ASTVผู้จัดการรายวัน – ธอส.ฟุ้งสินเชื่อเดือนมิ.ย.พุ่ง 9 พันล้านบาท จากยอดเฉลี่ยครึ่งปีแรกที่เดือนละ 7 พันล้าน หลังแบงก์พาณิชย์เข้มปล่อยสินเชื่อบ้าน คาดทั้งปีทะลุเป้า 7.35 หมื่นล้าน ระบุสภาพคล่องเหลืออยู่ 5 หมื่นล้าน และยอดคืนเงินกู้ต่อเดือนที่ 8 พันล้าน ยังเพียงพอต่อการดำเนินงาน แต่หากต้องการขยายสินเชื่อมากขึ้นต้องเพิ่มทุนให้มากกว่าหมื่นล้าน
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 9 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 5 เดือนแรกของปีที่ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้เฉลี่ยเพียงเดือนละ 7 พันล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้สินเชื่อรวมครึ่งแรกของปี 2552 ของธนาคารเฉพาะสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งสิ้นอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนในครึ่งปีหลังธนาคารคาดว่าจะสามารถทำยอดสินเชื่อใหม่ได้อย่างน้อยจำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท โดยอัตราการปล่อยสินเชื่อเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับช่วงครึ่งปีแรก คือ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 7 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ยอดรวมการปล่อยสินเชื่อใหม่ทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 8.7 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่ตั้งไว้ทั้งปีประมาณ 7.35 หมื่นล้านบาท
“ธนาคารได้วิเคราะห์สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อใหม่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้นพบว่าในระยะนี้ธนาคารพาณิชย์ต่างเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าสินเชื่อเคหะกันมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าที่ไม่สามารถกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์ได้หันมากู้เงินจากธอส.แทน” นายขรรค์กล่าวและว่า แต่ธนาคารก็ไม่ได้ผ่อนปรนเงงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ามากนัก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบการดำเนินงานของธนาคารมากนัก
นายขรรค์กล่าวว่า สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธอส.นั้นจะยังรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันต่อไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของธอส.ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.5% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ลูกค้าและธนาคารยอมรับได้ ซึ่งในภาวะปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจอัตราดอกเบี้ยมากนักเพราะธนาคารแต่ละแห่งปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกันแต่สนใจว่าจะสามารถยื่นกู้ผ่านหรือไม่เท่านั้น
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้นธนาคารจะต้องดูแลให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระดับที่น้อยเกินไปก็จะส่งผลให้ลูกค้าเงินฝากถอนเงินออกไปแต่หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินไปก็จะกระทบต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารได้ ดังนั้นธนาคารจะต้องกำหนดอัตราที่เหมาะสมทั้ง 2 ขาเพื่อให้ธนาคารและลูกค้าสามารถอยู่ได้
สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารในปี 2553 รัฐบาลได้จัดสรรวงเงินเพิ่มทุนให้ธนาคารจำนวน 3 พันล้านบาทจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งจะทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะต้องใช้วงเงินเพิ่มทุนในระดับหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารมีสภาพคล่องเหลือ 5 หมื่นล้านบาท และได้รับการชำระหนี้จากลูกค้าเดือนละ 8 พันล้านบาท จึงยังมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินการ.
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 9 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 5 เดือนแรกของปีที่ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้เฉลี่ยเพียงเดือนละ 7 พันล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้สินเชื่อรวมครึ่งแรกของปี 2552 ของธนาคารเฉพาะสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งสิ้นอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนในครึ่งปีหลังธนาคารคาดว่าจะสามารถทำยอดสินเชื่อใหม่ได้อย่างน้อยจำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท โดยอัตราการปล่อยสินเชื่อเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับช่วงครึ่งปีแรก คือ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 7 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ยอดรวมการปล่อยสินเชื่อใหม่ทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 8.7 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่ตั้งไว้ทั้งปีประมาณ 7.35 หมื่นล้านบาท
“ธนาคารได้วิเคราะห์สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อใหม่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้นพบว่าในระยะนี้ธนาคารพาณิชย์ต่างเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าสินเชื่อเคหะกันมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าที่ไม่สามารถกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์ได้หันมากู้เงินจากธอส.แทน” นายขรรค์กล่าวและว่า แต่ธนาคารก็ไม่ได้ผ่อนปรนเงงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ามากนัก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบการดำเนินงานของธนาคารมากนัก
นายขรรค์กล่าวว่า สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธอส.นั้นจะยังรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันต่อไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของธอส.ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.5% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ลูกค้าและธนาคารยอมรับได้ ซึ่งในภาวะปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจอัตราดอกเบี้ยมากนักเพราะธนาคารแต่ละแห่งปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกันแต่สนใจว่าจะสามารถยื่นกู้ผ่านหรือไม่เท่านั้น
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้นธนาคารจะต้องดูแลให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระดับที่น้อยเกินไปก็จะส่งผลให้ลูกค้าเงินฝากถอนเงินออกไปแต่หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินไปก็จะกระทบต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารได้ ดังนั้นธนาคารจะต้องกำหนดอัตราที่เหมาะสมทั้ง 2 ขาเพื่อให้ธนาคารและลูกค้าสามารถอยู่ได้
สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารในปี 2553 รัฐบาลได้จัดสรรวงเงินเพิ่มทุนให้ธนาคารจำนวน 3 พันล้านบาทจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งจะทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะต้องใช้วงเงินเพิ่มทุนในระดับหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารมีสภาพคล่องเหลือ 5 หมื่นล้านบาท และได้รับการชำระหนี้จากลูกค้าเดือนละ 8 พันล้านบาท จึงยังมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินการ.