โดย...ทวิช จิตรสมบูรณ์
สมัยผมไปเรียนนอกกะเขาใหม่ๆ เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว รุ่นพี่คนไทยที่โน่นให้ข้อคิดว่าประเทศเรายากจนเพราะเราขายข้าวหนึ่งกิโลได้ 1 บาท แต่สหรัฐอเมริกาเขาขายคอมพิวเตอร์หนึ่งกิโลได้ 2,000 บาท ดังนั้นถ้าเราอยากรวยอย่างเขาเราต้องมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมไฮเทคแบบเขา โดยต้องเลิกทำนาทำไร่กันเสียที
สมัยโน้นผมเห็นด้วยกับการวิเคราะห์อันคมคายของรุ่นพี่มากทีเดียว และเชื่อว่าบรรดานักเรียนนอกส่วนใหญ่ก็คิดกันแบบนี้ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นประเทศของเราคงไม่เปลี่ยนโฉมมาเป็นแบบนี้หรอก กล่าวคือ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาต่างก็มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไฮเทคด้วยกันทั้งนั้น ทั้งนี้ผู้ที่สร้างแผนพัฒนาเหล่านี้ขึ้นมาก็คงไม่ใช่ใครอื่น ก็อดีตบรรดานักเรียนนอกทั้งหลายนั่นเอง (เช่น อดีต ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตรก็ยังคิดจะทำให้ไทยเป็นดีทรอยด์ ออฟ เอเชียเลย)
แม้ผมจะเรียนทางวิศวกรรมเครื่องกล แต่ก็สนใจปัญหาด้านเศรษฐสังคมเสมอ (ไม่ได้พิมพ์ผิด เป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้น) 15 ปีหลังจากนั้นผมเริ่มเอะใจในสิ่งที่ผมเชื่อมานาน ด้วยเพราะไปอ่านพบข้อมูลโดยบังเอิญว่าแรงงานของคนในสหรัฐฯ นั้นจำนวนถึง 30% อยู่ในวงจรอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งที่เขามีเกษตรกรจริงๆ เพียงประมาณ 2% เท่านั้นเอง ทำให้ผมคิดต่อไปว่าภาคการเกษตรนี่แหละคือภาคแรงงานด้านการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของเขา ที่ทำให้ประเทศนี้ยิ่งใหญ่มาได้จนทุกวันนี้ ต้องเข้าใจด้วยว่าแรงงานในภาคบริการของเขามีถึง 60%
ดังนั้นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่เหลือ (รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องบิน เครื่องจักรทั้งหลาย) รวมกันแล้วก็จะมีเพียงแค่ 10% เท่านั้น ซึ่งเล็กกว่าภาคเกษตรกรรมถึง 3 เท่า และต้องคำนึงด้วยว่าภาคบริการ 60% จะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีภาคการผลิต 40% รองรับอยู่ แต่ภาคการผลิตนี้ 75% (3 ใน 4) มีฐานอยู่ที่การเกษตร ซึ่งแสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรเสีย 75% นั่นเอง จึงอาจกล่าวได้ว่าสหรัฐฯ นั้นแท้จริงแล้วยังเป็นประเทศเกษตรกรรม หาได้เป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างที่เราเชื่อกันมานานตามคำเล่าขานของนักวิชาการไม่
ณ พ.ศ. นี้ถ้าเราลองเอาราคาคอมพิวเตอร์มาเทียบกับราคาข้าว (อาหาร) จะเห็นได้ว่าใน 5 ปีเราอาจบริโภคคอมฯ 1 ตัว ราคา 20,000 บาท (หนักไม่กี่กิโล) แต่ใน 5 ปีนี้เราจะทานอาหารสักเท่าไร ถ้าคิดว่าวันละ 100 บาท (แบบคนจน) จะได้จำนวนเงิน 182,500 บาท ถ้าเป็นคนชั้นกลาง อาจกินวันละ (เฉลี่ย) 200 บาท ก็จะกลายเป็น 365,000 บาท และถ้าเราเอาอาหารนี้ส่งไปขายในยุโรปราคาก็จะแพงขึ้นประมาณ 10 เท่า ก็จะกลายเป็น 3.6 ล้านบาท (ในญี่ปุ่นจะแพงกว่านี้เสียอีก) ในขณะที่คอมฯ ยังราคา 20,000 เท่าเดิม ดังนี้แล้วการขายข้าวนั้นถ้ารู้จักขายให้ดีๆ จะได้เงินมากกว่าขายคอมพิวเตอร์ถึงประมาณ 200 เท่า!!!
