ASTVผู้จัดการรายวัน - ยกฟ้อง 2 มือปืนยิง “ระวีวรรณ” สาวหน้าเด้ง เหยื่อศัลยกรรมไบโอคลินิก ศาลมองหลักฐานโจทก์ขาดน้ำหนัก แม้มีประจักษ์พยาน ลายนิ้วมือ และอาวุธปืน แต่ให้ขังไว้จำเลยระหว่างอุทธรณ์"ลูกเหยื่อ"น้ำตานองยอมรับพิพากษายกฟ้องอาจส่งผลกระทบคดีจ้างวานฆ่า เตรียมหารือทนายอุทธรณ์สู้
วานนี้(19 ม.ค.)ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.4514/2550 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 และนายเจตษฎา วิวัฒนานุกูล ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง นายจตุรงค์ หรือตึ๋ง เบญกุล อายุ 26 ปี และนายประกอบ สีนาค อายุ 31 ปี จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่า นางระวีวรรณ เสตะรัต หรือนางอภัสนันท์ ธิติโชติชัยปรีชา ผู้เสียหายจากการทำศัลยกรรมสถาบันเสริมความงามไบโอคลินิก ย่านดอนเมือง
คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 เวลาประมาณ 20.30 น. จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนขนาด .25 (6.35 มม.) ยิงนางระวีวรรณเสียชีวิตหน้าบ้านพักเลขที่ 295 หมู่บ้านฉัตรแก้ว ซ.11 ถ.แฮปปี้แลนด์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. แล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลาดพร้าว และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามจับกุมจำเลยทั้งสองได้พร้อมอาวุธปืน และรถจักรยานยนต์ของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่ให้การปฏิเสธชั้นพิจารณา
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานนำสืบทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่า คดีนี้ฝ่ายโจทก์มีนายเจษฎา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรชายผู้ตาย ประจักษ์พยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุอยู่กลางบ้าน ได้ยินเสียงมารดาร้องจึงหันไปดูเห็นจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงมารดา 4-5 นัด จนถึงแก่ความตาย แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับผลการชันสูตรของกองพิสูจน์หลักฐานแล้วพบว่า กระสุนปืนบริเวณจุดเกิดเหตุ แสดงว่าโจทก์ร่วมเห็นขณะที่คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้วกำลังหลบหนี จึงมีโอกาสจดจำใบหน้าคนร้ายได้น้อย ประกอบกับเวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนแม้จะมีแสงสว่างจากไฟนีออน แต่ก็ไม่น่าจะมองเห็นและจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะโจทก์ร่วมจะต้องมองผ่านกระจกบานเกล็ด จึงไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าโจทก์ร่วมจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้อย่างแม่นยำ
ประกอบกับชั้นสอบสวนโจทก์ร่วมก็ไม่ได้ระบุตำหนิรูปพรรณสัณฐานคนร้าย ทำให้คำเบิกความของโจทก์ร่วมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมีพยานเป็นพนักงานสอบสวนเบิกความในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือยิง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์หลบหนี และบันทึกคำรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุ เป็นเพียงพยานประกอบเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพ แต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนมีน้ำหนักน้อย และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่สมัครใจรับสารภาพเกรงว่าจะถูกทำร้าย เห็นว่าโจทก์ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบอีก จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมายืนยัน แม้จะพบลายนิ้วมือของจำเลยที่ 2 ติดอยู่บนขวดเบียร์ใกล้ที่เกิดเหตุ แต่ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 2 จะไปนั่งดี่มเบียร์บริเวณนั้นจริงหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เบิกความเกี่ยวกับการตรวจค้นหาอาวุธปืนที่จำเลยทั้งสองไปทิ้งไว้ในลำคลองรังสิตนครนายก ต.