"เพื่อไทย"จวกรัฐบาลไม่เร่งออกมาตรการรับมือเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) หวั่นเกษตรกรเดือดร้อน สินค้าเกษตรไม่สามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้
ในปี 2553 นอกจากปัญหาทางการเมืองและสังคมที่มีแนวโน้มจะร้อนแรงแล้ว สิ่งที่น่าจับตามองเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การลดภาษีของอาฟตา (AFTA) หรือ เขตเสรีการค้าอาเซียนนั่นเอง
สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไนนั้น จะลดภาษีศุลกากรให้เหลือ 0 % คือ ไม่เก็บภาษีนำเข้าเลย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป แต่จนถึงบัดนี้ ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะยังไม่ได้เตรียมการใดๆไว้รับมือกับปัญหาต่างๆ ที่กำลังจะตามมาในอนาคตเลย
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พรรคเป็นห่วงมาก เพราะโดยหลักการแล้ว การเปิดการค้าเสรีนั้น เป็นเรื่องที่ดี แต่การเปิดการค้าเสรีนั้นก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมไว้ด้วย เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะได้เปรียบ เพราะรายการสินค้าของประเทศเหล่านั้น มักจะเป็นสินค้าด้านอุตสาหกรรมมากกว่าสินค้าเกษตร ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ากสิกรรม หรือมีคนยากจนอยู่ในประเทศจำนวนมาก
ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อม กำหนดเวลาที่ชัดเจน และแจ้งให้ประชาชนรวมทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วยว่า วันเวลาใด ที่จะมีการเปิดการค้าเสรีอาฟตา
นายปานปรีย์ กล่าวต่อว่า การเปิดการค้าเสรีอาฟตานั้นมีการเจรจามาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งจะมีผลกับสินค้าประมาณ 8,300 รายการ ในวันที่ 1 มกราคม 2553 โดยมีการเจรจาว่า สินค้ารายการใดบ้างที่จัดอยู่ในประเภทสินค้าที่มีความอ่อนไหวปกติ และประเภทใดที่จัดอยู่ในประเภทสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง เนื่องจากสินค้าที่มีความอ่อนไหวปกตินั้นอาจจะมีการลดภาษีได้เร็ว แต่สำหรับสินค้าประเภทที่มีความอ่อนไหวสูงนั้น จะลดภาษีช้ากว่าหรืออาจจะไม่ลดเลย ยกตัวอย่างเช่น ข้าว ประเทศไทยเราให้ความสำคัญกับเรื่องข้าวมาก เพราะข้าวทำรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกเป็นจำนวนมาก คนไทย 64 ล้านคน บริโภคข้าวเป็นหลัก รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะส่งเสริม แทรกแซงราคา และดูแลราคาข้าวให้ได้รับความเป็นธรรมมานานนับ 10 ปีแล้ว ดังนั้นเมื่อมีการเปิดการค้าเสรี จึงต้องดูว่ารัฐบาลมีการเตรียมการอะไรไว้แล้วบ้าง
"สำหรับข้าวนั้นรัฐบาลไม่เคยนำเข้าบัญชีสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง ดังนั้นการลดภาษีนับตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยจึงลดภาษีลงเร็วกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน นอกจากนี้ วันนี้ไปถามชาวนาดู ก็ไม่มีใครรู้ว่าจะมีการเปิดการค้าเสรี รัฐบาลที่ผ่านมารวมทั้งรัฐบาลปัจจุบันก็ไม่ได้ออกไปบอกให้กับประชาชนทราบว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นจะมีอะไรบ้าง ทำให้ชาวนาไม่ได้เตรียมความพร้อมรับมือ หากเราหวนกลับไปดูประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ฟิลิปปินส์ จะเริ่มลดภาษีในปี 2557 ส่วนปี 2558 จะไม่เกิน 35 % ส่วนอินโอนีเซีย จะลดภาษีลลงเหลือ 25 % ในปี 2558 และมาเลเซีย จะลดภาษีลงเหลือ 20 % ในปี 2553 ขณะที่ประเทศไทย วันที่ 1 มกราคม 2553 จะลดภาษีลงเหลือ 0 % ชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างการจัดเก็บภาษีของเราเป็นการเจรจาที่ค่อนข้างเสียเปรียบ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทั้งๆที่สามารถนำข้าวไปเจรจาต่อรองกับสินค้าอื่นได้อีกมากมาย"