ตัวเลข 200 เท่ายังเป็นเพียงแค่หัวตะเข้ลอยน้ำให้เห็นเท่านั้น ที่จมอยู่ใต้น้ำที่มองไม่เห็นยังมีอีก 20 เท่า เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นมันมีผลคูณทางเศรษฐกิจสูงกว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาก เพราะว่ามันมีการผลิตหลายขั้นตอนและมีการจ้างแรงงานมากต่อราคาสินค้าที่ผลิต ยิ่งจะช่วยทำให้คนมีงานทำมาก มีการกระจายรายได้มาก คนจำนวนมากมีกำลังซื้อ ก็ช่วยให้มีการซื้อสินค้าบริโภคมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ส่วนอุตสาหกรรมหนักและอิเล็กทรอนิกส์นั้นใช้ระบบอัตโนมัติเสียเป็นส่วนมาก มีการจ้างแรงงานน้อย จึงมีตัวคูณทางเศรษฐกิจต่ำ
ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมประเทศเดนมาร์ก (เมืองโคนม) ซึ่งเป็นประเทศที่เน้นด้านการเกษตรจึงกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จนขณะนี้เงินโครนของเดนมาร์กแข็งกว่าเงินโครนของสวีเดนประมาณ 20% ทำให้คนเดนมาร์กเข้าไปเที่ยวในสวีเดนอย่างราชา ทั้งที่สวีเดนเป็นประเทศที่มีนโยบายตรงข้ามกับเดนมาร์ก คือเน้นด้านอุตสาหกรรมจนเจริญสุดขีดในด้านนี้ (ผลิตเครื่องบินรบกริปเปน รถยนต์ซาบ วอลโว่ ที่เรารู้จักกันดี)
สำหรับประเทศไทยเรา ทั้งที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดนมาร์กมหาศาล (ของเขาฝนและหิมะตกแค่ 600 มม. ส่วนของเราอีสานที่ว่าแล้งกันหนักหนาตกปีละ 900 มม. เข้าไปแล้ว) และมีความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่เบาบางกว่าเขา 2 เท่า (ของเขาประมาณ 250 คนต่อตารางกม. ส่วนของเรา 120) แต่เรากลับจะอยากเปลี่ยนประเทศไปเป็นอุตสาหกรรมเสียหนักหนา (ตามอย่างสวีเดน) ทั้งที่ถ้าเราทำการเกษตรให้เต็มที่แบบเขาเราน่าจะรวยกว่าเดนมาร์ก 4 เท่า (เพราะพื้นที่ต่อคนมากกว่า 2 เท่า และฝนตกมากกว่า 2 เท่า) เรื่องการละทิ้งและดูถูกการเกษตรนี้โทษใครไม่ได้โดยเด็ดขาดนอกจากประดาอดีตนักเรียนนอกที่วางแผนพัฒนาประเทศ รวมทั้งอดีตนักเรียนนอกที่เป็นที่ปรึกษานักการเมือง และที่เป็นนักการเมืองเสียเองอีกด้วย
เราต้องตระหนักด้วยว่าการทำการเกษตรอย่างเดียวคงจะร่ำรวยไม่ได้มากนักนอกจากทำคู่ไปกับอุตสาหกรรมการเกษตรด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าดิบสัก 10 เท่าก่อนส่งออกขายต่างประเทศ ขณะนี้เราส่งสินค้าออกขายดิบๆ เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) ไม่ว่าจะเป็นข้าว มัน หรือยางพารา ดังนั้นหากเพิ่มมูลค่า 10 เท่าก่อนส่งออกอาจเพิ่ม GDP ในส่วนเกษตรของเราได้ 10 เท่า และถ้าคิดผลคูณทางเศรษฐกิจอีก 15 เท่า (เพราะการผลิตสินค้าการเกษตรมีตัวคูณประมาณ 15 เท่า (ดังเช่นที่ USA มีเกษตรกร 2% แต่มีแรงงานในภาคเกษตรประมาณ 30%)) ก็จะทำให้เศรษฐกิจเราดีขึ้น 150 เท่า!!! (เหลือเชื่อใช่ไหม นักเรียนนอกส่วนใหญ่คงคิดไม่ออก)
