแกนสมอง จึงทำให้คณะนักวิจัยสามารถทราบได้ว่าเขาตอบคำถามหรือไม่ และตอบว่าอะไร แล้วผลลัพธ์ที่ออกมาก็แสดงว่า ชายผู้นี้สามารถสื่อสารตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของเขาได้อย่างถูกต้อง 5 ใน 6 คำถามที่ขอให้เขาตอบ
“การสแกนสมองเหล่านี้ไม่เพียงบอกเราว่าผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในสภาพผักเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เป็นครั้งแรกในรอบห้าปีที่ผู้ป่วยมีวิธีสื่อสารความคิดให้คนภายนอกรับรู้” เอเดรียน โอเวน ผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษาจากสภาวิจัยทางการแพทย์ กล่าว
ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายหนุ่มอายุ 29 ปี และเป็นผู้ป่วย 1 ใน 23 รายที่ถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาพผัก และได้รับการสแกนสมองด้วยเครื่องเอฟเอ็มอาร์ไอ (เทคนิคการใช้ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)
นักวิจัยอธิบายไว้ในวารสารนิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซินฉบับวันพุธ (3) ว่าผลการสแกนพบสัญญาณการรับรู้ในผู้ป่วย 4 ราย
เทคนิคเอฟเอ็มอาร์ไอสามารถถอดรหัสคำตอบของสมองต่อคำถามในผู้ป่วยสุขภาพดีได้อย่างแม่นยำเต็ม 100% แต่ยังไม่เคยมีใครนำมาทดลองกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวได้มาก่อน
นิโคลัส ชิฟฟ์ นักประสาทวิทยาจากเวลล์ คอร์เนลล์ เมดิคัล คอลเลจในนิวยอร์ก แสดงความเห็นว่าการค้นพบนี้เป็น ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ ที่อาจมีผลลึกซึ้งและกว้างขวางในวงการการแพทย์ และยังมีนัยบ่งชี้ว่าควรมีการประเมินผู้ป่วยทั้งหมดที่ถูกวินิจฉัยว่า ‘มีสติสัมปะชัญญะน้อยมาก’ หรืออยู่ในสภาพ ‘ผัก’ กันใหม่
อัลลัน ร็อปเปอร์ จากโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมนส์ในบอสตัน เสริมว่างานศึกษานี้บ่งชี้ว่า การสแกนสมองอาจเป็นหนึ่งในหลายๆ การทดสอบที่แพทย์สามารถนำไปใช้กับคนไข้ที่ฟื้นจากอาการโคมาแต่ยังไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง
อย่างไรก็ดี ร็อปเปอร์ย้ำว่า มีการตรวจพบการทำงานของสมองในผู้ป่วยน้อยรายมากๆ และก็พบเฉพาะในผู้ป่วยรายที่ได้รับบาดเจ็บขั้นรุนแรงเท่านั้น ไม่ใช่ในรายที่สมองทั้งหมดเสียหายจากการขาดออกซิเจน เนื่องจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกฉับพลัน หรืออาการหัวใจวาย
ทางด้านผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์ของบีบีซีนิวส์ชี้ว่า ผลการวิจัยครั้งนี้ยังทำให้เกิดประเด็นข้อถกเถียงทางจริยธรรมขึ้นมาด้วย เป็นต้นว่า ในอังกฤษเวลานี้เป็นเรื่องถูกกฎหมายที่จะยกเลิกการบำบัดรักษาทั้งหมดเพื่อปล่อยให้คนไข้ในสภาพผักอย่างถาวรเสียชีวิตไป แต่ถ้าคนไข้คนใดเกิดแสดงให้เห็นว่าเขายังตอบสนองต่อสิ่งภายนอกได้ ก็จะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ถึงแม้เขาอาจจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต้องการให้หยุดรักษาเขาก็ตามที