ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติชี้ใช้แผนมาสเตอร์แพลน 2 สอดคล้องภาวะการแข่งขันธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านตลาดเงินกู้ที่แบงก์ขนาดใหญ่ต่างชิงเป็นผู้นำตลาด ขณะเดียวกันต่างชาติและแบงก์เฉพาะกิจของรัฐเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ชี้การแข่งขันเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้กำไรลดลงได้
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายการเงินของธปท.ได้เผยแพร่บทความหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางการเงินและระบบธนาคารพาณิชย์ไทย” ว่า การแข่งขันในระบบการเงินเพิ่มมากขึ้นทั้งตลาดการเงินที่มีความหลากหลาย การแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งต่างชาติเข้ามีบทบาทมากขึ้น ขณะเดียวกันความสำคัญของภาคการเงินอื่นๆ เริ่มมีบทบาทมากขึ้น เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และตลาดทุน เห็นได้จากปี 43 เทียบกับปี 51 พบว่า สัดส่วนมูลสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และหน่วยลงทุนก็มีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านบาท มาเป็น 1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์จะยังมีโครงสร้างผู้เล่นรายใหญ่เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก หากพิจารณาทั้งมูลค่าสินทรัพย์ ปริมาณเงินฝาก หรือปริมาณเงินกู้ แต่แง่ของการแข่งขันกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันด้านตลาดเงินกู้เริ่มสูงขึ้นที่มีการกระจายตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีความพยายามที่จะแย่งกันเป็นผู้นำตลาดส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของธนาคารบางแห่งเพิ่มขึ้นจาก 10%ของเงินปล่อยกู้ในปี 43 มาเป็นสัดส่วน 13% ในปี 51 ส่วนการแข่งขันของธนาคารขนาดเล็กก็เพิ่มขึ้นมากขึ้น สาขาธนาคารต่างชาติบางแห่งในปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ ปริมาณเงินฝาก ปริมาณเงินกู้สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดเล็ก
นอกจากนี้ ต่างชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยสัดส่วนสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของต่างชาติเพิ่มสูงขึ้นจาก 32% ในปี 43 มาเป็น 49%ในปี 51 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ หลังจากวิกฤตปี 40 และส่วนใหญ่เข้ามาในรูปของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งไม่มีสิทธิในการบริหาร อย่างไรก็ตามการที่มีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ต้องทำกำไรเพิ่มขึ้น
"การนำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(มาสเตอร์แพลน)ฉบับที่ 2 ของธปท.มาใช้ในระหว่างปี 53-57 เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินและมีการอนุญาตให้ผู้ให้บริการรายใหม่ในระบบสถาบันการเงินไม่จำกัดสัญญาติ ทำให้สภาวะแวดล้อมทางการเงินเปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งขอบเขตการประกอบธุรกิจและการแข่งขันที่มีมากขึ้น ซึ่งอาจมีทั้งโอกาสและความท้าทายในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ขณะเดียวกันการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้กำไรลดลงได้ จึงควรมีการดำเนินนโยบายพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะการณ์ของไทยในอนาคต" รายงานระบุ.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายการเงินของธปท.ได้เผยแพร่บทความหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางการเงินและระบบธนาคารพาณิชย์ไทย” ว่า การแข่งขันในระบบการเงินเพิ่มมากขึ้นทั้งตลาดการเงินที่มีความหลากหลาย การแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งต่างชาติเข้ามีบทบาทมากขึ้น ขณะเดียวกันความสำคัญของภาคการเงินอื่นๆ เริ่มมีบทบาทมากขึ้น เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และตลาดทุน เห็นได้จากปี 43 เทียบกับปี 51 พบว่า สัดส่วนมูลสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และหน่วยลงทุนก็มีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านบาท มาเป็น 1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์จะยังมีโครงสร้างผู้เล่นรายใหญ่เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก หากพิจารณาทั้งมูลค่าสินทรัพย์ ปริมาณเงินฝาก หรือปริมาณเงินกู้ แต่แง่ของการแข่งขันกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันด้านตลาดเงินกู้เริ่มสูงขึ้นที่มีการกระจายตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีความพยายามที่จะแย่งกันเป็นผู้นำตลาดส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของธนาคารบางแห่งเพิ่มขึ้นจาก 10%ของเงินปล่อยกู้ในปี 43 มาเป็นสัดส่วน 13% ในปี 51 ส่วนการแข่งขันของธนาคารขนาดเล็กก็เพิ่มขึ้นมากขึ้น สาขาธนาคารต่างชาติบางแห่งในปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ ปริมาณเงินฝาก ปริมาณเงินกู้สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดเล็ก
นอกจากนี้ ต่างชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยสัดส่วนสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของต่างชาติเพิ่มสูงขึ้นจาก 32% ในปี 43 มาเป็น 49%ในปี 51 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ หลังจากวิกฤตปี 40 และส่วนใหญ่เข้ามาในรูปของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งไม่มีสิทธิในการบริหาร อย่างไรก็ตามการที่มีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ต้องทำกำไรเพิ่มขึ้น
"การนำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(มาสเตอร์แพลน)ฉบับที่ 2 ของธปท.มาใช้ในระหว่างปี 53-57 เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินและมีการอนุญาตให้ผู้ให้บริการรายใหม่ในระบบสถาบันการเงินไม่จำกัดสัญญาติ ทำให้สภาวะแวดล้อมทางการเงินเปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งขอบเขตการประกอบธุรกิจและการแข่งขันที่มีมากขึ้น ซึ่งอาจมีทั้งโอกาสและความท้าทายในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ขณะเดียวกันการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้กำไรลดลงได้ จึงควรมีการดำเนินนโยบายพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะการณ์ของไทยในอนาคต" รายงานระบุ.