ในโลกของปุถุชนคนมีกิเลส ไม่มีอะไรจะดึงดูดความสนใจได้ดีไปกว่าวัตถุกาม หรือสิ่งล่อที่ก่อให้เกิดความต้องการภายใต้การบงการของกิเลสกาม หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การใช้สิ่งใดก็ได้ที่จะยั่วยุให้เกิดการตอบสนองในทางกาม คือความต้องการจะมีความต้องการจะเป็น ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ก็จะใช้สิ่งนั้นเป็นสื่อเพื่อดึงดูดความสนใจเพื่อให้ตนเองบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ส่วนว่าการใช้สื่อล่อจะได้ผลมากน้อยเพียงใด และอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ศีลธรรม จริยธรรม รวมไปถึงกฎหมายอันเป็นกติกาควบคุมพฤติกรรมผู้คนในสังคมที่ผู้ต้องการกระทำสังกัดอยู่เปิดช่องให้กระทำได้มากน้อยแค่ไหน และด้วยวิธีใดบ้าง
2. สามัญสำนึกในความเป็นมนุษย์ คือผู้มีจิตใจสูงเมื่อเทียบกับสัตว์เดรัจฉานมีอยู่ในตัวผู้ต้องการจะกระทำมากน้อยแค่ไหน
3. ผู้คนในสังคมที่ผู้ต้องการกระทำคอยเป็นหูเป็นตาในการรักษากติกาทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จริยธรรมและกฎหมายมีความเข้มแข็ง และเอาจริงเอาจังมากน้อยแค่ไหน
ถ้าปัจจัย 3 ประการดังกล่าวข้างต้นมีอยู่อย่างครบถ้วนและมากพอก็จะทำให้ผู้ที่ต้องการใช้วัตถุกามเป็นสื่อล่อกิเลสกามให้ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมคงเกิดได้ยาก และถ้าบังเอิญหลุดรอดเกิดขึ้นก็ได้ไม่นาน เนื่องจากมีกระแสต้านจนทำให้ต้องล้มหายตายจากสังคมไปในที่สุด
เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว สังคมไทยได้มีโอกาสเห็นพฤติกรรมการใช้วัตถุกามเป็นสื่อล่อกิเลสกามอย่างโจ่งแจ้งชัดเจน ไม่มีการซ่อนเร้น พฤติกรรมที่ว่านี้ก็คือการจัดทำปฏิทินโดยใช้รูปสตรีเพศที่มีชื่อเสียงในวงการมายามาเปลื้องผ้าล่อนจ้อน และทาสีในรูปลักษณ์ที่รู้จักกันในรูปศิลปะที่เรียกว่า บอดี้เพนต์ คือการนำสีมาระบายที่ร่างกายของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่ปกปิดด้วยเสื้อผ้าในยามปกติ
การแสดงพฤติกรรมการใช้วัตถุกามเป็นสื่อล่อในครั้งนี้ได้ใช้นางแบบถึง 6 คน และแต่ละคนล้วนเป็นที่รู้จักกันในวงการมายา จึงทำให้เป็นที่โจษจันกันว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมในแง่ของศีลธรรมและจริยธรรม
แต่ที่เป็นข่าวโด่งดังและแพร่หลายมิได้เกิดจากการมองในแง่ของศีลธรรมและจริยธรรม ตรงกันข้ามกลับเกิดจากการมองในแง่ของการกระทำที่ผิดกฎหมายที่ว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ทั้งนี้เนื่องจากว่าได้มีชื่อของเบียร์ยี่ห้อหนึ่งปรากฏอยู่บนเรือนร่างของนางแบบอย่างเปิดเผย จึงเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งผู้ผลิตและผู้เผยแพร่ จะเห็นได้จากการที่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษากฎหมายนี้ได้ออกมาขู่จะดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดในกรณีดังกล่าว
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่ทางด้านผู้รักษากฎหมายได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบในการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าผู้ที่มีหน้าที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและจริยธรรมได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด
ปฏิทินที่ว่านี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในแง่ของศีลธรรมและจริยธรรมด้วยเหตุใด และทำไมจึงปล่อยให้มีการกระทำในทำนองนี้เกือบทุกปี โดยไม่มีท่าทีว่าจะเลิกลาและหมดไป
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าจะมองให้เห็นถึงประเด็นแห่งปัญหาก็จะต้องมองย้อนไปถึงเจตนาของการจัดทำ ก็จะพบว่ามีความสอดคล้องกันระหว่างตัวสินค้ากับรูปแบบของการนำเสนอสื่อโฆษณาอยู่สองประการ คือ
ตัวสินค้าที่ต้องการโฆษณาเป็นเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ที่ทำให้ผู้ดื่มมึนเมา และถ้าดื่มเกินขนาดก็จะขาดสติสัมปชัญญะถึงขั้นกระทำความผิด ทั้งในแง่ของกฎหมาย และศีลธรรมนานัปการดังที่ปรากฏตามนัยแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 22 หน้า 235 หมวดปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินข้อที่ว่า บุรุษผู้เว้นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัยแล้ว ถูกพระราชาจับ ฆ่า หรือจองจำ เนรเทศ หรือลงโทษอย่างอื่นตามควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่มีเจตนาเว้นจากที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย
