โดย ปัทมาภรณ์ นมพุก**
ตามที่ กกต.ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีข้อกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาคจาก บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด จำนวน 258 ล้านบาทโดยไม่เปิดเผย ซึ่งอาจมีความผิดถึงกับต้องถูกยุบพรรคนั้น ได้อธิบายให้เห็นถึงกฎหมายและกระบวนการดำเนินการกับพรรคการเมืองที่กระทำผิดกฎหมาย (อ่าน “คดี258ล้าน-กกต.กระทงที่ลอยหลงทาง) ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ กกต. ดำเนินการเชื่อได้ว่า กกต.ไม่มีช่องทางที่จะวินิจฉัยว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำความผิดและให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการเพื่อยุบพรรคอย่างแน่นอน (อ่าน พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ถูกยุบ?)
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบความจริงเป็นที่กระจ่าง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ ควรแถลงการณ์ หรือชี้แจงต่อประชาชนว่า
“ ตามที่ได้มีการกล่าวหาพาดพิงว่า พรรค ปชป.ได้รับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด และ กกต.กำลังทำการสอบสวนอยู่นั้น พรรคขอเรียนชี้แจงดังนี้
1.พรรคให้ความเคารพองค์กรอิสระและไม่เคยแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ
2.พรรคไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด และแม้จะมีการกระทำตามที่กล่าวหาจริง ก็ย่อมเป็นการกระทำที่เป็นกิจการส่วนบุคคล ไม่ใช่ในนามของพรรค หรือในนามกรรมการบริหารพรรคแต่อย่างใดทั้งสิ้น ซึ่งพรรคไม่ได้ประโยชน์อย่างใดๆ จากการกระทำนั้น หรือเงินจำนวนนั้นแม้แต่น้อย เพราะพรรคไม่ทราบว่าเงินนั้นกรรมการบริหารพรรคได้รับไว้เมื่อใด จำนวนใด และได้มีการนำเงินไปดำเนินการอะไร จำนวนใด ที่ไหน อย่างไร
3.พรรคสนับสนุนและยินดีให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระทุกองค์กร ดังเช่นในกรณีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เคยทำหนังสือชี้แจงต่อ กกต.ครั้งหนึ่งแล้ว ในฐานะที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องในการรับรองงบการเงินของพรรค เมื่อปี พ.ศ.2548 ซึ่งพรรคเข้าใจว่า ท่านอภิสิทธิ์ฯ ได้ชี้แจงในฐานะเป็นพยานเท่านั้น เช่นเดียวกับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน , นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ หรือ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เพราะพรรคและกรรมการบริหารพรรค ยังไม่รับการแจ้งข้อกล่าวหาจาก กกต.ตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนฯ ข้อ 50 วรรคห้า ว่า พรรคได้กระทำผิดอะไร เมื่อใด อย่างไร ซึ่งจากที่เป็นข่าวว่าคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนของ กกต.เสนอให้ยกคำร้อง ดังนั้น พรรคจึงมีความเข้าใจว่า ในการพิจารณาของ กกต.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2552 นั้น เป็นขั้นตอนในการพิจารณาว่าตามรายงานการสอบสวนที่คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนเสนอนั้น มีมูลเพียงพอฟังได้ว่า พรรคกระทำผิดหรือไม่ สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ใดบ้าง ซึ่งยังไม่ถึงขั้นตอนในการลงมติวินิจฉัยชี้ขาดของ กกต. เพราะหาก กกต.เห็นว่าพรรคกระทำผิด กกต.คงต้องเรียกพรรคไปอธิบายและแจ้งข้อกล่าวหา ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา อีกครั้ง ก่อนลงมติว่าพรรคกระทำผิด
4.อย่างไรก็ตาม หากมีผู้หนึ่งผู้ใดเห็นว่า พรรค ปชป.กระทำผิด ก็ขอได้โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้ปรากฏต่อสังคมได้ว่าพรรคกระทำความผิดอย่างไร เงินนั้นได้นำไปใช้ในกิจการใดของพรรค ขออย่าใช้วิธีการคาดเดาโดยปราศจากหลักฐานและเหตุผลในการอ้างอิง เพราะเราต่างก็ไม่เห็นเอกสารสำนวนทั้งนั้น และหากเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็ขอได้โปรดเปิดเผยเหตุผลในการวินิจฉัยได้เลยว่า พรรคกระทำผิดตามกฎหมายใด เพราะจะได้ทำให้สังคมมีความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ”
**ปัทมาภรณ์ นมพุก จบด้านกฎหมาย มีความสนใจและติดตามการดำเนินการของ กกต.มาอย่างต่อเนื่อง
ตามที่ กกต.ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีข้อกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาคจาก บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด จำนวน 258 ล้านบาทโดยไม่เปิดเผย ซึ่งอาจมีความผิดถึงกับต้องถูกยุบพรรคนั้น ได้อธิบายให้เห็นถึงกฎหมายและกระบวนการดำเนินการกับพรรคการเมืองที่กระทำผิดกฎหมาย (อ่าน “คดี258ล้าน-กกต.กระทงที่ลอยหลงทาง) ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ กกต. ดำเนินการเชื่อได้ว่า กกต.ไม่มีช่องทางที่จะวินิจฉัยว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำความผิดและให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการเพื่อยุบพรรคอย่างแน่นอน (อ่าน พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ถูกยุบ?)