คลองสาม อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี ซึ่งพบชิ้นส่วนลำกล้องปืน ประกับด้ามปืนซ้ายและขวา โครงปืนจมอยู่ใต้น้ำ โดยมีการบันทึกภาพขณะเก็บหลักฐาน และมีการทดสอบวิถีกระสุนพบว่า กระสุนที่ออกจากอาวุธปืนดังกล่าวตรงกันกับที่ใช้ยิงผู้ตาย โดยพยานที่เป็นพนักงานสอบสวนเบิกความว่าชิ้นส่วนปืนทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำ แต่เมื่อทนายจำเลยขอให้มีการพิสูจน์ นำประกับด้ามปืนมาวางในกะละมังใส่น้ำปรากฏว่าประกับด้ามปืนดังกล่าวลอยน้ำ พยานในส่วนนี้จึงมีพิรุธ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 2 ดังนั้น ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบเพียงพอรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสอง พิพากษายกฟ้องแต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์
ภายหลังนายเจษฎา วิวัฒนานุกูล บุตรชายนางระวีวรรณ กล่าวยอมรับว่า ผิดหวังกับผลคำพิพากษาที่ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายโจทก์ แต่ยืนยันจะต่อไปให้ถึงที่สุด หากศาลอุทธรณ์ยกฟ้องก็จะยื่นฎีกาต่อ เพราะตนเชื่อและเห็นกับตาว่าจำเลยเป็นมือปืนที่ยิงมารดาเสียชีวิต
น.ส.ธีรวรรณ ริมธีระกุล บุตรสาว กล่าวด้วยน้ำตานองหน้าว่า จะต้องปรึกษากับทีมกฎหมายเพื่อยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีต่อไป แต่ยอมรับว่าคำพิพากษายกฟ้องคดีนี้อาจส่งผลกระทบต่อคดีจ้างวานฆ่ามารดาที่มีนายศักดา เฮงสวัสดิ์ น้องชาย นพ.กวีวัธน์ เฮงสวัสดิ์ หรือหมอไพศาล เจ้าของสถานพยาบาลไบโอคลินิก เป็นผู้ต้องหา ดังนั้นจึงอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรีบติดตามตัวนายศักดาที่หลบหนีออกนอกประเทศมาทำการสอบสวน เพราะเชื่อว่าน่าจะมีคนที่สั่งการอีกทอดหนึ่งเนื่องจากนายศักดาไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับมารดาตน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คุมตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมตัว จำเลยทั้งสองพูดคุยกันอย่างอารมณ์ดี และตะโกนหัวเราะเสียงดังขณะถูกนำตัวมาลงลิฟต์นักโทษ
วานนี้(19 ม.ค.)ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.4514/2550 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 และนายเจตษฎา วิวัฒนานุกูล ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง นายจตุรงค์ หรือตึ๋ง เบญกุล อายุ 26 ปี และนายประกอบ สีนาค อายุ 31 ปี จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่า นางระวีวรรณ เสตะรัต หรือนางอภัสนันท์ ธิติโชติชัยปรีชา ผู้เสียหายจากการทำศัลยกรรมสถาบันเสริมความงามไบโอคลินิก ย่านดอนเมือง
คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 เวลาประมาณ 20.30 น. จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนขนาด .25 (6.35 มม.) ยิงนางระวีวรรณเสียชีวิตหน้าบ้านพักเลขที่ 295 หมู่บ้านฉัตรแก้ว ซ.11 ถ.แฮปปี้แลนด์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. แล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลาดพร้าว และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามจับกุมจำเลยทั้งสองได้พร้อมอาวุธปืน และรถจักรยานยนต์ของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่ให้การปฏิเสธชั้นพิจารณา
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานนำสืบทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่า คดีนี้ฝ่ายโจทก์มีนายเจษฎา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรชายผู้ตาย ประจักษ์พยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุอยู่กลางบ้าน ได้ยินเสียงมารดาร้องจึงหันไปดูเห็นจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงมารดา 4-5 นัด จนถึงแก่ความตาย แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับผลการชันสูตรของกองพิสูจน์หลักฐานแล้วพบว่า กระสุนปืนบริเวณจุดเกิดเหตุ แสดงว่าโจทก์ร่วมเห็นขณะที่คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้วกำลังหลบหนี จึงมีโอกาสจดจำใบหน้าคนร้ายได้น้อย ประกอบกับเวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนแม้จะมีแสงสว่างจากไฟนีออน แต่ก็ไม่น่าจะมองเห็นและจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะโจทก์ร่วมจะต้องมองผ่านกระจกบานเกล็ด จึงไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าโจทก์ร่วมจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้อย่างแม่นยำ