การเพิ่มมูลค่า 10 เท่าไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อ ทำได้ไม่ยาก เช่น ยางพารากิโลละ 30 บาท เอามาทำยางรถยนต์ได้โลละ 500 บาท มันสำปะหลังโลละ 2 บาทเอามาทำพลาสติกชีวภาพได้ 2 ขีดราคาประมาณ 50 บาท น้ำมันปาล์มเอามาสกัดวิตามินอีจะขายได้แพงกว่าตัวน้ำมันเองหลายสิบเท่าเช่นกัน เพียงแต่ว่าอดีตนักเรียนนอกของเราขาดความรอบรู้และวิสัยทัศน์ในด้านนี้ คิดได้แต่การส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาทำ “อุตสาหกรรม” เพื่อกอบโกยความร่ำรวยไปจากแผ่นดินไทย จนขณะนี้ชาวต่างชาติไม่กี่คนมีรายได้ 70% ของรายได้ประชาชาติไทยเข้าไปแล้ว ส่วนคนไทยต้องทิ้งถิ่นฐานไปขายแรงงานราคาถูกในสภาพชีวิตที่แสนต่ำต้อยของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความร่ำรวยให้เขาพวกนั้น
ทางแก้ที่เป็นไปได้คือ การลดละเลิกสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ แล้วเร่งสร้างอุตสาหกรรมท้องถิ่นโดยคนไทยให้เต็มประเทศ โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมการเกษตร และเป็นอุตสาหกรรมระดับอำเภอไปพลางก่อนก็ได้ (ก่อนเจาะถึงระดับตำบล) มีคนงานสักโรงงานละ 500 คน โดยต้องมีการวางแผนการผลิตสินค้าให้หลากหลาย อย่าให้ซ้ำซ้อนกันมากนัก และเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นหลัก
สำหรับทุนที่จะใช้ก็หาทางระดมกันเข้ามา ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และควรให้คนงานร่วมเป็นเจ้าของด้วย (ด้วยการเป็นหุ้นส่วนแรงงาน) คนงานที่ทำงานอาจให้ทำแค่สัปดาห์ละ 3 วัน โดยอีก 3 วันที่เหลือก็เอาไปทำไร่นาของตนตามปกติ ก็จะทำให้เขามีรายได้สองทาง และไม่ต้องทิ้งไร่นาไปหางานทำที่อื่น ต้องทิ้งลูกเต้าให้คนเฒ่าคนแก่เลี้ยงดู จนทำให้เด็กวัยรุ่นในชนบทตอนนี้เน่าอย่างหนัก คือมีพฤติกรรมบ้ายา และบ้าเซ็กซ์ไปตามๆกัน ไม่สนใจการเรียน ซึ่งจะเป็นปัญหาหนักของชาติต่อไปในอนาคต
สำหรับเรื่องการค้าปลีกก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเงินรายได้ของคนทั้งหลายนั้นที่เหลือจากการออม สุดท้ายก็ไปตกรวมกันอยู่กับผู้ค้าปลีก ถ้าเรายังปล่อยให้ร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากต่างชาติบุกตลาดได้เสรีแบบนี้อีกหน่อยเงินเราก็จะถูกดูดออกไปหมด อุปมากับร่างกายถูกดูดเลือดจนแห้ง เพราะเงินคือเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจนั่นเอง
ดังนั้น เราต้องวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เกิดสหกรณ์ค้าปลีกระดับท้องถิ่นขึ้นให้เต็มประเทศควบคู่ไปกับการอุตสาหกรรมด้วย เพื่อกักเงินไว้ไม่ให้รั่วทะลักออกไปสู่ภายนอกเร็วเกินไป เงินก็ไหลเวียนหลายรอบกว่าจะถูกดูดซึมออกนอกระบบ ก็จะช่วยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม การเชื่อมโยงสหกรณ์เหล่านี้เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ มีโกดังและสายส่งร่วมกัน จะช่วยลดต้นทุน ทำให้สู้ราคากับห้างค้าปลีกยักษ์ข้ามชาติได้อีกด้วย
การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อม (เน้นขนาดย่อม ไม่เอาขนาดใหญ่) ควบคู่ไปกับการค้าปลีกนี้จะทำให้เกิดการกระจายรายได้ และความเจริญออกไปสู่ท้องถิ่นทั่วไทยในที่สุด พ่อแม่อยู่เลี้ยงดูลูกเต้าไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน และทุกครัวเรือนมีเศรษฐกิจดี ในระดับประเทศการเน้นการเกษตรยังหมายถึงว่าเรามีหลักประกันการล้มละลาย เพราะแม้เศรษฐกิจโลกซบเซาคนก็ยังคงต้องกินเหมือนเดิม แต่เขาสามารถชะลอการซื้อคอมพิวเตอร์และรถยนต์ได้
เราส่งคนไปเรียนนอกกันมาร้อยกว่าปีแล้ว จบดร.กันมาทุกสาขาจนจะล้นประเทศอยู่แล้ว เชื่อได้ว่ารมต.ไทยเรามีสัดส่วนเป็น ดร.มากที่สุดในโลก ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะนิยมการเรียนในประเทศตัวเองเสียที (รัฐส่งเสริม ให้ทุนเรียนให้มาก) ยิ่งไปเรียนนอกยิ่งไม่รู้ปัญหาของประเทศตัวเอง ทำให้เสียทั้งเงินและโอกาส คิดแล้วอยากเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการเอานักเรียนนอกหัวเก่าที่ยังคิดแต่การพัฒนาชาติด้วยไฮเทคไปขายทอดตลาดเสียดีไหม (สงสัยไม่มีใครซื้อ )
สมัยผมไปเรียนนอกกะเขาใหม่ๆ เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว รุ่นพี่คนไทยที่โน่นให้ข้อคิดว่าประเทศเรายากจนเพราะเราขายข้าวหนึ่งกิโลได้ 1 บาท แต่สหรัฐอเมริกาเขาขายคอมพิวเตอร์หนึ่งกิโลได้ 2,000 บาท ดังนั้นถ้าเราอยากรวยอย่างเขาเราต้องมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมไฮเทคแบบเขา โดยต้องเลิกทำนาทำไร่กันเสียที
สมัยโน้นผมเห็นด้วยกับการวิเคราะห์อันคมคายของรุ่นพี่มากทีเดียว และเชื่อว่าบรรดานักเรียนนอกส่วนใหญ่ก็คิดกันแบบนี้ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นประเทศของเราคงไม่เปลี่ยนโฉมมาเป็นแบบนี้หรอก กล่าวคือ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาต่างก็มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไฮเทคด้วยกันทั้งนั้น ทั้งนี้ผู้ที่สร้างแผนพัฒนาเหล่านี้ขึ้นมาก็คงไม่ใช่ใครอื่น ก็อดีตบรรดานักเรียนนอกทั้งหลายนั่นเอง (เช่น อดีต ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตรก็ยังคิดจะทำให้ไทยเป็นดีทรอยด์ ออฟ เอเชียเลย)
แม้ผมจะเรียนทางวิศวกรรมเครื่องกล แต่ก็สนใจปัญหาด้านเศรษฐสังคมเสมอ (ไม่ได้พิมพ์ผิด เป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้น) 15 ปีหลังจากนั้นผมเริ่มเอะใจในสิ่งที่ผมเชื่อมานาน ด้วยเพราะไปอ่านพบข้อมูลโดยบังเอิญว่าแรงงานของคนในสหรัฐฯ นั้นจำนวนถึง 30% อยู่ในวงจรอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งที่เขามีเกษตรกรจริงๆ เพียงประมาณ 2% เท่านั้นเอง ทำให้ผมคิดต่อไปว่าภาคการเกษตรนี่แหละคือภาคแรงงานด้านการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของเขา ที่ทำให้ประเทศนี้ยิ่งใหญ่มาได้จนทุกวันนี้ ต้องเข้าใจด้วยว่าแรงงานในภาคบริการของเขามีถึง 60%
