เอเจนซี – รัฐมนตรีคลังคนใหม่หมาดๆ ของญี่ปุ่น นาโอโตะ คัน แถลงวานนี้(7)ว่า ต้องการให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง และเขาจะร่วมมือกับธนาคารกลางของญี่ปุ่นเพื่อทำให้ค่าเงินตราของแดนอาทิตย์อุทัยอยู่ในระดับที่เหมาะสม ปรากฏว่าคำพูดของเขาทำให้เงินเยนอ่อนยวบลงทันทีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ในการแถลงข่าวครั้งแรกนับแต่ที่เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลัง โดยที่ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีต่อไปด้วย คันยังส่งสัญญาณว่าเขาจะบีบคั้นกดดันธนาคารกลางญี่ปุ่นต่อไป เพื่อให้เคลื่อนไหวทำอะไรเพิ่มขึ้นอีกในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแรง โดยที่ทางฝ่ายรัฐบาลหวาดผวาว่า เศรษฐกิจอาจจะถลำลงสู่การถดถอยอีกรอบหนึ่ง เนื่องจากภาวะเงินฝืดกำลังกระทบกระเทือนอุปสงค์ในประเทศ
นอกจากนั้น คันก็แสดงท่าทีเฉกเช่นที่บางฝ่ายคาดหมายเอาไว้ นั่นคือ เขาจะไม่เน้นเรื่องการเข้มงวดงบประมาณรายจ่ายเหมือนดังรัฐมนตรีคลังคนก่อนหน้าเขา โดยคันพูดในการแถลงข่าวคราวนี้ว่า เขาเปิดกว้างพร้อมจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตถ้าหากเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไป เขาบอกว่าเมื่อตอนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณประจำปี 2010/11 ในเดือนที่แล้วนั้น เขาไม่ได้รู้สึกว่าถูกผูกมัดกับการต้องใช้นโยบายการคลังอย่างระมัดระวังจำกัดจำเขี่ย
อย่างไรก็ตาม คันแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาที่สุดในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และทำให้เกิดการคาดเก็งกันว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมีความโน้มเอียงที่จะหันมาแทรกแซงตลาดเพื่อไม่ให้เงินเยนมีค่าสูงขึ้นแรงๆ อีก
“นักธุรกิจจำนวนมากบอกว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่ค่าเงินดอลลาร์ควรอยู่ที่ 95 เยนต่อดอลลาร์ ดังนั้นเราต้องร่วมมือกับธนาคารกลางของญี่ปุ่นดำเนินการปรับค่าเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงว่าค่าเงินตรานั้นมีผลกระทบหลายๆ ด้านกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น” คันกล่าว
“ขณะนี้ ค่าเงินดอลลาร์เทียบกับเยนมีการปรับไปในทิศทางที่เงินเยนอ่อนตัวลงแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่เกิดวิกฤตดูไบ แต่น่าจะดีหากเงินเยนอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย”
คันปัจจุบันอายุ 63 ปี ก่อนหน้านี้เขาเป็นรัฐมนตรีดูแลยุทธศาสตร์แห่งชาติควบกับตำแหน่งรองนายกฯ และได้รับเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีคลังในวันพุธ(6) สืบแทน ฮิโรฮิซะ ฟูจิอิ ผู้อยู่ในวัย 77 ปีและขอลาออกโดยให้เหตุผลเรื่องสุขภาพ
หลังข่าวการแถลงของคันแพร่ออกไป ค่าเงินเยนได้อ่อนฮวบลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ มาอยู่ที่ 92.87 เยนต่อดอลลาร์ จากที่อยู่ในระดับ 92.20 ตอนก่อนที่คันจะเริ่มการแถลง ทั้งนี้เงินเยนในปัจจุบันได้อ่อนค่าลงมากแล้ว จากที่ทะยานสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปี คือที่ 84.82 เยนต่อดอลลาร์ตอนปลายเดือนพฤศจิกายน แต่คำพูดของคันคราวนี้ ทำให้มีการคาดหมายมากขึ้นอีกว่า เขาจะมีปฏิบัติการเพื่อสกัดไม่ให้เงินเยนแข็งเกินไป
“เห็นได้ชัดว่าหากค่าเงินเยนอ่อนตัวอีกเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์ เพราะชาวญี่ปุ่นจะสามารถมีส่วนแบ่งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แบบเดียวกับที่คู่แข่งทางการค้าบางประเทศเช่นเกาหลีใต้และไต้หวันได้รับอยู่” เกลน แมคไกวร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียของโซซิเยเต เจเนราล ระบุ
แมคไกวร์ก็เหมือนนักวิเคราะห์คนอื่นๆ ที่ไม่ได้คาดว่าญี่ปุ่นจะกลับไปแทรกแซงค่าเงินอีกแน่ๆ แล้ว หลังจากทำครั้งสุดท้ายในปี 2004 ทว่าภายใต้การนำของคัน กระทรวงการคันญี่ปุ่นน่าจะมีความอดกลั้นที่ผิดแผกไปจากเดิม ต่อการแข็งค่าของเงินเยน “จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงท่าทีอย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมถอยของสภาพเศรษฐกิจนับตั้งแต่พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) เข้ามาบริหารประเทศ”
กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวว่า คำพูดอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้ของคัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสบการณ์ในการจัดการกับนโยบายด้านเงินตรา มากกว่าจะเป็นความปรารถนาจริงๆ ที่จะเข้าแทรกแซงตลาดเงินตรา
