ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสียงข้างมากมีมติให้นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองไปมีความเห็นกรณีเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท และนายอภิชาต ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาตรวจสอบนั้น ปรากฎว่าคณะทำงานได้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้งแต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป ขณะเดียวกันก็มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งนายอภิชาตก็ได้นำปัญหาดังกล่าวส่งให้คณะที่ปรึกษากฎหมายของ กกต.พิจารณารวม 3 ประเด็น ประกอบด้วย ความผิดที่มีการกล่าวหานั้นเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 2541 แต่ขณะนี้กฎหมายที่ใช้บังคับเป็นพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 ดังนั้นจะสามารถเอาผิดได้หรือไม่ กรณีดังกล่าว กกต.มีมติตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนดังนั้นถือเป็นอำนาจที่ กกต.ต้องมติเลยได้หรือไม่โดยไม่ต้องให้นายทะเบียนมีความเห็น และ กรอบการดำเนินการของกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นอย่างไร ซึ่งระหว่างรอการพิจารณาของคณะที่ปรึกษาฯ ทางคณะทำงานก็ไม่ได้มีการนัดประชุมโดยให้กรรมการแต่ละคนไปศึกษาสำนวน
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า คณะที่ปรึกษากฎหมายของ กกต.ได้พิจารณาและมีความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยประเด็นที่มีการถกเถียงมากเป็นเรื่องกรอบอำนาจของ กกต.กับนายทะเบียนพรรคการเมืองที่มองว่า เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 93 ,94,และ95 ระบุชัดให้การเสนอความผิดเรื่องยุบพรรคที่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา วินิจฉัย เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ต้องมีความเห็นก่อน แล้วจึงเสนอ กกต.เห็นชอบ
ส่วนที่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 41 แม้ขณะนี้กฎหมายที่ใช้บังคับเป็นพ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 50 ก็เห็นว่าสามารถเอาผิดได้ เนื่องจากไม่ได้มีอะไรแตกต่างมากประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้วคราว ยุบพรรคไทยรักไทย
ส่วนที่ที่ประชุมกกต.เป็นผู้ตั้งอนุกรรมการนั้นก็มองว่า การตั้งอนุกรรมการสอบสวนของกกต.ถือเป็นเพียงการอนุญาตให้มีการตั้งคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการขึ้นมาสอบให้ได้ข้อเท็จจริงเท่านั้น ทั้งนี้คณะที่ปรึกษากฎหมายกกต.จะนำเสนอความเห็นดังกล่าวให้กับนายอภิชาต หลังจากที่เดินทางกลับจากการประชุมนานาชาติที่ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค.นี้ เพื่อส่งให้คณะทำงานที่คาดว่าจะประชุมในวันที่ 29 ม.ค.นี้
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า คณะที่ปรึกษากฎหมายของ กกต.ได้พิจารณาและมีความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยประเด็นที่มีการถกเถียงมากเป็นเรื่องกรอบอำนาจของ กกต.กับนายทะเบียนพรรคการเมืองที่มองว่า เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 93 ,94,และ95 ระบุชัดให้การเสนอความผิดเรื่องยุบพรรคที่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา วินิจฉัย เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ต้องมีความเห็นก่อน แล้วจึงเสนอ กกต.เห็นชอบ
ส่วนที่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 41 แม้ขณะนี้กฎหมายที่ใช้บังคับเป็นพ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 50 ก็เห็นว่าสามารถเอาผิดได้ เนื่องจากไม่ได้มีอะไรแตกต่างมากประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้วคราว ยุบพรรคไทยรักไทย
ส่วนที่ที่ประชุมกกต.เป็นผู้ตั้งอนุกรรมการนั้นก็มองว่า การตั้งอนุกรรมการสอบสวนของกกต.ถือเป็นเพียงการอนุญาตให้มีการตั้งคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการขึ้นมาสอบให้ได้ข้อเท็จจริงเท่านั้น ทั้งนี้คณะที่ปรึกษากฎหมายกกต.จะนำเสนอความเห็นดังกล่าวให้กับนายอภิชาต หลังจากที่เดินทางกลับจากการประชุมนานาชาติที่ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค.นี้ เพื่อส่งให้คณะทำงานที่คาดว่าจะประชุมในวันที่ 29 ม.ค.นี้