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบความจริงเป็นที่กระจ่าง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ ควรแถลงการณ์ หรือชี้แจงต่อประชาชนว่า
“ ตามที่ได้มีการกล่าวหาพาดพิงว่า พรรค ปชป.ได้รับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด และ กกต.กำลังทำการสอบสวนอยู่นั้น พรรคขอเรียนชี้แจงดังนี้
1.พรรคให้ความเคารพองค์กรอิสระและไม่เคยแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ
2.พรรคไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด และแม้จะมีการกระทำตามที่กล่าวหาจริง ก็ย่อมเป็นการกระทำที่เป็นกิจการส่วนบุคคล ไม่ใช่ในนามของพรรค หรือในนามกรรมการบริหารพรรคแต่อย่างใดทั้งสิ้น ซึ่งพรรคไม่ได้ประโยชน์อย่างใดๆ จากการกระทำนั้น หรือเงินจำนวนนั้นแม้แต่น้อย เพราะพรรคไม่ทราบว่าเงินนั้นกรรมการบริหารพรรคได้รับไว้เมื่อใด จำนวนใด และได้มีการนำเงินไปดำเนินการอะไร จำนวนใด ที่ไหน อย่างไร
3.พรรคสนับสนุนและยินดีให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระทุกองค์กร ดังเช่นในกรณีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เคยทำหนังสือชี้แจงต่อ กกต.ครั้งหนึ่งแล้ว ในฐานะที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องในการรับรองงบการเงินของพรรค เมื่อปี พ.ศ.2548 ซึ่งพรรคเข้าใจว่า ท่านอภิสิทธิ์ฯ ได้ชี้แจงในฐานะเป็นพยานเท่านั้น เช่นเดียวกับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน , นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ หรือ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เพราะพรรคและกรรมการบริหารพรรค ยังไม่รับการแจ้งข้อกล่าวหาจาก กกต.ตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนฯ ข้อ 50 วรรคห้า ว่า พรรคได้กระทำผิดอะไร เมื่อใด อย่างไร ซึ่งจากที่เป็นข่าวว่าคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนของ กกต.เสนอให้ยกคำร้อง ดังนั้น พรรคจึงมีความเข้าใจว่า ในการพิจารณาของ กกต.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2552 นั้น เป็นขั้นตอนในการพิจารณาว่าตามรายงานการสอบสวนที่คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนเสนอนั้น มีมูลเพียงพอฟังได้ว่า พรรคกระทำผิดหรือไม่ สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ใดบ้าง ซึ่งยังไม่ถึงขั้นตอนในการลงมติวินิจฉัยชี้ขาดของ กกต. เพราะหาก กกต.เห็นว่าพรรคกระทำผิด กกต.คงต้องเรียกพรรคไปอธิบายและแจ้งข้อกล่าวหา ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา อีกครั้ง ก่อนลงมติว่าพรรคกระทำผิด
4.อย่างไรก็ตาม หากมีผู้หนึ่งผู้ใดเห็นว่า พรรค ปชป.กระทำผิด ก็ขอได้โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้ปรากฏต่อสังคมได้ว่าพรรคกระทำความผิดอย่างไร เงินนั้นได้นำไปใช้ในกิจการใดของพรรค ขออย่าใช้วิธีการคาดเดาโดยปราศจากหลักฐานและเหตุผลในการอ้างอิง เพราะเราต่างก็ไม่เห็นเอกสารสำนวนทั้งนั้น และหากเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็ขอได้โปรดเปิดเผยเหตุผลในการวินิจฉัยได้เลยว่า พรรคกระทำผิดตามกฎหมายใด เพราะจะได้ทำให้สังคมมีความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ”
**ปัทมาภรณ์ นมพุก จบด้านกฎหมาย มีความสนใจและติดตามการดำเนินการของ กกต.มาอย่างต่อเนื่อง