“สมคิด บุญถนอม” สุดทน ยื่นศาลอาญาฟ้องกลับ “ทวี สอดส่อง” พร้อมพวก ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กลั่นแกล้งให้รับโทษอาญากล่าวหาอุ้มฆ่า “โมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี” นักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย นัดไต่สวนมูลฟ้อง 15 กุมภาพันธ์ 2553
วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.สุชาติ วงษ์อนันตชัย รองอธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ท.เบญจพล จันทวรรณ เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ตามฟ้องโจทก์สรุปว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่สถานทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย 3 คน เสียชีวิต นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจซาอุดิอาระเบียหายตัวไปจากห้องเช่าเขตยานนาวา ต่อมาเจ้าหน้าที่สถานทูตซาอุฯ ได้มีหนังสือกล่าวโทษว่าโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคนร่วมกันเอาตัวไปฆ่าให้ถึงแก่ความตาย และกรมตำรวจ (ขณะนั้น) ได้ตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งข้อหาดำเนินคดีอาญากับโจทก์ว่าร่วมกับพวกฆ่านายโมฮัมเหม็ดโดยเจตนา แต่พนักงานสอบสอบและพนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์เด็ดขาด เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์กระทำผิด
ต่อมาเมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2551 - 9 ธันวาคม 2552 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีดีเอสไอ ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนของดีเอสไอ และให้จำเลยที่ 3 ร่วมเป็น พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในเรื่องเดียวกันอีก โดยตั้งข้อหาว่าโจทก์ร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา 4 คน ฆ่านายโมฮัมเหม็ด เพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ เพื่อปกปิดความผิดของตน เพื่อให้พ้นความผิดอาญาที่ตนกระทำไว้ ซึ่งมีโทษประหารชีวิต ทั้งที่ไม่มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี โดยจำเลยทั้งสามปฎิบัติหน้าที่มิชอบ จูงใจให้ พ.ต.ท.กรณ์ หรืออัคควุธ หรือสุวิชชัย แก้วผลึก ที่เคยให้การไว้ในคดีเดิม มาให้การในคดีใหม่เพื่อปรักปรำโจทก์ เพื่อแลกกับการไม่จับกุมส่งไปรับโทษในคดีที่ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น การกระทำของจำเลยทั้งสามในฐานะเจ้าพนักงานได้ปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้โจทก์ต้องได้รับโทษ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ถูกขัดขวางทางเจริญในการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาและนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.30 น.
ภายหลัง พล.ต.ท.สมคิด เปิดเผยว่า การสอบสวนคดีนี้ตั้งแต่แรกดีเอสไอไม่ได้มีพยานหลักฐานใหม่ ข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน เช่น ไปให้การในคดีแพ่งที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษร้องขอให้อัลรูไวลี่ เป็นบุคคลสาบสูญ โดยให้การขัดกันว่าบอกว่าหายตัวไป ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับมาแจ้งข้อกล่าวหาตนว่าเป็นคนฆ่า ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน และไม่เปิดโอกาสให้ตนได้ตั้งทนายความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังแอบนำพยานที่ถูกศาลออกหมายจับและมีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตมาเป็นพยานขอให้สืบพยานล่วงหน้า แต่ศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตอนนี้ยังไม่รู้พยานดังกล่าวไปไหน
“ต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นพิสูจน์เพื่อให้ศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เจตนาที่จะทำร้ายผมในหน้าที่การงาน ในตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมีการกระทำต่อเนื่องกันตั้งแต่ห้วงเวลาการขอออกหมายจับ ก่อนออกหมายจับ จึงขอปฏิเสธขั้นตอนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวหากลั่นแกล้งใส่ร้ายผม วันนี้จึงนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ให้เห็นว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอย่างไร ผมมีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำคดีอัลรูไวลี ซึ่งสื่อมวลชนจะทราบในวันที่ท่านเดินทางมาเบิกความ” พล.ต.ท.สมคิด กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมถึงคิดว่าดีเอสไอกลั่นแกล้ง พล.ต.ท.สมคิด กล่าวว่า มันมีแรงจูงใจจากการที่ตนไปทำงานในพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นอุปสรรคกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในพื้นที่ดังกล่าว และความสัมพันธ์ของกระบวนการมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งรายละเอียดจะนำเสนอให้ศาลฟัง
วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.สุชาติ วงษ์อนันตชัย รองอธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ท.เบญจพล จันทวรรณ เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ตามฟ้องโจทก์สรุปว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่สถานทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย 3 คน เสียชีวิต นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจซาอุดิอาระเบียหายตัวไปจากห้องเช่าเขตยานนาวา ต่อมาเจ้าหน้าที่สถานทูตซาอุฯ ได้มีหนังสือกล่าวโทษว่าโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคนร่วมกันเอาตัวไปฆ่าให้ถึงแก่ความตาย และกรมตำรวจ (ขณะนั้น) ได้ตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งข้อหาดำเนินคดีอาญากับโจทก์ว่าร่วมกับพวกฆ่านายโมฮัมเหม็ดโดยเจตนา แต่พนักงานสอบสอบและพนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์เด็ดขาด เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์กระทำผิด
ต่อมาเมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2551 - 9 ธันวาคม 2552 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีดีเอสไอ ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนของดีเอสไอ และให้จำเลยที่ 3 ร่วมเป็น พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในเรื่องเดียวกันอีก โดยตั้งข้อหาว่าโจทก์ร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา 4 คน ฆ่านายโมฮัมเหม็ด เพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ เพื่อปกปิดความผิดของตน เพื่อให้พ้นความผิดอาญาที่ตนกระทำไว้ ซึ่งมีโทษประหารชีวิต ทั้งที่ไม่มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี โดยจำเลยทั้งสามปฎิบัติหน้าที่มิชอบ จูงใจให้ พ.ต.ท.กรณ์ หรืออัคควุธ หรือสุวิชชัย แก้วผลึก ที่เคยให้การไว้ในคดีเดิม มาให้การในคดีใหม่เพื่อปรักปรำโจทก์ เพื่อแลกกับการไม่จับกุมส่งไปรับโทษในคดีที่ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น การกระทำของจำเลยทั้งสามในฐานะเจ้าพนักงานได้ปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้โจทก์ต้องได้รับโทษ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ถูกขัดขวางทางเจริญในการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาและนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.30 น.
ภายหลัง พล.ต.ท.สมคิด เปิดเผยว่า การสอบสวนคดีนี้ตั้งแต่แรกดีเอสไอไม่ได้มีพยานหลักฐานใหม่ ข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน เช่น ไปให้การในคดีแพ่งที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษร้องขอให้อัลรูไวลี่ เป็นบุคคลสาบสูญ โดยให้การขัดกันว่าบอกว่าหายตัวไป ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่กลับมาแจ้งข้อกล่าวหาตนว่าเป็นคนฆ่า ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน และไม่เปิดโอกาสให้ตนได้ตั้งทนายความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังแอบนำพยานที่ถูกศาลออกหมายจับและมีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตมาเป็นพยานขอให้สืบพยานล่วงหน้า แต่ศาลไม่อนุญาต จึงเป็นการนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตอนนี้ยังไม่รู้พยานดังกล่าวไปไหน
“ต้องนำข้อเท็จจริงขึ้นพิสูจน์เพื่อให้ศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เจตนาที่จะทำร้ายผมในหน้าที่การงาน ในตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมีการกระทำต่อเนื่องกันตั้งแต่ห้วงเวลาการขอออกหมายจับ ก่อนออกหมายจับ จึงขอปฏิเสธขั้นตอนการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวหากลั่นแกล้งใส่ร้ายผม วันนี้จึงนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์และพิสูจน์ให้เห็นว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอย่างไร ผมมีทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำคดีอัลรูไวลี ซึ่งสื่อมวลชนจะทราบในวันที่ท่านเดินทางมาเบิกความ” พล.ต.ท.สมคิด กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมถึงคิดว่าดีเอสไอกลั่นแกล้ง พล.ต.ท.สมคิด กล่าวว่า มันมีแรงจูงใจจากการที่ตนไปทำงานในพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นอุปสรรคกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในพื้นที่ดังกล่าว และความสัมพันธ์ของกระบวนการมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งรายละเอียดจะนำเสนอให้ศาลฟัง