นายปานปรีย์ กล่าวว่า เชื่อว่าเรื่องข้าวนั้นจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ราคาจะสู้กันอย่างมาก ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยตกลง อีกทั้งขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายประกันราคาดังนั้นภาครัฐจะเสียหายมากยิ่งขึ้น เพราะต้องเอาเงินไปใส่ตรงนี้เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม อยากถามรัฐบาลว่าในเรื่องของการควบคุมคุณภาพนั้น รัฐบาลมีแนวทางอย่างไร เพราะวันนี้ข้าวหอมมะลิก็มีการปลอมปน ข้าวขาว 5 % ก็มีการลักลอบนำเข้ามาอยู่แล้ว ดังนั้นจากนี้เมื่อไม่ต้องลักลอบนำเข้ามา สามารถนำเข้าได้โดยถูกกฎหมาย การควบคุมคุณภาพจะมีมาตรการควบคุมดูแลในเรื่องนี้อย่างไร รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และการกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น จะให้หน่วยงานใดมารับผิดชอบ
นอกจากนี้ หากสินค้าที่นำเข้ามานั้นไม่มีคุณภาพ แต่เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์ให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเห็นได้ว่าสินค้าดังกล่าวนั้นไม่มีคุณภาพอย่างไร เพราะจะทำให้เราอาจมีปัญหาผิดข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ได้ ใม่ใช่นึกจะไปกีดกันสินค้าของเขาก็ทำกันได้ง่ายๆ เพราะหากเขาตอบโต้กลับมาอาจจะส่งผลกระทบสินค้าอื่นๆ ของเราได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางที่มาดูแลเรื่องนี้เป็นอย่างดี
นายปานปรีย์ กล่าวอีกว่า สินค้าที่เราไม่พึงประสงค์ให้เข้าประเทศ สินค้าเหล่านั้นเราจะมีมาตรฐานต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร เพราะถ้าเราไม่เข้าใจกฎ กติกา ข้อกฎหมาย ไม่มีการวางแนวทางตอบโต้กรณีที่สินค้าที่จะนำเข้ามานั้นมีปัญหา เราก็อาจจะเกิดปัญหาการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียนขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของอาฟตาคือ ทำให้เกิดการค้าในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ดังนั้นหากเราเปิดการค้าเสรีแล้ว เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อัตราการค้าขายของเราเพิ่มมากขึ้น ก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นตัววัดอัตราการเติบโตทางการค้าของเราในอนาคตได้ด้วย แต่ต้องดูด้วยว่า ความสามารถในการแข่งขันของเรานั้น เรามีความแข็งแรงมากน้อยขนาดไหน
นายปานปรีย์ กล่าวด้วยว่า หากรัฐบาลยังไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศมา 1 ปีแล้ว ปล่อยให้เป็นเหมือนกรณีมาบตาพุด ที่ปล่อยจนมีเรื่องแล้วค่อยมาทำนั้น ความเสียหายมันก็เกิดขึ้นไปเยอะแล้ว ดังนั้นวันนี้รัฐบาลจึงควรรีบจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวนโยบายให้ชัดเจนว่า ใครที่จะเป็นหน่วยงานที่มาดูแลเรื่องนี้
ด้านนายวิม รุ่งวัฒนจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องราคาสินค้าเกษตรนั้น เราพูดกันตรงๆ เลยว่า รัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีมาตรการในการปกป้องเกษตรกรจากการเปิดการค้าเสรีอาฟตาเลย ทั้งๆ ที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 53 แล้ว แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เห็นเลยว่ารัฐบาลจะปกป้องเกษตรกรของเราอย่างไร เมื่อถามว่าเราเดือดร้อนไหม ตามความเห็นส่วนตัวของตนมองว่า เราเดือดร้อน เพราะอย่าลืมว่าประเทศรอบบ้านเราไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว หรือ พม่า ก็ปลูกข้าวและทำการเกษตรเหมือนกับเรา
