สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ข้อ 12 (2) กำหนดว่า เด็กจะมีสิทธิ มีเสียงในกระบวนการพิจารณาทางตุลาการ และทางปกครองใดๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยผ่านผู้แทน หรือองค์กรที่เหมาะสม ในลักษณะที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฎหมายภายใน ซึ่งประเทศไทยได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40 (4) โดยบัญญัติให้มีการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคลว่า
“...พยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม...”
ทั้งนี้ ยังได้รับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของเด็กและเยาวชนไว้โดยเฉพาะในมาตรา 40 (6) ซึ่งบัญญัติว่า
“...เด็ก เยาวชน .... ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม ....”
ดังนั้นการที่เด็กมาเป็นพยานและเบิกความในศาลจะต้องได้รับความคุ้มครองเนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กที่อ่อนแอกว่าและการใช้ภาษากับเด็ก อันอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็กและส่งผลให้การสืบพยานคลาดเคลื่อน นอกจากนี้การที่เด็กจะต้องเผชิญหน้ากับจำเลยในห้องพิจารณาและตอบคำถามซ้ำกับในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ อาจทำให้เด็กรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าตนต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และคำถามที่ใช้ถามเด็กยังอาจเป็นคำถามที่ตอกย้ำจิตใจของเด็กซึ่งบอบช้ำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบพยานคลาดเคลื่อน จากเหตุผลเหล่านี้ รัฐจึงต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กในกรณีที่ต้องสืบพยานในศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง เพื่ออนุวัตรการให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวโดยจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองเด็กในการสืบพยานในชั้นศาล ดังจะเห็นได้จาก มาตรา 172 ตรี ที่กำหนดให้ ในการสืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ให้ศาลจัดให้พยานอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง โดยแจ้งให้พยานนั้นทราบประเด็นและข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้นๆ หรือศาลจะถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ได้
(2) ให้คู่ความถาม ถามค้าน หรือถามติงผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
ในการเบิกความของพยานดังกล่าว ให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงไปยังห้องพิจารณาด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ทราบ
ก่อนการสืบพยาน ถ้าศาลเห็นสมควรหรือถ้าพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีหรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควรซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นผลร้ายแก่เด็ก ถ้าไม่อนุญาตตามที่ร้องขอ ให้ศาลจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวน หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ต่อหน้าคู่ความและในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล โดยให้คู่ความถามพยานเพิ่มเติม ถามค้านหรือถามติงพยานได้ ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นและภายในขอบเขตที่ศาลเห็นสมควร
ในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตามวรรคหนึ่งเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานนั้นในชั้นสอบสวน หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล และให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้
นอกจากนี้ ประธานศาลฎีกาได้ออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยแนวทางในการปฏิบัติต่อพยาน พ.ศ. 2548 โดยกำหนดว่า ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือในการสืบพยาน ก็ให้รีบดำเนินการเสียแต่เนิ่น ๆ และในกรณีที่พยานเป็นเด็กหรือเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งการซักถามพยานจะต้องทำผ่าน
นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ศาลควรจัดให้พยานเหล่านั้นพบกับบุคคลดังกล่าวก่อนเข้าเบิกความต่อศาล นอกจากนี้ การจัดเวลาให้พยานเบิกความควรพิจารณาให้เหมาะสมแก่สุขภาพและวัยของพยานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการเหนื่อยล้าเกินสมควร
สำหรับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนในกระบวนพิจารณาส่วนอื่นนอกเหนือจากการสืบพยานนั้นยังมีอีกหลายประการ เช่น การที่รัฐจัดหาทนายความให้โดยในคดีที่มีจำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองจำเลย โดยกำหนดให้ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ด้วย
นอกจากนี้ ในส่วนของการกำหนดโทษและการบังคับโทษนั้น เมื่อศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าเด็กหรือเยาวชนผู้นั้น ได้กระทำความผิดจริงและเป็นความผิดที่มีโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 บัญญัติห้ามมิให้นำเอาโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุก 50 ปี
มาตรการทางกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นแนวทางที่ศาลยุติธรรมนำมาใช้ในการพิจารณาคดี เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กในฐานะจำเลยหรือในฐานะพยานที่มาเบิกความในศาลทั่วประเทศ ให้ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษและป้องกันไม่ให้ถูกริดรอนสิทธิที่ตนควรได้รับภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ข้อ 12 (2) กำหนดว่า เด็กจะมีสิทธิ มีเสียงในกระบวนการพิจารณาทางตุลาการ และทางปกครองใดๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยผ่านผู้แทน หรือองค์กรที่เหมาะสม ในลักษณะที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฎหมายภายใน ซึ่งประเทศไทยได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40 (4) โดยบัญญัติให้มีการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคลว่า
“...พยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม...”