ประกอบกับชั้นสอบสวนโจทก์ร่วมก็ไม่ได้ระบุตำหนิรูปพรรณสัณฐานคนร้าย ทำให้คำเบิกความของโจทก์ร่วมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมีพยานเป็นพนักงานสอบสวนเบิกความในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือยิง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์หลบหนี และบันทึกคำรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุ เป็นเพียงพยานประกอบเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพ แต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนมีน้ำหนักน้อย และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่สมัครใจรับสารภาพเกรงว่าจะถูกทำร้าย เห็นว่าโจทก์ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบอีก จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมายืนยัน แม้จะพบลายนิ้วมือของจำเลยที่ 2 ติดอยู่บนขวดเบียร์ใกล้ที่เกิดเหตุ แต่ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 2 จะไปนั่งดี่มเบียร์บริเวณนั้นจริงหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เบิกความเกี่ยวกับการตรวจค้นหาอาวุธปืนที่จำเลยทั้งสองไปทิ้งไว้ในลำคลองรังสิตนครนายก ต.คลองสาม อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี ซึ่งพบชิ้นส่วนลำกล้องปืน ประกับด้ามปืนซ้ายและขวา โครงปืนจมอยู่ใต้น้ำ โดยมีการบันทึกภาพขณะเก็บหลักฐาน และมีการทดสอบวิถีกระสุนพบว่า กระสุนที่ออกจากอาวุธปืนดังกล่าวตรงกันกับที่ใช้ยิงผู้ตาย โดยพยานที่เป็นพนักงานสอบสวนเบิกความว่าชิ้นส่วนปืนทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำ แต่เมื่อทนายจำเลยขอให้มีการพิสูจน์ นำประกับด้ามปืนมาวางในกะละมังใส่น้ำปรากฏว่าประกับด้ามปืนดังกล่าวลอยน้ำ พยานในส่วนนี้จึงมีพิรุธ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 2 ดังนั้น ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบเพียงพอรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสอง พิพากษายกฟ้องแต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์
ภายหลังนายเจษฎา วิวัฒนานุกูล บุตรชายนางระวีวรรณ กล่าวยอมรับว่า ผิดหวังกับผลคำพิพากษาที่ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายโจทก์ แต่ยืนยันจะต่อไปให้ถึงที่สุด หากศาลอุทธรณ์ยกฟ้องก็จะยื่นฎีกาต่อ เพราะตนเชื่อและเห็นกับตาว่าจำเลยเป็นมือปืนที่ยิงมารดาเสียชีวิต
น.ส.ธีรวรรณ ริมธีระกุล บุตรสาว กล่าวด้วยน้ำตานองหน้าว่า จะต้องปรึกษากับทีมกฎหมายเพื่อยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีต่อไป แต่ยอมรับว่าคำพิพากษายกฟ้องคดีนี้อาจส่งผลกระทบต่อคดีจ้างวานฆ่ามารดาที่มีนายศักดา เฮงสวัสดิ์ น้องชาย นพ.กวีวัธน์ เฮงสวัสดิ์ หรือหมอไพศาล เจ้าของสถานพยาบาลไบโอคลินิก เป็นผู้ต้องหา ดังนั้นจึงอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรีบติดตามตัวนายศักดาที่หลบหนีออกนอกประเทศมาทำการสอบสวน เพราะเชื่อว่าน่าจะมีคนที่สั่งการอีกทอดหนึ่งเนื่องจากนายศักดาไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับมารดาตน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คุมตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมตัว จำเลยทั้งสองพูดคุยกันอย่างอารมณ์ดี และตะโกนหัวเราะเสียงดังขณะถูกนำตัวมาลงลิฟต์นักโทษ