ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (1 ก.พ.) ในช่วงที่น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณากระทู้ถามด่วน ของนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ถามต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการปล่อยข่าวผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยนายกฯ มอบหมายให้ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที มาชี้แจงแทน
นายคำนูณ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากการปล่อยข่าวไม่เหมาะสมในตลาดหุ้น เมื่อวันที่14-15 ต.ค. 52 ขณะนี้คดีไปถึงไหน นอกจากนี้ยังมีการจับกุมผู้ต้องสงสัย 3 คน ซึ่งแปลข่าวจากสำนักข่าวลุงเบิร์ก ของเยอรมัน ที่เผยแพร่ข้อความหมิ่นเหม่ต่อสถาบันฯ
อย่างไรก็ดี กรณีนี้ชมรมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน แถลงขอให้ยกเลิกตั้งข้อหา เพราะหลักฐานเพียงแค่การแปลข่าวจากสำนักข่าวลุงเบิร์ก ฟังไม่ขึ้น ฉะนั้นทางการไทยไม่ควรไปจับแค่ปลายเหตุ แต่ต้องจับต้นตอคือเว็บบอร์ด หรือฟอเวิร์ดเมล์ และได้ประเมินการบังคับใช้ ประสิทธิภาพพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หรือไม่
ร.ต.หญิงระนองรักษ์ ชี้แจงว่า กระทรวงไอซีที ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่เป็นรัฐมนตรี ก็ได้รับเรื่องราวเกี่ยวกับความมั่นคงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงตั้งวอร์รูม ตรวจสอบเว็บไซต์เรื่องดังกล่าว โดยทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม มหาดไทย การต่างประเทศ ดีเอสไอ ฝ่ายปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถปิดเว็บไซต์ ที่ไม่ดีเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงได้ และขอความร่วมมือจากผู้ดูแลเกตเวย์ด้วย รวมถึงยึดซีพียู เพื่อตรวจสอบว่า มีการส่งต่อไปถึงใครบ้าง
อย่างไรก็ดี ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทั้งนี้ ตอนนี้ก็ดำเนินการต่อเนื่องมาเรื่อยๆโดยการโพสต์ข้อความหมิ่นเหม่ กระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจ มีศูนย์เฝ้าระวังความปลดภัยทางอินเตอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง และมีคอลเซ็นเตอร์รับแจ้งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสด้วย และได้ให้กระทรวงการต่างประเทศ ทำเรื่องไปยังสถานทูตประเทศต่างๆ ถึงวัฒนธรรมไทยในเรื่องนี้
สำหรับคดีปล่อยข่าวทุบหุ้น กำลังดำเนินคดีอยู่ ส่วนการประเมิน พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีการประเมินพบว่าไม่ครอบคลุม และยังไม่คล่องตัว เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าตลอดเวลา จึงมีกรรมการที่มี รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน กำลังศึกษาปรับปรุงเรื่องนี้อยู่
**วุฒิฯลุยถอดถอน"นพดล"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภาครั้งนี้ ได้มีการพิจารณารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการป.ป.ช. กรณีขอให้ถอดถอนนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีเห็นชอบและลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเห็นว่ามีมูล ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 และมีมูลเป็นความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานแต่ปฎิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้บรรจุวาระครั้งแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่ประธานได้แจ้งให้รับทราบว่าได้หยุดดำเนินการเพราะนายสมัคร และนายนพดล พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ภายหลัง นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา ได้เสนอต่อที่ประชุม เห็นควรให้มีการดำเนินการต่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270-274 โดยหากวุฒิสภามีมติถอดถอน จะทำให้มีโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีด้วย
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการหารือถึงกรณีของนายสมัคร ว่าเห็นควรให้ยุติการพิจารณาหรือไม่ เนื่องจากนายสมัครได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าควรยุติการดำเนินการถอดถอนนายสมัคร
