ASTVผู้จัดการรายวัน-“พรทิวา”นำประธานกลุ่มสินค้าหารือร่วมเอกชน จับมือดันส่งออกปีหน้าโต 14% “ดุสิต”ห่วงตั้งเป้าสูง โอกาสทำได้ยาก แต่พร้อมให้ความร่วมมือ กังวลปัญหาการเมือง มาบตาพุด บาทแข็ง ตัวฉุด
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วานนี้ (17 ธ.ค.) ว่า ได้ชี้แจงให้ภาคเอกชนได้รับทราบว่ากระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับรูปแบบและยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ โดยมีการตั้งประธานกลุ่มสินค้าเพื่อดูแลสินค้าส่งออกสำคัญๆ ของไทย จำนวน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศสูงสุด 10 อันดับแรก กลุ่มสินค้าเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย กลุ่มสินค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการส่งออก และกลุ่มสินค้า SMEs และ OTOP โดยจะทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชน เพื่อผลักดันให้การส่งออกในปี 2553 ขยายตัว 14% ให้ได้ และมีการวัดผลการทำงานทุก 3 เดือน
ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วยข้าว สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มสินค้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางพารา สินค้าวัสดุก่อสร้าง และเม็ดพลาสติก กลุ่มสินค้าเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม กล้วยไม้ อาหารไทย สปาไทย กลุ่มสินค้าใหม่ที่มีโอกาสในการขยายการส่งออก เช่น เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ เครื่องเขียน ธุรกิจสิ่งพิมพ์ และกลุ่มสินค้า SMEs และ OTOP
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การมีคนดูแลเป็นรายสินค้าสอดคล้องกับการทำงานของภาคเอกชนที่ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์เป็นรายสินค้า ซึ่งเชื่อว่าเป็นแนวทางทำงานที่ถูกต้อง และจะมีส่วนช่วยในการผลักดันการส่งออกได้ดีขึ้น แต่เป้าหมายปี 2553 ที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ว่าจะขยายตัว 14% ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก โดยในมุมมองของภาคเอกชนคิดว่า 10% ถือว่าเก่งแล้ว แต่ถ้าทำได้ 14% จริง จะเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นบวกได้มากขึ้น
“การที่รัฐมนตรีกล้าตั้งเป้า 14% ถือว่าท้าทายมาก ผมเองคิดว่าได้ 10% ก็เก่งตายแล้ว แต่คิดว่าการที่ตั้งเป้าไว้สูง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะคนค้าคนขาย ถ้าตั้งเป้าที่ทำได้ ไม่ท้าทาย ไม่มีใครเขาทำกัน เมื่อท่านกล้าตั้งเป้าหมาย ภาคเอกชนก็กล้าทำ”นายดุสิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยังเป็นห่วงปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศที่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นและปัญหาการลงทุนในนิคมมาบตาพุดไม่ได้รับการแก้ไข ที่จะส่งผลกระทบต่อการเข้ามาลงทุนและการส่งออก ส่วนเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่าไม่ค่อยห่วงมากนัก หากค่าเงินบาทของไทยเคลื่อนไหวไม่แข็งค่ามากกว่าคู่ค้าและคู่แข่ง และภาคเอกชนไม่ได้กำหนดว่าเงินบาทควรจะอยู่ที่เท่าไร แต่ควรจะมีเสถียรภาพ
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วานนี้ (17 ธ.ค.) ว่า ได้ชี้แจงให้ภาคเอกชนได้รับทราบว่ากระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับรูปแบบและยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ โดยมีการตั้งประธานกลุ่มสินค้าเพื่อดูแลสินค้าส่งออกสำคัญๆ ของไทย จำนวน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศสูงสุด 10 อันดับแรก กลุ่มสินค้าเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย กลุ่มสินค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการส่งออก และกลุ่มสินค้า SMEs และ OTOP โดยจะทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชน เพื่อผลักดันให้การส่งออกในปี 2553 ขยายตัว 14% ให้ได้ และมีการวัดผลการทำงานทุก 3 เดือน
ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วยข้าว สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มสินค้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางพารา สินค้าวัสดุก่อสร้าง และเม็ดพลาสติก กลุ่มสินค้าเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม กล้วยไม้ อาหารไทย สปาไทย กลุ่มสินค้าใหม่ที่มีโอกาสในการขยายการส่งออก เช่น เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ เครื่องเขียน ธุรกิจสิ่งพิมพ์ และกลุ่มสินค้า SMEs และ OTOP
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การมีคนดูแลเป็นรายสินค้าสอดคล้องกับการทำงานของภาคเอกชนที่ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์เป็นรายสินค้า ซึ่งเชื่อว่าเป็นแนวทางทำงานที่ถูกต้อง และจะมีส่วนช่วยในการผลักดันการส่งออกได้ดีขึ้น แต่เป้าหมายปี 2553 ที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ว่าจะขยายตัว 14% ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก โดยในมุมมองของภาคเอกชนคิดว่า 10% ถือว่าเก่งแล้ว แต่ถ้าทำได้ 14% จริง จะเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นบวกได้มากขึ้น
“การที่รัฐมนตรีกล้าตั้งเป้า 14% ถือว่าท้าทายมาก ผมเองคิดว่าได้ 10% ก็เก่งตายแล้ว แต่คิดว่าการที่ตั้งเป้าไว้สูง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะคนค้าคนขาย ถ้าตั้งเป้าที่ทำได้ ไม่ท้าทาย ไม่มีใครเขาทำกัน เมื่อท่านกล้าตั้งเป้าหมาย ภาคเอกชนก็กล้าทำ”นายดุสิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยังเป็นห่วงปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศที่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นและปัญหาการลงทุนในนิคมมาบตาพุดไม่ได้รับการแก้ไข ที่จะส่งผลกระทบต่อการเข้ามาลงทุนและการส่งออก ส่วนเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่าไม่ค่อยห่วงมากนัก หากค่าเงินบาทของไทยเคลื่อนไหวไม่แข็งค่ามากกว่าคู่ค้าและคู่แข่ง และภาคเอกชนไม่ได้กำหนดว่าเงินบาทควรจะอยู่ที่เท่าไร แต่ควรจะมีเสถียรภาพ