ทั้งนี้ ยังได้รับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของเด็กและเยาวชนไว้โดยเฉพาะในมาตรา 40 (6) ซึ่งบัญญัติว่า
“...เด็ก เยาวชน .... ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม ....”
ดังนั้นการที่เด็กมาเป็นพยานและเบิกความในศาลจะต้องได้รับความคุ้มครองเนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กที่อ่อนแอกว่าและการใช้ภาษากับเด็ก อันอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็กและส่งผลให้การสืบพยานคลาดเคลื่อน นอกจากนี้การที่เด็กจะต้องเผชิญหน้ากับจำเลยในห้องพิจารณาและตอบคำถามซ้ำกับในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ อาจทำให้เด็กรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าตนต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และคำถามที่ใช้ถามเด็กยังอาจเป็นคำถามที่ตอกย้ำจิตใจของเด็กซึ่งบอบช้ำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบพยานคลาดเคลื่อน จากเหตุผลเหล่านี้ รัฐจึงต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กในกรณีที่ต้องสืบพยานในศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง เพื่ออนุวัตรการให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวโดยจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองเด็กในการสืบพยานในชั้นศาล ดังจะเห็นได้จาก มาตรา 172 ตรี ที่กำหนดให้ ในการสืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ให้ศาลจัดให้พยานอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง โดยแจ้งให้พยานนั้นทราบประเด็นและข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้นๆ หรือศาลจะถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ได้
(2) ให้คู่ความถาม ถามค้าน หรือถามติงผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
ในการเบิกความของพยานดังกล่าว ให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงไปยังห้องพิจารณาด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ทราบ
ก่อนการสืบพยาน ถ้าศาลเห็นสมควรหรือถ้าพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีหรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควรซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นผลร้ายแก่เด็ก ถ้าไม่อนุญาตตามที่ร้องขอ ให้ศาลจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวน หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ต่อหน้าคู่ความและในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล โดยให้คู่ความถามพยานเพิ่มเติม ถามค้านหรือถามติงพยานได้ ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นและภายในขอบเขตที่ศาลเห็นสมควร
ในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตามวรรคหนึ่งเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานนั้นในชั้นสอบสวน หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาล และให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้
นอกจากนี้ ประธานศาลฎีกาได้ออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยแนวทางในการปฏิบัติต่อพยาน พ.ศ. 2548 โดยกำหนดว่า ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือในการสืบพยาน ก็ให้รีบดำเนินการเสียแต่เนิ่น ๆ และในกรณีที่พยานเป็นเด็กหรือเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งการซักถามพยานจะต้องทำผ่าน
นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ศาลควรจัดให้พยานเหล่านั้นพบกับบุคคลดังกล่าวก่อนเข้าเบิกความต่อศาล นอกจากนี้ การจัดเวลาให้พยานเบิกความควรพิจารณาให้เหมาะสมแก่สุขภาพและวัยของพยานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการเหนื่อยล้าเกินสมควร
สำหรับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนในกระบวนพิจารณาส่วนอื่นนอกเหนือจากการสืบพยานนั้นยังมีอีกหลายประการ เช่น การที่รัฐจัดหาทนายความให้โดยในคดีที่มีจำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองจำเลย โดยกำหนดให้ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ด้วย
นอกจากนี้ ในส่วนของการกำหนดโทษและการบังคับโทษนั้น เมื่อศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าเด็กหรือเยาวชนผู้นั้น ได้กระทำความผิดจริงและเป็นความผิดที่มีโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 บัญญัติห้ามมิให้นำเอาโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุก 50 ปี
มาตรการทางกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นแนวทางที่ศาลยุติธรรมนำมาใช้ในการพิจารณาคดี เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กในฐานะจำเลยหรือในฐานะพยานที่มาเบิกความในศาลทั่วประเทศ ให้ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษและป้องกันไม่ให้ถูกริดรอนสิทธิที่ตนควรได้รับภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน