ASTV ผู้จัดการรายวัน – ปี 53 "ผู้ประกันตน-อสังหาฯ" เตรียมเฮ คลังเดินหน้าโครงการบ้านเพื่อผู้ประกันตน ดึงเงินกองทุนประกันสังคมวงเงิน 10,000 ล้าน ค้ำประกันแบงก์ออมสิน ธอส. ปล่อยกู้สมาชิกดอกเบี้ยต่ำ 2.5% นาน 5 ปี
แหล่งข่าวจาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ในช่วง2ปีที่ผ่านมา รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการคลอดมาตรการด้านภาษี ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการอสังหาฯขยายการพัฒนาโครงการใหม่ รวมถึงสามารถระบายสินค้าเดิมที่มีอยู่ในมือออกได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น เนื่องจากได้รับส่วนลดด้านภาษีจากภาครัฐด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในประเทศ ยังส่งผลให้ต่อความเชื่อมั่นของประชาชนกลุมกลาง-ล่าง ซึ่งกังวลเกี่ยวความมั่นคงด้านอาชีพ ทำให้กลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างไม่กล้าใช้เงินก้อนใหญ่ในการซื้อที่อยู่อาศัย แม้ว่าทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะยังทรงตัวในระดับต่ำ ซึ่งเอื้อต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยก็ตาม
ดังนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน หรือประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านและที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น รัฐบาลจึงหาแนวทางการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในการซื้อที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิกประกันสังคม โดยล่าสุดกระทรวงการคลัง ได้ร่วมหารือระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การดูแลของการทรวงการคลัง ซึ่งได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.),ธนาคารออมสิน และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ร่วมกันหารือ เพื่อหาแนวทางการจัดหาที่อยู่อาศัยทั้งของภาครัฐและเอกชน และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกันตนกู้ซื้อบ้านในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
โดยในเบื้องต้นของการหารือได้ข้อสรุปว่า จะใช้วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท จากกองทุนประกันสังคม ที่ปัจจุบันมีอยู่หลายแสนล้านบาท มาวางเป็นเงินค้ำประกัน ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับสถาบันกันเงินของรัฐ ซึ่งในเบื้องต้นมี 2 ธนาคาร คือ ธอส. และออมสิน โดยงวดแรกจะเปิดวงเงินฝากแห่งๆละไม่เกิน3,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งธนาคารทั้ง 2 แห่งจะทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิกประกันสังคมในอัตราดอกเบี้ย2.5% คงที่ 5 ปี วงเงินให้กู้ 200,000 -1,500,000 บาทต่อราย
ทั้งนี้ หากมีผู้ประกันต้นมาขอสินเชื่อเกินกว่าวงเงินงวดแรกที่เปิดไว้ธนาคารละ 3,000 ล้านบาทในงวดแรก ทางกองทุนประกันสังคมจะใส่เม็ดเงินในส่วนที่เหลือในบัญชีเงินฝากเพิ่มเข้าไปในงวดที่สองทันที สำหรับโครงการที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวต้องเป็นโครงการใหม่ และก่อสร้างเสร็จสามารถมอบโอนได้ในปี 53
“อัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 5 ปีในโครงการนี้จะช่วยลดภาระสำหรับผู้ประกันต้นที่ซื้อบ้านได้กว่า 30% ในระยะ5ปี ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับความสนใจผู้ประกันต้นที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองจำนวนมาก”
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวจะมีการประชุมหาข้อสรุปในทุกๆ ด้านให้ครอบคลุมรูปแบบการดำเนินการทั้งหมดในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ โดยจะมีตั้งแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น กคช. ธอส. ออมสิน สปส. ตัวแทนกระทรวง พม. และตัวแทนจากกระทรวงการคลัง ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปทั้งหมดร่วมกันแล้วคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาดำเนินการโครงการดังกล่าวโดยมีผู้แทนของหน่วยงานทั้งหมดร่วมลงนามได้ในเดือน ก.พ.53 ซึ่งจะส่งผลให้โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ทันทีในเดือน ก.พ.53เช่นกัน
