ASTVผู้จัดการรายวัน-รถใต้ดินจ่อลดราคาลงบาท หลังคำนวณ ดัชนีผู้บริโภคปี 52 ติดลบ จาก 16-41 บาทเหลือ 15-40 บาท ตามกำหนด 3 ก.ค. 53 ที่ต้องปรับค่าโดยสารตามสัญญาทุก 2 ปี ขณะที่รฟม.นัดเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสีม่วงสัญญา 2 วันที่ 20 ม.ค.นี้ และเตรียมตั้งกก.มาตรา 13 ตามพ.ร.บ.ฯร่วมทุน 35 พิจารณาการประมูลเดินรถสีม่วง
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ก.ค. 2553 ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ว่าจะต้องมีการปรับค่าโดยสารทุก 2 ปีนั้น หลังจาก รฟม.ได้หารือกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอลแล้วพบว่า จากการคำนวณตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ปี 2552 ออกมาติดลบ ดังนั้นทำให้จะต้องมีการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟใต้ดินลงอีก 1 บาท จากปัจจุบัน ที่ 16-41 บาทเป็น 15-40 บาท
ทั้งนี้ รฟม.ได้รายงานเบื้องต้นต่อนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม.รับทราบเบื้องต้นแล้ว โดยจะมีการเสนอที่ประชุมบอร์ด รฟม.พิจารณาภายในเดือนม.ค.นี้
โดยหากได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดรฟม.แล้วตามขั้นตอนจะมีการเสนอกระทรวงคมนาคมรับทราบ และ เสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณรัฐมนตรีต่อไปต่อไปและขั้นตอนสุดท้ายคือ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และประกาศให้ประชาชนรับทราบประมาณ 30 วัน ก่อนมีผลใช้จริงตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2553 เป็นต้นไป
***20 ม.ค.เซ็นสายสีม่วงสัญญา 2
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตรนั้นนายชูเกียรติกล่าวว่า ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ จะมีการลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาที่ 2 กับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ผู้รับงานในราคา 13,000 ล้านบาท
ส่วนสัญญาที่ 3 นั้น ล่าสุดสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาและส่งกลับมายังรฟม.อย่างเป็นทางการแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการนัดหมายกับผู้รับงาน คือ PAR Joint Venture (บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE ,บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON และ บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด) เพื่อกำหนดวันลงนามในสัญญาซึ่งอาจจะเป็นวันเดียวกับการลงนามสัญญาที่ 2 ได้หรือไม่
สำหรับงานก่อสร้างสัญญาที่ 2 คือ โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก จากสถานีสะพานพระนั่งกล้า-สถานีคลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า วงเงิน 13,000 ล้านบาท ส่วนสัญญาที่ 3 คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ซึ่งประ กอบด้วยงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ที่บางใหญ่ และอาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 แห่ง วงเงินไว้ที่ 5,025 ล้านบาท
***ร่วมทุนเอกชนทำระบบ-ซื้อขบวนรถ
นายชูเกียรติ กล่าวว่า ในการลงทุนระบบและจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีม่วงวงเงิน 13,243 ล้านบาทนั้น เชื่อว่าจะสามารถตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 13 ตามพระราชบัญญัติเข้าร่วม งานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ได้เสร็จสิ้นภายในเดือนม.ค.นี้ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี เพิ่งให้ความเป็นชอบรูปแบบการลงทุนโดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในลักษณะ Public Private Partnership (PPP) Gross Cost
ทั้งนี้คณะกรรมการตามมาตรา 13 จะต้องพิจารณา 2 ประเด็นสำคัญ เรื่องแรก คือ พิจารณารูปแบบการเดินรถจากสถานีบางซื่อ-เตาปูน ระยะทาง 1 กิโลเมตร ที่ รฟม.ให้บีเอ็มซีแอล เป็นผู้เดินรถต่อ ว่าควรเลือกวิธีการจ้างอย่างไรจึงจะเหมาะสมสุด เช่น ให้รัฐลงทุนระบบกับตัวรถและจัดเก็บค่าโดยสารเอง แล้วจ้างให้ บีเอ็มซีแอลเป็นผู้เดินรถ หรือใช้วิธีอิงสัญญาจ้างในปัจจุบัน ที่ บีเอ็มซีแอลเป็นผู้ลงทุนระบบกับตัวรถ พร้อมจัดเก็บค่าโดยสาร แล้วแบ่งผลตอบแทนให้รัฐ เรื่องที่ 2 คือ พิจารณารายละเอียดการประกวดราคาการเดินรถช่วงเตาปูน-บางใหญ่
