เข้าสู่เดือนที่ 2 ของปี 2010 พร้อมกับเห็นตลาดหุ้นปรับตัวลงจากต้นปีราว 4.3% ทำให้ผลตอบแทนจากหุ้นในพอร์ตการลงทุนลดลง แต่นักลงทุนหลายท่านยังคงถือหุ้นที่มีอยู่ต่อไปหรือหาจังหวะเข้าซื้อเพิ่ม บนความคาดหวังที่จะเห็นการฟื้นตัวของราคา และกลับมาสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจในอนาคต ดังนั้นแม้จะอยู่ในฐานะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ผลตอบแทนที่ผ่านมากว่า 10 ปี โดยเฉลี่ยที่มากกว่าปีละ 12% ยังคงเป็นแรงดึงดูดต่อการลงทุน และหากนำไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลและเงินฝากธนาคารในปี 2009 SET50 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับราคาพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นกว่า 9.3% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ต่ำกว่า 1% ต่อปี และสำหรับเงินฝากประจำ 1 ปีที่ต่ำกว่า 2% จะเห็นได้ว่าการลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนที่มากกว่าพันธบัตรรัฐบาลและเงินฝากธนาคาร และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงสูงได้
ขณะที่มองไปยังตลาดอนุพันธ์โดยเฉพาะ Options อาจวัดผลตอบแทนตามการปรับขึ้นของราคาได้ไม่ชัดเจน แต่ด้วยวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นทุกปี คงสะท้อนให้เห็นถึง ความนิยมของนักลงทุนที่ใช้เพื่อการเก็งกำไรในตลาดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง หรือเพื่อป้องความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน ซึ่งในบทความครั้งนี้จะขอเสนอตัวอย่างการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ควบคู่ไปกับดัชนีตลาดหุ้น โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนใน SET50 และ SET50 Index Options แสดงไว้ตามตารางดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ อ้างอิงจากข้อมูลปี 2009 ซึ่งกำหนดให้ทุกต้นไตรมาสนักลงทุนซื้อ SET50 พร้อมกับ Short call option ที่ราคาใช้สิทธิเท่ากับดัชนี (at the money) ณ ราคาเปิดของวัน ซึ่งในกรณีนี้จะได้รับค่าพรีเมียมจากการ Short call มาก่อน ดังเช่นในไตรมาส 1 ณ วันที่ 5 ม.ค. 2009 ลงทุนใน SET50 ที่ระดับราคาเปิด 325 จุด ใช้เงินลงทุนคิดเป็นมูลค่า 325,000 บาท และ Short call ในสัญญาเดือน มี.ค. ณ ราคาใช้สิทธิ 320 จุด (S50H09C320) ที่ระดับพรีเมียม 29.90 บาท โดยกำหนดต้นทุนเฉลี่ยหลักประกัน Optionsไว้ที่ 500,000 บาทต่องวด ซึ่งจะได้รับค่าพรีเมียมเป็นเงิน 29.90*5*200= 29,900 บาท ขณะที่ถือสถานะไปจนหมดอายุสัญญาOptions พบว่า SET 50 ต่ำกว่าราคาใช้สิทธิที่ Short call ไว้ ผู้ที่ Long call จะไม่เลือกใช้สิทธิ แต่หาก SET50 ปิดสูงกว่าราคาใช้สิทธิ จะทำให้เกิดการขาดทุนในOptions
อย่างไรก็ตาม ผลกำไรจาก SET50 ที่ปรับขึ้นจะครอบคลุมผลขาดทุนนั้น โดยไตรมาส1 นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากพรีเมียมของ Options เทียบกับต้นทุนรวมคิดเป็น29,900 / (325,200 +500,000) = 3.62 % ทั้งนี้ การวางหลักประกันหรือมาร์จิ้นไว้สูงถึง 500,000 บาท ตามตัวอย่างเป็นการวางเผื่อกรณีพรีเมียมปรับตัวสูงขึ้นไว้แล้ว และแม้ว่าในการ Short call ที่ระดับ 300, 430 และ510 จะถูกใช้สิทธิ แต่นักลงทุนสามารถนำกำไรจากการถือ SET50 ตลอดเวลามาส่งมอบได้ จึงทำให้เมื่อลงทุนลักษณะดังกล่าวในทุกๆ ไตรมาสของปี 2009 พบว่าผลตอบแทนรวมสูงถึง 10.78%
