ASTVผู้จัดการรายวัน – ดัชนีหุ้นไทยต้านทานข่าวลบไม่ไหว หลุด700 จุดแล้ว ปิดที่ 690.46 จุด ลดลง 11.20 จุด ต่างชาติ สถาบัน โบรกฯตื่นยุบสภา! แห่เทขาย กลัวรัฐบาลประชาธิปัตย์ไปไม่รอดก.พ.นี้ ทั้งประเด็นแก้รัฐธรรมนูญ และการพิพากษาคดียึดทรัพย์ นอกจากนี้ยังโดนปัจจัยลบจากจีนและสหรัฐฯกดดันให้รูดตามตลาดภูมิภาคอีก “ภัทรียา”ยอมรับการเมืองคือตัวแสบฉุดหุ้น โบรกฯคาดวันนี้ยังลงต่อ จน “นครหลวงไทย”ออกปากเตือนนักลงทุน ลดถือหุ้นช่วงก.พ. มองหากวิกฤตหนัก อาจร่วงถึง 540 จุดได้
ปัจจัยลบทั้งภายในและนอกประเทศ กดดันภาวะการลงทุนไม่หยุด โดยดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (27 ม.ค.) ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 700 จุดแล้ว ซึ่งปิดที่ 690.46 จุด ลดลง 11.20 จุด หรือ 1.60% มูลค่าการซื้อขาย 16,880.53 ล้านบาท จากความกังวลของนักลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มสถาบัน โบรกเกอร์ และนักลงทุนต่างชาติ ที่เทขายหุ้นออกมามาก เนื่องจากเกิดความไม่มั่นใจเสถียรภาพการเมืองไทย หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจนำไปสู่การยุบสภา และทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆ หยุดชะงัก
ขณะที่ ปัจจัยหุ้นภูมิภาคปรับลงต่อเนื่องจากประเด็นรัฐบาลจีนและสหรัฐออกมาตรการคุมเข้มสถาบันการเงิน ส่งผลถึงภาพรวมการซื้อขายสุทธิแยกตามประเภทนักลงทุนพบว่า มีเพียงนักลงทุนทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 1,244.21 ล้านบาท โดย ต่างชาติขายสุทธิ 527.15 ล้านบาท สถาบันขายสุทธิ 442.54 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพนย์ขายสุทธิ 274.51 ล้านบาท
ส่วนภาพรวมตลาดหุ้นในต่างประเทศ พบว่า ดัชนี สเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดตลาดที่ระดับ 2,706.26 จุด ลดลง 34.07 จุด หรือ -1.24 % ดัชนี คอมโพสิต ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปิดตลาดที่ระดับ 2,564.55 จุด ลดลง 13.86 จุด หรือ -0.54 % ดัชนี ฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 20,033.07 จุด ลดลง 76.26 จุด หรือ -0.38 % และดัชนี นิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดที่ระดับ 10,252.08 จุด ลดลง 73.20 จุด หรือ -0.71 %
ตลาดหุ้นยอมรับการเมืองมีผลแรง!
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ปัจจัยทางการเมืองได้มีผลกดดันตลาดหุ้นไทยมากขึ้นซึ่งเห็นได้จากวันที่ 26 มกราคม ที่มีการพิจารณาในเรื่องการไขรัฐธรรมนูญนั้นส่งผลให้ดัชนีมีการปรับตัวลดลงเกือบ 10 จุด
ส่วนปัจจัยต่างประเทศกรณีรัฐบาลจีมีการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินนั้นก็ยังคงเป็นปัจจัยเดิมที่ยังคงกดดันเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลง และตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
“ปัจจัยทางการเมืองมีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น หลังจากวันที่ 26 ม.ค.มีการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้นักลงทุนควรมีสติในการลงทุนมากขึ้น โดยจะต้องมีการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนนั้นควรเลือกลงทุนในหุ้นปันผลซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนได้”นางภัทรียา กล่าว
นครหลวงฯแนะลดพอร์ตหุ้นช่วงก.พ.
