คลังเขี้ยวบี้เงินเดือนผู้ว่าททท.ให้แค่ 2.5 แสนบาท อ้างเป็นรัฐวิสาหกิจเกรดบี คนวงในชี้ ภารกิจมากกว่า สสปน.แต่กลับได้ค่าจ้างน้อยกว่า ขณะที่เจ้าตัว “สุรพล” ยอมรับค่าตอบแทนดังกล่าว ระบุต้องการทำงานเพื่อประเทศ ด้าน”เพ็ญสุดา”รักษาการผู้ว่าการ ททท.ยันให้เกียรติผู้ว่าททท.คนใหม่เลืองรองผู้ว่าการฯ เอง จับตาอาวุโสระดับ 9 มีลุ้นหลายราย
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯได้เสนอค่าตอบแทนให้แก่นายสุรพล เศวตเศรณี ในตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ในวงเงินเดือนละ 250,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT 7%) ซึ่งนายสุรพล ก็ไม่ได้เรียกร้องเพิ่มเติม
ดังนั้นขั้นตอนต่อไป จะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)ททท. ซึ่งกำหนดจะประชุมนัดพิเศษในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยมีวาระเรื่องการพิจารณาค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. หากผ่านความเห็นชอบของบอร์ด ททท. ก็จะนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กระทรวงการคลัง เป็นลำดับถัดไป
“หากบอร์ด ททท.เห็นชอบก็จะทำหนังสือสัญญาว่าจ้าง ส่งผลให้กระทรวงการคลังพิจารณา จากนั้นจึงจะนำกลับเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ททท.พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะกระบวนการทุกอย่างจะเสร็จไม่เกินวันที่ 20 ธ.ค.นี้จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทำหนังสือสัญญาว่าจ้าง ส่งผลให้กระทรวงการคลังพิจารณาอีกรอบ ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ด ททท. และส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง เป็นอันเสร็จ คาดว่าผู้ว่าการ ททท.คนใหม่จะเริ่มงานได้อย่างเร็วสุดคือเดือน มกราคม 2553”
**อ้างจำเป็นให้เงินเดือนได้แค่ 2.5 แสนบาท
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่า ก่อนที่จะมีการกำหนดอัตราค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ได้หารือกับฝ่ายงบประมาณของ ททท. ซึ่งฝ่ายงบฯได้เสนอว่าค่าตอบแทนที่เหมาะสมควรเป็น เดือนละ 300,000 – 350,000 บาท เนื่องจากตำแหน่งผู้ว่าการททท.มีหน้าที่รับผิดชอบงานมากมาย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ สสปน. ซึ่งความรับผิดชอบงานน้อยกว่า แต่ที่ผ่านๆมา ผู้บริหารของ สสปน. กลับได้ค่าตอบแทนมากกว่าผู้บริหารของ ททท.
“เราเสนอขอ สคร.ไปตามที่ฝ่ายงบประมาณของ ททท.เห็นสมควร แต่ กลับถูกปฎิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ตอนนี้ประเทศยังมีสภาพเศรษฐกิจไม่ดีนัก รัฐบาลต้องใช้งบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลายอย่าง ประกอบกับ ททท.ถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเกรด บี ซึ่งค่าตอบแทนไม่ควรเกิน 4 แสนบาท จึงขอให้ค่าตอบแทนเบื้องต้นต่อนายสุรพล 2.5 แสนบาท ซึ่งก็สูงกว่าผู้ว่าการททท.คนก่อนที่เริ่มต้นที่ 2 แสนบาท โดยนายสุรพล ก็ยอมรับค่าตอบแทนโดยไม่ต่อรอง เพราะต้องการทำงานเพื่อประเทศ”
นอกจากนั้น ยังขอให้ยืนหลักเกณฑ์เดิมในเรื่องของการปรับขึ้นค่าตอบแทนโดยให้ได้ไม่เกิน 10% ของเงินเดือน และค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส) อีก 30% ของเงินเดือน จากเดิมที่มีการปรับเปลี่ยนสมัยปลายผู้ว่าการททท.คนก่อน คือยกเลิก การปรับขึ้นค่าตอบแทนเงินเดือน แต่จะพิจารณาจากผลงาน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลมีความจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่าย
ส่วนการประเมินผลการทำงานซึ่งจะประเมินทุก 6 เดือน ให้นับจากปีงบประมาณ คือเริ่มต้นที่ 1 ก.ย.ของทุกปี จากเดิมจะใช้ปีปฎิทินคือ 1 ม.ค.ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการปฎิบัติ
**จับตาระดับ 9 ชิงเก้าอี้รองผู้ว่าการ ททท.
ส่วนกรณีการแต่งตั้งตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท. น.ส.เพ็ญสุดา ไพรอร่าม รักษาการผู้ว่าการททท. ยืนยันว่าจะไม่ขอเสนอชื่อบุคคลใดเข้ารับตำแหน่งรองผู้ว่าการททท.ที่ว่างอยู่ทั้งหมดขณะนี้รวม 4 ตำแหน่ง แบ่งเป็นของเดิม 3 ตำแหน่ง คือ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน รองผู้ว่าการด้านบริหาร และ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาดซึ่งตำแหน่งนี้จะว่างลงเมื่อนายสุรพล เศวตเศรณี ขึ้นรับตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ส่วนอีก 1 ตำแหน่งใหม่ คือ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติตามที่ ททท.ได้เสนอขอเพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง
“เราจะให้เกียรติผู้ว่าการททท.คนใหม่เข้ามาเลือกทีมผู้บริหารของตัวเอง เพราะจะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งโดยมารยาทการนั่งตำแหน่งรักษาการผู้ว่า ททท.ก็ไม่ควรโยกย้ายหรือแต่งตั้งใครโดยไม่จำเป็น”
ทั้งนี้แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะขึ้นเป็นตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท. จะคัดเลือกจากพนักงาน ททท.ระดับ 9 รวมถึงที่ปรึกษาระดับ 10 ก็สามารถรับตำแหน่งรองผู้ว่าการททท.ได้เช่นกัน โดยเกณฑ์พิจารณาจะเลือกจากความสามารถและความอาวุโส โดยเลือกที่เหมาะสมกับเนื้องานมากที่สุด ซึ่งได้แก่ นายอุดม เมธาธำรงสิริ ที่ปรึกษาระดับ 10 นายสรรเสริญ เงารังสี ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออก นายสุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมกิจกรรม , นายชัยสงค์ ชูฤทธิ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง นายสาธิต นิลวงศ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ และนายประกิตติ์ พิริยะเกียรติ ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ เป็นต้น
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯได้เสนอค่าตอบแทนให้แก่นายสุรพล เศวตเศรณี ในตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ในวงเงินเดือนละ 250,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT 7%) ซึ่งนายสุรพล ก็ไม่ได้เรียกร้องเพิ่มเติม
ดังนั้นขั้นตอนต่อไป จะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)ททท. ซึ่งกำหนดจะประชุมนัดพิเศษในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยมีวาระเรื่องการพิจารณาค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. หากผ่านความเห็นชอบของบอร์ด ททท. ก็จะนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กระทรวงการคลัง เป็นลำดับถัดไป
“หากบอร์ด ททท.เห็นชอบก็จะทำหนังสือสัญญาว่าจ้าง ส่งผลให้กระทรวงการคลังพิจารณา จากนั้นจึงจะนำกลับเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ททท.พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะกระบวนการทุกอย่างจะเสร็จไม่เกินวันที่ 20 ธ.ค.นี้จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทำหนังสือสัญญาว่าจ้าง ส่งผลให้กระทรวงการคลังพิจารณาอีกรอบ ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ด ททท. และส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง เป็นอันเสร็จ คาดว่าผู้ว่าการ ททท.คนใหม่จะเริ่มงานได้อย่างเร็วสุดคือเดือน มกราคม 2553”
**อ้างจำเป็นให้เงินเดือนได้แค่ 2.5 แสนบาท
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่า ก่อนที่จะมีการกำหนดอัตราค่าตอบแทนตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ได้หารือกับฝ่ายงบประมาณของ ททท. ซึ่งฝ่ายงบฯได้เสนอว่าค่าตอบแทนที่เหมาะสมควรเป็น เดือนละ 300,000 – 350,000 บาท เนื่องจากตำแหน่งผู้ว่าการททท.มีหน้าที่รับผิดชอบงานมากมาย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ สสปน. ซึ่งความรับผิดชอบงานน้อยกว่า แต่ที่ผ่านๆมา ผู้บริหารของ สสปน. กลับได้ค่าตอบแทนมากกว่าผู้บริหารของ ททท.
