ปุจฉา
ลักษณะจิตของพระอรหันต์
หลวงปู่สอนไว้ว่าให้ใช้สติควบคุมจิต เหมือนประตูหน้าต่าง แสดงว่าอารมณ์ต่างๆ เช่น โทสะ โมหะ จะต้องเกิดขึ้นก่อนแล้วสติค่อยกำกับทีหลัง มีข้อยกเว้น สำหรับพระอรหันต์ที่ยังอยู่ในสังคมไม่ใช่อยู่ในป่า (สมมติว่ามี) หรือไม่ คือ จิตจะไม่เกิดอารมณ์ต่างๆ ที่ไม่ดีเลย หรือว่ามีอารมณ์ เหมือนกันแต่สติตามได้ทันตลอดเวลา
วิสัชนา
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า โทสะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับโทสะหามีไม่ โมหะนั้นมีอยู่เดิม บุคคลผู้รับโมหะนั้นหามีไม่ ราคะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับราคะนั้นมีอยู่ไม่ เมื่อโทสะ โมหะ ราคะ มันมีอยู่เดิมแล้ว เราไม่มี ก็คือตัวเราจริงๆไม่มี แต่ที่เราเข้าไปรับมัน ก็เพราะเราไปปรุงแต่งว่าตัวเรามีแล้วเรารับมันเข้ามาใช้ประโยชน์ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกเดิมก่อนที่คุณจะเกิด ทีนี้เมื่อมันมีอยู่เดิม คุณเกิดมาหน้าที่ของคุณก็คือเพียงแค่ระวังอย่าให้ไปเปื้อน อย่าให้ไปแปดเปื้อน อย่าให้มันมีอำนาจมาทำให้จิตวิญญาณของคุณขุ่นมัวเท่านั้นเอง
สติก็เป็นตัวกางกั้น สติมีหน้าที่ที่จะเปิดปิดประตูแห่งใจคุณว่า อะไรควรรับ อะไรไม่ควรรับ นี่เรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นทุนเดิมของโลกมีอยู่แล้ว ส่วนราคะ โทสะ โมหะที่เป็นทุนเดิมของกรรม หรือพิธีกรรม หรือจิตวิญญาณของคุณ ที่เป็นทุนเดิมเรียกว่า โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต ก็คือคุณเกิดมาจากราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นมูลเดิมของจิตวิญญาณคุณที่สั่งสมอบรมมาแต่อดีตชาติ ที่เรียกว่าอนุสัย เมื่อสั่งสมอบรมมาแต่เก่าก่อนแล้วสิ่งเหล่านี้ หน้าที่ของคุณเกิดเป็น คนต้องชำระล้าง และตัดให้หลุด อย่าปล่อยให้มันมาฉุดเราอยู่ รวมๆ ก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีทั้งภายใน ก็คือจิตเดิมของคุณ มีมาเก่า และมีทั้งภายนอกก็คือมี อยู่ในโลกนี้แล้ว มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ประตูหน้าต่างมีเอาไว้สำหรับป้องกันพายุข้างนอก แต่ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ผ้าเช็ดถู มีสำหรับไว้ป้องกันฝุ่นละอองภายใน ถ้าคุณมีสองสิ่งนี้ได้ก็ถือว่าคุณมีสติ สมาธิ และปัญญา จะกำจัดสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ของจิตคุณทั้งภายในและภายนอกได้
ส่วนคำถามที่ถามว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่เจริญซึ่งสติ สมาธิ และปัญญาแล้ว ก็คือมีทั้งประตูหน้าต่าง และเครื่องกำจัดภายใน ที่สมบูรณ์ ที่ไม่มีรูรั่ว ที่สามารถป้องกันราคะ โทสะ โมหะ หรือภัยพิบัติจากข้างนอกได้แล้ว แล้วก็มีเครื่องดูดฝุ่น มีทั้งผ้าเช็ดพื้น มีทั้งไม้กวาดอันสมบูรณ์ และมีพนักงานซึ่งพร้อม ที่จะทำลายสิ่งที่เป็นภายในที่เรียกว่าฝุ่นละอองนั้นหมดไปเรียบร้อยแล้ว รวมๆ ก็คือ พระอรหันต์ไม่มีมลภาวะทั้งภายใน หมดแล้ว ภายนอกก็ไม่มีอำนาจเหนือท่านแล้ว พระอรหันต์ไม่ใช่ไม่มีมลภาวะแต่ภายนอก ภายนอกไม่มีสิทธิ์