**กคช.ขนบ้าน 4 หมื่นหน่วยร่วม
ด้านนาย ศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยของภาครัฐ ได้เตรียมบ้านเอื้ออาทร และบ้านเคหะชุมชน ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วทั่วประเทศจำนวนกว่า 40,300 หน่วย แบ่งเป็นบ้านเอื้ออาทร 40,000 หน่วย และบ้านเคหะชุมชน 3,000 หน่วย เข้าร่วมโครงการด้วย
พร้อมกันนี้ กคช. ยังเตรียมโครงการที่สร้างเสร็จแล้วพร้อมโอนจำนวน12,000 หน่วยคิดเป็นมูลค่ากว่า 4,953 ล้านบาทเศษ มาปรับราคาขึ้นลงตามทำเลและความเหมาะสม มาเปิดขายยกอาคารให้แก่หน่วยงานราชการ และเอกชน ตามที่ครม.มีมติอนุมัติไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย
สำหรับแผนการขายยกอาคารดังกล่าวนั้น ในเบื้องต้นครม.มีมิติให้ว่าจ้างบริษัทประเมินราคาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการคลังจำนวน 2 รายเข้ามาทำการประเมินราคา เพื่อปรับราคาขายตามการประเมินก่อนดำเนินการตามขั้นตอน คือหลังการประเมินและปรับราคาขายแล้วให้นำออกเสนอขายแก้ประชาชนก่อน หลังจากนั้นให้เปิดโอกาสให้หน่วยงานราชการเข้ามาซื้อ จึงจะสามารถนำโครงการดังกล่าวขายยกอาคารให้แก่บริษัทเอกชนต่อไป
สำหรับบ้านเอื้อฯ จำนวน 12,000 หน่วย ที่เตรียมไว้นั้น ขณะนี้ ได้ขออนุมัติจากคระกรรมการบริหาร กคช.เพื่อว่าจ้างบริษัทประเมินราคาแล้วคาดว่าในช่วงเดือน ม.ค. 53 จะได้ราคาประเมินใหม่ หลังจากนั้น กคช. จะกำหนดระยะเวลาเพื่อเปิดให้ประชาชนจองซื้ออีกครั้ง หากยังมีหน่วยเหลือขายอีก ก็จะเสนอขายยกอาคารให้หน่วยงานรัฐอีกครั้ง
ซึ่งขณะนี้ กคช.ได้ออกหนังสือเวียนให้แก่หน่วยงานราชการที่ต้องการซื้อบ้านเอื้ออาทรแบบยกอาคารไปแล้ว โดยเบื้องต้นมีหน่วยงานรัฐที่สนใจยื่นเอกสารของซื้อยกอาคารเข้ามาแล้วกว่า 20 หน่วยงาน ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็มีการยื่นความจำนงเข้ามาจำนวนมากเช่นกัน โดยโครงการที่ได้รับความสนใจ อาทิ โครงการที่ใกล้แหล่งงาน และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงใกล้หน่วยงานราชการ
“การหาแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกันตนซื้อที่อยู่อาศัยครั้งนี้จะส่งประโยชน์ให้แก่ บ้านเอื้อฯอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาเมื่อคำนวนรายได้ของผู้ซื้อและความสามารถในการผ่อนชำระจากฐานดอกเบี้ยในปัจจุบันแล้วไม่ผ่าน ทำให้ถูกปฎิเสธสินเชื่อสูงถึง30% หากประชาชนมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ2.5% เชื่อว่าจะส่งผลให้ความสามารถในการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นและสามารถผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นด้วย”
อนึ่ง การจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกันต้นในการซื้อที่อยู่อาศัยครั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลต่อการระบายสต็อกบ้านใหม่พร้อมโอนของผู้ประกอบการได้จำนวนมาก ในขณะที่การจัดทำโครงการนี้ ถือว่าอีกหนึ่งแนวทางการการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ ต่อเนื่องในปีหน้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อแนวโน้มการต่ออายุมาตรการด้านภาษีเดิมที่จะหมดลงในเดือน มี.ค.53 ของรัฐบาลออกไปอีก1ปี เพื่อให้รองรับกับการมอบโอนบ้านในโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้ประกันต้นของรัฐด้วย
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้ประกันตนและภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีโครงการในลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่โครงการนี้มีข้อพิเศษที่ว่า สปส. จะนำเงินมาฝากไว้ที่ธนาคาร ได้รับอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้ในอัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 5 ปี
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของราคาบ้านไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ซึ่งในความเป็นจริงบ้านราคาดังกล่าวมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ราคาเกินกว่า 1.5 ล้านบาท ทำให้มีสินค้าที่จะให้ผู้ประกันตนเลือกซื้อน้อยหรือกลุ่มลูกค้าน้อยลง นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวอาจไม่ทันกับมาตรการลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่จะหมดอายุในวันที่ 28 มีนาคม นี้ และยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะต่ออายุมาตรการดังกล่าวหรือไม่
