ASTVผู้จัดการรายวัน -"ทหารไทย"ย้ำรู้ผลแนวทางการล้างขาดทุนสะสม-ลดพาร์ภายในไตรมาสแรกนี้ และจะดำเนินการเสร็จสิ้นในไตรมาส 2 ยันเดินหน้าแผนระยะยาว 5 ปีต่อ แม้เปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหม่ หลัง 19 พ.ค.53 จากการแปลงหุ้นบุริมสิทธิของกระทรวงคลัง แย้มสนใจทำธุรกิจลีสซิ่ง อยู่ระหว่างศึกาาทั้งการตั้งบ.ใหม่และซื้อพอร์ต
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า คาดว่าในไตรมาส 1 ปี จะมีความชัดเจนในด้านของรายละเอียดการล้างขาดทุนสะสม รวมทั้งการปรับลดราคาพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสมที่ปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาท จากนั้นจะมีการดำเนินการเข้าสู่ประชุมผู้ถือหุ้นและรอระยะเวลาการแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญในส่วนที่กระทรวงการคลังถืออยู่ ดังนั้น จึงมองว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาส 2
ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์บางแห่งออกมาระบุว่า หากธนาคารต้องการล้างขาดทุนสะสมให้หมด 3 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการขาดทุนสะสม 1แสนล้านบาท และจากการขายต่ำกว่าพาร์ต้องลดพาร์ให้อยู่ที่ 0.70 บาท นายบุญทักษ์ กล่าวเพียงว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการล้างขาดทุนสะสมกับกระทรวงการคลังเพื่อให้งบการเงินของธนาคารสะท้อนความสามารถในการทำกำไรและมีความแข็งแกร่งของสถานะการเงินอย่างแท้จริง
สำหรับการล้างขาดทุนสะสมจะไม่มีผลกระทบต่อเงินกองทุนของธนาคารซึ่งปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่ที่ 63,904 ล้านบาท โดยระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) อยู่ที่ 17.1% และส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 46,490,738 ล้านบาท ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่กระทรวงการคลังแปลงหุ้นบุริมสิทธิในวันที่ 19 พ.ค.2553
นายบุญทักษ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ธนาคารยังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางในการดำเนินธุรกิจเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) ซึ่งธนาคารมีความสนใจในการทำลิสซิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เพื่อตอบสนองความต้องการและให้บริการกับลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ไม่มีแหล่งเงินทุนในการซื้อเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะมีธุรกิจดังกล่าวเข้ามาเมื่อใด
นอกจากนี้ ปัจจุบันธนาคารมีบริษัทย่อยที่เป็นบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรและยานพาหนะให้กับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี 1 แห่ง คือบริษัทไทยโอริกซ์ ลิสซิ่ง โดยธนาคารถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว 46% แต่ในอนาคตธนาคารจะขยายธุรกิจลิสซิ่งในรูปแบบการซื้อกิจการเข้ามาหรือจะตั้งเป็นบริษัทในเครือขึ้นมาเองหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ เพราะธนาคารยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจทั้งในเรื่องของเงินฝากและสินเชื่อที่มีอยู่ตามแผนระยะยาวที่วางไว้ 5 ปีก่อน
"แม้ว่าเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปีนี้จะตั้งไว้สูงถึง 20% ก็ตาม แต่เป็นก็เป็นตัวเลขที่จะเติบโตได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับแผนการทำธุรกิจลิสซิ่งแต่อย่างใด ทั้งนี้ในปัจจจุบันยังไม่พบกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเข้ามาเจรจาขอสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรกับธนาคารแต่อย่างไร ดังนั้น ธนาคารจึงมองว่าจะเดินตามแผนธุรกิจที่วางไว้ก่อน เพราะการทำธุรกิจนั้น ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและศึกษารายละเอียดต่างๆให้เหมาะที่สุด ไม่อยากทำธุรกิจแบบไม่มีแนวทางที่ชัดเจน"นายบุญทักษ์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารในปี 2553 นี้ ธนาคารพร้อมเดินหน้าเติบโตอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยตั้งเป้าหมายเติบโตรายเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ไว้ที่ 15% หลังจากที่การดำเนินงานในปีแล้วธนาคารมีกำไรสุทธิเติบโต 400% คิดเป็นมูลค่า 2,044 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างองค์กร ตลอดจนการดำเนินการตามโครงการ TMB Transformation
โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมตั้งเป้าเติบโต 20% ส่วนเงินฝากตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 17% และสินเชื่อรวมตั้งเป้าเติบโตประมาณ 10% แบ่งเป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 20% ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่ตั้งเป้าจะเติบโต 10% และสินเชื่อรายย่อยตั้งเป้าเติบโตประมาณ 7-8% พร้อมทั้งวางกรอบการพัฒนาคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนี้ในระยะยาวภายในปี 2557 ธนาคารตั้งเป้าสร้างอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ให้เพื่มขึ้นเป็น 14% จากปัจจุบัน ROE ของธนาคารอยู่ที่กว่า 4% ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งที่อยู่ 1%
ทั้งนี้ ธนาคารได้วางกลยุทธ์ 4 ด้าน ได้แก่ การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ใหม่ และลดเอ็นพีแอลเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนเอ็นพีแอล Ratioซึ่งอยู่ที่ 12.7% ในปีแล้วให้ลดลงมาอยู่ที่ 9% หรือต่ำกว่า โดยการปรับโครงสร้างหนี้ และการขายออกไปเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณพ์และบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาว 5 ปีที่วางไว้
"สาเหตุที่ธนาคารปรับแผนระยะยาวเป็น 5 ปีจากเดิมที่วางไว้ 3 ปี เพราะในช่วงเวลานั้นยังไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่ปีที่แล้วเศรษฐกิจทั่วโลกมีปัญหารวมถึงไทยด้วย ธนาคารจึงขยายระยะเวลาออกไปแต่ยังคงเป้าหมายเดิมไว้ทั้งหมด ซึ่งปี 2553-2554 เศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางและผันผวน แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อแผนการล้างขาดทุนสะสมใดๆเลย เพราะแผนการล้างขาดทุนสะสมเป็นเรื่องของบัญชี และที่ในอดีตปรับปรุงบัญชีไม่ได้เพราะติดปัญหาหุ้นบุริมสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่"นายบุญทักษ์ กล่าว
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า คาดว่าในไตรมาส 1 ปี จะมีความชัดเจนในด้านของรายละเอียดการล้างขาดทุนสะสม รวมทั้งการปรับลดราคาพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสมที่ปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาท จากนั้นจะมีการดำเนินการเข้าสู่ประชุมผู้ถือหุ้นและรอระยะเวลาการแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญในส่วนที่กระทรวงการคลังถืออยู่ ดังนั้น จึงมองว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาส 2
ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์บางแห่งออกมาระบุว่า หากธนาคารต้องการล้างขาดทุนสะสมให้หมด 3 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการขาดทุนสะสม 1แสนล้านบาท และจากการขายต่ำกว่าพาร์ต้องลดพาร์ให้อยู่ที่ 0.70 บาท นายบุญทักษ์ กล่าวเพียงว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการล้างขาดทุนสะสมกับกระทรวงการคลังเพื่อให้งบการเงินของธนาคารสะท้อนความสามารถในการทำกำไรและมีความแข็งแกร่งของสถานะการเงินอย่างแท้จริง
สำหรับการล้างขาดทุนสะสมจะไม่มีผลกระทบต่อเงินกองทุนของธนาคารซึ่งปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่ที่ 63,904 ล้านบาท โดยระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) อยู่ที่ 17.1% และส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 46,490,738 ล้านบาท ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่กระทรวงการคลังแปลงหุ้นบุริมสิทธิในวันที่ 19 พ.ค.2553
นายบุญทักษ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ธนาคารยังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางในการดำเนินธุรกิจเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) ซึ่งธนาคารมีความสนใจในการทำลิสซิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เพื่อตอบสนองความต้องการและให้บริการกับลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ไม่มีแหล่งเงินทุนในการซื้อเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะมีธุรกิจดังกล่าวเข้ามาเมื่อใด
