เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (1 ก.พ.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายปราโมทย์ โชติมงคล และนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ร่วมแถลงข่าว ถึงการตรวจสอบเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 โดย พล.อ.ธีรเดช กล่าวว่า ขณะนี้เกิดความสับสน และสงสัยในประสิทธิภาพของเครื่องมือดังกล่าวว่าสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ดังนั้น เราจึงอยากเป็นคนกลางในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทำข้อสงสัยให้กระจ่าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายปราโมทย์ กล่าวว่า ตามปกติผู้ตรวจการแผ่นดินจะตรวจสอบเรื่องใดต้องมีผู้ร้อง แต่ในรัฐธรรมนูญปัจจุบันให้อำนาจในการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาโดยระบุว่า "หากเห็นว่าเรื่องใดเกิดขึ้นต่อสาธารณะ และมีผลกระทบต่อประชาชน และเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินก็สามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้ แม้จะไม่มีผู้ร้อง"
ในเรื่องนี้ที่ประชุมก็เห็นพ้องว่า มีผลกระะทบและเป็นที่สนใจจึงหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบโดยในวันที่ 5 ก.พ. เวลา 09.00 น. จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพภาคที่ 4 นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ และประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหารือในเบื้องต้นว่าจะขจัดความสงสัยเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร โดยอาจจะหาหน่วยงานที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับมาเป็นผู้ตรวจสอบ โดยจะทำงานอย่างเป็นธรรม และเป็นกลางไม่มุ่งจับผิดหรือเล่นงานใคร แต่จะมุ่งเยียวยามากกว่า และคาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบไม่นาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าหน่วยงานของรัฐจะให้ความร่วมมือหรือไม่ นายปราโมทย์ กล่าวว่า ผู้ตรวจการฯมีอำนาจที่จะขอให้หน่วยงานอื่นๆให้ความร่วมมือในการส่งเอกสาร หากไม่มาก็จะมีโทษตามกฎหมาย
" ผู้ตรวจการมีเจตนาคุ้มครองความเสียหายของประชาชนในแง่ของประสิทธิภาพของเครื่องมือเป็นหลัก แต่หากตรวจสอบและพบว่ามีการทุจริต ก็จะส่งเรื่องไปให้ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการต่อไป เพราะเมื่อตีความกฎหมายโดยเคร่งครัดจะพบว่า ผู้ตรวจการฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบการทุจริตหากไม่มีผู้ร้อง และเราเชื่อว่าการตรวจสอบครั้งนี้จะไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับกรรมาธิการของสภา เพราะเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาเช่นเดียวกัน อีกทั้งเราก็ทำให้ชัดเจน และสามารถใช้กฎหมายบังคับหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือได้ แต่ในขณะเดียวกันนั้นทางคณะกรรมาธิการไม่มี แต่หากจะให้ไปร่วมมือกับทางกรรมาธิการก็ไม่มีปัญหา และหากตรวสอบเบื้องต้นพบความน่าสงสัยก็อาจะทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อขอให้ชะลอการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวก่อน" นายปราโมทย์กล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 ว่า วันที่ 2 ก.พ. จะสอบถามโดยให้ทุกหน่วยงานที่มีอุปกรณ์ตัวนี้ได้หาแนวทางในการที่จะมาพิสูจน์ ให้ได้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งส่วนตัวตนได้คุยไปแล้ว และจะคุยในครม.ด้วย
เมื่อถามว่าจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าการทดสอบจะลองหารือดูว่าทดสอบอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับกัน จะได้ทราบข้อเท็จจริง และจะได้ปฏิบัติถูก ซึ่งตนเห็นว่าควรมีการพิสูจน์ เพราะขณะนี้ต่างประเทศมีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องไม่ใช้
เมื่อถามว่าถ้าพบว่าเครื่องใช้ไม่ได้ต้องรื้อด้วยหรือไม่ว่าทำไมซื้อเครื่องที่ใช้การไม่ได้มาใช้งานแล้วเสี่ยงกับชีวิตคน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วประเทศก็ซื้อ และที่ผ่านมาทุกครั้งที่สอบถาม เขาก็ยืนยันว่าใช้ได้ แต่ว่ามีปัญหาบ้าง แต่เมื่อมีการเปิดเผยมาว่ามีการทดสอบจากที่อื่น แล้วบอกว่าใช้ไม่ได้ เราก็ต้องมีการทดสอบกันอีกครั้ง เมื่อถามว่าทำไมมีความแตกต่างเรื่องราคา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อันนี้เป็นเรื่องที่ได้สอบถามไปในการซื้อ จะซื้อกันต่างปีต่างรุ่น และต่างวัตถุประสงค์ของการใช้