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า สถาบันฯขอแนะนำให้นักลงทุนมีการลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นเดือนกุมภาพันธ์เหลือ 15% จากเดือนมกราคมที่มีสัดส่วนการลงทุน30 % เนื่องจากความไม่มั่นใจทางด้านเสถียรภาพทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอนสูง ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ โดยประเด็นการเมืองนั้นนักลงทุนควรที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และมีปัจจัยต่างประเทศเรื่องนโยบายการเงินเพื่อลดความร้อนแรงการเติบโตเศรษฐกิจของจีนว่าจะมีการออกมาตรการใหม่ๆออกมาหลังจากเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะมีผลทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวน เช่นกัน
นอกจากนี้จะต้องติดตามในเรื่องมาตรการกำกับดูและสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาที่จะมีความชัดเจนในไตรมาส1/53 และรัฐบาลกลางแต่ละประเทศจะมีการลดการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง จากที่มีการก่อหนี้มากแล้ว ซึ่งทำให้มีเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นลดลง ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบรุนแรง อาจจะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำสุดของปีนี้เกิดขึ้นในเดือนหน้าที่540 จุด แต่หากผลกระทบไม่รุนแรงจะทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 670 จุด จึงเป็นจังหวะที่นักลงทุนควรทยอยสะสมหุ้นเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ทางสถาบันวิจัยนครหลวงไทยแนะนำให้นำเงินจากการลดพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นหันมาลงทุนในตลาดเงิน(มันนี่มาร์เกตฟันด์)มากขึ้นเป็น 20% จาก 5%ในเดือนมกราคม เพื่อรอจังหวะกลัยเข้าไปลงทุนรอบใหม่และแนะนำให้ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่15% ส่วนการลงทุนในทองคำ5% จากที่ศทิทางราคาทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์ในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงมาและมีความผันผวนจากการแข็งค่าของเงินดอลลาณ์สหรัฐ และความกัวลจากจีน จึงแนะนำให้เข้าไปลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัวต่ำกว่า 10,50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และลงทุนในตราสารหนี้จากที่แนวโน้มผลตอบแทนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนหน้าตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การลงทุนในหุ้นปีนี้นักลงทุนควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี คือ มีผลประกอบการเติบโต มีการจ่ายเงินปันผลสูง และในช่วงครึ่งปีหลังควรมีหุ้นกลุ่ม โรงพยาบาล อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม พาณิชย์ พลังงาน เกษตรและธนาคาร ซึ่งที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ทิศทางดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
“จากการที่สถาบันวิจัยนครหลวงไทยได้มีการจัดพอร์ตการลงทุนพบว่าที่ผ่านมานั้นให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดทุกเดือน และผันผวนน้อยกว่าตลาด ซึ่งในเดือนก.พ.นั้นมีการจัดพอร์ตการลงทุนคือลงทุนในหุ้น GLOW,MINT ,PTTEP ,BAY ,CPN, QH ,TASCO ,TRT ,TMT SPALI ซึ่งจะให้ผลอตบแทนที่ดีในระยะยาว จากที่มีผลการดำเนินงานเติบโต มีการจ่ายเงินปันผลสูง แต่ระยะสั้นนั้นให้นักลงทุนเก็งกำไรผลประกอบการปี52ของหุ้นที่จะออกมาโดดเด่น เช่น CPN, PS ,SPALI ,MAKRO, STEC, PTT, BGH ,MAJOR,TMT TOP,”นายสุกิจ กล่าว
โบรกฯเชื่อวันหุ้นยังลงต่อ
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยวันนี้(28ม.ค.) คาดว่าจะปรับตัวลดลง โดยมองว่าดัชนีฯ จะเคลื่อนไหวลงแตะระดับแนวรับที่ 686 จุด เนื่องจาก นักลงทุนยังมีความกังวล กับการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในค่ำคืนนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งถ้อยแถลงนโยบายของนาย บารัค โอบามาจะแถลงนโยบายประจำปี (state of the union) ว่าจะออกมาในทิศทางใด รวมถึงปัญหาด้านการเมืองของไทยและ ปัญหานิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด จึงให้กลยุทธ์การลงทุน wait & see โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 686 จุด และประเมินแนวต้านไว้ที่ 700 จุด
ปัจจัยลบทั้งภายในและนอกประเทศ กดดันภาวะการลงทุนไม่หยุด โดยดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (27 ม.ค.) ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 700 จุดแล้ว ซึ่งปิดที่ 690.46 จุด ลดลง 11.20 จุด หรือ 1.60% มูลค่าการซื้อขาย 16,880.53 ล้านบาท จากความกังวลของนักลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มสถาบัน โบรกเกอร์ และนักลงทุนต่างชาติ ที่เทขายหุ้นออกมามาก เนื่องจากเกิดความไม่มั่นใจเสถียรภาพการเมืองไทย หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจนำไปสู่การยุบสภา และทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆ หยุดชะงัก
ขณะที่ ปัจจัยหุ้นภูมิภาคปรับลงต่อเนื่องจากประเด็นรัฐบาลจีนและสหรัฐออกมาตรการคุมเข้มสถาบันการเงิน ส่งผลถึงภาพรวมการซื้อขายสุทธิแยกตามประเภทนักลงทุนพบว่า มีเพียงนักลงทุนทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 1,244.21 ล้านบาท โดย ต่างชาติขายสุทธิ 527.15 ล้านบาท สถาบันขายสุทธิ 442.54 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพนย์ขายสุทธิ 274.51 ล้านบาท
ส่วนภาพรวมตลาดหุ้นในต่างประเทศ พบว่า ดัชนี สเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดตลาดที่ระดับ 2,706.26 จุด ลดลง 34.07 จุด หรือ -1.24 % ดัชนี คอมโพสิต ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปิดตลาดที่ระดับ 2,564.55 จุด ลดลง 13.86 จุด หรือ -0.54 % ดัชนี ฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 20,033.07 จุด ลดลง 76.26 จุด หรือ -0.38 % และดัชนี นิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดที่ระดับ 10,252.08 จุด ลดลง 73.20 จุด หรือ -0.71 %
ตลาดหุ้นยอมรับการเมืองมีผลแรง!