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ก.ค. 2553 ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ว่าจะต้องมีการปรับค่าโดยสารทุก 2 ปีนั้น หลังจาก รฟม.ได้หารือกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอลแล้วพบว่า จากการคำนวณตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ปี 2552 ออกมาติดลบ ดังนั้นทำให้จะต้องมีการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟใต้ดินลงอีก 1 บาท จากปัจจุบัน ที่ 16-41 บาทเป็น 15-40 บาท
ทั้งนี้ รฟม.ได้รายงานเบื้องต้นต่อนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม.รับทราบเบื้องต้นแล้ว โดยจะมีการเสนอที่ประชุมบอร์ด รฟม.พิจารณาภายในเดือนม.ค.นี้
โดยหากได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดรฟม.แล้วตามขั้นตอนจะมีการเสนอกระทรวงคมนาคมรับทราบ และ เสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณรัฐมนตรีต่อไปต่อไปและขั้นตอนสุดท้ายคือ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และประกาศให้ประชาชนรับทราบประมาณ 30 วัน ก่อนมีผลใช้จริงตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2553 เป็นต้นไป
***20 ม.ค.เซ็นสายสีม่วงสัญญา 2
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตรนั้นนายชูเกียรติกล่าวว่า ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ จะมีการลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาที่ 2 กับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ผู้รับงานในราคา 13,000 ล้านบาท
ส่วนสัญญาที่ 3 นั้น ล่าสุดสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาและส่งกลับมายังรฟม.อย่างเป็นทางการแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการนัดหมายกับผู้รับงาน คือ PAR Joint Venture (บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE ,บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON และ บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด) เพื่อกำหนดวันลงนามในสัญญาซึ่งอาจจะเป็นวันเดียวกับการลงนามสัญญาที่ 2 ได้หรือไม่
สำหรับงานก่อสร้างสัญญาที่ 2 คือ โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก จากสถานีสะพานพระนั่งกล้า-สถานีคลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า วงเงิน 13,000 ล้านบาท ส่วนสัญญาที่ 3 คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ซึ่งประ กอบด้วยงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ที่บางใหญ่ และอาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 แห่ง วงเงินไว้ที่ 5,025 ล้านบาท
***ร่วมทุนเอกชนทำระบบ-ซื้อขบวนรถ
นายชูเกียรติ กล่าวว่า ในการลงทุนระบบและจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีม่วงวงเงิน 13,243 ล้านบาทนั้น เชื่อว่าจะสามารถตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 13 ตามพระราชบัญญัติเข้าร่วม งานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ได้เสร็จสิ้นภายในเดือนม.ค.นี้ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี เพิ่งให้ความเป็นชอบรูปแบบการลงทุนโดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในลักษณะ Public Private Partnership (PPP) Gross Cost
ทั้งนี้คณะกรรมการตามมาตรา 13 จะต้องพิจารณา 2 ประเด็นสำคัญ เรื่องแรก คือ พิจารณารูปแบบการเดินรถจากสถานีบางซื่อ-เตาปูน ระยะทาง 1 กิโลเมตร ที่ รฟม.ให้บีเอ็มซีแอล เป็นผู้เดินรถต่อ ว่าควรเลือกวิธีการจ้างอย่างไรจึงจะเหมาะสมสุด เช่น ให้รัฐลงทุนระบบกับตัวรถและจัดเก็บค่าโดยสารเอง แล้วจ้างให้ บีเอ็มซีแอลเป็นผู้เดินรถ หรือใช้วิธีอิงสัญญาจ้างในปัจจุบัน ที่ บีเอ็มซีแอลเป็นผู้ลงทุนระบบกับตัวรถ พร้อมจัดเก็บค่าโดยสาร แล้วแบ่งผลตอบแทนให้รัฐ เรื่องที่ 2 คือ พิจารณารายละเอียดการประกวดราคาการเดินรถช่วงเตาปูน-บางใหญ่