พระอรหันต์นี่ไม่สามารถที่จะไปทำลาย โทสะ โมหะ ราคะ ของโลกได้ ก็บอกแล้วว่ามันมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ถ้าจะทำลาย ก็ต้องวางระเบิดเวลาเผาผลาญโลก หรือไม่ก็ทำลายโลกไป ก็ไม่แน่ใจว่าโลกนี้มันระเบิดแล้วจะหมดราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เป็นผู้หมดจากกิเลสทั้งภายในและไม่ปล่อยให้ภายนอกมามีอำนาจเหนือท่าน ราคะ โทสะ โมหะ ข้างนอกมีอยู่แต่ไม่ทำให้ท่านต้องเดือดร้อนเท่านั้นเอง
ปุจฉา
จิตกับใจแยกกันได้ไหม
มีคำถามจะฝากนมัสการเรียนถามหลวงปู่เกี่ยวกับธรรมะข้อหนึ่งค่ะ คือ จิตกับใจแยกจากกันได้จริง (ไม่ใช่ตอนตาย หมายถึงตอนที่ยังมีลมหายใจอยู่) ทำได้อย่างไร เช่นเวลาที่กายเจ็บป่วยแล้วใจก็เศร้าหมอง เราจะมีทางระงับได้อย่างไรเพื่อไม่ให้กายเป็นนายของใจ
วิสัชนา
จริงๆ แล้วคำถามถามค่อนข้างจะสับสน ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องจิตกับใจแยกกันได้จริงหรือไม่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าอะไรคือจิต และอะไรคือใจ จิต ในภาษาธรรมะ วิชาการศาสนาเขาเรียกมันเป็น สภาวธรรม จิตนี้เป็นสภาวธรรม ไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ ธรรมชาติของจิตคือมีความ ซึมสิง ซึมทราบ มีตัวรู้ เมื่อจิตไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ มีคุณสมบัติคือรับรู้อารมณ์ รับรู้สภาวธรรม ที่อยู่ของจิตก็คือกายนี้
ส่วนใจ หรือภาษาบาลี หรือภาษาวิชาการศาสนา เขาเรียกว่า หะทะยัง หรือหัวใจ มีสัณฐานกลมเหมือนดอกบัวตูม ใหญ่เล็กเท่าเจ้าของกับกำปั้นของคนคนนั้น รูปร่างจะใหญ่โตเท่ากับ กำปั้นของผู้เป็นเจ้าของใจใจนั้น
ใจนี้มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหมือนโรงงานสูบน้ำ เพราะฉะนั้น จิตอิง อาศัยกายและใจนี้ โดยภาษาธรรมะแล้ว จิตนี้เปรียบดั่งพลังงาน มีอำนาจเหนือการควบคุมของสมอง สำหรับผู้ไม่ได้รับการฝึกปรือ แต่สำหรับผู้ควบคุมแล้ว คือฝึกปรือแล้ว ก็สามารถควบคุมจิตนี้ให้ดำรงตั้งมั่น หรือแยกออกจากกายและใจนี้ได้
การควบคุมหรือการ ฝึกปรืออันนั้น ก็ได้มาจากการเจริญสติและทำให้สติตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นอยู่ในจิตนี้แล้ว เราก็จะควบคุมจิตนี้ได้ไม่ให้รับความรู้สึกจากเวทนาที่ปรากฏทางใจ หรือเวทนาที่ปรากฏ ทางกาย
คำถามที่ถามว่า ทำอย่างไรที่จะแยกจิตออกจากใจ ก็คือ ต้องฝึก ต้องมีสติ ฝึกให้จิตนี้ปรากฏสติทุกดวงที่เกิดดับ จนเป็นความชำนาญสามารถแยกจิตออกจากใจได้ เมื่อจิตออกจากใจก็คือ เหมือนกับจิตที่ออกจากกาย กายตรงไหนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เช่น ปวดขา ปวดมือ ปวดหัว ปวดท้อง อาการปวด เป็นเวทนา เมื่อจิตนี้สามารถ แยกออกจากใจได้ก็คือไม่รับรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น เวทนานั้นก็จะไม่มีอำนาจ คือ จะไม่มีอำนาจครอบคลุมกายนี้
มีเรื่องอยากจะบอกคุณอีกนิดหนึ่งว่า โดยธรรมชาติของ กาย มีสมองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของกาย มีใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง มีจิตเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมอง ใจ กาย จิตจะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ในและนอกกายนี้ เมื่อฝึกจิตดีแล้ว กายนี้ก็ย่อมไม่มีอิทธิพลต่อจิต
