**วันอังคารที่ 19 ม.ค. 53 ถือเป็นวันแรกสำหรับ 5 รัฐมนตรีใหม่ในครม. “มาร์ค 4” เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ หากไม่มีอะไรผิดพลาดทั้งหมดก็คงจะเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นนัดแรกในวันนี้
เมื่อพลิกปูม รัฐมนตรีทั้ง 5 คน มี 2 รัฐมนตรี ที่ผ่านประสบการณ์ฝ่ายบริหารมาแล้วอย่างโชกโชน คือไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข
ส่วนอีก 3 คนถือว่าเป็นหน้าใหม่ป้ายแดง เพิ่งจะรับตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงเป็นครั้งแรกในชีวิต บางคนแม้จะเคยเป็นส.ส.มาแล้วเกือบสิบสมัย และบางคนก็เพิ่งรู้ตัวก่อนถูกเสนอชื่อเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ไม่ว่าจะเป็น ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ, สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม, พรรณสิริ กุลนารถศิริ รมช.สาธารณสุข
** อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเข้าวินได้เก้าอี้ไปครอบครองของ 5 รัฐมนตรีดังกล่าว พบว่าทั้งหมดล้วนมีที่มาที่ไปอันไม่ธรรมดา
เริ่มตั้งแต่ กุนซือใหญ่ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล “ดร.สามสี” ครั้งนี้หากไม่เป็นเพราะกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ มีปัญหาน้องชายเข้าไปพัวพันในเรื่องทุจริตโครงการชุมชนพอเพียง จนพี่น้อง “สภาวสุ” เสียชื่อเสียงยับเยินทางการเมือง จนกอร์ปศักดิ์ ต้องลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มาเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แทนนิพนธ์ พร้อมพันธ์ คงยากที่ ไตรรงค์ จะมีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรีในบั้นปลายชีวิต โดยเฉพาะกับรัฐบาล “พลังหนุ่ม” ที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มี กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจตัวจริงคุมทัพอยู่
แต่เพราะตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจจำเป็นต้องได้คนมีอาวุโส และมีประสบการณ์ในการมองภาพรวมโครงสร้างเศรษฐกิจ ทำให้ไตรรงค์ ที่ครบเครื่องทั้งประสบการณ์ อาวุโสและความเก๋าเกมถูกเรียกใช้บริการ
แถมก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเป็น หมอใหญ่ทำคลอดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฏรมากับมือ ทุกบาททุกสตางค์ ไตรรงค์ รู้หมดว่าเงินอยู่ตรงไหน กระทรวงไหน กรมไหนได้เท่าไหร่ และเขียนโครงการเอาไว้ว่าจะเอาไปทำอะไร
**ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดของไตรรงค์ ทำให้เข้ารับตำแหน่งแบบไร้คู่แข่ง
**หลังจากนี้คงต้องจับตามองว่า การประสานงานร่วมกันของทีมเศรษฐกิจรัฐบาลซึ่งมีไตรรงค์ เป็นผู้อาวุโสสุด จะนำทีมเศรษฐกิจรัฐบาลอภิสิทธิ์ ให้แสดงผลงานให้สังคมเห็นได้แค่ไหน หรือจะเกิดปัญหาเกาเหลาต่อกันหรือไม่ แบบนี้ อาจได้เห็นดร.สามสี ผู้มีความโดดเด่นในเรื่องปากกับใจตรงกัน แสดงฤทธิ์เดชกันบ้าง
ส่วน จุรินทร์ วันนี้ ต้องเปลี่ยนจากครูจุรินทร์ มาเป็นหมอจุรินทร์ แม้จะเป็นงานด้านสังคมเหมือนกัน แต่ภารกิจต่างกันมาก ยิ่งกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่รู้กันว่า กระทรวงนี้ “ของแรง” หากไปทำอะไรไม่ดีไว้ มีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ง่ายๆ