ดังนั้นถามว่าเราแข่งกับเขาได้ไหม ตนมองว่าเราแข่งกับเขาไม่ได้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของเราสูงกว่า เช่น เราใช้รถไถในขณะที่บางประเทศเขายังใช้ควายไถอยู่ หรือเราใช้รถเกี่ยวข้าว แต่พม่าและกัมพูชาเขายังใช้มือเกี่ยวข้าวอยู่ เพราะฉะนั้นต้นทุนในการผลิตของเราจะสูงกว่าของเขา
นายวิม กล่าวอีกว่า สมมุติว่ารัฐบาลออกนโยบายการประกันราคาข้าวที่เกวียนละ 9,000 บาท เมื่อเปิดการค้าเสรีเมื่อไหร่ ข้าวจะทะลักเข้ามาในบ้านเราทันที และไม่มีภาษี เพราะฉะนั้นหากข้าวกัมพูชาเขาขายในประเทศกัมพูชา เมื่อเทียบกับเงินไทยเกวียนละ 6,000 บาทแล้ว จะมีคนขนข้าวเข้ามาขายในบ้านเราที่ราคา 9,000 บาททันที เพราะฉะนั้นเท่ากับว่านโยบายประกันราคาข้าว และสินค้าเกษตรจะถูกสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์เกษตรกรไทย จึงอยากถามว่าตรงนี้รัฐบาลมีการป้องกันหรือไม่ เพราะจนถึงวันนี้จะสิ้นปี 2552 อยู่ในอีกไม่กี่วันแล้วแต่รัฐบาลยังไม่มีนโยบายอะไรประกาศออกมาเลย
"ผมถามว่า โดยปกติแล้ว ข้าวนาปีเขาจะเกี่ยวกันเมื่อไหร่ เขาเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ดังนั้นเมื่อเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมแล้ว ผมอยากถามว่าในเมื่อรัฐบาลยังไม่มีมาตรการใดๆ ในการป้องกัน แน่นอนว่าเดือนมกราคม กฎหมายอาฟตามีผลบังคับใช้ ข้าวในประเทศเพื่อนบ้านจะทะลักเข้ามาประเทศเราอย่างแน่นอน ขอถามว่า แล้วรัฐบาลจะป้องกันอย่างไร จะปิดชายแดนอย่างนั้นหรือ คงเป็นไปไม่ได้" รองโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว
นายวิม กล่าวด้วยว่า เรามีการคุยกันภายในพรรคเหมือนกันในเรื่องนี้กับทีมเศษฐกิจว่า เราจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ยืนยันว่า เรามีวิธีแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยเราต้องประกาศเป็นอะไรสักอย่างที่ดูเหมือนว่าเป็นการปกป้องเกษตรกรในประเทศที่ไม่ขัดต่ออาฟตา การเจรจาแบบทวิภาคี และไม่ขัดกับองค์การการค้าโลก แต่คงต้องไปถามรัฐบาลว่า แล้วทำไมรัฐบาลถึงไม่คิดที่จะทำ
ในปี 2553 นอกจากปัญหาทางการเมืองและสังคมที่มีแนวโน้มจะร้อนแรงแล้ว สิ่งที่น่าจับตามองเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การลดภาษีของอาฟตา (AFTA) หรือ เขตเสรีการค้าอาเซียนนั่นเอง
สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไนนั้น จะลดภาษีศุลกากรให้เหลือ 0 % คือ ไม่เก็บภาษีนำเข้าเลย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป แต่จนถึงบัดนี้ ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะยังไม่ได้เตรียมการใดๆไว้รับมือกับปัญหาต่างๆ ที่กำลังจะตามมาในอนาคตเลย
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พรรคเป็นห่วงมาก เพราะโดยหลักการแล้ว การเปิดการค้าเสรีนั้น เป็นเรื่องที่ดี แต่การเปิดการค้าเสรีนั้นก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมไว้ด้วย เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะได้เปรียบ เพราะรายการสินค้าของประเทศเหล่านั้น มักจะเป็นสินค้าด้านอุตสาหกรรมมากกว่าสินค้าเกษตร ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ากสิกรรม หรือมีคนยากจนอยู่ในประเทศจำนวนมาก
ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อม กำหนดเวลาที่ชัดเจน และแจ้งให้ประชาชนรวมทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วยว่า วันเวลาใด ที่จะมีการเปิดการค้าเสรีอาฟตา