แหล่งข่าวจาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ในช่วง2ปีที่ผ่านมา รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการคลอดมาตรการด้านภาษี ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการอสังหาฯขยายการพัฒนาโครงการใหม่ รวมถึงสามารถระบายสินค้าเดิมที่มีอยู่ในมือออกได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น เนื่องจากได้รับส่วนลดด้านภาษีจากภาครัฐด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในประเทศ ยังส่งผลให้ต่อความเชื่อมั่นของประชาชนกลุมกลาง-ล่าง ซึ่งกังวลเกี่ยวความมั่นคงด้านอาชีพ ทำให้กลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างไม่กล้าใช้เงินก้อนใหญ่ในการซื้อที่อยู่อาศัย แม้ว่าทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะยังทรงตัวในระดับต่ำ ซึ่งเอื้อต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยก็ตาม
ดังนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน หรือประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านและที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น รัฐบาลจึงหาแนวทางการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในการซื้อที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิกประกันสังคม โดยล่าสุดกระทรวงการคลัง ได้ร่วมหารือระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การดูแลของการทรวงการคลัง ซึ่งได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.),ธนาคารออมสิน และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ร่วมกันหารือ เพื่อหาแนวทางการจัดหาที่อยู่อาศัยทั้งของภาครัฐและเอกชน และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกันตนกู้ซื้อบ้านในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
โดยในเบื้องต้นของการหารือได้ข้อสรุปว่า จะใช้วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท จากกองทุนประกันสังคม ที่ปัจจุบันมีอยู่หลายแสนล้านบาท มาวางเป็นเงินค้ำประกัน ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับสถาบันกันเงินของรัฐ ซึ่งในเบื้องต้นมี 2 ธนาคาร คือ ธอส. และออมสิน โดยงวดแรกจะเปิดวงเงินฝากแห่งๆละไม่เกิน3,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งธนาคารทั้ง 2 แห่งจะทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิกประกันสังคมในอัตราดอกเบี้ย2.5% คงที่ 5 ปี วงเงินให้กู้ 200,000 -1,500,000 บาทต่อราย
ทั้งนี้ หากมีผู้ประกันต้นมาขอสินเชื่อเกินกว่าวงเงินงวดแรกที่เปิดไว้ธนาคารละ 3,000 ล้านบาทในงวดแรก ทางกองทุนประกันสังคมจะใส่เม็ดเงินในส่วนที่เหลือในบัญชีเงินฝากเพิ่มเข้าไปในงวดที่สองทันที สำหรับโครงการที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวต้องเป็นโครงการใหม่ และก่อสร้างเสร็จสามารถมอบโอนได้ในปี 53
“อัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 5 ปีในโครงการนี้จะช่วยลดภาระสำหรับผู้ประกันต้นที่ซื้อบ้านได้กว่า 30% ในระยะ5ปี ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับความสนใจผู้ประกันต้นที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองจำนวนมาก”
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวจะมีการประชุมหาข้อสรุปในทุกๆ ด้านให้ครอบคลุมรูปแบบการดำเนินการทั้งหมดในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ โดยจะมีตั้งแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น กคช. ธอส. ออมสิน สปส. ตัวแทนกระทรวง พม. และตัวแทนจากกระทรวงการคลัง ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปทั้งหมดร่วมกันแล้วคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาดำเนินการโครงการดังกล่าวโดยมีผู้แทนของหน่วยงานทั้งหมดร่วมลงนามได้ในเดือน ก.พ.53 ซึ่งจะส่งผลให้โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ทันทีในเดือน ก.พ.53เช่นกัน