จริงๆ แล้วตามข่าวจุรินทร์ ก็ไม่อยากมาสธ.เพราะกำลังสนุกกับงานในศธ. แต่เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง และจุรินทร์ ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจในพรรคประชาธิปัตย์มากนัก เลยต้องยอมเล่นตามเกมของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ต้องการผลักดันให้ ชินวรณ์ ขยับจากประธานวิปรัฐบาล มาเป็นรัฐมนตรีเ ด้วยที่เป็น ส.ส.มาหลายสมัย
**แต่ติดขัดว่าหากชินวรณ์ จะไปชิงตำแหน่งรมว.สาธารณสุข จะมีคู่แข่งขันสูง และหากต้องช่วงชิงกันจะทำให้พรรคเกิดปัญหาความแตกแยกขึ้นได้ เพราะมีแคนดิเดทท้าชิงหลายคน โดยเฉพาะ นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ที่ได้แรงหนุนจากชวน หลีกภัย สุดตัว
เป็นทางออกให้สุเทพ ปรับจุรินทร์ ไปเป็นรมว.สธ. จึงทำให้ตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการว่างลง และแม้จะมีแคนดิเดทคนอื่นลงชิงเก้าอี้นี้ด้วย ทั้งนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ , องอาจ คล้ามไพบูลย์, เฉลิมชัย ศรีอ่อน แต่เนื่องจากชินวรณ์ มีความได้เปรียบมากที่สุด ทั้งเหตุผลในเรื่องโควตา เพราะชินวรณ์ เป็นส.ส.นครศรีธรรมราช เช่นเดียวกับ วิทยา แก้วภราดัย จึงเป็นการรักษาโควตานครศรีธรรมราชเอาไว้
** อีกทั้งชินวรณ์ ก็เป็นอดีตครูเก่า แถมทำงานด้านการศึกษามาตลอดไล่ตั้งแต่การเป็นกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฏรทุกสมัย, เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงศึกษาธิการให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด และมีบทบาทสำคัญในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการทุกครั้ง และยังเป็นคีย์แมนสำคัญของพรรค ที่มีส่วนในการร่วมยกร่างนโยบายพรรคในเรื่องการศึกษามาตลอด
**จึงทำให้ชินวรณ์ ได้รับการโหวตให้เป็นรมว.ศึกษาธิการ แบบไร้คู่แข่งขัน
ขณะที่ สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม จากพรรคภูมิใจไทย ก็ถือว่าครั้งนี้ประสบความสำเร็จในชีวิตการเมืองแล้ว หลังจากเล่นการเมืองมาหลายสิบปี เป็นหนึ่งในเด็กปั้นภาคอีสานของพรรคกิจสังคม ตั้งแต่ยุค มนตรี พงษ์พานิช จนได้เป็นส.ส.หลายสมัย แต่ไม่เคยได้เป็นรมต.เลยสักครั้ง
ครั้งนี้ สุชาติ คงต้องขอบคุณเนวิน ชิดชอบ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยตัวจริง ที่บีบให้ ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ลาออกจากรมช.คมนาคม เพื่อเปิดเก้าอี้ให้ สุชาติ ตามคำมั่นสัญญาที่เนวินให้ไว้กับสุชาติ ตั้งแต่ตอนปรับครม.ในตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ ของ ชาติชาย พุคยาภรณ์ ซึ่งตอนนั้นเนวินขอให้สุชาติเสียสละเก้าอี้ให้ ศุภชัย โพธิ์สุ โดยเนวิน รับปากว่าหากมีการปรับครม.เมื่อใด สุชาติ คือคนเดียวเท่านั้นที่จะถูกเสนอชื่อให้รับตำแหน่งในโควตากลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งเนวิน ก็ทำตามสัญญาลูกผู้ชายที่ให้ไว้