นายปานปรีย์ กล่าวต่อว่า การเปิดการค้าเสรีอาฟตานั้นมีการเจรจามาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งจะมีผลกับสินค้าประมาณ 8,300 รายการ ในวันที่ 1 มกราคม 2553 โดยมีการเจรจาว่า สินค้ารายการใดบ้างที่จัดอยู่ในประเภทสินค้าที่มีความอ่อนไหวปกติ และประเภทใดที่จัดอยู่ในประเภทสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง เนื่องจากสินค้าที่มีความอ่อนไหวปกตินั้นอาจจะมีการลดภาษีได้เร็ว แต่สำหรับสินค้าประเภทที่มีความอ่อนไหวสูงนั้น จะลดภาษีช้ากว่าหรืออาจจะไม่ลดเลย ยกตัวอย่างเช่น ข้าว ประเทศไทยเราให้ความสำคัญกับเรื่องข้าวมาก เพราะข้าวทำรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกเป็นจำนวนมาก คนไทย 64 ล้านคน บริโภคข้าวเป็นหลัก รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะส่งเสริม แทรกแซงราคา และดูแลราคาข้าวให้ได้รับความเป็นธรรมมานานนับ 10 ปีแล้ว ดังนั้นเมื่อมีการเปิดการค้าเสรี จึงต้องดูว่ารัฐบาลมีการเตรียมการอะไรไว้แล้วบ้าง
"สำหรับข้าวนั้นรัฐบาลไม่เคยนำเข้าบัญชีสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง ดังนั้นการลดภาษีนับตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยจึงลดภาษีลงเร็วกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน นอกจากนี้ วันนี้ไปถามชาวนาดู ก็ไม่มีใครรู้ว่าจะมีการเปิดการค้าเสรี รัฐบาลที่ผ่านมารวมทั้งรัฐบาลปัจจุบันก็ไม่ได้ออกไปบอกให้กับประชาชนทราบว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นจะมีอะไรบ้าง ทำให้ชาวนาไม่ได้เตรียมความพร้อมรับมือ หากเราหวนกลับไปดูประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ฟิลิปปินส์ จะเริ่มลดภาษีในปี 2557 ส่วนปี 2558 จะไม่เกิน 35 % ส่วนอินโอนีเซีย จะลดภาษีลลงเหลือ 25 % ในปี 2558 และมาเลเซีย จะลดภาษีลงเหลือ 20 % ในปี 2553 ขณะที่ประเทศไทย วันที่ 1 มกราคม 2553 จะลดภาษีลงเหลือ 0 % ชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างการจัดเก็บภาษีของเราเป็นการเจรจาที่ค่อนข้างเสียเปรียบ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทั้งๆที่สามารถนำข้าวไปเจรจาต่อรองกับสินค้าอื่นได้อีกมากมาย"
นายปานปรีย์ กล่าวว่า เชื่อว่าเรื่องข้าวนั้นจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ราคาจะสู้กันอย่างมาก ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยตกลง อีกทั้งขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายประกันราคาดังนั้นภาครัฐจะเสียหายมากยิ่งขึ้น เพราะต้องเอาเงินไปใส่ตรงนี้เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม อยากถามรัฐบาลว่าในเรื่องของการควบคุมคุณภาพนั้น รัฐบาลมีแนวทางอย่างไร เพราะวันนี้ข้าวหอมมะลิก็มีการปลอมปน ข้าวขาว 5 % ก็มีการลักลอบนำเข้ามาอยู่แล้ว ดังนั้นจากนี้เมื่อไม่ต้องลักลอบนำเข้ามา สามารถนำเข้าได้โดยถูกกฎหมาย การควบคุมคุณภาพจะมีมาตรการควบคุมดูแลในเรื่องนี้อย่างไร รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และการกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น จะให้หน่วยงานใดมารับผิดชอบ
นอกจากนี้ หากสินค้าที่นำเข้ามานั้นไม่มีคุณภาพ แต่เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์ให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเห็นได้ว่าสินค้าดังกล่าวนั้นไม่มีคุณภาพอย่างไร เพราะจะทำให้เราอาจมีปัญหาผิดข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ได้ ใม่ใช่นึกจะไปกีดกันสินค้าของเขาก็ทำกันได้ง่ายๆ เพราะหากเขาตอบโต้กลับมาอาจจะส่งผลกระทบสินค้าอื่นๆ ของเราได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางที่มาดูแลเรื่องนี้เป็นอย่างดี