การลงทุนในลักษณะข้างต้นถือ เป็นการทำกลยุทธ์ covered call ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ถือ SET50 ในระยะยาวเสมือนเป็นพอร์ตลงทุนหลัก ขณะที่การ short options แม้จะเป็นการจำกัดผลตอบแทนหากดัชนีปรับตัวขึ้นแรง แต่ถือว่าเป็นเครื่องประกันรายได้ที่สูงกว่าการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ ขณะที่แนวโน้มการเคลื่อนไหวของ ดัชนี SET50 ในปีนี้ที่คาดว่าการปรับขึ้นอาจไม่แรงเท่ากับปีก่อน และยังมีความผันผวน จึงมองว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มผลตอบแทนพร้อมกับป้องกันความเสี่ยงพอร์ตลงทุน ทั้งนี้ หากนักลงทุนมีคำถามหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตลาดอนุพันธสามารถส่ง email มาได้ที่ danait@phillip.co.th หรือ pinkaews @phillip.co.th
ขณะที่มองไปยังตลาดอนุพันธ์โดยเฉพาะ Options อาจวัดผลตอบแทนตามการปรับขึ้นของราคาได้ไม่ชัดเจน แต่ด้วยวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นทุกปี คงสะท้อนให้เห็นถึง ความนิยมของนักลงทุนที่ใช้เพื่อการเก็งกำไรในตลาดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง หรือเพื่อป้องความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน ซึ่งในบทความครั้งนี้จะขอเสนอตัวอย่างการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ควบคู่ไปกับดัชนีตลาดหุ้น โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนใน SET50 และ SET50 Index Options แสดงไว้ตามตารางดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ อ้างอิงจากข้อมูลปี 2009 ซึ่งกำหนดให้ทุกต้นไตรมาสนักลงทุนซื้อ SET50 พร้อมกับ Short call option ที่ราคาใช้สิทธิเท่ากับดัชนี (at the money) ณ ราคาเปิดของวัน ซึ่งในกรณีนี้จะได้รับค่าพรีเมียมจากการ Short call มาก่อน ดังเช่นในไตรมาส 1 ณ วันที่ 5 ม.ค. 2009 ลงทุนใน SET50 ที่ระดับราคาเปิด 325 จุด ใช้เงินลงทุนคิดเป็นมูลค่า 325,000 บาท และ Short call ในสัญญาเดือน มี.ค. ณ ราคาใช้สิทธิ 320 จุด (S50H09C320) ที่ระดับพรีเมียม 29.90 บาท โดยกำหนดต้นทุนเฉลี่ยหลักประกัน Optionsไว้ที่ 500,000 บาทต่องวด ซึ่งจะได้รับค่าพรีเมียมเป็นเงิน 29.90*5*200= 29,900 บาท ขณะที่ถือสถานะไปจนหมดอายุสัญญาOptions พบว่า SET 50 ต่ำกว่าราคาใช้สิทธิที่ Short call ไว้ ผู้ที่ Long call จะไม่เลือกใช้สิทธิ แต่หาก SET50 ปิดสูงกว่าราคาใช้สิทธิ จะทำให้เกิดการขาดทุนในOptions
อย่างไรก็ตาม ผลกำไรจาก SET50 ที่ปรับขึ้นจะครอบคลุมผลขาดทุนนั้น โดยไตรมาส1 นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากพรีเมียมของ Options เทียบกับต้นทุนรวมคิดเป็น29,900 / (325,200 +500,000) = 3.62 % ทั้งนี้ การวางหลักประกันหรือมาร์จิ้นไว้สูงถึง 500,000 บาท ตามตัวอย่างเป็นการวางเผื่อกรณีพรีเมียมปรับตัวสูงขึ้นไว้แล้ว และแม้ว่าในการ Short call ที่ระดับ 300, 430 และ510 จะถูกใช้สิทธิ แต่นักลงทุนสามารถนำกำไรจากการถือ SET50 ตลอดเวลามาส่งมอบได้ จึงทำให้เมื่อลงทุนลักษณะดังกล่าวในทุกๆ ไตรมาสของปี 2009 พบว่าผลตอบแทนรวมสูงถึง 10.78%
การลงทุนในลักษณะข้างต้นถือ เป็นการทำกลยุทธ์ covered call ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ถือ SET50 ในระยะยาวเสมือนเป็นพอร์ตลงทุนหลัก ขณะที่การ short options แม้จะเป็นการจำกัดผลตอบแทนหากดัชนีปรับตัวขึ้นแรง แต่ถือว่าเป็นเครื่องประกันรายได้ที่สูงกว่าการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ ขณะที่แนวโน้มการเคลื่อนไหวของ ดัชนี SET50 ในปีนี้ที่คาดว่าการปรับขึ้นอาจไม่แรงเท่ากับปีก่อน และยังมีความผันผวน จึงมองว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มผลตอบแทนพร้อมกับป้องกันความเสี่ยงพอร์ตลงทุน ทั้งนี้ หากนักลงทุนมีคำถามหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตลาดอนุพันธสามารถส่ง email มาได้ที่ danait@phillip.co.th หรือ pinkaews @phillip.co.th