ASTV ผู้จัดการรายวัน- รฟม.ชงบอร์ด 4ก.พ.นี้ ตั้งกรรมการมาตรา 13 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 35 เริ่มขั้นตอนคัดเลือกเอกชนร่วมเดินรถสายสีม่วง เปิดทางบีเอ็มซีแอล เสนอลงทุน เชื่อมระบบช่วงสถานีบางซื่อ-เตาปูน พร้อมตั้งกรรมการเจรจาบีเอ็มซีแอลปรับสัญญาเดินรถใต้ดินจากสัมปทานเป็น PPP Gross Cost ส่วนสีน้ำเงินคึกคัก 18 รับเหมารุมซื้อซองประมูล ยักษ์ใหญ่ ช.การช่าง ,ชิโนไทย ,อิตาเลียนไทย ซื้อครบ 5 สัญญา พระราม 9 รฟม.เตรียมเสนอบอร์ด 4 ก.พ. 53
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 ก.พ. นี้ รฟม.จะรายงานความคืบหน้าการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง บางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ตามแนวทางการบริหาร แบบ PPP Gross Cost ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ที่มี นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ซึ่งตามขั้นตอนจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตามมาตรา13 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 โดยมี นายเยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนของ รฟม. เป็นประธาน ส่วนกรรมการประกอบด้วย ตัวแทนจากกระทรวงคมนาคม,กระทรวงการคลัง ,สำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ คาดว่า คณะกรรมการตามมาตรา 13 จะใช้เวลาในการวางกรอบแนวทางการคัดเลือกเอกชนประมาณ 4 เดือน หรือ ภายในเดือนต.ค. 2553 ก็จะเห็นความชัดเจน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้ให้ความเห็นชอบ รูปแบบการบริหารการเดินรถสายสีม่วงแบบ (Public Private Partnership: PPP) Gross Cost คือ ภาครัฐลงทุนค่างานโยธาทั้งหมด และเอกชนลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงตามมาตรฐานที่กำหนดในเงื่อนไขสัญญา และรัฐจะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสารและรายได้เชิงพาณิชย์จากการใช้ประโยชน์และโครงสร้างงานโยธาและรถไฟฟ้าทั้งหมด โดยจะจ่ายคืนเอกชนในลักษณะค่าจ้างบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง
นายชูเกียรติ กล่าวว่า ในส่วนของสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล ระหว่าง รฟม.กับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานนั้น รฟม.จะเจรจากับ บีเอ็มซีแอล โดยให้ข้อเสนอที่จะลงทุนต่อเชื่อมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีบางซื่อ กับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน ของสายสีม่วง ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ว่าจะต้องใช้งบลงทุนเท่าใด เพื่อประโยชน์ในการขนส่งผู้โดยสารและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้เพิ่มมากขึ้น
นายสุพจน์กล่าวว่า คณะกรรมการตามมาตร 13 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 35 จะเป็นอิสระในการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมการเดินรถ โดยบอร์ดรฟม.จะทำหน้าที่ดูแลด้านนโยบาย อย่างไรก็ตาม การประชุมต้นเดือนก.พ.นี้ รฟม.จะรายงานมติครม.เศรษฐกิจ เกี่ยวกับการเดินรถ ไฟฟ้าสายสีม่วง และการเจรจากับบีเอ็มซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน
เพื่อปรับรูปแบบสัมปทานให้เป็นแบบ PPP –Gross Cost ในลักษณะเช่นเดียวกับการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยบอร์ดจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก1ชุดเพื่อเจรจากับทางบีเอ็มซีแอล ร่วมทั้งจัดทำเอกสารสำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่จะใช้แนวทางการบริหารสัมปทาน แบบ PPP –Gross Cost เช่นเดียวกัน
“รัฐต้องการกำกับดูแลค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น แม้ว่ารัฐจะต้องเข้าไปช่วยรับภาระความเสี่ยงแทนเอกชนมากกว่ารูปแบบสัญญาสัมปทานเดิมก็ตาม แต่ในภาพรวมประเทศจะได้ประโยชน์ในการลดการใช้น้ำมัน ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด” นายสุพจน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (26 ม.ค.) รฟม. ได้มีพิธีลงนามในสัญญางานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง กับกิจการร่วมค้า PAR ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ,บริษัทแอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทรวมนครก่อสร้าง(ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า 5,025 ล้านบาท ปรับลดจากราคาที่เสนอ 6,399 ล้านบาท โดยจะดำเนินการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบนพื้นที่ขนาดประมาณ 155 ไร่ และอาคารจอดรถ 4 แห่ง ได้แก่ สถานีแยกนนทบุรี1 สถานีท่าอิฐ สถานีสามแยกบางใหญ่และสถานีคลองบางไผ่
นอกจากนี้ ในวันที่ 28 ก.พ.2553 รฟม.กำหนดปิดการจำหน่ายเอกสารประกวดราคาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งขณะนี้มีบริษัทให้ความสนใจจำนวน18 บริษัท โดยมีบริษัทรายใหญ่ที่ซื้อซองทั้ง5สัญญา ได้แก่ ช.การช่าง (มหาชน), ชิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน), อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ และบริษัทที่ซื้อสัญญา1-4 ได้แก่ บริษัทยูนิค เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด , บริษัทเนาวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด(มหาชน), DIAHO Corporation, Sihohydro Corporation Limited โดยคาดว่าจะคัดเลือกได้ผู้รับเหมาภายในปี 2553นี้
