โดย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
ผลพวงจากการมีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีมาตรการที่เข้มงวดในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ยอดจำหน่ายและช่องทางการโฆษณาผ่านทางสื่อต่างๆถูกจำกัด สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องปรับกลยุทธ์ในการขายผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ มีการขายตามร้านอาหาร มีการส่งเสริมการตลาด ด้วยการมีพนักงานเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ผลิตสุรา มาส่งเสริมแนะนำให้ลูกค้าดื่ม หรือเด็กเชียร์เบียร์ เป็นต้น และเริ่มมีการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนมากขึ้น เพื่อขยายจำนวนนักดื่มรุ่นใหม่
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติและผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวถึงวิธีการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับกลุ่มเด็กและเยาวชนว่า วิธีการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนคือ มีการเปิดสถานจำหน่ายสุราใกล้สถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้อยู่ในรูปของการจำหน่ายสุราเป็นการเฉพาะแบบบาร์หรือผับ โดยแอบแฝงในลักษณะร้านขายเครื่องดื่มทั่วๆ ไป ซึ่งมีการนำเหล้ามาปั่นกับน้ำแข็ง ผสมน้ำตาล ผสมสี ผสมกลิ่นให้ดูเหมือนกับว่าเป็นน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ ทำให้เด็กนักเรียนนักศึกษาดื่มได้ง่ายและสะดวก คล้ายๆ กับไวน์คูลเลอร์ในยุคหนึ่ง แต่ไวน์คูลเลอร์ยังมีขวดมีสัญลักษณ์ที่ชัดเจน แต่นี่เหมือนน้ำผลไม้ปั่นตามร้านที่ขายน้ำผลไม้ปั่น ที่เรียกว่า สมูทตี้ ซึ่งเหล้าปั่นมีการปรุงคล้ายๆ กัน
ร้านเหล้าปั่นขยายตัว 3 เท่าล้อมสถานศึกษา
ทั้งนี้ มีสถิติข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา พบว่าปัจจุบันอัตราการดื่มของนักดื่มหน้าใหม่ ปีละ 260,000 คน อายุน้อยที่สุด 9 ขวบ และเคยพบเด็ก 5 ขวบที่ลองดื่ม มีข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2539-2550 เยาวชนอายุ 15-19 ปี เป็นนักดื่มประจำเพิ่มขึ้นกว่า 70% มีการสำรวจพบร้านขายเหล้ากว่า 83.3% ขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวนหอพักนักศึกษากลายเป็นที่ขายเหล้ามากถึง 25% ในขณะที่ร้านเหล้าปั่นขยายตัวมากขึ้นกว่า 3 เท่า และส่วนใหญ่อยู่ในรัศมี 200 เมตรรอบมหาวิทยาลัย ข้อมูลเหล่านี้ได้จากงานวิจัยหลายๆ ชิ้น ที่สะท้อนว่าปัญหาเหล้ากับเยาวชนตอนนี้วิกฤตแล้วจริงๆ
จะเห็นได้ว่ามีอัตราการดื่มของผู้ดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนหญิง มีการดื่มเพิ่มขึ้น เพราะมีการปรุงแต่งให้เป็นน้ำหวานหรือพั้นซ์ ที่ดื่มง่ายและหน้าตาไม่เหมือนเหล้า แต่เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปะปนอยู่เพื่อชูรส ซึ่งเป็นวิธีส่งเสริมการตลาดที่แนบเนียน การดื่มสุราไม่เหมือนการดื่มน้ำอัดลมทั่วไปตรงที่น้ำอัดลมดื่มแล้วไม่ติด ไม่ได้มีผลต่อสมอง แต่สุราถ้าดื่มแล้วสามารถทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ เพราะว่าเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะไปควบคุมหรือแทรกแซงการทำงานของสมอง
