ASTV ผู้จัดการรายวัน- สปส.รับลูกกระทรวงคลัง อนุมัติวงเงิน10,000 ล้านบาทกระจายฝาก4แบงก์หลักร่วมโครงการบ้านเพื่อผู้ประกันตนวงเงินไม่เกิน3,000ล้าบาทต่อแห่ง พร้อมเปิดเสรีกู้เพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร ตกแต่ง ปรับปรุง ซื้อบ้านเก่า บ้านใหม่ แจงปิดรับเอกสารยื่นความจำนวนเข้าร่วมโครงการทุกแบงก์ภายในมี.ค.นี้ มั่นใจกระตุ้นตลาดบ้านเก่า-ใหม่ปี53ขยายตัวต่อเนื่อง
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือสปส. กล่าวถึงกรณีการประชุมหาข้อสรุปการจัดเตรียมวงเงิน10,000ล้านบาท เพื่อสนับสนุนด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกันต้นว่า ผลการประชุมร่วมระหว่าง สปส. ตัวแทนกระทรวงคลัง และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในเบื้องต้น สปส.ได้อนุนมัติวงเงินดังกล่าว โดยการเปิดบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินจำนวน4 แห่ง จากเดิมที่จะเปิดบัญชีเงินฝากกับ ธอส.วงเงิน5,000ล้านบาทเพียงแห่งเดียว
โดยจะเปิดให้สถาบันการเงินที่ต้องการเข้าร่วมโครงการยื่นความจำนงค์ขอเข้าร่วมโครงการภายในเดือน มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะ พิจารณาคัดเลือกสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้เหลือเพียง4แห่ง ซึ่งสปส.จะเปิดบัญชีกับธนาคารแต่ละแห่งในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินนำเงินดังกล่าวไปปล่อยสินเชื่อบ้านแก่ผู้ประกันตนวงเงินไม่เกิน1.5ล้านบาทต่อราย
ทั้งนี้ สำหรับวงเงินฝากในแต่ละธนาคารที่สปส.เปิดบัญชี้นั้น สปส.จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารในอัตรา1% เพื่อให้ธนาคารนำเงินดังกล่าวไปปล่อยกู้โดยจัดเก็บอัตราดอกเบี้ย2.5%คงที่5ปี ซึ่งจะทำให้ธนาคารที่ร่วมโครงการมีรายได้จากส่วนต่างในการบริหารจัดการปล่อยสินเชื่อ1.5% ส่วนเกณฑ์ในการปล่อยกู้ต่างๆ นั้นจะเปิดให้สถาบันการเงินผู้ดำเนินการเป็นผู้พิจาณราปล่อยกู้ตามเกณฑ์ของแต่ลพธนาคารโดยเสรี
นายปั้น กล่าวว่า ข้อกำหนด สำหรับผู้ประกันตนที่ขอสินเชื่อในโครงการนี้เบื้องต้นกำหนดว่า ผู้ประกันตนจะสามารถขอสินเชื่อในวงเงินไม่เกิน1.5ล้านบาทต่อราย โดยสามารถขอสินเชื่อไปใช้ในการตกแต่งบ้านเก่า-ใหม่ ซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง รีไฟล์แนนช์บ้านเดิม ซ่อมแซมบ้าน ทั้งในส่วนของตนเอง และบ้านของบิดามารดาได้
“โครงการนี้ว่าเป็นสวัสดิการของผู้ประกันตนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง หรือผู้ที่มีบ้านอยู่แล้วต้องการปรับปรุงบ้านใหม่ หรือรีไฟล์แนนช์บ้าน ซึ่งสปส.ไม่ได้กำหนดสิทธิ์ในการขอสินเชื่อเฉพาะผู้ประกันตนที่มีงานทำ แต่ยังครอบคลุมไปถึงผู้ประกันตนที่ตกงานอยู่ แต่ยังส่งเบี้ยประกันสังคมอยู่ต่อเนื่อง ก็สามารถเข้าร่วมขอสินเชื่อในโครงการนี้ได้ด้วย โดยโครงการดังกล่าวจะกระจายไปทั่วประเทศที่มีผู้ประกันตนให้สามารถกู้ได้ โดยจะไม่กระจุกตัวเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น"
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากจะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการในระดับราคาไม่เกิน 1.5ล้านบาทสามารถระบายสต็อก ทั้งในส่วนของบ้านใหม่และบ้านเก่า รวมถึงโครงการใหม่ที่เปิดตัวยังได้ประโยชน์จากโครงการนี้ด้วย เพราะลูกค้าสามารถกู้ได้ง่ายมากขึ้น และเมื่อมีการหมุนเวียนสินค้าในตลาดรวมทั้งบ้านใหม่และบ้านเก่าก็จะช่วยให้ ธุรกิจต่อเนื่อง เช่น วัสดุก่อสร้างต่างๆ ไดรับอานิสงค์ไปด้วย
ด้านนายศิริโรจน์ ชาวปากนำ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวว่า กคช.ในฐานหน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบดูแลด้านที่อยู่อาศัยประชาชน ได้เตรียมนำโครงการบ้านเอื้ออาทรและดครงการเคหะชุมชน ซึ่งมีราคาไม่เกิน 1.5ล้านบาทเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยในปัจจุบัน กคช.มีบ้านสร้างเสร็จพร้อมโอนทั้งในส่วนบ้านเอื้อฯและบ้านเคหะชุมชนทั้งสิ้น 43,000 หน่วยทั่วประเทศ แบ่งเป้นบ้านเอื้อฯ 40,000 หน่วย และบ้านเคหะฯ 3,000 หน่วย
