โดย....ทวิช จิตรสมบูรณ์
รัฐบาลไทยหลายชุดที่ผ่านมา โดยเฉพาะชุด “ทักษิณ” มักนิยมเอาตัวเลขรายได้ประชาชาติเป็นเกณฑ์หรือเป็นหลักในการชี้วัดระดับการพัฒนาของประเทศ หรือความเก่งในการบริหารประเทศของตนเสมอมา แท้จริงแล้วตัวเลขนี้มันใช้ไม่ได้ (สำหรับบริบทประเทศไทย) และมันยังหลอกให้เราหลงระเริงและตายใจจนอาจสิ้นชาติได้ง่ายๆอีกด้วย
ขณะนี้รายได้ประชาชาติไทย (GDP) ประมาณ 10 ล้านล้านบาท ถ้าเอาจำนวนคน 63 ล้านคนหาร และประมาณว่า 1 หลังคาเรือนมี 5 คน (พ่อแม่ลูกสองและปู่ย่าตายายอีก1) จะคำนวณได้ว่าแต่ละหลังคาเรือนมีรายได้เฉลี่ยเดือนละกว่า 66,000 บาท ซึ่งถือได้ว่าเรา “รวย” กันหมดทุกครอบครัวเลยก็ว่าได้ (จน UN เขาตัดการช่วยเหลือการกู้เงินตปท. ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพงกว่าประเทศยากจนอื่น) แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ความจริง คือ เรายังจนอยู่มาก ไม่ต่างอะไรกับลาว พม่า เขมร ที่เราชอบดูถูกกันสักเท่าใดนักหรอก เพราะรายได้ GDP ประมาณ 70% ตกอยู่ในมือของนักลงทุนต่างชาติไม่กี่คน ส่วนอีก 30% นั้นแม้ไม่มีตัวเลขก็เดาได้ไม่ยากนักว่า 15% ตกอยู่ในมือของ 11 ตระกูล (รวมเศรษฐีใหม่อย่างตระกูลชินวัตรด้วย) ส่วนคนไทยประมาณ 63 ล้านคนนั้นได้ส่วนแบ่งประมาณ 15% เท่านั้น เท่ากับว่ารายได้ต่อครัวเรือนประมาณ 9,900 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ตัวเลข 9,900 นี้ถ้าเอามาจำแนกต่อว่าคนกลุ่ม 20% แรกมีรายได้ 80% ของทั้งหมด (คือคนในกทม. และหัวเมือง ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าถูกต้องพอควรตามที่เคยอ่านพบจากการประเมินขององค์การสหประชาชาติ) ก็จะคำนวณได้ว่าคนในเมืองมีรายได้เฉลี่ยครัวละ 39,600 บาท ส่วนคนชนบทมีรายได้เฉลี่ยครัวละ 2,475 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สมจริงตามสภาพที่พบเห็นด้วยสายตาทั่วๆ ไป เช่น คนชนบทอีสานนั้นจำนวนมากมีรายได้สุทธิเพียงเดือนละประมาณ 1,000 บาทเท่านั้นเอง (นา 5 ไร่ ขายได้กำไรสุทธิไร่ละ 2,000 บาท เท่านั้น) ทำให้ส่วนใหญ่ยังใช้ฟืนสดหุงหาอาหารอยู่เลย แม้ในเขตอำเภอเมือง จ.นครราชสีมา ทั้งนี้เพราะไม่มีเงินพอแม้จะไปหาซื้อถ่าน อย่าว่าแต่แก๊ส
สรุปว่าเงินรายได้ประชาชาติที่แสนโก้หรูจำนวน 100 บาท ตกถึงคน 80% ของประเทศเพียง 3 บาทเท่านั้น แล้วอย่างนี้ผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศยังจะไม่ตกใจสุดขีดแล้วคิดทำอะไรให้มันดีขึ้นบ้างหรือ ถ้าคิดบัญชีให้ดีโดยนำส่วนที่ไม่ใช่ตัวเงินเข้ามาร่วมตีราคาด้วยน่าจะได้ข้อสรุปว่า 40 ปีที่ผ่านมา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายฉบับและภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดต่างๆ นั้นคุณภาพการดำรงชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ต่ำลงกว่าเดิม ไม่ต้องเอาอะไรเป็นตัววัดให้ยุ่งยาก แค่เอาจำนวนชามก๋วยเตี๋ยวที่ซื้อได้มาวัดก็จะเห็นง่ายๆ เช่น
เมื่อปี 2520 คนจบปริญญาตรีทำงานราชการได้เงินเดือน 1,800 บาท ก๋วยเตี๋ยวชามละ 3 บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 600 ชาม ปัจจุบัน ป.ตรีจบใหม่ได้เดือนละ 9,000 บาท แต่ก๋วยเตี๋ยวราคา 30 บาท ซื้อได้ 300 ชาม แสดงว่าคุณภาพชีวิตลดลง 2 เท่า เชื่อว่าถ้าเอาค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ หรือเอารายได้เกษตรกรมาวัดก็จะได้ตัวเลขทำนองเดียวกัน แสดงว่ายิ่ง GDP มากขึ้นคนไทยส่วนใหญ่ก็ยิ่งจนลง โดยเฉพาะชนชั้นล่าง ซึ่งก่อให้เกิดแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจสะสมต่อพวกเขาแบบเงียบๆ มานานแล้ว แต่ระยะนี้ถ้ารัฐเงี่ยหูฟังให้ดีจะได้ยินสัญญาณบอกเหตุมากมายทีเดียว