นายปานปรีย์ กล่าวอีกว่า สินค้าที่เราไม่พึงประสงค์ให้เข้าประเทศ สินค้าเหล่านั้นเราจะมีมาตรฐานต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร เพราะถ้าเราไม่เข้าใจกฎ กติกา ข้อกฎหมาย ไม่มีการวางแนวทางตอบโต้กรณีที่สินค้าที่จะนำเข้ามานั้นมีปัญหา เราก็อาจจะเกิดปัญหาการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียนขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของอาฟตาคือ ทำให้เกิดการค้าในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ดังนั้นหากเราเปิดการค้าเสรีแล้ว เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อัตราการค้าขายของเราเพิ่มมากขึ้น ก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นตัววัดอัตราการเติบโตทางการค้าของเราในอนาคตได้ด้วย แต่ต้องดูด้วยว่า ความสามารถในการแข่งขันของเรานั้น เรามีความแข็งแรงมากน้อยขนาดไหน
นายปานปรีย์ กล่าวด้วยว่า หากรัฐบาลยังไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศมา 1 ปีแล้ว ปล่อยให้เป็นเหมือนกรณีมาบตาพุด ที่ปล่อยจนมีเรื่องแล้วค่อยมาทำนั้น ความเสียหายมันก็เกิดขึ้นไปเยอะแล้ว ดังนั้นวันนี้รัฐบาลจึงควรรีบจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวนโยบายให้ชัดเจนว่า ใครที่จะเป็นหน่วยงานที่มาดูแลเรื่องนี้
ด้านนายวิม รุ่งวัฒนจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องราคาสินค้าเกษตรนั้น เราพูดกันตรงๆ เลยว่า รัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีมาตรการในการปกป้องเกษตรกรจากการเปิดการค้าเสรีอาฟตาเลย ทั้งๆ ที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 53 แล้ว แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เห็นเลยว่ารัฐบาลจะปกป้องเกษตรกรของเราอย่างไร เมื่อถามว่าเราเดือดร้อนไหม ตามความเห็นส่วนตัวของตนมองว่า เราเดือดร้อน เพราะอย่าลืมว่าประเทศรอบบ้านเราไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว หรือ พม่า ก็ปลูกข้าวและทำการเกษตรเหมือนกับเรา
ดังนั้นถามว่าเราแข่งกับเขาได้ไหม ตนมองว่าเราแข่งกับเขาไม่ได้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของเราสูงกว่า เช่น เราใช้รถไถในขณะที่บางประเทศเขายังใช้ควายไถอยู่ หรือเราใช้รถเกี่ยวข้าว แต่พม่าและกัมพูชาเขายังใช้มือเกี่ยวข้าวอยู่ เพราะฉะนั้นต้นทุนในการผลิตของเราจะสูงกว่าของเขา
นายวิม กล่าวอีกว่า สมมุติว่ารัฐบาลออกนโยบายการประกันราคาข้าวที่เกวียนละ 9,000 บาท เมื่อเปิดการค้าเสรีเมื่อไหร่ ข้าวจะทะลักเข้ามาในบ้านเราทันที และไม่มีภาษี เพราะฉะนั้นหากข้าวกัมพูชาเขาขายในประเทศกัมพูชา เมื่อเทียบกับเงินไทยเกวียนละ 6,000 บาทแล้ว จะมีคนขนข้าวเข้ามาขายในบ้านเราที่ราคา 9,000 บาททันที เพราะฉะนั้นเท่ากับว่านโยบายประกันราคาข้าว และสินค้าเกษตรจะถูกสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์เกษตรกรไทย จึงอยากถามว่าตรงนี้รัฐบาลมีการป้องกันหรือไม่ เพราะจนถึงวันนี้จะสิ้นปี 2552 อยู่ในอีกไม่กี่วันแล้วแต่รัฐบาลยังไม่มีนโยบายอะไรประกาศออกมาเลย
"ผมถามว่า โดยปกติแล้ว ข้าวนาปีเขาจะเกี่ยวกันเมื่อไหร่ เขาเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ดังนั้นเมื่อเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมแล้ว ผมอยากถามว่าในเมื่อรัฐบาลยังไม่มีมาตรการใดๆ ในการป้องกัน แน่นอนว่าเดือนมกราคม กฎหมายอาฟตามีผลบังคับใช้ ข้าวในประเทศเพื่อนบ้านจะทะลักเข้ามาประเทศเราอย่างแน่นอน ขอถามว่า แล้วรัฐบาลจะป้องกันอย่างไร จะปิดชายแดนอย่างนั้นหรือ คงเป็นไปไม่ได้" รองโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว
นายวิม กล่าวด้วยว่า เรามีการคุยกันภายในพรรคเหมือนกันในเรื่องนี้กับทีมเศษฐกิจว่า เราจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ยืนยันว่า เรามีวิธีแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยเราต้องประกาศเป็นอะไรสักอย่างที่ดูเหมือนว่าเป็นการปกป้องเกษตรกรในประเทศที่ไม่ขัดต่ออาฟตา การเจรจาแบบทวิภาคี และไม่ขัดกับองค์การการค้าโลก แต่คงต้องไปถามรัฐบาลว่า แล้วทำไมรัฐบาลถึงไม่คิดที่จะทำ