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 ก.พ. นี้ รฟม.จะรายงานความคืบหน้าการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง บางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ตามแนวทางการบริหาร แบบ PPP Gross Cost ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ที่มี นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ซึ่งตามขั้นตอนจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตามมาตรา13 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 โดยมี นายเยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนของ รฟม. เป็นประธาน ส่วนกรรมการประกอบด้วย ตัวแทนจากกระทรวงคมนาคม,กระทรวงการคลัง ,สำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ คาดว่า คณะกรรมการตามมาตรา 13 จะใช้เวลาในการวางกรอบแนวทางการคัดเลือกเอกชนประมาณ 4 เดือน หรือ ภายในเดือนต.ค. 2553 ก็จะเห็นความชัดเจน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้ให้ความเห็นชอบ รูปแบบการบริหารการเดินรถสายสีม่วงแบบ (Public Private Partnership: PPP) Gross Cost คือ ภาครัฐลงทุนค่างานโยธาทั้งหมด และเอกชนลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงตามมาตรฐานที่กำหนดในเงื่อนไขสัญญา และรัฐจะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสารและรายได้เชิงพาณิชย์จากการใช้ประโยชน์และโครงสร้างงานโยธาและรถไฟฟ้าทั้งหมด โดยจะจ่ายคืนเอกชนในลักษณะค่าจ้างบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง
นายชูเกียรติ กล่าวว่า ในส่วนของสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล ระหว่าง รฟม.กับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานนั้น รฟม.จะเจรจากับ บีเอ็มซีแอล โดยให้ข้อเสนอที่จะลงทุนต่อเชื่อมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีบางซื่อ กับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน ของสายสีม่วง ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ว่าจะต้องใช้งบลงทุนเท่าใด เพื่อประโยชน์ในการขนส่งผู้โดยสารและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้เพิ่มมากขึ้น
นายสุพจน์กล่าวว่า คณะกรรมการตามมาตร 13 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 35 จะเป็นอิสระในการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมการเดินรถ โดยบอร์ดรฟม.จะทำหน้าที่ดูแลด้านนโยบาย อย่างไรก็ตาม การประชุมต้นเดือนก.พ.นี้ รฟม.จะรายงานมติครม.เศรษฐกิจ เกี่ยวกับการเดินรถ ไฟฟ้าสายสีม่วง และการเจรจากับบีเอ็มซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน
เพื่อปรับรูปแบบสัมปทานให้เป็นแบบ PPP –Gross Cost ในลักษณะเช่นเดียวกับการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยบอร์ดจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก1ชุดเพื่อเจรจากับทางบีเอ็มซีแอล ร่วมทั้งจัดทำเอกสารสำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่จะใช้แนวทางการบริหารสัมปทาน แบบ PPP –Gross Cost เช่นเดียวกัน
“รัฐต้องการกำกับดูแลค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น แม้ว่ารัฐจะต้องเข้าไปช่วยรับภาระความเสี่ยงแทนเอกชนมากกว่ารูปแบบสัญญาสัมปทานเดิมก็ตาม แต่ในภาพรวมประเทศจะได้ประโยชน์ในการลดการใช้น้ำมัน ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด” นายสุพจน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (26 ม.ค.) รฟม. ได้มีพิธีลงนามในสัญญางานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง กับกิจการร่วมค้า PAR ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ,บริษัทแอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทรวมนครก่อสร้าง(ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า 5,025 ล้านบาท ปรับลดจากราคาที่เสนอ 6,399 ล้านบาท โดยจะดำเนินการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบนพื้นที่ขนาดประมาณ 155 ไร่ และอาคารจอดรถ 4 แห่ง ได้แก่ สถานีแยกนนทบุรี1 สถานีท่าอิฐ สถานีสามแยกบางใหญ่และสถานีคลองบางไผ่
นอกจากนี้ ในวันที่ 28 ก.พ.2553 รฟม.กำหนดปิดการจำหน่ายเอกสารประกวดราคาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งขณะนี้มีบริษัทให้ความสนใจจำนวน18 บริษัท โดยมีบริษัทรายใหญ่ที่ซื้อซองทั้ง5สัญญา ได้แก่ ช.การช่าง (มหาชน), ชิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน), อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ และบริษัทที่ซื้อสัญญา1-4 ได้แก่ บริษัทยูนิค เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด , บริษัทเนาวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด(มหาชน), DIAHO Corporation, Sihohydro Corporation Limited โดยคาดว่าจะคัดเลือกได้ผู้รับเหมาภายในปี 2553นี้