โดยที่แท้กรรมชั่วของบุรุษนั้นต่างหากที่ประกาศว่า บุรุษนี้ประกอบเนืองๆ ซึ่งที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย จึงฆ่าหญิงบ้าง ชายบ้าง จึงถือเอาสิ่งที่เขาไม่ให้จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ด้วยอาการแห่งขโมย จึงก้าวล่วงในภรรยาของผู้อื่น ในบุตรีของผู้อื่น จึงหักรานประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง บุตรของคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดปด เขาย่อมถูกพระราชาจับ ฆ่า หรือจองจำเนรเทศ หรือลงโทษอย่างอื่นตามสมควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย ท่านทั้งหลายเคยได้เห็นได้ฟังอย่างนี้บ้างหรือเปล่า” ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นได้ฟัง และจักได้ฟังพระเจ้าข้า
จากคำสอนของพระพุทธเจ้าดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำผิดศีลข้อที่ 5 คือดื่มสุราและเมรัยจนทำให้ขาดสติหรือเกิดความประมาทแล้ว จะเปิดช่องให้กระทำผิดศีล 4 ข้อที่เหลือได้ และเป็นการก่อเหตุให้ถูกลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองตามมา
ดังนั้น การที่มีการผลิตสื่อโฆษณาเครื่องดื่มน้ำเมา ประเภทเบียร์ก็จัดอยู่ในประเภทของเมรัยคือ ของหมักดอง และทำให้ผู้ดื่มมึนเมาจนเกิดอาการขาดสติ หรือที่เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทได้ แต่ที่ยิ่งกว่านี้ การนำเอาภาพโป๊เปลือยมาเป็นสื่อด้วยแล้ว พูดได้ว่าเป็นการมอมเมาทั้งด้วยกามและน้ำเมาไปพร้อมๆ กัน จึงเท่ากับเปิดช่องให้คนเมาเครื่องดื่มหลงลืมและล่วงเลยไปถึงขั้นกระทำผิดศีลข้อกาเมได้ง่ายด้วย
ส่วนในประเด็นของการกระทำผิดกฎหมายโฆษณาเครื่องดื่มประเภทผสมแอลกอฮอล์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตีความทางด้านกฎหมาย และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ อัยการ และศาลต่อไป
แต่ไม่เห็นด้วยกับคำตอบโต้ที่ว่าให้ไปดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีอาบอบนวด และโสเภณีก่อน แต่เห็นด้วยถ้าจะมีการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายทุกคนโดยไม่มีการละเว้น ไม่มีคำว่าก่อนหลัง
1. ศีลธรรม จริยธรรม รวมไปถึงกฎหมายอันเป็นกติกาควบคุมพฤติกรรมผู้คนในสังคมที่ผู้ต้องการกระทำสังกัดอยู่เปิดช่องให้กระทำได้มากน้อยแค่ไหน และด้วยวิธีใดบ้าง
2. สามัญสำนึกในความเป็นมนุษย์ คือผู้มีจิตใจสูงเมื่อเทียบกับสัตว์เดรัจฉานมีอยู่ในตัวผู้ต้องการจะกระทำมากน้อยแค่ไหน
3. ผู้คนในสังคมที่ผู้ต้องการกระทำคอยเป็นหูเป็นตาในการรักษากติกาทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จริยธรรมและกฎหมายมีความเข้มแข็ง และเอาจริงเอาจังมากน้อยแค่ไหน
ถ้าปัจจัย 3 ประการดังกล่าวข้างต้นมีอยู่อย่างครบถ้วนและมากพอก็จะทำให้ผู้ที่ต้องการใช้วัตถุกามเป็นสื่อล่อกิเลสกามให้ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมคงเกิดได้ยาก และถ้าบังเอิญหลุดรอดเกิดขึ้นก็ได้ไม่นาน เนื่องจากมีกระแสต้านจนทำให้ต้องล้มหายตายจากสังคมไปในที่สุด
เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว สังคมไทยได้มีโอกาสเห็นพฤติกรรมการใช้วัตถุกามเป็นสื่อล่อกิเลสกามอย่างโจ่งแจ้งชัดเจน ไม่มีการซ่อนเร้น พฤติกรรมที่ว่านี้ก็คือการจัดทำปฏิทินโดยใช้รูปสตรีเพศที่มีชื่อเสียงในวงการมายามาเปลื้องผ้าล่อนจ้อน และทาสีในรูปลักษณ์ที่รู้จักกันในรูปศิลปะที่เรียกว่า บอดี้เพนต์ คือการนำสีมาระบายที่ร่างกายของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่ปกปิดด้วยเสื้อผ้าในยามปกติ
การแสดงพฤติกรรมการใช้วัตถุกามเป็นสื่อล่อในครั้งนี้ได้ใช้นางแบบถึง 6 คน และแต่ละคนล้วนเป็นที่รู้จักกันในวงการมายา จึงทำให้เป็นที่โจษจันกันว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมในแง่ของศีลธรรมและจริยธรรม