**บทบาทที่สำคัญต่อจากนี้ของสุชาติก็คือ การทำให้ เสื้อน้ำเงิน สามารถปักธงในพื้นที่มหาสารคามให้ได้ หลังจากเกือบทำได้สำเร็จในการเลือกตั้งซ่อมมหาสารคาม เมื่อ 3 มกราคม 53 ที่ผ่านมา รวมถึงภารกิจสำคัญคือ การผลักดันโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีของ ขสมก. 4 พันคันให้สำเร็จให้ได้ หากทำไม่ได้ สุชาติ ก็อาจต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับประจักษ์ แน่นอน
ส่วนรมต.คนสุดท้าย คือ พรรณสิริ ถือว่าเข้าป้ายแบบเจ้าตัวตัดชุดแทบไม่ทัน แม้ลึกๆ น่าจะรู้อยู่แล้วว่า สมศักดิ์ เทพสุทิน พี่ชายวางตัวให้เป็นทายาทการเมืองแถวสามของตระกูลต่อจาก อนงค์วรรณ เมียรักสมศักดิ์ เพียงแต่อาจไม่คิดว่าจะเร็วปานนี้
หลังจากมีการโยนหินถามทางคนที่จะมาเป็น รมช.สธ. กับสังคมผ่านสื่อทั้ง ประศาสตร์ ทองปากน้ำ และเรืองศักดิ์ งามสมภาค รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แต่ทั้งสองคนล้วนเจอแรงต้าน คือกลุ่มแพทย์ชนบท ที่ต้านนายประศาตร์ และส.ส.กลุ่มสมศักดิ์ ที่ขวาง เรืองศักดิ์ เพราะเห็นว่าจะมาชุมมือเปิบ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรให้กลุ่มเป็นชิ้นเป็นอัน
เลยเข้าทาง ทำให้สมศักดิ์นำเหตุผลเรื่อง หาคนที่เหมาะสมไม่ได้ เพราะทั้งประศาสตร์ และเรืองศักดิ์ มีปัญหาไปคนละแบบ เลยอ้างเหตุขอแก้ปัญหาด้วยการ
**“เดินสายกลาง” คือเอาคนในครอบครัว –สายเลือดเดียวกันมาเป็น “นอมินี” รับตำแหน่งแบบสมบัติผลัดกันชม ชนิดไม่แคร์ความรู้สึกประชาชน
แถมถูกตั้งข้อสังเกตจากคนในพรรคเดียวกันเองว่า สมศักดิ์ แกล้งโยนชื่อ ประศาสตร์-เรืองศักดิ์ ออกมาเพื่อให้สังคมและคนในพรรคออกมาต้าน เพราะต้องการผลักดันน้องสาวตัวเองขึ้นมาเป็นทายาทการเมืองอยู่แล้ว พอได้จังหวะก็อ้างเหตุว่า เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้พรรคเกิดการแย่งเก้าอี้กัน เลยเอาน้องสาวตัวเองมาเป็นรมต.เสียเลย
**แผนนี้ คนในกลุ่มสมศักดิ์ด้วยกันเองที่เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ได้แต่กัดฟันด้วยความเจ็บแค้นที่ไล่ตามสมศักดิ์ ไม่ทัน กว่าจะรู้ตัว เก้าอี้รมช.สธ. ก็เสร็จ “พี่น้องเทพสุทิน” ไปเรียบร้อยแล้ว
เมื่อพลิกปูม รัฐมนตรีทั้ง 5 คน มี 2 รัฐมนตรี ที่ผ่านประสบการณ์ฝ่ายบริหารมาแล้วอย่างโชกโชน คือไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข
ส่วนอีก 3 คนถือว่าเป็นหน้าใหม่ป้ายแดง เพิ่งจะรับตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงเป็นครั้งแรกในชีวิต บางคนแม้จะเคยเป็นส.ส.มาแล้วเกือบสิบสมัย และบางคนก็เพิ่งรู้ตัวก่อนถูกเสนอชื่อเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ไม่ว่าจะเป็น ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ, สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม, พรรณสิริ กุลนารถศิริ รมช.สาธารณสุข
** อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเข้าวินได้เก้าอี้ไปครอบครองของ 5 รัฐมนตรีดังกล่าว พบว่าทั้งหมดล้วนมีที่มาที่ไปอันไม่ธรรมดา
เริ่มตั้งแต่ กุนซือใหญ่ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล “ดร.สามสี” ครั้งนี้หากไม่เป็นเพราะกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ มีปัญหาน้องชายเข้าไปพัวพันในเรื่องทุจริตโครงการชุมชนพอเพียง จนพี่น้อง “สภาวสุ” เสียชื่อเสียงยับเยินทางการเมือง จนกอร์ปศักดิ์ ต้องลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มาเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แทนนิพนธ์ พร้อมพันธ์ คงยากที่ ไตรรงค์ จะมีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรีในบั้นปลายชีวิต โดยเฉพาะกับรัฐบาล “พลังหนุ่ม” ที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มี กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจตัวจริงคุมทัพอยู่
แต่เพราะตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจจำเป็นต้องได้คนมีอาวุโส และมีประสบการณ์ในการมองภาพรวมโครงสร้างเศรษฐกิจ ทำให้ไตรรงค์ ที่ครบเครื่องทั้งประสบการณ์ อาวุโสและความเก๋าเกมถูกเรียกใช้บริการ
แถมก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเป็น หมอใหญ่ทำคลอดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฏรมากับมือ ทุกบาททุกสตางค์ ไตรรงค์ รู้หมดว่าเงินอยู่ตรงไหน กระทรวงไหน กรมไหนได้เท่าไหร่ และเขียนโครงการเอาไว้ว่าจะเอาไปทำอะไร
**ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดของไตรรงค์ ทำให้เข้ารับตำแหน่งแบบไร้คู่แข่ง
**หลังจากนี้คงต้องจับตามองว่า การประสานงานร่วมกันของทีมเศรษฐกิจรัฐบาลซึ่งมีไตรรงค์ เป็นผู้อาวุโสสุด จะนำทีมเศรษฐกิจรัฐบาลอภิสิทธิ์ ให้แสดงผลงานให้สังคมเห็นได้แค่ไหน หรือจะเกิดปัญหาเกาเหลาต่อกันหรือไม่ แบบนี้ อาจได้เห็นดร.สามสี ผู้มีความโดดเด่นในเรื่องปากกับใจตรงกัน แสดงฤทธิ์เดชกันบ้าง
ส่วน จุรินทร์ วันนี้ ต้องเปลี่ยนจากครูจุรินทร์ มาเป็นหมอจุรินทร์ แม้จะเป็นงานด้านสังคมเหมือนกัน แต่ภารกิจต่างกันมาก ยิ่งกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่รู้กันว่า กระทรวงนี้ “ของแรง” หากไปทำอะไรไม่ดีไว้ มีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ง่ายๆ
จริงๆ แล้วตามข่าวจุรินทร์ ก็ไม่อยากมาสธ.เพราะกำลังสนุกกับงานในศธ. แต่เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง และจุรินทร์ ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจในพรรคประชาธิปัตย์มากนัก เลยต้องยอมเล่นตามเกมของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ต้องการผลักดันให้ ชินวรณ์ ขยับจากประธานวิปรัฐบาล มาเป็นรัฐมนตรีเ ด้วยที่เป็น ส.ส.มาหลายสมัย
**แต่ติดขัดว่าหากชินวรณ์ จะไปชิงตำแหน่งรมว.สาธารณสุข จะมีคู่แข่งขันสูง และหากต้องช่วงชิงกันจะทำให้พรรคเกิดปัญหาความแตกแยกขึ้นได้ เพราะมีแคนดิเดทท้าชิงหลายคน โดยเฉพาะ นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ที่ได้แรงหนุนจากชวน หลีกภัย สุดตัว
เป็นทางออกให้สุเทพ ปรับจุรินทร์ ไปเป็นรมว.สธ. จึงทำให้ตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการว่างลง และแม้จะมีแคนดิเดทคนอื่นลงชิงเก้าอี้นี้ด้วย ทั้งนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ , องอาจ คล้ามไพบูลย์, เฉลิมชัย ศรีอ่อน แต่เนื่องจากชินวรณ์ มีความได้เปรียบมากที่สุด ทั้งเหตุผลในเรื่องโควตา เพราะชินวรณ์ เป็นส.ส.นครศรีธรรมราช เช่นเดียวกับ วิทยา แก้วภราดัย จึงเป็นการรักษาโควตานครศรีธรรมราชเอาไว้
** อีกทั้งชินวรณ์ ก็เป็นอดีตครูเก่า แถมทำงานด้านการศึกษามาตลอดไล่ตั้งแต่การเป็นกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฏรทุกสมัย, เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงศึกษาธิการให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด และมีบทบาทสำคัญในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการทุกครั้ง และยังเป็นคีย์แมนสำคัญของพรรค ที่มีส่วนในการร่วมยกร่างนโยบายพรรคในเรื่องการศึกษามาตลอด
**จึงทำให้ชินวรณ์ ได้รับการโหวตให้เป็นรมว.ศึกษาธิการ แบบไร้คู่แข่งขัน
ขณะที่ สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม จากพรรคภูมิใจไทย ก็ถือว่าครั้งนี้ประสบความสำเร็จในชีวิตการเมืองแล้ว หลังจากเล่นการเมืองมาหลายสิบปี เป็นหนึ่งในเด็กปั้นภาคอีสานของพรรคกิจสังคม ตั้งแต่ยุค มนตรี พงษ์พานิช จนได้เป็นส.ส.หลายสมัย แต่ไม่เคยได้เป็นรมต.เลยสักครั้ง