ดังนั้นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่เหลือ (รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องบิน เครื่องจักรทั้งหลาย) รวมกันแล้วก็จะมีเพียงแค่ 10% เท่านั้น ซึ่งเล็กกว่าภาคเกษตรกรรมถึง 3 เท่า และต้องคำนึงด้วยว่าภาคบริการ 60% จะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีภาคการผลิต 40% รองรับอยู่ แต่ภาคการผลิตนี้ 75% (3 ใน 4) มีฐานอยู่ที่การเกษตร ซึ่งแสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรเสีย 75% นั่นเอง จึงอาจกล่าวได้ว่าสหรัฐฯ นั้นแท้จริงแล้วยังเป็นประเทศเกษตรกรรม หาได้เป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างที่เราเชื่อกันมานานตามคำเล่าขานของนักวิชาการไม่
ณ พ.ศ. นี้ถ้าเราลองเอาราคาคอมพิวเตอร์มาเทียบกับราคาข้าว (อาหาร) จะเห็นได้ว่าใน 5 ปีเราอาจบริโภคคอมฯ 1 ตัว ราคา 20,000 บาท (หนักไม่กี่กิโล) แต่ใน 5 ปีนี้เราจะทานอาหารสักเท่าไร ถ้าคิดว่าวันละ 100 บาท (แบบคนจน) จะได้จำนวนเงิน 182,500 บาท ถ้าเป็นคนชั้นกลาง อาจกินวันละ (เฉลี่ย) 200 บาท ก็จะกลายเป็น 365,000 บาท และถ้าเราเอาอาหารนี้ส่งไปขายในยุโรปราคาก็จะแพงขึ้นประมาณ 10 เท่า ก็จะกลายเป็น 3.6 ล้านบาท (ในญี่ปุ่นจะแพงกว่านี้เสียอีก) ในขณะที่คอมฯ ยังราคา 20,000 เท่าเดิม ดังนี้แล้วการขายข้าวนั้นถ้ารู้จักขายให้ดีๆ จะได้เงินมากกว่าขายคอมพิวเตอร์ถึงประมาณ 200 เท่า!!!
ตัวเลข 200 เท่ายังเป็นเพียงแค่หัวตะเข้ลอยน้ำให้เห็นเท่านั้น ที่จมอยู่ใต้น้ำที่มองไม่เห็นยังมีอีก 20 เท่า เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นมันมีผลคูณทางเศรษฐกิจสูงกว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาก เพราะว่ามันมีการผลิตหลายขั้นตอนและมีการจ้างแรงงานมากต่อราคาสินค้าที่ผลิต ยิ่งจะช่วยทำให้คนมีงานทำมาก มีการกระจายรายได้มาก คนจำนวนมากมีกำลังซื้อ ก็ช่วยให้มีการซื้อสินค้าบริโภคมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ส่วนอุตสาหกรรมหนักและอิเล็กทรอนิกส์นั้นใช้ระบบอัตโนมัติเสียเป็นส่วนมาก มีการจ้างแรงงานน้อย จึงมีตัวคูณทางเศรษฐกิจต่ำ
ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมประเทศเดนมาร์ก (เมืองโคนม) ซึ่งเป็นประเทศที่เน้นด้านการเกษตรจึงกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จนขณะนี้เงินโครนของเดนมาร์กแข็งกว่าเงินโครนของสวีเดนประมาณ 20% ทำให้คนเดนมาร์กเข้าไปเที่ยวในสวีเดนอย่างราชา ทั้งที่สวีเดนเป็นประเทศที่มีนโยบายตรงข้ามกับเดนมาร์ก คือเน้นด้านอุตสาหกรรมจนเจริญสุดขีดในด้านนี้ (ผลิตเครื่องบินรบกริปเปน รถยนต์ซาบ วอลโว่ ที่เรารู้จักกันดี)