ลักษณะจิตของพระอรหันต์
หลวงปู่สอนไว้ว่าให้ใช้สติควบคุมจิต เหมือนประตูหน้าต่าง แสดงว่าอารมณ์ต่างๆ เช่น โทสะ โมหะ จะต้องเกิดขึ้นก่อนแล้วสติค่อยกำกับทีหลัง มีข้อยกเว้น สำหรับพระอรหันต์ที่ยังอยู่ในสังคมไม่ใช่อยู่ในป่า (สมมติว่ามี) หรือไม่ คือ จิตจะไม่เกิดอารมณ์ต่างๆ ที่ไม่ดีเลย หรือว่ามีอารมณ์ เหมือนกันแต่สติตามได้ทันตลอดเวลา
วิสัชนา
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า โทสะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับโทสะหามีไม่ โมหะนั้นมีอยู่เดิม บุคคลผู้รับโมหะนั้นหามีไม่ ราคะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับราคะนั้นมีอยู่ไม่ เมื่อโทสะ โมหะ ราคะ มันมีอยู่เดิมแล้ว เราไม่มี ก็คือตัวเราจริงๆไม่มี แต่ที่เราเข้าไปรับมัน ก็เพราะเราไปปรุงแต่งว่าตัวเรามีแล้วเรารับมันเข้ามาใช้ประโยชน์ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกเดิมก่อนที่คุณจะเกิด ทีนี้เมื่อมันมีอยู่เดิม คุณเกิดมาหน้าที่ของคุณก็คือเพียงแค่ระวังอย่าให้ไปเปื้อน อย่าให้ไปแปดเปื้อน อย่าให้มันมีอำนาจมาทำให้จิตวิญญาณของคุณขุ่นมัวเท่านั้นเอง
สติก็เป็นตัวกางกั้น สติมีหน้าที่ที่จะเปิดปิดประตูแห่งใจคุณว่า อะไรควรรับ อะไรไม่ควรรับ นี่เรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นทุนเดิมของโลกมีอยู่แล้ว ส่วนราคะ โทสะ โมหะที่เป็นทุนเดิมของกรรม หรือพิธีกรรม หรือจิตวิญญาณของคุณ ที่เป็นทุนเดิมเรียกว่า โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต ก็คือคุณเกิดมาจากราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นมูลเดิมของจิตวิญญาณคุณที่สั่งสมอบรมมาแต่อดีตชาติ ที่เรียกว่าอนุสัย เมื่อสั่งสมอบรมมาแต่เก่าก่อนแล้วสิ่งเหล่านี้ หน้าที่ของคุณเกิดเป็น คนต้องชำระล้าง และตัดให้หลุด อย่าปล่อยให้มันมาฉุดเราอยู่ รวมๆ ก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีทั้งภายใน ก็คือจิตเดิมของคุณ มีมาเก่า และมีทั้งภายนอกก็คือมี อยู่ในโลกนี้แล้ว มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ประตูหน้าต่างมีเอาไว้สำหรับป้องกันพายุข้างนอก แต่ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ผ้าเช็ดถู มีสำหรับไว้ป้องกันฝุ่นละอองภายใน ถ้าคุณมีสองสิ่งนี้ได้ก็ถือว่าคุณมีสติ สมาธิ และปัญญา จะกำจัดสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ของจิตคุณทั้งภายในและภายนอกได้
ส่วนคำถามที่ถามว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่เจริญซึ่งสติ สมาธิ และปัญญาแล้ว ก็คือมีทั้งประตูหน้าต่าง และเครื่องกำจัดภายใน ที่สมบูรณ์ ที่ไม่มีรูรั่ว ที่สามารถป้องกันราคะ โทสะ โมหะ หรือภัยพิบัติจากข้างนอกได้แล้ว แล้วก็มีเครื่องดูดฝุ่น มีทั้งผ้าเช็ดพื้น มีทั้งไม้กวาดอันสมบูรณ์ และมีพนักงานซึ่งพร้อม ที่จะทำลายสิ่งที่เป็นภายในที่เรียกว่าฝุ่นละอองนั้นหมดไปเรียบร้อยแล้ว รวมๆ ก็คือ พระอรหันต์ไม่มีมลภาวะทั้งภายใน หมดแล้ว ภายนอกก็ไม่มีอำนาจเหนือท่านแล้ว พระอรหันต์ไม่ใช่ไม่มีมลภาวะแต่ภายนอก ภายนอกไม่มีสิทธิ์