“เราเสนอขอ สคร.ไปตามที่ฝ่ายงบประมาณของ ททท.เห็นสมควร แต่ กลับถูกปฎิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ตอนนี้ประเทศยังมีสภาพเศรษฐกิจไม่ดีนัก รัฐบาลต้องใช้งบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลายอย่าง ประกอบกับ ททท.ถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเกรด บี ซึ่งค่าตอบแทนไม่ควรเกิน 4 แสนบาท จึงขอให้ค่าตอบแทนเบื้องต้นต่อนายสุรพล 2.5 แสนบาท ซึ่งก็สูงกว่าผู้ว่าการททท.คนก่อนที่เริ่มต้นที่ 2 แสนบาท โดยนายสุรพล ก็ยอมรับค่าตอบแทนโดยไม่ต่อรอง เพราะต้องการทำงานเพื่อประเทศ”
นอกจากนั้น ยังขอให้ยืนหลักเกณฑ์เดิมในเรื่องของการปรับขึ้นค่าตอบแทนโดยให้ได้ไม่เกิน 10% ของเงินเดือน และค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส) อีก 30% ของเงินเดือน จากเดิมที่มีการปรับเปลี่ยนสมัยปลายผู้ว่าการททท.คนก่อน คือยกเลิก การปรับขึ้นค่าตอบแทนเงินเดือน แต่จะพิจารณาจากผลงาน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลมีความจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่าย
ส่วนการประเมินผลการทำงานซึ่งจะประเมินทุก 6 เดือน ให้นับจากปีงบประมาณ คือเริ่มต้นที่ 1 ก.ย.ของทุกปี จากเดิมจะใช้ปีปฎิทินคือ 1 ม.ค.ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการปฎิบัติ
**จับตาระดับ 9 ชิงเก้าอี้รองผู้ว่าการ ททท.
ส่วนกรณีการแต่งตั้งตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท. น.ส.เพ็ญสุดา ไพรอร่าม รักษาการผู้ว่าการททท. ยืนยันว่าจะไม่ขอเสนอชื่อบุคคลใดเข้ารับตำแหน่งรองผู้ว่าการททท.ที่ว่างอยู่ทั้งหมดขณะนี้รวม 4 ตำแหน่ง แบ่งเป็นของเดิม 3 ตำแหน่ง คือ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน รองผู้ว่าการด้านบริหาร และ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาดซึ่งตำแหน่งนี้จะว่างลงเมื่อนายสุรพล เศวตเศรณี ขึ้นรับตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ส่วนอีก 1 ตำแหน่งใหม่ คือ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติตามที่ ททท.ได้เสนอขอเพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง
“เราจะให้เกียรติผู้ว่าการททท.คนใหม่เข้ามาเลือกทีมผู้บริหารของตัวเอง เพราะจะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งโดยมารยาทการนั่งตำแหน่งรักษาการผู้ว่า ททท.ก็ไม่ควรโยกย้ายหรือแต่งตั้งใครโดยไม่จำเป็น”
ทั้งนี้แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะขึ้นเป็นตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท. จะคัดเลือกจากพนักงาน ททท.ระดับ 9 รวมถึงที่ปรึกษาระดับ 10 ก็สามารถรับตำแหน่งรองผู้ว่าการททท.ได้เช่นกัน โดยเกณฑ์พิจารณาจะเลือกจากความสามารถและความอาวุโส โดยเลือกที่เหมาะสมกับเนื้องานมากที่สุด ซึ่งได้แก่ นายอุดม เมธาธำรงสิริ ที่ปรึกษาระดับ 10 นายสรรเสริญ เงารังสี ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออก นายสุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมกิจกรรม , นายชัยสงค์ ชูฤทธิ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง นายสาธิต นิลวงศ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ และนายประกิตติ์ พิริยะเกียรติ ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ เป็นต้น