**กคช.ขนบ้าน 4 หมื่นหน่วยร่วม
ด้านนาย ศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยของภาครัฐ ได้เตรียมบ้านเอื้ออาทร และบ้านเคหะชุมชน ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วทั่วประเทศจำนวนกว่า 40,300 หน่วย แบ่งเป็นบ้านเอื้ออาทร 40,000 หน่วย และบ้านเคหะชุมชน 3,000 หน่วย เข้าร่วมโครงการด้วย
พร้อมกันนี้ กคช. ยังเตรียมโครงการที่สร้างเสร็จแล้วพร้อมโอนจำนวน12,000 หน่วยคิดเป็นมูลค่ากว่า 4,953 ล้านบาทเศษ มาปรับราคาขึ้นลงตามทำเลและความเหมาะสม มาเปิดขายยกอาคารให้แก่หน่วยงานราชการ และเอกชน ตามที่ครม.มีมติอนุมัติไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย
สำหรับแผนการขายยกอาคารดังกล่าวนั้น ในเบื้องต้นครม.มีมิติให้ว่าจ้างบริษัทประเมินราคาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการคลังจำนวน 2 รายเข้ามาทำการประเมินราคา เพื่อปรับราคาขายตามการประเมินก่อนดำเนินการตามขั้นตอน คือหลังการประเมินและปรับราคาขายแล้วให้นำออกเสนอขายแก้ประชาชนก่อน หลังจากนั้นให้เปิดโอกาสให้หน่วยงานราชการเข้ามาซื้อ จึงจะสามารถนำโครงการดังกล่าวขายยกอาคารให้แก่บริษัทเอกชนต่อไป
สำหรับบ้านเอื้อฯ จำนวน 12,000 หน่วย ที่เตรียมไว้นั้น ขณะนี้ ได้ขออนุมัติจากคระกรรมการบริหาร กคช.เพื่อว่าจ้างบริษัทประเมินราคาแล้วคาดว่าในช่วงเดือน ม.ค. 53 จะได้ราคาประเมินใหม่ หลังจากนั้น กคช. จะกำหนดระยะเวลาเพื่อเปิดให้ประชาชนจองซื้ออีกครั้ง หากยังมีหน่วยเหลือขายอีก ก็จะเสนอขายยกอาคารให้หน่วยงานรัฐอีกครั้ง
ซึ่งขณะนี้ กคช.ได้ออกหนังสือเวียนให้แก่หน่วยงานราชการที่ต้องการซื้อบ้านเอื้ออาทรแบบยกอาคารไปแล้ว โดยเบื้องต้นมีหน่วยงานรัฐที่สนใจยื่นเอกสารของซื้อยกอาคารเข้ามาแล้วกว่า 20 หน่วยงาน ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็มีการยื่นความจำนงเข้ามาจำนวนมากเช่นกัน โดยโครงการที่ได้รับความสนใจ อาทิ โครงการที่ใกล้แหล่งงาน และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงใกล้หน่วยงานราชการ
“การหาแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกันตนซื้อที่อยู่อาศัยครั้งนี้จะส่งประโยชน์ให้แก่ บ้านเอื้อฯอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาเมื่อคำนวนรายได้ของผู้ซื้อและความสามารถในการผ่อนชำระจากฐานดอกเบี้ยในปัจจุบันแล้วไม่ผ่าน ทำให้ถูกปฎิเสธสินเชื่อสูงถึง30% หากประชาชนมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ2.5% เชื่อว่าจะส่งผลให้ความสามารถในการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นและสามารถผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นด้วย”
อนึ่ง การจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกันต้นในการซื้อที่อยู่อาศัยครั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลต่อการระบายสต็อกบ้านใหม่พร้อมโอนของผู้ประกอบการได้จำนวนมาก ในขณะที่การจัดทำโครงการนี้ ถือว่าอีกหนึ่งแนวทางการการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ ต่อเนื่องในปีหน้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อแนวโน้มการต่ออายุมาตรการด้านภาษีเดิมที่จะหมดลงในเดือน มี.ค.53 ของรัฐบาลออกไปอีก1ปี เพื่อให้รองรับกับการมอบโอนบ้านในโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้ประกันต้นของรัฐด้วย
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้ประกันตนและภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีโครงการในลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่โครงการนี้มีข้อพิเศษที่ว่า สปส. จะนำเงินมาฝากไว้ที่ธนาคาร ได้รับอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้ในอัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 5 ปี
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของราคาบ้านไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ซึ่งในความเป็นจริงบ้านราคาดังกล่าวมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ราคาเกินกว่า 1.5 ล้านบาท ทำให้มีสินค้าที่จะให้ผู้ประกันตนเลือกซื้อน้อยหรือกลุ่มลูกค้าน้อยลง นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวอาจไม่ทันกับมาตรการลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่จะหมดอายุในวันที่ 28 มีนาคม นี้ และยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะต่ออายุมาตรการดังกล่าวหรือไม่