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ กคช. จะเสนอเรื่องไปที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อให้ดำเนินการต่อ และรอให้รัฐมาตรีว่าการ(พม.) ลงนามเซ็นสัญญาร่วมกับสปส.และสถาบันการเงินต่อไป
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือสปส. กล่าวถึงกรณีการประชุมหาข้อสรุปการจัดเตรียมวงเงิน10,000ล้านบาท เพื่อสนับสนุนด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกันต้นว่า ผลการประชุมร่วมระหว่าง สปส. ตัวแทนกระทรวงคลัง และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในเบื้องต้น สปส.ได้อนุนมัติวงเงินดังกล่าว โดยการเปิดบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินจำนวน4 แห่ง จากเดิมที่จะเปิดบัญชีเงินฝากกับ ธอส.วงเงิน5,000ล้านบาทเพียงแห่งเดียว
โดยจะเปิดให้สถาบันการเงินที่ต้องการเข้าร่วมโครงการยื่นความจำนงค์ขอเข้าร่วมโครงการภายในเดือน มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะ พิจารณาคัดเลือกสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้เหลือเพียง4แห่ง ซึ่งสปส.จะเปิดบัญชีกับธนาคารแต่ละแห่งในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินนำเงินดังกล่าวไปปล่อยสินเชื่อบ้านแก่ผู้ประกันตนวงเงินไม่เกิน1.5ล้านบาทต่อราย
ทั้งนี้ สำหรับวงเงินฝากในแต่ละธนาคารที่สปส.เปิดบัญชี้นั้น สปส.จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารในอัตรา1% เพื่อให้ธนาคารนำเงินดังกล่าวไปปล่อยกู้โดยจัดเก็บอัตราดอกเบี้ย2.5%คงที่5ปี ซึ่งจะทำให้ธนาคารที่ร่วมโครงการมีรายได้จากส่วนต่างในการบริหารจัดการปล่อยสินเชื่อ1.5% ส่วนเกณฑ์ในการปล่อยกู้ต่างๆ นั้นจะเปิดให้สถาบันการเงินผู้ดำเนินการเป็นผู้พิจาณราปล่อยกู้ตามเกณฑ์ของแต่ลพธนาคารโดยเสรี
นายปั้น กล่าวว่า ข้อกำหนด สำหรับผู้ประกันตนที่ขอสินเชื่อในโครงการนี้เบื้องต้นกำหนดว่า ผู้ประกันตนจะสามารถขอสินเชื่อในวงเงินไม่เกิน1.5ล้านบาทต่อราย โดยสามารถขอสินเชื่อไปใช้ในการตกแต่งบ้านเก่า-ใหม่ ซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง รีไฟล์แนนช์บ้านเดิม ซ่อมแซมบ้าน ทั้งในส่วนของตนเอง และบ้านของบิดามารดาได้
“โครงการนี้ว่าเป็นสวัสดิการของผู้ประกันตนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง หรือผู้ที่มีบ้านอยู่แล้วต้องการปรับปรุงบ้านใหม่ หรือรีไฟล์แนนช์บ้าน ซึ่งสปส.ไม่ได้กำหนดสิทธิ์ในการขอสินเชื่อเฉพาะผู้ประกันตนที่มีงานทำ แต่ยังครอบคลุมไปถึงผู้ประกันตนที่ตกงานอยู่ แต่ยังส่งเบี้ยประกันสังคมอยู่ต่อเนื่อง ก็สามารถเข้าร่วมขอสินเชื่อในโครงการนี้ได้ด้วย โดยโครงการดังกล่าวจะกระจายไปทั่วประเทศที่มีผู้ประกันตนให้สามารถกู้ได้ โดยจะไม่กระจุกตัวเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น"
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากจะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการในระดับราคาไม่เกิน 1.5ล้านบาทสามารถระบายสต็อก ทั้งในส่วนของบ้านใหม่และบ้านเก่า รวมถึงโครงการใหม่ที่เปิดตัวยังได้ประโยชน์จากโครงการนี้ด้วย เพราะลูกค้าสามารถกู้ได้ง่ายมากขึ้น และเมื่อมีการหมุนเวียนสินค้าในตลาดรวมทั้งบ้านใหม่และบ้านเก่าก็จะช่วยให้ ธุรกิจต่อเนื่อง เช่น วัสดุก่อสร้างต่างๆ ไดรับอานิสงค์ไปด้วย
ด้านนายศิริโรจน์ ชาวปากนำ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวว่า กคช.ในฐานหน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบดูแลด้านที่อยู่อาศัยประชาชน ได้เตรียมนำโครงการบ้านเอื้ออาทรและดครงการเคหะชุมชน ซึ่งมีราคาไม่เกิน 1.5ล้านบาทเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยในปัจจุบัน กคช.มีบ้านสร้างเสร็จพร้อมโอนทั้งในส่วนบ้านเอื้อฯและบ้านเคหะชุมชนทั้งสิ้น 43,000 หน่วยทั่วประเทศ แบ่งเป้นบ้านเอื้อฯ 40,000 หน่วย และบ้านเคหะฯ 3,000 หน่วย
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ กคช. จะเสนอเรื่องไปที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อให้ดำเนินการต่อ และรอให้รัฐมาตรีว่าการ(พม.) ลงนามเซ็นสัญญาร่วมกับสปส.และสถาบันการเงินต่อไป