เมื่อดื่มติดต่อกันหลายครั้งแล้วรู้สึกมีความสุขจากการดื่มสุรา ก็จะเกิดภาวะเสพติดสุรา ถ้าดื่มเพียงเล็กน้อยระยะต้น แม้สุราจะไปแทรกแซงหรือควบคุมการทำงานของสมอง แต่อาจไม่ได้ทำลายสมองมากนัก แต่ถ้าดื่มติดต่อกันระยะยาวหรือเป็นประจำวันละ2-3แก้ว ก็จะทำให้สมองถูกทำลาย มีภาวะเสื่อมของสมอง นอกจากจะทำลายตับแล้ว ยังทำลายสมองและเกิดโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิด
ที่สำคัญคือ การดื่มสุราทำให้การศึกษาเล่าเรียนไม่สามารถทำได้เต็มที่เพราะเมื่อสุราดื่มเข้าไปแล้วจะทำลายสมองหรือแทรกแซงการทำงานของสมอง จะให้เด็กและเยาวชนไม่สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาในทางที่ดีและเหมาะสม
เมาสุรา นำปัญหาเรื่องเพศ
ประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กและเยาวชนถ้าดื่มสุราจะควบคุมพฤติกรรมของตัวเองไม่ได้ เพราะว่าโดยปกติเด็กหรือเยาวชน ความสามารถของสมองส่วนหน้าที่จะไตร่ตรอง ควบคุมพฤติกรรมของตัวเองทำได้น้อยอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฮอร์โมนเพศเริ่มทำงานก็จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์แปรปรวนเป็นพื้น
ถ้าเป็นเด็กผู้ชายก็จะมีความก้าวร้าวจากฮอร์โมนเพศเข้าไปเสริม ทักษะทางสังคมก็มีน้อย ถ้าหากเด็กเยาวชนไปดื่มสุรา ก็มักจะก่อความรุนแรง ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเวลาที่เมา สมองถูกแทรกแซงโดยสุรา ก็จะทำให้ไม่สามารถไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ก่อนที่จะมีพฤติกรรมเลวร้าย ไม่เพียงเรื่องการใช้ความรุนแรงอย่างเดียว ยังรวมถึงเรื่องความก้าวร้าวทางเพศ เพราะปกติเยาวชนที่ฮอร์โมนเพศทำงานจะควบคุมตัวเองในเรื่องทางเพศได้น้อยมาก เพราะยังไม่มีทักษะในการควบคุม อีกประการด้วยแรงกระตุ้นทางเพศ หรือ sexual stress จะรุนแรงกว่าทุกวัย เพราะฮอร์โมนเพศจะมีความเข้มข้นมากเป็นพิเศษ ประกอบกับร่างกายมีความกระตือรือร้นที่จะไปมีเพศสัมพันธ์เป็นพื้นอยู่
เมื่อดื่มสุราเข้าไปก็ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้เลยในเรื่องเพศ หรือดื่มจนครองสติไม่ได้ ถ้าดื่มแล้วยังพอมีสติอยู่บ้างก็จะควบคุมตัวเองไม่ได้เลยเมื่อมีอารมณ์เพศเช่นกัน และนี่เป็นที่มาของการกระทำความผิดทางอาญาในด้านเพศ สุราจึงเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการกระทำความผิดทางอาญาที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง และพบว่าการใช้ความรุนแรงในครอบครัวจำนวนมากก็เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา ปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กกระทำความผิด หน่วยงานวิจัยจากสถานพินิจ พบข้อเท็จจริงว่า ภายใน 5 ชั่วโมงที่เด็กหรือเยาวชนเหล่านี้ดื่มสุรา 4 ใน 10 คน ได้ก่อการกระทำความผิด
จุดนี้เป็นประเด็นที่ร้ายแรงมาก ถ้าหากปล่อยให้มีร้านจำหน่ายสุราอยู่ใกล้โรงเรียน หรือสถานศึกษา โดยเฉพาะไม่ได้เป็นรูปของการจำหน่ายสุราแท้ๆ อย่างชัดเจน แต่แฝงตัวอยู่ในรูปของน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ปั่น ทำให้การใช้กฎหมายคุ้มครองเด็กคลุมเครือ ตามมาตรา26 (10) ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้กระทำการจำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์เนื่องจากไม่สามารถจำแนกได้ว่าที่ขายให้เด็กเป็นน้ำหวานปั่นธรรมดาหรือปนแอลกอฮอล์ ดังนั้นการปล่อยให้มีการจำหน่ายเหล้าปั่น เท่ากับเป็นการเปิดช่องจำหน่ายสุราให้เด็ก ซึ่งยากต่อการควบคุม ถ้าจำหน่ายเป็นขวดหรือกระป๋อง ยังควบคุมดูแลได้ง่าย แต่นี่จำหน่ายในรูปของน้ำหวานปั่น ทำให้การควบคุมทำยาก