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ปัจจัยทางการเมืองได้มีผลกดดันตลาดหุ้นไทยมากขึ้นซึ่งเห็นได้จากวันที่ 26 มกราคม ที่มีการพิจารณาในเรื่องการไขรัฐธรรมนูญนั้นส่งผลให้ดัชนีมีการปรับตัวลดลงเกือบ 10 จุด
ส่วนปัจจัยต่างประเทศกรณีรัฐบาลจีมีการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินนั้นก็ยังคงเป็นปัจจัยเดิมที่ยังคงกดดันเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลง และตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
“ปัจจัยทางการเมืองมีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น หลังจากวันที่ 26 ม.ค.มีการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้นักลงทุนควรมีสติในการลงทุนมากขึ้น โดยจะต้องมีการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนนั้นควรเลือกลงทุนในหุ้นปันผลซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนได้”นางภัทรียา กล่าว
นครหลวงฯแนะลดพอร์ตหุ้นช่วงก.พ.
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า สถาบันฯขอแนะนำให้นักลงทุนมีการลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นเดือนกุมภาพันธ์เหลือ 15% จากเดือนมกราคมที่มีสัดส่วนการลงทุน30 % เนื่องจากความไม่มั่นใจทางด้านเสถียรภาพทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอนสูง ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ โดยประเด็นการเมืองนั้นนักลงทุนควรที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และมีปัจจัยต่างประเทศเรื่องนโยบายการเงินเพื่อลดความร้อนแรงการเติบโตเศรษฐกิจของจีนว่าจะมีการออกมาตรการใหม่ๆออกมาหลังจากเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะมีผลทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวน เช่นกัน
นอกจากนี้จะต้องติดตามในเรื่องมาตรการกำกับดูและสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาที่จะมีความชัดเจนในไตรมาส1/53 และรัฐบาลกลางแต่ละประเทศจะมีการลดการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง จากที่มีการก่อหนี้มากแล้ว ซึ่งทำให้มีเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นลดลง ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบรุนแรง อาจจะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำสุดของปีนี้เกิดขึ้นในเดือนหน้าที่540 จุด แต่หากผลกระทบไม่รุนแรงจะทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 670 จุด จึงเป็นจังหวะที่นักลงทุนควรทยอยสะสมหุ้นเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ทางสถาบันวิจัยนครหลวงไทยแนะนำให้นำเงินจากการลดพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นหันมาลงทุนในตลาดเงิน(มันนี่มาร์เกตฟันด์)มากขึ้นเป็น 20% จาก 5%ในเดือนมกราคม เพื่อรอจังหวะกลัยเข้าไปลงทุนรอบใหม่และแนะนำให้ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่15% ส่วนการลงทุนในทองคำ5% จากที่ศทิทางราคาทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์ในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงมาและมีความผันผวนจากการแข็งค่าของเงินดอลลาณ์สหรัฐ และความกัวลจากจีน จึงแนะนำให้เข้าไปลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัวต่ำกว่า 10,50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และลงทุนในตราสารหนี้จากที่แนวโน้มผลตอบแทนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนหน้าตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การลงทุนในหุ้นปีนี้นักลงทุนควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี คือ มีผลประกอบการเติบโต มีการจ่ายเงินปันผลสูง และในช่วงครึ่งปีหลังควรมีหุ้นกลุ่ม โรงพยาบาล อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม พาณิชย์ พลังงาน เกษตรและธนาคาร ซึ่งที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ทิศทางดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
“จากการที่สถาบันวิจัยนครหลวงไทยได้มีการจัดพอร์ตการลงทุนพบว่าที่ผ่านมานั้นให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดทุกเดือน และผันผวนน้อยกว่าตลาด ซึ่งในเดือนก.พ.นั้นมีการจัดพอร์ตการลงทุนคือลงทุนในหุ้น GLOW,MINT ,PTTEP ,BAY ,CPN, QH ,TASCO ,TRT ,TMT SPALI ซึ่งจะให้ผลอตบแทนที่ดีในระยะยาว จากที่มีผลการดำเนินงานเติบโต มีการจ่ายเงินปันผลสูง แต่ระยะสั้นนั้นให้นักลงทุนเก็งกำไรผลประกอบการปี52ของหุ้นที่จะออกมาโดดเด่น เช่น CPN, PS ,SPALI ,MAKRO, STEC, PTT, BGH ,MAJOR,TMT TOP,”นายสุกิจ กล่าว
โบรกฯเชื่อวันหุ้นยังลงต่อ
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยวันนี้(28ม.ค.) คาดว่าจะปรับตัวลดลง โดยมองว่าดัชนีฯ จะเคลื่อนไหวลงแตะระดับแนวรับที่ 686 จุด เนื่องจาก นักลงทุนยังมีความกังวล กับการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในค่ำคืนนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งถ้อยแถลงนโยบายของนาย บารัค โอบามาจะแถลงนโยบายประจำปี (state of the union) ว่าจะออกมาในทิศทางใด รวมถึงปัญหาด้านการเมืองของไทยและ ปัญหานิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด จึงให้กลยุทธ์การลงทุน wait & see โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 686 จุด และประเมินแนวต้านไว้ที่ 700 จุด