พระอรหันต์นี่ไม่สามารถที่จะไปทำลาย โทสะ โมหะ ราคะ ของโลกได้ ก็บอกแล้วว่ามันมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ถ้าจะทำลาย ก็ต้องวางระเบิดเวลาเผาผลาญโลก หรือไม่ก็ทำลายโลกไป ก็ไม่แน่ใจว่าโลกนี้มันระเบิดแล้วจะหมดราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เป็นผู้หมดจากกิเลสทั้งภายในและไม่ปล่อยให้ภายนอกมามีอำนาจเหนือท่าน ราคะ โทสะ โมหะ ข้างนอกมีอยู่แต่ไม่ทำให้ท่านต้องเดือดร้อนเท่านั้นเอง
ปุจฉา
จิตกับใจแยกกันได้ไหม
มีคำถามจะฝากนมัสการเรียนถามหลวงปู่เกี่ยวกับธรรมะข้อหนึ่งค่ะ คือ จิตกับใจแยกจากกันได้จริง (ไม่ใช่ตอนตาย หมายถึงตอนที่ยังมีลมหายใจอยู่) ทำได้อย่างไร เช่นเวลาที่กายเจ็บป่วยแล้วใจก็เศร้าหมอง เราจะมีทางระงับได้อย่างไรเพื่อไม่ให้กายเป็นนายของใจ
วิสัชนา
จริงๆ แล้วคำถามถามค่อนข้างจะสับสน ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องจิตกับใจแยกกันได้จริงหรือไม่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าอะไรคือจิต และอะไรคือใจ จิต ในภาษาธรรมะ วิชาการศาสนาเขาเรียกมันเป็น สภาวธรรม จิตนี้เป็นสภาวธรรม ไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ ธรรมชาติของจิตคือมีความ ซึมสิง ซึมทราบ มีตัวรู้ เมื่อจิตไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ มีคุณสมบัติคือรับรู้อารมณ์ รับรู้สภาวธรรม ที่อยู่ของจิตก็คือกายนี้
ส่วนใจ หรือภาษาบาลี หรือภาษาวิชาการศาสนา เขาเรียกว่า หะทะยัง หรือหัวใจ มีสัณฐานกลมเหมือนดอกบัวตูม ใหญ่เล็กเท่าเจ้าของกับกำปั้นของคนคนนั้น รูปร่างจะใหญ่โตเท่ากับ กำปั้นของผู้เป็นเจ้าของใจใจนั้น
ใจนี้มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหมือนโรงงานสูบน้ำ เพราะฉะนั้น จิตอิง อาศัยกายและใจนี้ โดยภาษาธรรมะแล้ว จิตนี้เปรียบดั่งพลังงาน มีอำนาจเหนือการควบคุมของสมอง สำหรับผู้ไม่ได้รับการฝึกปรือ แต่สำหรับผู้ควบคุมแล้ว คือฝึกปรือแล้ว ก็สามารถควบคุมจิตนี้ให้ดำรงตั้งมั่น หรือแยกออกจากกายและใจนี้ได้
การควบคุมหรือการ ฝึกปรืออันนั้น ก็ได้มาจากการเจริญสติและทำให้สติตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นอยู่ในจิตนี้แล้ว เราก็จะควบคุมจิตนี้ได้ไม่ให้รับความรู้สึกจากเวทนาที่ปรากฏทางใจ หรือเวทนาที่ปรากฏ ทางกาย
คำถามที่ถามว่า ทำอย่างไรที่จะแยกจิตออกจากใจ ก็คือ ต้องฝึก ต้องมีสติ ฝึกให้จิตนี้ปรากฏสติทุกดวงที่เกิดดับ จนเป็นความชำนาญสามารถแยกจิตออกจากใจได้ เมื่อจิตออกจากใจก็คือ เหมือนกับจิตที่ออกจากกาย กายตรงไหนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เช่น ปวดขา ปวดมือ ปวดหัว ปวดท้อง อาการปวด เป็นเวทนา เมื่อจิตนี้สามารถ แยกออกจากใจได้ก็คือไม่รับรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น เวทนานั้นก็จะไม่มีอำนาจ คือ จะไม่มีอำนาจครอบคลุมกายนี้
มีเรื่องอยากจะบอกคุณอีกนิดหนึ่งว่า โดยธรรมชาติของ กาย มีสมองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของกาย มีใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง มีจิตเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมอง ใจ กาย จิตจะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ในและนอกกายนี้ เมื่อฝึกจิตดีแล้ว กายนี้ก็ย่อมไม่มีอิทธิพลต่อจิต