“คันได้ชื่อว่าเป็นคนแสดงความเห็นได้อย่างแหลมคนเมื่อมีการอภิปรายในรัฐสภา แต่ก็ยังไม่แน่ว่าเขาจะเก่งในเรื่องการสื่อสารกับตลาด และอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่ตลาดเข้าใจดีถึงความสามารถของเขา”ซาโตรุ โอกาซาวาระ นักเศรษฐศาสตร์แห่งเครดิต สวิสกล่าว
ในการแถลงข่าวครั้งแรกนับแต่ที่เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลัง โดยที่ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีต่อไปด้วย คันยังส่งสัญญาณว่าเขาจะบีบคั้นกดดันธนาคารกลางญี่ปุ่นต่อไป เพื่อให้เคลื่อนไหวทำอะไรเพิ่มขึ้นอีกในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแรง โดยที่ทางฝ่ายรัฐบาลหวาดผวาว่า เศรษฐกิจอาจจะถลำลงสู่การถดถอยอีกรอบหนึ่ง เนื่องจากภาวะเงินฝืดกำลังกระทบกระเทือนอุปสงค์ในประเทศ
นอกจากนั้น คันก็แสดงท่าทีเฉกเช่นที่บางฝ่ายคาดหมายเอาไว้ นั่นคือ เขาจะไม่เน้นเรื่องการเข้มงวดงบประมาณรายจ่ายเหมือนดังรัฐมนตรีคลังคนก่อนหน้าเขา โดยคันพูดในการแถลงข่าวคราวนี้ว่า เขาเปิดกว้างพร้อมจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตถ้าหากเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไป เขาบอกว่าเมื่อตอนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณประจำปี 2010/11 ในเดือนที่แล้วนั้น เขาไม่ได้รู้สึกว่าถูกผูกมัดกับการต้องใช้นโยบายการคลังอย่างระมัดระวังจำกัดจำเขี่ย
อย่างไรก็ตาม คันแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาที่สุดในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และทำให้เกิดการคาดเก็งกันว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมีความโน้มเอียงที่จะหันมาแทรกแซงตลาดเพื่อไม่ให้เงินเยนมีค่าสูงขึ้นแรงๆ อีก
“นักธุรกิจจำนวนมากบอกว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่ค่าเงินดอลลาร์ควรอยู่ที่ 95 เยนต่อดอลลาร์ ดังนั้นเราต้องร่วมมือกับธนาคารกลางของญี่ปุ่นดำเนินการปรับค่าเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงว่าค่าเงินตรานั้นมีผลกระทบหลายๆ ด้านกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น” คันกล่าว
“ขณะนี้ ค่าเงินดอลลาร์เทียบกับเยนมีการปรับไปในทิศทางที่เงินเยนอ่อนตัวลงแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่เกิดวิกฤตดูไบ แต่น่าจะดีหากเงินเยนอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย”
คันปัจจุบันอายุ 63 ปี ก่อนหน้านี้เขาเป็นรัฐมนตรีดูแลยุทธศาสตร์แห่งชาติควบกับตำแหน่งรองนายกฯ และได้รับเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีคลังในวันพุธ(6) สืบแทน ฮิโรฮิซะ ฟูจิอิ ผู้อยู่ในวัย 77 ปีและขอลาออกโดยให้เหตุผลเรื่องสุขภาพ
หลังข่าวการแถลงของคันแพร่ออกไป ค่าเงินเยนได้อ่อนฮวบลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ มาอยู่ที่ 92.87 เยนต่อดอลลาร์ จากที่อยู่ในระดับ 92.20 ตอนก่อนที่คันจะเริ่มการแถลง ทั้งนี้เงินเยนในปัจจุบันได้อ่อนค่าลงมากแล้ว จากที่ทะยานสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปี คือที่ 84.82 เยนต่อดอลลาร์ตอนปลายเดือนพฤศจิกายน แต่คำพูดของคันคราวนี้ ทำให้มีการคาดหมายมากขึ้นอีกว่า เขาจะมีปฏิบัติการเพื่อสกัดไม่ให้เงินเยนแข็งเกินไป
“เห็นได้ชัดว่าหากค่าเงินเยนอ่อนตัวอีกเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์ เพราะชาวญี่ปุ่นจะสามารถมีส่วนแบ่งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แบบเดียวกับที่คู่แข่งทางการค้าบางประเทศเช่นเกาหลีใต้และไต้หวันได้รับอยู่” เกลน แมคไกวร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียของโซซิเยเต เจเนราล ระบุ
แมคไกวร์ก็เหมือนนักวิเคราะห์คนอื่นๆ ที่ไม่ได้คาดว่าญี่ปุ่นจะกลับไปแทรกแซงค่าเงินอีกแน่ๆ แล้ว หลังจากทำครั้งสุดท้ายในปี 2004 ทว่าภายใต้การนำของคัน กระทรวงการคันญี่ปุ่นน่าจะมีความอดกลั้นที่ผิดแผกไปจากเดิม ต่อการแข็งค่าของเงินเยน “จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงท่าทีอย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมถอยของสภาพเศรษฐกิจนับตั้งแต่พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) เข้ามาบริหารประเทศ”
กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวว่า คำพูดอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้ของคัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสบการณ์ในการจัดการกับนโยบายด้านเงินตรา มากกว่าจะเป็นความปรารถนาจริงๆ ที่จะเข้าแทรกแซงตลาดเงินตรา
“คันได้ชื่อว่าเป็นคนแสดงความเห็นได้อย่างแหลมคนเมื่อมีการอภิปรายในรัฐสภา แต่ก็ยังไม่แน่ว่าเขาจะเก่งในเรื่องการสื่อสารกับตลาด และอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่ตลาดเข้าใจดีถึงความสามารถของเขา”ซาโตรุ โอกาซาวาระ นักเศรษฐศาสตร์แห่งเครดิต สวิสกล่าว