-ภาพของธุรกิจประกันชีวิตปี 53 จะหน้าตาแบบไหน
ต้องบอกว่าการทำธุรกิจประกันชีวิตไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเลวร้ายหรือย่ำแย่แต่ธุรกิจนี้ก็สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะหลังที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำประกันชีวิตทำให้กระแสตอบรับในสังคมดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมนี้โดยรวม
โดยเฉพาะแนวโน้มดอกเบี้ยในระยะสั้นที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ประชาชนสนใจออมเงินระยะยาวผ่านการทำประกันชีวิตกันมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตจะอยู่ที่ระดับ 15-20% ประกอบกับการขยายช่องทางขายที่เดิมเน้นการขายผ่านตัวแทน ผู้ประกอบการแต่ละรายได้เพิ่มช่องทางผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ เทเลมาร์เก็ตติ้ง อินเตอร์เน็ต ไดเร็กต์เซลล์ และช่องทางอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาแบบประกันชีวิตให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในระดับฐานรากที่มีฐานประชากรอยู่สูงถึง 70% ของประเทศ เชื่อว่าผู้ประกอบการแทบทุกรายจะต้องสนใจเข้ามาลงแข่งในตลาดกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น
-การแข่งขันจะดุเดือด
เชื่อว่าจะรุนแรงแน่ๆ และแรงขึ้นทุกปีโดนเฉพาะในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายจากเดิมที่ผู้ประกอบการจะมีสินค้าเดิมๆ ที่นิ่งขายมา 10-20 ปี ต่อจากนี้จะต้องมีอะไรที่แตกต่างมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญคือการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ไม่หยุดนิ่งตลอดเวลา
และเมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีแล้ว บริการที่ดีและการให้ความสำคัญกับช่องทางการจำหน่ายก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างที่ผู้ประกอบการต้องลงแข่งขันในจุดนี้ ขณะเดียวกันการสร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรถึงฐานะที่แข็งแกร่งกับผู้บริโภคก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน
-ปัจจุบันการกำกับดูแลภาครัฐเหมาะสมหรือไม่
เมื่อพิจารณาเกณฑ์การกำกับกูแลธุรกิจประกันชีวิตจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ก็ถือว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลมาก โดยเฉพาะในปี 2554 ที่จะมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์ การกำกับดูแลเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง หรือ Risk Based Capital เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลก็ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อธุรกิจประกันของไทยมาก ซึ่งหากส่วนใดที่ยังไม่มีความพร้อม คปภ.ก็พร้อมให้ความยืดหยุ่นสำหรับผู้ประกอบการ
ขณะที่ข้อเสนอต่างๆ โดยเฉพาะด้านภาษีต่อกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้ยื่นรวมข้อเสนอผ่านสภาประกันภัยไทย ก็มีบางเรื่องที่กระทรวงการคลังอนุมัติ และอยู่ระหว่างพิจารณา ได้แก่ การขอเพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อเบี้ยประกันอุบัติเหตุ เจ็บป่วย การรักษาโรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพทั่วไป ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ดีที่จะสนับสนุนให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพโดยผ่านการซื้อเบี้ยประกันที่มีการให้บริการที่มีคุณภาพมากกว่าและที่สำคัญเป็นการช่วยลดภาระของภาครัฐในการบริหารงบประมาณเพื่ออุดหนุนด้านสาธารณสุขของประเทศได้
-ประกันชีวิตกับการมีส่วนร่วม "ไทยเข้มแข็ง"
ในแง่ที่บริษัทประกันชีวิตถือเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่มีเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากและมีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่การลงทุนของบริษัทส่วนใหญ่ก็ต้องดูว่ามีความสอดคล้องกับต้นทุนทางการเงินที่เราได้การันตีผลตอบแทนให้กับลูกค้าเพียงใด
โดยหลักแล้วตราสารทางการเงินที่บริษัทประกันลงทุน 1.เป็นตราสารที่มีระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสม 2.มีผลการตอบแทนการลงทุนที่สอดคล้องกับผลตอบแทนที่ให้กับลูกค้า และ 3.การบริหารความเสี่ยงของตราสารที่มีความมั่นคงไม่หวือหวามากนัก
ขณะที่การลงทุนในตลาดทุนนั้นโดยพื้นฐานของประกันแล้วไม่ใช่เป้าหมายการลงทุนโดยตรงแต่ก็มีการลงทุนไว้บ้างในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ถือเป็นฐานใหญ่ของการถือครองสินทรัพย์ลงทุนที่มีมูลค่าสูงนับล้านล้านบาท ซึ่งแม้ดูสัดส่วนแล้วเหมือนจะดูไม่ใช่จำนวนมากแต่เมื่อรวมสินทรัพย์ของธุรกิจประกันที่ลงในหุ้นทั้งหมดแล้วก็ถือว่าช่วยให้เกิดเสถียรภาพของตลาดทุนในระดับหนึ่ง
-ความเชื่อมั่นต่อนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
ถึงแม้ว่าธุรกิจประกันจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั้งระยะสั้นและปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่ก็คิดว่ามาตรการต่างๆ คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาได้รวมทั้งต้องมีมาตรการต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเดินหน้าไปได้และส่งผลโดยรวมมาถึงธุรกิจประกันชีวิตด้วย