วอนผู้ใหญ่จัดการร้านเหล้าปั่น
พร้อมกันนี้ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ มีข้อเรียกร้องให้มีการยุติการจำหน่ายเหล้าปั่นว่า เราไม่ได้ขัดขวางเรื่องการจำหน่ายสุรา การเปิดกิจการจำหน่ายสุรา เพียงแต่ควรมีข้อแม้และเงื่อนไขว่า รูปแบบการจำหน่ายสุราแบบสุราปั่น ถ้าจะจำหน่ายให้ไปจำหน่ายในสถานที่ที่จำหน่ายสุราโดยเฉพาะ ไม่ใช่ปะปนกับน้ำผลไม้ปั่น หรือไปจำหน่ายในสถานบริการ เพราะในสถานบริการมีกฎหมายห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เข้าไป เพราะอย่างน้อยหากมีเด็กหรือเยาวชนเข้าไปในสถานบริการ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ยังเห็นและรับรู้ได้ แต่ถ้าจำหน่ายตามร้านทั่วไป ผู้ปกครองจะไม่รู้ว่าเด็กกำลังดื่มน้ำผลไม้ปั่นหรือสุราปั่น
ดังนั้น การจำหน่ายเหล้าปั่นลักษณะนี้ต้องยุติในทันที และควรมีการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลไม่ให้จำหน่ายให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการออกเป็นกฎกระทรวงไม่ให้ใส่แอลกอฮอล์ในน้ำหวานหรือในน้ำผลไม้ปั่นจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป อีกประการคือ การควบคุมสถานที่จำหน่ายสุรา ผับหรือบาร์ ไม่ควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้โรงเรียนหรือสถานศึกษา
สุราปั่นดูเหมือนว่าแอลกอฮอล์จะเจือจางก็จริง แต่เป็นการล่อเหยื่อที่ร้ายแรง เพราะการดื่มเหล้าปั่นนั้น ดื่มง่าย ดื่มสะดวกมากกว่าดื่มสุราแท้ๆ เพราะคนที่ไม่เคยดื่มสุราก็สามารถดื่มได้สบายๆ เพราะไม่ต่างจากน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มากนัก แต่ในระยะยาวจะทำให้เสพติดได้ หรือถ้าดื่มปริมาณมากพอสมควรก็ทำให้เมาได้”
ในวันเด็กปีนี้ หากเด็กๆ สามารถขอพรจากผู้ใหญ่ได้ ก็คงขอผู้ใหญ่ทุกคน ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างเด็กและเยาวชนให้เติบโตมาเป็นผู้สร้างโลกใบนี้ต่อไปในอนาคต ได้ร่วมกันดูแลอนาคตของชาติให้เด็กๆเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์พร้อมในทุกด้านและมีคุณภาพดังที่ผู้ใหญ่หลายคนตั้งความหวังไว้
ผลพวงจากการมีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีมาตรการที่เข้มงวดในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ยอดจำหน่ายและช่องทางการโฆษณาผ่านทางสื่อต่างๆถูกจำกัด สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องปรับกลยุทธ์ในการขายผลิตภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ มีการขายตามร้านอาหาร มีการส่งเสริมการตลาด ด้วยการมีพนักงานเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ผลิตสุรา มาส่งเสริมแนะนำให้ลูกค้าดื่ม หรือเด็กเชียร์เบียร์ เป็นต้น และเริ่มมีการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนมากขึ้น เพื่อขยายจำนวนนักดื่มรุ่นใหม่
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติและผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวถึงวิธีการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับกลุ่มเด็กและเยาวชนว่า วิธีการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนคือ มีการเปิดสถานจำหน่ายสุราใกล้สถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้อยู่ในรูปของการจำหน่ายสุราเป็นการเฉพาะแบบบาร์หรือผับ โดยแอบแฝงในลักษณะร้านขายเครื่องดื่มทั่วๆ ไป ซึ่งมีการนำเหล้ามาปั่นกับน้ำแข็ง ผสมน้ำตาล ผสมสี ผสมกลิ่นให้ดูเหมือนกับว่าเป็นน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ ทำให้เด็กนักเรียนนักศึกษาดื่มได้ง่ายและสะดวก คล้ายๆ กับไวน์คูลเลอร์ในยุคหนึ่ง แต่ไวน์คูลเลอร์ยังมีขวดมีสัญลักษณ์ที่ชัดเจน แต่นี่เหมือนน้ำผลไม้ปั่นตามร้านที่ขายน้ำผลไม้ปั่น ที่เรียกว่า สมูทตี้ ซึ่งเหล้าปั่นมีการปรุงคล้ายๆ กัน
จะเห็นได้ว่ามีอัตราการดื่มของผู้ดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนหญิง มีการดื่มเพิ่มขึ้น เพราะมีการปรุงแต่งให้เป็นน้ำหวานหรือพั้นซ์ ที่ดื่มง่ายและหน้าตาไม่เหมือนเหล้า แต่เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปะปนอยู่เพื่อชูรส ซึ่งเป็นวิธีส่งเสริมการตลาดที่แนบเนียน การดื่มสุราไม่เหมือนการดื่มน้ำอัดลมทั่วไปตรงที่น้ำอัดลมดื่มแล้วไม่ติด ไม่ได้มีผลต่อสมอง แต่สุราถ้าดื่มแล้วสามารถทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ เพราะว่าเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะไปควบคุมหรือแทรกแซงการทำงานของสมอง
เมื่อดื่มติดต่อกันหลายครั้งแล้วรู้สึกมีความสุขจากการดื่มสุรา ก็จะเกิดภาวะเสพติดสุรา ถ้าดื่มเพียงเล็กน้อยระยะต้น แม้สุราจะไปแทรกแซงหรือควบคุมการทำงานของสมอง แต่อาจไม่ได้ทำลายสมองมากนัก แต่ถ้าดื่มติดต่อกันระยะยาวหรือเป็นประจำวันละ2-3แก้ว ก็จะทำให้สมองถูกทำลาย มีภาวะเสื่อมของสมอง นอกจากจะทำลายตับแล้ว ยังทำลายสมองและเกิดโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิด
ที่สำคัญคือ การดื่มสุราทำให้การศึกษาเล่าเรียนไม่สามารถทำได้เต็มที่เพราะเมื่อสุราดื่มเข้าไปแล้วจะทำลายสมองหรือแทรกแซงการทำงานของสมอง จะให้เด็กและเยาวชนไม่สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาในทางที่ดีและเหมาะสม
ประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กและเยาวชนถ้าดื่มสุราจะควบคุมพฤติกรรมของตัวเองไม่ได้ เพราะว่าโดยปกติเด็กหรือเยาวชน ความสามารถของสมองส่วนหน้าที่จะไตร่ตรอง ควบคุมพฤติกรรมของตัวเองทำได้น้อยอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฮอร์โมนเพศเริ่มทำงานก็จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์แปรปรวนเป็นพื้น
ถ้าเป็นเด็กผู้ชายก็จะมีความก้าวร้าวจากฮอร์โมนเพศเข้าไปเสริม ทักษะทางสังคมก็มีน้อย ถ้าหากเด็กเยาวชนไปดื่มสุรา ก็มักจะก่อความรุนแรง ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเวลาที่เมา สมองถูกแทรกแซงโดยสุรา ก็จะทำให้ไม่สามารถไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ก่อนที่จะมีพฤติกรรมเลวร้าย ไม่เพียงเรื่องการใช้ความรุนแรงอย่างเดียว ยังรวมถึงเรื่องความก้าวร้าวทางเพศ เพราะปกติเยาวชนที่ฮอร์โมนเพศทำงานจะควบคุมตัวเองในเรื่องทางเพศได้น้อยมาก เพราะยังไม่มีทักษะในการควบคุม อีกประการด้วยแรงกระตุ้นทางเพศ หรือ sexual stress จะรุนแรงกว่าทุกวัย เพราะฮอร์โมนเพศจะมีความเข้มข้นมากเป็นพิเศษ ประกอบกับร่างกายมีความกระตือรือร้นที่จะไปมีเพศสัมพันธ์เป็นพื้นอยู่