สำหรับประเทศไทยเรา ทั้งที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดนมาร์กมหาศาล (ของเขาฝนและหิมะตกแค่ 600 มม. ส่วนของเราอีสานที่ว่าแล้งกันหนักหนาตกปีละ 900 มม. เข้าไปแล้ว) และมีความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่เบาบางกว่าเขา 2 เท่า (ของเขาประมาณ 250 คนต่อตารางกม. ส่วนของเรา 120) แต่เรากลับจะอยากเปลี่ยนประเทศไปเป็นอุตสาหกรรมเสียหนักหนา (ตามอย่างสวีเดน) ทั้งที่ถ้าเราทำการเกษตรให้เต็มที่แบบเขาเราน่าจะรวยกว่าเดนมาร์ก 4 เท่า (เพราะพื้นที่ต่อคนมากกว่า 2 เท่า และฝนตกมากกว่า 2 เท่า) เรื่องการละทิ้งและดูถูกการเกษตรนี้โทษใครไม่ได้โดยเด็ดขาดนอกจากประดาอดีตนักเรียนนอกที่วางแผนพัฒนาประเทศ รวมทั้งอดีตนักเรียนนอกที่เป็นที่ปรึกษานักการเมือง และที่เป็นนักการเมืองเสียเองอีกด้วย
เราต้องตระหนักด้วยว่าการทำการเกษตรอย่างเดียวคงจะร่ำรวยไม่ได้มากนักนอกจากทำคู่ไปกับอุตสาหกรรมการเกษตรด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าดิบสัก 10 เท่าก่อนส่งออกขายต่างประเทศ ขณะนี้เราส่งสินค้าออกขายดิบๆ เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) ไม่ว่าจะเป็นข้าว มัน หรือยางพารา ดังนั้นหากเพิ่มมูลค่า 10 เท่าก่อนส่งออกอาจเพิ่ม GDP ในส่วนเกษตรของเราได้ 10 เท่า และถ้าคิดผลคูณทางเศรษฐกิจอีก 15 เท่า (เพราะการผลิตสินค้าการเกษตรมีตัวคูณประมาณ 15 เท่า (ดังเช่นที่ USA มีเกษตรกร 2% แต่มีแรงงานในภาคเกษตรประมาณ 30%)) ก็จะทำให้เศรษฐกิจเราดีขึ้น 150 เท่า!!! (เหลือเชื่อใช่ไหม นักเรียนนอกส่วนใหญ่คงคิดไม่ออก)
การเพิ่มมูลค่า 10 เท่าไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อ ทำได้ไม่ยาก เช่น ยางพารากิโลละ 30 บาท เอามาทำยางรถยนต์ได้โลละ 500 บาท มันสำปะหลังโลละ 2 บาทเอามาทำพลาสติกชีวภาพได้ 2 ขีดราคาประมาณ 50 บาท น้ำมันปาล์มเอามาสกัดวิตามินอีจะขายได้แพงกว่าตัวน้ำมันเองหลายสิบเท่าเช่นกัน เพียงแต่ว่าอดีตนักเรียนนอกของเราขาดความรอบรู้และวิสัยทัศน์ในด้านนี้ คิดได้แต่การส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาทำ “อุตสาหกรรม” เพื่อกอบโกยความร่ำรวยไปจากแผ่นดินไทย จนขณะนี้ชาวต่างชาติไม่กี่คนมีรายได้ 70% ของรายได้ประชาชาติไทยเข้าไปแล้ว ส่วนคนไทยต้องทิ้งถิ่นฐานไปขายแรงงานราคาถูกในสภาพชีวิตที่แสนต่ำต้อยของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความร่ำรวยให้เขาพวกนั้น
ทางแก้ที่เป็นไปได้คือ การลดละเลิกสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ แล้วเร่งสร้างอุตสาหกรรมท้องถิ่นโดยคนไทยให้เต็มประเทศ โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมการเกษตร และเป็นอุตสาหกรรมระดับอำเภอไปพลางก่อนก็ได้ (ก่อนเจาะถึงระดับตำบล) มีคนงานสักโรงงานละ 500 คน โดยต้องมีการวางแผนการผลิตสินค้าให้หลากหลาย อย่าให้ซ้ำซ้อนกันมากนัก และเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นหลัก