ต้องบอกว่าการทำธุรกิจประกันชีวิตไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเลวร้ายหรือย่ำแย่แต่ธุรกิจนี้ก็สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะหลังที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำประกันชีวิตทำให้กระแสตอบรับในสังคมดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมนี้โดยรวม
โดยเฉพาะแนวโน้มดอกเบี้ยในระยะสั้นที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ประชาชนสนใจออมเงินระยะยาวผ่านการทำประกันชีวิตกันมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตจะอยู่ที่ระดับ 15-20% ประกอบกับการขยายช่องทางขายที่เดิมเน้นการขายผ่านตัวแทน ผู้ประกอบการแต่ละรายได้เพิ่มช่องทางผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ เทเลมาร์เก็ตติ้ง อินเตอร์เน็ต ไดเร็กต์เซลล์ และช่องทางอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาแบบประกันชีวิตให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในระดับฐานรากที่มีฐานประชากรอยู่สูงถึง 70% ของประเทศ เชื่อว่าผู้ประกอบการแทบทุกรายจะต้องสนใจเข้ามาลงแข่งในตลาดกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น
-การแข่งขันจะดุเดือด
เชื่อว่าจะรุนแรงแน่ๆ และแรงขึ้นทุกปีโดนเฉพาะในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายจากเดิมที่ผู้ประกอบการจะมีสินค้าเดิมๆ ที่นิ่งขายมา 10-20 ปี ต่อจากนี้จะต้องมีอะไรที่แตกต่างมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญคือการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ไม่หยุดนิ่งตลอดเวลา
และเมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีแล้ว บริการที่ดีและการให้ความสำคัญกับช่องทางการจำหน่ายก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างที่ผู้ประกอบการต้องลงแข่งขันในจุดนี้ ขณะเดียวกันการสร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรถึงฐานะที่แข็งแกร่งกับผู้บริโภคก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน
-ปัจจุบันการกำกับดูแลภาครัฐเหมาะสมหรือไม่
เมื่อพิจารณาเกณฑ์การกำกับกูแลธุรกิจประกันชีวิตจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ก็ถือว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลมาก โดยเฉพาะในปี 2554 ที่จะมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์ การกำกับดูแลเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง หรือ Risk Based Capital เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลก็ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อธุรกิจประกันของไทยมาก ซึ่งหากส่วนใดที่ยังไม่มีความพร้อม คปภ.ก็พร้อมให้ความยืดหยุ่นสำหรับผู้ประกอบการ
ขณะที่ข้อเสนอต่างๆ โดยเฉพาะด้านภาษีต่อกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้ยื่นรวมข้อเสนอผ่านสภาประกันภัยไทย ก็มีบางเรื่องที่กระทรวงการคลังอนุมัติ และอยู่ระหว่างพิจารณา ได้แก่ การขอเพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อเบี้ยประกันอุบัติเหตุ เจ็บป่วย การรักษาโรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพทั่วไป ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ดีที่จะสนับสนุนให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพโดยผ่านการซื้อเบี้ยประกันที่มีการให้บริการที่มีคุณภาพมากกว่าและที่สำคัญเป็นการช่วยลดภาระของภาครัฐในการบริหารงบประมาณเพื่ออุดหนุนด้านสาธารณสุขของประเทศได้
-ประกันชีวิตกับการมีส่วนร่วม "ไทยเข้มแข็ง"
ในแง่ที่บริษัทประกันชีวิตถือเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่มีเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากและมีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่การลงทุนของบริษัทส่วนใหญ่ก็ต้องดูว่ามีความสอดคล้องกับต้นทุนทางการเงินที่เราได้การันตีผลตอบแทนให้กับลูกค้าเพียงใด
โดยหลักแล้วตราสารทางการเงินที่บริษัทประกันลงทุน 1.เป็นตราสารที่มีระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสม 2.มีผลการตอบแทนการลงทุนที่สอดคล้องกับผลตอบแทนที่ให้กับลูกค้า และ 3.การบริหารความเสี่ยงของตราสารที่มีความมั่นคงไม่หวือหวามากนัก
ขณะที่การลงทุนในตลาดทุนนั้นโดยพื้นฐานของประกันแล้วไม่ใช่เป้าหมายการลงทุนโดยตรงแต่ก็มีการลงทุนไว้บ้างในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ถือเป็นฐานใหญ่ของการถือครองสินทรัพย์ลงทุนที่มีมูลค่าสูงนับล้านล้านบาท ซึ่งแม้ดูสัดส่วนแล้วเหมือนจะดูไม่ใช่จำนวนมากแต่เมื่อรวมสินทรัพย์ของธุรกิจประกันที่ลงในหุ้นทั้งหมดแล้วก็ถือว่าช่วยให้เกิดเสถียรภาพของตลาดทุนในระดับหนึ่ง
-ความเชื่อมั่นต่อนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
ถึงแม้ว่าธุรกิจประกันจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั้งระยะสั้นและปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่ก็คิดว่ามาตรการต่างๆ คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาได้รวมทั้งต้องมีมาตรการต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเดินหน้าไปได้และส่งผลโดยรวมมาถึงธุรกิจประกันชีวิตด้วย