เมื่อถามว่าจะสามารถเอาผิดได้หรือไม่ถ้าพบว่ามีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คนละประเด็น ถ้าไม่โปร่งใสก็ต้องจัดการอยู่แล้ว เมื่อถามว่าดูเหมือนฝ่ายค้านจะลากเอามาเป็นประเด็นการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีเรื่องการเมือง เพราะซื้อต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2550 อย่างไรก็ตามตนเห็นด้วยว่าควรจะมีการพิสูจน์เพราะเราคงไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติโดยมีอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีคุณลักษณะอย่างที่เขาเข้าใจ
นายปราโมทย์ กล่าวว่า ตามปกติผู้ตรวจการแผ่นดินจะตรวจสอบเรื่องใดต้องมีผู้ร้อง แต่ในรัฐธรรมนูญปัจจุบันให้อำนาจในการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาโดยระบุว่า "หากเห็นว่าเรื่องใดเกิดขึ้นต่อสาธารณะ และมีผลกระทบต่อประชาชน และเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินก็สามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้ แม้จะไม่มีผู้ร้อง"
ในเรื่องนี้ที่ประชุมก็เห็นพ้องว่า มีผลกระะทบและเป็นที่สนใจจึงหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบโดยในวันที่ 5 ก.พ. เวลา 09.00 น. จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพภาคที่ 4 นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ และประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหารือในเบื้องต้นว่าจะขจัดความสงสัยเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร โดยอาจจะหาหน่วยงานที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับมาเป็นผู้ตรวจสอบ โดยจะทำงานอย่างเป็นธรรม และเป็นกลางไม่มุ่งจับผิดหรือเล่นงานใคร แต่จะมุ่งเยียวยามากกว่า และคาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบไม่นาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าหน่วยงานของรัฐจะให้ความร่วมมือหรือไม่ นายปราโมทย์ กล่าวว่า ผู้ตรวจการฯมีอำนาจที่จะขอให้หน่วยงานอื่นๆให้ความร่วมมือในการส่งเอกสาร หากไม่มาก็จะมีโทษตามกฎหมาย
" ผู้ตรวจการมีเจตนาคุ้มครองความเสียหายของประชาชนในแง่ของประสิทธิภาพของเครื่องมือเป็นหลัก แต่หากตรวจสอบและพบว่ามีการทุจริต ก็จะส่งเรื่องไปให้ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการต่อไป เพราะเมื่อตีความกฎหมายโดยเคร่งครัดจะพบว่า ผู้ตรวจการฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบการทุจริตหากไม่มีผู้ร้อง และเราเชื่อว่าการตรวจสอบครั้งนี้จะไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับกรรมาธิการของสภา เพราะเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาเช่นเดียวกัน อีกทั้งเราก็ทำให้ชัดเจน และสามารถใช้กฎหมายบังคับหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือได้ แต่ในขณะเดียวกันนั้นทางคณะกรรมาธิการไม่มี แต่หากจะให้ไปร่วมมือกับทางกรรมาธิการก็ไม่มีปัญหา และหากตรวสอบเบื้องต้นพบความน่าสงสัยก็อาจะทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อขอให้ชะลอการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวก่อน" นายปราโมทย์กล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 ว่า วันที่ 2 ก.พ. จะสอบถามโดยให้ทุกหน่วยงานที่มีอุปกรณ์ตัวนี้ได้หาแนวทางในการที่จะมาพิสูจน์ ให้ได้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งส่วนตัวตนได้คุยไปแล้ว และจะคุยในครม.ด้วย
เมื่อถามว่าจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าการทดสอบจะลองหารือดูว่าทดสอบอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับกัน จะได้ทราบข้อเท็จจริง และจะได้ปฏิบัติถูก ซึ่งตนเห็นว่าควรมีการพิสูจน์ เพราะขณะนี้ต่างประเทศมีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องไม่ใช้
เมื่อถามว่าถ้าพบว่าเครื่องใช้ไม่ได้ต้องรื้อด้วยหรือไม่ว่าทำไมซื้อเครื่องที่ใช้การไม่ได้มาใช้งานแล้วเสี่ยงกับชีวิตคน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วประเทศก็ซื้อ และที่ผ่านมาทุกครั้งที่สอบถาม เขาก็ยืนยันว่าใช้ได้ แต่ว่ามีปัญหาบ้าง แต่เมื่อมีการเปิดเผยมาว่ามีการทดสอบจากที่อื่น แล้วบอกว่าใช้ไม่ได้ เราก็ต้องมีการทดสอบกันอีกครั้ง เมื่อถามว่าทำไมมีความแตกต่างเรื่องราคา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อันนี้เป็นเรื่องที่ได้สอบถามไปในการซื้อ จะซื้อกันต่างปีต่างรุ่น และต่างวัตถุประสงค์ของการใช้
เมื่อถามว่าจะสามารถเอาผิดได้หรือไม่ถ้าพบว่ามีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คนละประเด็น ถ้าไม่โปร่งใสก็ต้องจัดการอยู่แล้ว เมื่อถามว่าดูเหมือนฝ่ายค้านจะลากเอามาเป็นประเด็นการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีเรื่องการเมือง เพราะซื้อต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2550 อย่างไรก็ตามตนเห็นด้วยว่าควรจะมีการพิสูจน์เพราะเราคงไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติโดยมีอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีคุณลักษณะอย่างที่เขาเข้าใจ