นอกจากนี้ ปัจจุบันธนาคารมีบริษัทย่อยที่เป็นบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรและยานพาหนะให้กับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี 1 แห่ง คือบริษัทไทยโอริกซ์ ลิสซิ่ง โดยธนาคารถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว 46% แต่ในอนาคตธนาคารจะขยายธุรกิจลิสซิ่งในรูปแบบการซื้อกิจการเข้ามาหรือจะตั้งเป็นบริษัทในเครือขึ้นมาเองหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ เพราะธนาคารยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจทั้งในเรื่องของเงินฝากและสินเชื่อที่มีอยู่ตามแผนระยะยาวที่วางไว้ 5 ปีก่อน
"แม้ว่าเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปีนี้จะตั้งไว้สูงถึง 20% ก็ตาม แต่เป็นก็เป็นตัวเลขที่จะเติบโตได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับแผนการทำธุรกิจลิสซิ่งแต่อย่างใด ทั้งนี้ในปัจจจุบันยังไม่พบกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเข้ามาเจรจาขอสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรกับธนาคารแต่อย่างไร ดังนั้น ธนาคารจึงมองว่าจะเดินตามแผนธุรกิจที่วางไว้ก่อน เพราะการทำธุรกิจนั้น ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและศึกษารายละเอียดต่างๆให้เหมาะที่สุด ไม่อยากทำธุรกิจแบบไม่มีแนวทางที่ชัดเจน"นายบุญทักษ์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารในปี 2553 นี้ ธนาคารพร้อมเดินหน้าเติบโตอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยตั้งเป้าหมายเติบโตรายเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ไว้ที่ 15% หลังจากที่การดำเนินงานในปีแล้วธนาคารมีกำไรสุทธิเติบโต 400% คิดเป็นมูลค่า 2,044 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างองค์กร ตลอดจนการดำเนินการตามโครงการ TMB Transformation
โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมตั้งเป้าเติบโต 20% ส่วนเงินฝากตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 17% และสินเชื่อรวมตั้งเป้าเติบโตประมาณ 10% แบ่งเป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 20% ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่ตั้งเป้าจะเติบโต 10% และสินเชื่อรายย่อยตั้งเป้าเติบโตประมาณ 7-8% พร้อมทั้งวางกรอบการพัฒนาคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนี้ในระยะยาวภายในปี 2557 ธนาคารตั้งเป้าสร้างอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ให้เพื่มขึ้นเป็น 14% จากปัจจุบัน ROE ของธนาคารอยู่ที่กว่า 4% ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งที่อยู่ 1%
ทั้งนี้ ธนาคารได้วางกลยุทธ์ 4 ด้าน ได้แก่ การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดโอกาสการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ใหม่ และลดเอ็นพีแอลเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนเอ็นพีแอล Ratioซึ่งอยู่ที่ 12.7% ในปีแล้วให้ลดลงมาอยู่ที่ 9% หรือต่ำกว่า โดยการปรับโครงสร้างหนี้ และการขายออกไปเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณพ์และบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาว 5 ปีที่วางไว้
"สาเหตุที่ธนาคารปรับแผนระยะยาวเป็น 5 ปีจากเดิมที่วางไว้ 3 ปี เพราะในช่วงเวลานั้นยังไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่ปีที่แล้วเศรษฐกิจทั่วโลกมีปัญหารวมถึงไทยด้วย ธนาคารจึงขยายระยะเวลาออกไปแต่ยังคงเป้าหมายเดิมไว้ทั้งหมด ซึ่งปี 2553-2554 เศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางและผันผวน แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อแผนการล้างขาดทุนสะสมใดๆเลย เพราะแผนการล้างขาดทุนสะสมเป็นเรื่องของบัญชี และที่ในอดีตปรับปรุงบัญชีไม่ได้เพราะติดปัญหาหุ้นบุริมสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่"นายบุญทักษ์ กล่าว