สำหรับทุนที่จะใช้ก็หาทางระดมกันเข้ามา ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และควรให้คนงานร่วมเป็นเจ้าของด้วย (ด้วยการเป็นหุ้นส่วนแรงงาน) คนงานที่ทำงานอาจให้ทำแค่สัปดาห์ละ 3 วัน โดยอีก 3 วันที่เหลือก็เอาไปทำไร่นาของตนตามปกติ ก็จะทำให้เขามีรายได้สองทาง และไม่ต้องทิ้งไร่นาไปหางานทำที่อื่น ต้องทิ้งลูกเต้าให้คนเฒ่าคนแก่เลี้ยงดู จนทำให้เด็กวัยรุ่นในชนบทตอนนี้เน่าอย่างหนัก คือมีพฤติกรรมบ้ายา และบ้าเซ็กซ์ไปตามๆกัน ไม่สนใจการเรียน ซึ่งจะเป็นปัญหาหนักของชาติต่อไปในอนาคต
สำหรับเรื่องการค้าปลีกก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเงินรายได้ของคนทั้งหลายนั้นที่เหลือจากการออม สุดท้ายก็ไปตกรวมกันอยู่กับผู้ค้าปลีก ถ้าเรายังปล่อยให้ร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากต่างชาติบุกตลาดได้เสรีแบบนี้อีกหน่อยเงินเราก็จะถูกดูดออกไปหมด อุปมากับร่างกายถูกดูดเลือดจนแห้ง เพราะเงินคือเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจนั่นเอง
ดังนั้น เราต้องวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เกิดสหกรณ์ค้าปลีกระดับท้องถิ่นขึ้นให้เต็มประเทศควบคู่ไปกับการอุตสาหกรรมด้วย เพื่อกักเงินไว้ไม่ให้รั่วทะลักออกไปสู่ภายนอกเร็วเกินไป เงินก็ไหลเวียนหลายรอบกว่าจะถูกดูดซึมออกนอกระบบ ก็จะช่วยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม การเชื่อมโยงสหกรณ์เหล่านี้เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ มีโกดังและสายส่งร่วมกัน จะช่วยลดต้นทุน ทำให้สู้ราคากับห้างค้าปลีกยักษ์ข้ามชาติได้อีกด้วย
การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อม (เน้นขนาดย่อม ไม่เอาขนาดใหญ่) ควบคู่ไปกับการค้าปลีกนี้จะทำให้เกิดการกระจายรายได้ และความเจริญออกไปสู่ท้องถิ่นทั่วไทยในที่สุด พ่อแม่อยู่เลี้ยงดูลูกเต้าไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน และทุกครัวเรือนมีเศรษฐกิจดี ในระดับประเทศการเน้นการเกษตรยังหมายถึงว่าเรามีหลักประกันการล้มละลาย เพราะแม้เศรษฐกิจโลกซบเซาคนก็ยังคงต้องกินเหมือนเดิม แต่เขาสามารถชะลอการซื้อคอมพิวเตอร์และรถยนต์ได้
เราส่งคนไปเรียนนอกกันมาร้อยกว่าปีแล้ว จบดร.กันมาทุกสาขาจนจะล้นประเทศอยู่แล้ว เชื่อได้ว่ารมต.ไทยเรามีสัดส่วนเป็น ดร.มากที่สุดในโลก ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะนิยมการเรียนในประเทศตัวเองเสียที (รัฐส่งเสริม ให้ทุนเรียนให้มาก) ยิ่งไปเรียนนอกยิ่งไม่รู้ปัญหาของประเทศตัวเอง ทำให้เสียทั้งเงินและโอกาส คิดแล้วอยากเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการเอานักเรียนนอกหัวเก่าที่ยังคิดแต่การพัฒนาชาติด้วยไฮเทคไปขายทอดตลาดเสียดีไหม (สงสัยไม่มีใครซื้อ )