ครั้งนี้ สุชาติ คงต้องขอบคุณเนวิน ชิดชอบ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยตัวจริง ที่บีบให้ ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ลาออกจากรมช.คมนาคม เพื่อเปิดเก้าอี้ให้ สุชาติ ตามคำมั่นสัญญาที่เนวินให้ไว้กับสุชาติ ตั้งแต่ตอนปรับครม.ในตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ ของ ชาติชาย พุคยาภรณ์ ซึ่งตอนนั้นเนวินขอให้สุชาติเสียสละเก้าอี้ให้ ศุภชัย โพธิ์สุ โดยเนวิน รับปากว่าหากมีการปรับครม.เมื่อใด สุชาติ คือคนเดียวเท่านั้นที่จะถูกเสนอชื่อให้รับตำแหน่งในโควตากลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งเนวิน ก็ทำตามสัญญาลูกผู้ชายที่ให้ไว้
**บทบาทที่สำคัญต่อจากนี้ของสุชาติก็คือ การทำให้ เสื้อน้ำเงิน สามารถปักธงในพื้นที่มหาสารคามให้ได้ หลังจากเกือบทำได้สำเร็จในการเลือกตั้งซ่อมมหาสารคาม เมื่อ 3 มกราคม 53 ที่ผ่านมา รวมถึงภารกิจสำคัญคือ การผลักดันโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีของ ขสมก. 4 พันคันให้สำเร็จให้ได้ หากทำไม่ได้ สุชาติ ก็อาจต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับประจักษ์ แน่นอน
ส่วนรมต.คนสุดท้าย คือ พรรณสิริ ถือว่าเข้าป้ายแบบเจ้าตัวตัดชุดแทบไม่ทัน แม้ลึกๆ น่าจะรู้อยู่แล้วว่า สมศักดิ์ เทพสุทิน พี่ชายวางตัวให้เป็นทายาทการเมืองแถวสามของตระกูลต่อจาก อนงค์วรรณ เมียรักสมศักดิ์ เพียงแต่อาจไม่คิดว่าจะเร็วปานนี้
หลังจากมีการโยนหินถามทางคนที่จะมาเป็น รมช.สธ. กับสังคมผ่านสื่อทั้ง ประศาสตร์ ทองปากน้ำ และเรืองศักดิ์ งามสมภาค รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แต่ทั้งสองคนล้วนเจอแรงต้าน คือกลุ่มแพทย์ชนบท ที่ต้านนายประศาตร์ และส.ส.กลุ่มสมศักดิ์ ที่ขวาง เรืองศักดิ์ เพราะเห็นว่าจะมาชุมมือเปิบ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรให้กลุ่มเป็นชิ้นเป็นอัน
เลยเข้าทาง ทำให้สมศักดิ์นำเหตุผลเรื่อง หาคนที่เหมาะสมไม่ได้ เพราะทั้งประศาสตร์ และเรืองศักดิ์ มีปัญหาไปคนละแบบ เลยอ้างเหตุขอแก้ปัญหาด้วยการ
**“เดินสายกลาง” คือเอาคนในครอบครัว –สายเลือดเดียวกันมาเป็น “นอมินี” รับตำแหน่งแบบสมบัติผลัดกันชม ชนิดไม่แคร์ความรู้สึกประชาชน
แถมถูกตั้งข้อสังเกตจากคนในพรรคเดียวกันเองว่า สมศักดิ์ แกล้งโยนชื่อ ประศาสตร์-เรืองศักดิ์ ออกมาเพื่อให้สังคมและคนในพรรคออกมาต้าน เพราะต้องการผลักดันน้องสาวตัวเองขึ้นมาเป็นทายาทการเมืองอยู่แล้ว พอได้จังหวะก็อ้างเหตุว่า เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้พรรคเกิดการแย่งเก้าอี้กัน เลยเอาน้องสาวตัวเองมาเป็นรมต.เสียเลย
**แผนนี้ คนในกลุ่มสมศักดิ์ด้วยกันเองที่เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ได้แต่กัดฟันด้วยความเจ็บแค้นที่ไล่ตามสมศักดิ์ ไม่ทัน กว่าจะรู้ตัว เก้าอี้รมช.สธ. ก็เสร็จ “พี่น้องเทพสุทิน” ไปเรียบร้อยแล้ว