ส่วนกรณีของนายนพดลนั้นโดย ส.ว.ส่วนใหญ่อภิปรายหนุนให้มีการถอดถอนต่อไป โดยเห็นว่าสามารถเทียบเคียงได้กับกรณีของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี จึงเห็นควรให้ยึดบรรทัดฐานมติการประชุมวุฒิสภาครั้งที่ผ่านมา คือต้องดำเนินการถอดถอนนายนพดล ต่อไป
นายคำนูณ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากการปล่อยข่าวไม่เหมาะสมในตลาดหุ้น เมื่อวันที่14-15 ต.ค. 52 ขณะนี้คดีไปถึงไหน นอกจากนี้ยังมีการจับกุมผู้ต้องสงสัย 3 คน ซึ่งแปลข่าวจากสำนักข่าวลุงเบิร์ก ของเยอรมัน ที่เผยแพร่ข้อความหมิ่นเหม่ต่อสถาบันฯ
อย่างไรก็ดี กรณีนี้ชมรมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน แถลงขอให้ยกเลิกตั้งข้อหา เพราะหลักฐานเพียงแค่การแปลข่าวจากสำนักข่าวลุงเบิร์ก ฟังไม่ขึ้น ฉะนั้นทางการไทยไม่ควรไปจับแค่ปลายเหตุ แต่ต้องจับต้นตอคือเว็บบอร์ด หรือฟอเวิร์ดเมล์ และได้ประเมินการบังคับใช้ ประสิทธิภาพพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หรือไม่
ร.ต.หญิงระนองรักษ์ ชี้แจงว่า กระทรวงไอซีที ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่เป็นรัฐมนตรี ก็ได้รับเรื่องราวเกี่ยวกับความมั่นคงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงตั้งวอร์รูม ตรวจสอบเว็บไซต์เรื่องดังกล่าว โดยทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม มหาดไทย การต่างประเทศ ดีเอสไอ ฝ่ายปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถปิดเว็บไซต์ ที่ไม่ดีเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงได้ และขอความร่วมมือจากผู้ดูแลเกตเวย์ด้วย รวมถึงยึดซีพียู เพื่อตรวจสอบว่า มีการส่งต่อไปถึงใครบ้าง
อย่างไรก็ดี ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทั้งนี้ ตอนนี้ก็ดำเนินการต่อเนื่องมาเรื่อยๆโดยการโพสต์ข้อความหมิ่นเหม่ กระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจ มีศูนย์เฝ้าระวังความปลดภัยทางอินเตอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง และมีคอลเซ็นเตอร์รับแจ้งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสด้วย และได้ให้กระทรวงการต่างประเทศ ทำเรื่องไปยังสถานทูตประเทศต่างๆ ถึงวัฒนธรรมไทยในเรื่องนี้
สำหรับคดีปล่อยข่าวทุบหุ้น กำลังดำเนินคดีอยู่ ส่วนการประเมิน พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีการประเมินพบว่าไม่ครอบคลุม และยังไม่คล่องตัว เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าตลอดเวลา จึงมีกรรมการที่มี รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน กำลังศึกษาปรับปรุงเรื่องนี้อยู่
**วุฒิฯลุยถอดถอน"นพดล"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภาครั้งนี้ ได้มีการพิจารณารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการป.ป.ช. กรณีขอให้ถอดถอนนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีเห็นชอบและลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเห็นว่ามีมูล ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 และมีมูลเป็นความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานแต่ปฎิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้บรรจุวาระครั้งแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่ประธานได้แจ้งให้รับทราบว่าได้หยุดดำเนินการเพราะนายสมัคร และนายนพดล พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ภายหลัง นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา ได้เสนอต่อที่ประชุม เห็นควรให้มีการดำเนินการต่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270-274 โดยหากวุฒิสภามีมติถอดถอน จะทำให้มีโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีด้วย
ทั้งนี้ที่ประชุมมีการหารือถึงกรณีของนายสมัคร ว่าเห็นควรให้ยุติการพิจารณาหรือไม่ เนื่องจากนายสมัครได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าควรยุติการดำเนินการถอดถอนนายสมัคร
ส่วนกรณีของนายนพดลนั้นโดย ส.ว.ส่วนใหญ่อภิปรายหนุนให้มีการถอดถอนต่อไป โดยเห็นว่าสามารถเทียบเคียงได้กับกรณีของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี จึงเห็นควรให้ยึดบรรทัดฐานมติการประชุมวุฒิสภาครั้งที่ผ่านมา คือต้องดำเนินการถอดถอนนายนพดล ต่อไป