แต่ที่เป็นข่าวโด่งดังและแพร่หลายมิได้เกิดจากการมองในแง่ของศีลธรรมและจริยธรรม ตรงกันข้ามกลับเกิดจากการมองในแง่ของการกระทำที่ผิดกฎหมายที่ว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ทั้งนี้เนื่องจากว่าได้มีชื่อของเบียร์ยี่ห้อหนึ่งปรากฏอยู่บนเรือนร่างของนางแบบอย่างเปิดเผย จึงเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งผู้ผลิตและผู้เผยแพร่ จะเห็นได้จากการที่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษากฎหมายนี้ได้ออกมาขู่จะดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดในกรณีดังกล่าว
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่ทางด้านผู้รักษากฎหมายได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบในการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าผู้ที่มีหน้าที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและจริยธรรมได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด
ปฏิทินที่ว่านี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในแง่ของศีลธรรมและจริยธรรมด้วยเหตุใด และทำไมจึงปล่อยให้มีการกระทำในทำนองนี้เกือบทุกปี โดยไม่มีท่าทีว่าจะเลิกลาและหมดไป
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าจะมองให้เห็นถึงประเด็นแห่งปัญหาก็จะต้องมองย้อนไปถึงเจตนาของการจัดทำ ก็จะพบว่ามีความสอดคล้องกันระหว่างตัวสินค้ากับรูปแบบของการนำเสนอสื่อโฆษณาอยู่สองประการ คือ
ตัวสินค้าที่ต้องการโฆษณาเป็นเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ที่ทำให้ผู้ดื่มมึนเมา และถ้าดื่มเกินขนาดก็จะขาดสติสัมปชัญญะถึงขั้นกระทำความผิด ทั้งในแง่ของกฎหมาย และศีลธรรมนานัปการดังที่ปรากฏตามนัยแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 22 หน้า 235 หมวดปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินข้อที่ว่า บุรุษผู้เว้นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัยแล้ว ถูกพระราชาจับ ฆ่า หรือจองจำ เนรเทศ หรือลงโทษอย่างอื่นตามควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่มีเจตนาเว้นจากที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย
โดยที่แท้กรรมชั่วของบุรุษนั้นต่างหากที่ประกาศว่า บุรุษนี้ประกอบเนืองๆ ซึ่งที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย จึงฆ่าหญิงบ้าง ชายบ้าง จึงถือเอาสิ่งที่เขาไม่ให้จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ด้วยอาการแห่งขโมย จึงก้าวล่วงในภรรยาของผู้อื่น ในบุตรีของผู้อื่น จึงหักรานประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง บุตรของคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดปด เขาย่อมถูกพระราชาจับ ฆ่า หรือจองจำเนรเทศ หรือลงโทษอย่างอื่นตามสมควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่ตั้งแห่งความประมาทคือ (การดื่ม) น้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย ท่านทั้งหลายเคยได้เห็นได้ฟังอย่างนี้บ้างหรือเปล่า” ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นได้ฟัง และจักได้ฟังพระเจ้าข้า
จากคำสอนของพระพุทธเจ้าดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำผิดศีลข้อที่ 5 คือดื่มสุราและเมรัยจนทำให้ขาดสติหรือเกิดความประมาทแล้ว จะเปิดช่องให้กระทำผิดศีล 4 ข้อที่เหลือได้ และเป็นการก่อเหตุให้ถูกลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองตามมา
ดังนั้น การที่มีการผลิตสื่อโฆษณาเครื่องดื่มน้ำเมา ประเภทเบียร์ก็จัดอยู่ในประเภทของเมรัยคือ ของหมักดอง และทำให้ผู้ดื่มมึนเมาจนเกิดอาการขาดสติ หรือที่เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทได้ แต่ที่ยิ่งกว่านี้ การนำเอาภาพโป๊เปลือยมาเป็นสื่อด้วยแล้ว พูดได้ว่าเป็นการมอมเมาทั้งด้วยกามและน้ำเมาไปพร้อมๆ กัน จึงเท่ากับเปิดช่องให้คนเมาเครื่องดื่มหลงลืมและล่วงเลยไปถึงขั้นกระทำผิดศีลข้อกาเมได้ง่ายด้วย
ส่วนในประเด็นของการกระทำผิดกฎหมายโฆษณาเครื่องดื่มประเภทผสมแอลกอฮอล์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตีความทางด้านกฎหมาย และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ อัยการ และศาลต่อไป
แต่ไม่เห็นด้วยกับคำตอบโต้ที่ว่าให้ไปดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีอาบอบนวด และโสเภณีก่อน แต่เห็นด้วยถ้าจะมีการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายทุกคนโดยไม่มีการละเว้น ไม่มีคำว่าก่อนหลัง