เมื่อดื่มสุราเข้าไปก็ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้เลยในเรื่องเพศ หรือดื่มจนครองสติไม่ได้ ถ้าดื่มแล้วยังพอมีสติอยู่บ้างก็จะควบคุมตัวเองไม่ได้เลยเมื่อมีอารมณ์เพศเช่นกัน และนี่เป็นที่มาของการกระทำความผิดทางอาญาในด้านเพศ สุราจึงเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการกระทำความผิดทางอาญาที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง และพบว่าการใช้ความรุนแรงในครอบครัวจำนวนมากก็เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา ปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กกระทำความผิด หน่วยงานวิจัยจากสถานพินิจ พบข้อเท็จจริงว่า ภายใน 5 ชั่วโมงที่เด็กหรือเยาวชนเหล่านี้ดื่มสุรา 4 ใน 10 คน ได้ก่อการกระทำความผิด
จุดนี้เป็นประเด็นที่ร้ายแรงมาก ถ้าหากปล่อยให้มีร้านจำหน่ายสุราอยู่ใกล้โรงเรียน หรือสถานศึกษา โดยเฉพาะไม่ได้เป็นรูปของการจำหน่ายสุราแท้ๆ อย่างชัดเจน แต่แฝงตัวอยู่ในรูปของน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ปั่น ทำให้การใช้กฎหมายคุ้มครองเด็กคลุมเครือ ตามมาตรา26 (10) ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้กระทำการจำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์เนื่องจากไม่สามารถจำแนกได้ว่าที่ขายให้เด็กเป็นน้ำหวานปั่นธรรมดาหรือปนแอลกอฮอล์ ดังนั้นการปล่อยให้มีการจำหน่ายเหล้าปั่น เท่ากับเป็นการเปิดช่องจำหน่ายสุราให้เด็ก ซึ่งยากต่อการควบคุม ถ้าจำหน่ายเป็นขวดหรือกระป๋อง ยังควบคุมดูแลได้ง่าย แต่นี่จำหน่ายในรูปของน้ำหวานปั่น ทำให้การควบคุมทำยาก
พร้อมกันนี้ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ มีข้อเรียกร้องให้มีการยุติการจำหน่ายเหล้าปั่นว่า เราไม่ได้ขัดขวางเรื่องการจำหน่ายสุรา การเปิดกิจการจำหน่ายสุรา เพียงแต่ควรมีข้อแม้และเงื่อนไขว่า รูปแบบการจำหน่ายสุราแบบสุราปั่น ถ้าจะจำหน่ายให้ไปจำหน่ายในสถานที่ที่จำหน่ายสุราโดยเฉพาะ ไม่ใช่ปะปนกับน้ำผลไม้ปั่น หรือไปจำหน่ายในสถานบริการ เพราะในสถานบริการมีกฎหมายห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เข้าไป เพราะอย่างน้อยหากมีเด็กหรือเยาวชนเข้าไปในสถานบริการ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ยังเห็นและรับรู้ได้ แต่ถ้าจำหน่ายตามร้านทั่วไป ผู้ปกครองจะไม่รู้ว่าเด็กกำลังดื่มน้ำผลไม้ปั่นหรือสุราปั่น
ดังนั้น การจำหน่ายเหล้าปั่นลักษณะนี้ต้องยุติในทันที และควรมีการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมดูแลไม่ให้จำหน่ายให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการออกเป็นกฎกระทรวงไม่ให้ใส่แอลกอฮอล์ในน้ำหวานหรือในน้ำผลไม้ปั่นจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป อีกประการคือ การควบคุมสถานที่จำหน่ายสุรา ผับหรือบาร์ ไม่ควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้โรงเรียนหรือสถานศึกษา
สุราปั่นดูเหมือนว่าแอลกอฮอล์จะเจือจางก็จริง แต่เป็นการล่อเหยื่อที่ร้ายแรง เพราะการดื่มเหล้าปั่นนั้น ดื่มง่าย ดื่มสะดวกมากกว่าดื่มสุราแท้ๆ เพราะคนที่ไม่เคยดื่มสุราก็สามารถดื่มได้สบายๆ เพราะไม่ต่างจากน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มากนัก แต่ในระยะยาวจะทำให้เสพติดได้ หรือถ้าดื่มปริมาณมากพอสมควรก็ทำให้เมาได้”
ในวันเด็กปีนี้ หากเด็กๆ สามารถขอพรจากผู้ใหญ่ได้ ก็คงขอผู้ใหญ่ทุกคน ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างเด็กและเยาวชนให้เติบโตมาเป็นผู้สร้างโลกใบนี้ต่อไปในอนาคต ได้ร่วมกันดูแลอนาคตของชาติให้เด็กๆเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์พร้อมในทุกด้านและมีคุณภาพดังที่ผู้ใหญ่หลายคนตั้งความหวังไว้