รายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า นายชุมพล กาญจนะ ส.ส.สุราษฏร์ธานี ในฐานะประธาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เชิญรัฐมนตรีของพรรคทุกกระทรวง พร้อมด้วย เลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี และ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี มาร่วมประชุมในวันนี้(22 ธ.ค.) หลังการประชุมครมง เพื่อวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์การทำงานครบรอบ 1 ปีของรัฐบาล โดยจะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ติติง รวมถึงปรับทิศทางการทำงานของรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง เพื่อเป็นกรอบแนวทางการทำงานในปี 2553 พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ เตรียมรับมือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่พรรคเพือไทยเตรียมยื่นญัตติ หลังจากเปิดสมัยประชุมกลางเดือนมกราคม 2553
นอกจากนี้จะมีการเตรียมรับมือเกมการเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ที่จะเร่งเดินกดดันรัฐบาล ทั้งในสภา นอกสภาและจากนอกประเทศ ควบคู่ไปด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการเปิดใจถึงปัญหา อุปสรรคการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการปรับคณะรัฐมนตรี หลังจากเปิดโอกาสให้ทำงานครบ 1 ปี เพื่อฟังเสียงสะท้อนว่า รัฐมนตรีกระทรวงใดบ้างมีผลงาน และไม่มีผลงาน เพื่อจะได้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และจะใช้โอกาสนี้ฟังเสียงของคนที่ทำงานร่วมกันในแต่ละกระทรวง เพื่อชี้แจงเหตุผลของการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีในอนาคตด้วย ซึ่งรัฐมนตรีทุกกระทรวง ตอบรับที่จะร่วมประชุม
อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งนี้ จะเป็นคนละส่วนกับการประชุม ส.ส.พรรค เพื่อเป็นการประเมินภายใน ก่อนที่จะนำข้อสรุปเข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารพรรค พิจารณาตัดสินใจต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมในปลายสัปดาห์นี้
มีรายงานข่าวจากแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเปิดเผยว่า นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาพำนักที่กัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ร่วมกันประเมินสถานการณ์ที่บ้านพักของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ โดยมีแกนนำทุกพรรคเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง โดยได้มีการประเมินสถานการณ์ว่า การเดินเกมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการทำทุกวิถีทางเพื่อกดดันให้ยุบสภาโดยเร็วที่สุด เพราะมั่นใจว่า พรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ซึ่งแกนนำรัฐบาลเห็นว่า หากมีการยุบสภาในช่วงนี้ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีความเป็นไปได้สูงที่จะพ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทย
ดังนั้นทุกพรรคเห็นว่า ควรที่จะสนับสนุน และจับมือกันไว้ ที่สำคัญผู้หลักผู้ใหญ่ที่หนุนรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับแนวทางยุบสภา และเห็นว่า รัฐบาลจะต้องเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีการใช้ยุทธศาสตร์ ดึงพรรคร่วมรัฐบาลออกจากแนวร่วมพรรคประชาธิปัตย์ โดยพยายามเข้าหาพรรคเล็กๆ ก่อน อาทิ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ผ่านนายสุวัจน์ ซึ่งเป็นแกนนำพรรค พรรคเพื่อแผ่นดินผ่านว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี และพรรคชาติไทยพัฒนา และหากทำได้สำเร็จ เป้าหมายต่อไปคือ การแยกพรรคภูมิใจไทย ของนายเนวิน ชิดชอบ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ และต้องยุบสภาในที่สุด
นอกจากนี้จะมีการเตรียมรับมือเกมการเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ที่จะเร่งเดินกดดันรัฐบาล ทั้งในสภา นอกสภาและจากนอกประเทศ ควบคู่ไปด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการเปิดใจถึงปัญหา อุปสรรคการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการปรับคณะรัฐมนตรี หลังจากเปิดโอกาสให้ทำงานครบ 1 ปี เพื่อฟังเสียงสะท้อนว่า รัฐมนตรีกระทรวงใดบ้างมีผลงาน และไม่มีผลงาน เพื่อจะได้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และจะใช้โอกาสนี้ฟังเสียงของคนที่ทำงานร่วมกันในแต่ละกระทรวง เพื่อชี้แจงเหตุผลของการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีในอนาคตด้วย ซึ่งรัฐมนตรีทุกกระทรวง ตอบรับที่จะร่วมประชุม
อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งนี้ จะเป็นคนละส่วนกับการประชุม ส.ส.พรรค เพื่อเป็นการประเมินภายใน ก่อนที่จะนำข้อสรุปเข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารพรรค พิจารณาตัดสินใจต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมในปลายสัปดาห์นี้
มีรายงานข่าวจากแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเปิดเผยว่า นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาพำนักที่กัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ร่วมกันประเมินสถานการณ์ที่บ้านพักของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ โดยมีแกนนำทุกพรรคเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง โดยได้มีการประเมินสถานการณ์ว่า การเดินเกมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการทำทุกวิถีทางเพื่อกดดันให้ยุบสภาโดยเร็วที่สุด เพราะมั่นใจว่า พรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ซึ่งแกนนำรัฐบาลเห็นว่า หากมีการยุบสภาในช่วงนี้ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีความเป็นไปได้สูงที่จะพ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทย
ดังนั้นทุกพรรคเห็นว่า ควรที่จะสนับสนุน และจับมือกันไว้ ที่สำคัญผู้หลักผู้ใหญ่ที่หนุนรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับแนวทางยุบสภา และเห็นว่า รัฐบาลจะต้องเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีการใช้ยุทธศาสตร์ ดึงพรรคร่วมรัฐบาลออกจากแนวร่วมพรรคประชาธิปัตย์ โดยพยายามเข้าหาพรรคเล็กๆ ก่อน อาทิ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ผ่านนายสุวัจน์ ซึ่งเป็นแกนนำพรรค พรรคเพื่อแผ่นดินผ่านว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี และพรรคชาติไทยพัฒนา และหากทำได้สำเร็จ เป้าหมายต่อไปคือ การแยกพรรคภูมิใจไทย ของนายเนวิน ชิดชอบ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ และต้องยุบสภาในที่สุด