นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ TRUE เปิดเผยว่าบริษัทสนใจที่จะร่วมกับทางบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ในการให้บริการ 3G เช่นกัน หลังจาก บริษัท แอดว๊านอินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ AIS ได้ประกาศร่วมมือกับบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน)หรือ TOT เพื่อให้บริการ3Gในเดือน ก.พ. นี้ ซึ่งตามหลักเกณฑ์แล้วทาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. และทีโอทีต้องเปิดโอกาสให้กับเอกชนทุกฝ่ายเข้าร่วม ซึ่ง ทรูฯ ก็พร้อมเจรจากับทั้ง ทีโอที และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ในฐานะที่ กสท.เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับทรูฯ
ทั้งนี้ หาก กสท.จะเปิดให้คู่สัญญาให้บริการ 3G ก็จะทำให้ทั้งทรูและดีแทคสามารถให้บริการ 3G ได้ในคราวเดียวกัน แต่หากเข้าประมูลใบอนุญาต3G 3G คลื่นความถี่ 2.1กิกะเฮิร์ตซ์ เองนั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุน ประมาณ 12,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีกระแสเงินสดที่สามารถนำมาลงทุนได้ปีละ7,000-8,000ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีศักยภาพที่จะกู้เงิน ระดมเงินในตลาดทุน รวมทั้งการหาพันธมิตรธุรกิจให้เข้ามาร่วมถือหุ้นได้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน
สำหรับธุรกิจสื่อสารปีนี้การเติบโตลดลง เพราะประชาชนทุกครัวเรือนมีโทรศัพท์ใช้ แต่จะเติบโตในเรื่องของบอดแบรนท์และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้เพียง 7% ของจำนวนครัวเรือนโดยเชื่อว่าจะเติบโตมากขึ้น และยิ่งในอนาคตจะมี 3G และ 4G เกิดขึ้นก็จะยิ่งทำให้ธุรกิจสื่อสารเติบโตมากขึ้น และจะสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เพราะการสร้างคอนเทนถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
นายศุภชัย กล่าวว่าแผนงานปี 53 นี้ บริษัทตั้งเป้าว่า จะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ไว้ที่ระดับ 3-5% ซึ่งเท่ากับอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้เฉลี่ยแต่ละปี ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ 60,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าธุรกิจการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ระดับตัวเลขสองหลัก(ดับเบิ้ล ดิจิต) ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน น่าจะสามารถทำได้เพียงแค่รักษารายได้ในระดับเท่าเดิม เพราะต้องยอมรับว่าการยอดการให้บริการดังกล่าวลดลงทุกปี ขณะธุรกิจเคเบิลทีวีเชื่อว่าจะมีการเติบโตจากที่มีรายได้โฆษณาเข้ามาเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ส่วนธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟ น่าจะค่อย ๆ เติบโตเท่าปีก่อนที่ประมาณ 3 %
ทั้งนี้ จากการที่บริษัทมีแผนการนำบริษัททรูมูฟ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ว่า ยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ อย่างไรก็ตามหากจะเข้าตลาดจริงก็ต้องการหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนก่อน และถ้าได้รับใบอนุญาต(ไลเซ่น)ประกอบธุรกิจ 3G ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญช่วยสนับสนุนให้บริษัทเข้าจดทะเบียน
ทั้งนี้ หาก กสท.จะเปิดให้คู่สัญญาให้บริการ 3G ก็จะทำให้ทั้งทรูและดีแทคสามารถให้บริการ 3G ได้ในคราวเดียวกัน แต่หากเข้าประมูลใบอนุญาต3G 3G คลื่นความถี่ 2.1กิกะเฮิร์ตซ์ เองนั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุน ประมาณ 12,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีกระแสเงินสดที่สามารถนำมาลงทุนได้ปีละ7,000-8,000ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีศักยภาพที่จะกู้เงิน ระดมเงินในตลาดทุน รวมทั้งการหาพันธมิตรธุรกิจให้เข้ามาร่วมถือหุ้นได้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน
สำหรับธุรกิจสื่อสารปีนี้การเติบโตลดลง เพราะประชาชนทุกครัวเรือนมีโทรศัพท์ใช้ แต่จะเติบโตในเรื่องของบอดแบรนท์และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้เพียง 7% ของจำนวนครัวเรือนโดยเชื่อว่าจะเติบโตมากขึ้น และยิ่งในอนาคตจะมี 3G และ 4G เกิดขึ้นก็จะยิ่งทำให้ธุรกิจสื่อสารเติบโตมากขึ้น และจะสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เพราะการสร้างคอนเทนถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
นายศุภชัย กล่าวว่าแผนงานปี 53 นี้ บริษัทตั้งเป้าว่า จะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ไว้ที่ระดับ 3-5% ซึ่งเท่ากับอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้เฉลี่ยแต่ละปี ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ 60,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าธุรกิจการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ระดับตัวเลขสองหลัก(ดับเบิ้ล ดิจิต) ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน น่าจะสามารถทำได้เพียงแค่รักษารายได้ในระดับเท่าเดิม เพราะต้องยอมรับว่าการยอดการให้บริการดังกล่าวลดลงทุกปี ขณะธุรกิจเคเบิลทีวีเชื่อว่าจะมีการเติบโตจากที่มีรายได้โฆษณาเข้ามาเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ส่วนธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟ น่าจะค่อย ๆ เติบโตเท่าปีก่อนที่ประมาณ 3 %
ทั้งนี้ จากการที่บริษัทมีแผนการนำบริษัททรูมูฟ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ว่า ยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ อย่างไรก็ตามหากจะเข้าตลาดจริงก็ต้องการหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนก่อน และถ้าได้รับใบอนุญาต(ไลเซ่น)ประกอบธุรกิจ 3G ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญช่วยสนับสนุนให้บริษัทเข้าจดทะเบียน