การที่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมป่วนชาติกันบ่อยครั้งเพื่อปกป้องคนคนเดียวที่เขา “รัก” โดยที่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นรากหญ้าจากชนบทนั้น หากมองให้ดีๆ แล้วจะเห็นได้ว่าพลังส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมืองของคนกลุ่มนี้หาใช่พลังที่มีจุดกำเนิดมาจากการเมืองไม่ แต่เป็นพลังที่เกิดจากการบีบคั้นทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า เพียงแต่ว่าการเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อให้พวกเขาได้แสดงออกถึงการถูกบีบคั้นทางเศรษฐกิจ และความบีบคั้นนี้ก็เนื่องจากความผิดพลาดเชิงนโยบายของรัฐที่สะสมมาในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานั่นเอง
ทิศทางที่เศรษฐกิจสังคมไทยกำลังพุ่งมาจากโมเมนตัมของนโยบายการพัฒนาและการบริหารประเทศที่ผิดๆ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้ รัฐต้องตระหนักและเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด ถ้าทิศทางและอัตราถดถอยยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกสัก 20 ปีเชื่อว่าสังคมจะพังด้วยกลียุคอย่างแน่นอน เพราะชนชั้นล่าง 80% ถูกบีบคั้นหนักขึ้นทุกวัน (ทำงานหนักขึ้นแต่มาตรฐานการดำรงชีวิตลดลง) แรงบีบคั้นที่เกินระดับหนึ่งจะก่อให้เกิดการแตกหักในที่สุด (หลักการพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์)
ผู้เขียนเชื่อว่าสาเหตุสำคัญที่สุดที่สร้างความไม่สมประกอบนี้คือ การที่รัฐมีนโยบายให้มีการลงทุนของชาวต่างชาติมากเกินไป ซึ่งทำให้เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเราบิดเบี้ยวไปมาก (โดยเฉพาะสังคมฐานรากในชนบท) การเพิ่มของ GDP ผลักให้ค่าครองชีพแพงขึ้น แต่ปรากฏว่าค่าครองชีพสูงขึ้นในอัตราที่เร็วกว่ารายได้ของคนสัญชาติไทยส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ารายได้ส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนค่าครองชีพให้สูงขึ้นนี้ไปอยู่ในมือของคนต่างชาตินั่นเอง
ยังเป็นการตัดตอนเศรษฐกิจของตนเองอีกด้วย ทุกวันนี้ถ้าคนไทยคิดจะทำธุรกิจอะไรก็ยากมากเพราะสินค้าและบริการทุกชนิดถูกกลุ่มทุนต่างชาติครองตลาดไว้หมดแล้ว ตั้งแต่กระดาษเช็ดก้นยันรถยนต์นั่ง รวมถึงค้าปลีก ยังปัญหามลพิษ แต่ที่สำคัญที่สุดคือปัญหาสังคมชนบทล่มสลายเนื่องจากพ่อแม่ทิ้งลูกเต้าเข้ามาขายแรงงานในโรงงานต่างชาติ (และโรงงานไทยที่หากินกับต่างชาติ) ในนิคมอุตสาหกรรมห่างไกลบ้าน
ใคร่ขอเสนอวิธีแก้ในระยะ 10 ปีคือ รัฐวางนโยบาย โดยออกเป็น พ.ร.บ.อาจให้ชื่อว่า พ.ร.บ.พัฒนาฐานรากอุตสาหกรรมในชนบท พ.ร.บ.นี้มุ่งสร้างอุตสาหกรรมในระดับอำเภอ (ไม่ใช่อุตสาหกรรมครัวเรือนแบบโอทอป ที่หวังเพียงผลทางการเมืองแบบทักษิณ) โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมจากผลิตผลการเกษตร เช่น การแปรรูปเป็นอาหาร อาหารเสริม (เช่น การสกัดวิตามิน E จากปาล์มน้ำมัน) สารประกอบอาหาร (เช่น แป้งแปรรูป) ยาสมุนไพร ยางรถยนต์ (ยางพารา) สารประกอบเครื่องสำอาง วัสดุชีวภาพ (เช่น ไบโอพลาสติก) ฯลฯ รวมทั้งอุตสาหกรรมจากป่าไม้ (ประเทศเรามีภูมิอากาศที่ทำให้ไม้โตเร็วมากกว่ายุโรป 10 เท่า) เช่น เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด และอุตสาหกรรมประมง (ซึ่งต้องแปรรูปทั้งหมด)
การแปรรูปผลิตผลเกษตรให้ดีจะได้มูลค่าเพิ่ม 10-20 เท่าโดยไม่ยากนัก ซึ่งจะทำให้สังคมไทยร่ำรวยและลดช่องว่างของการกระจายรายได้ลงได้มาก อีกทั้งอุตสาหกรรมเกษตรนั้นมีตัวคูณทางเศรษฐกิจสูงมาก เพราะมีขั้นตอนการผลิตหลายต่อ และต้องใช้แรงงานพื้นฐานมาก มูลค่าสินค้าที่เพิ่ม 15 เท่าอาจก่อผลคูณทางเศรษฐกิจ 150 เท่าก็เป็นได้ จึงไม่แปลกอะไรที่ข้อมูลระบุว่า USA มีเกษตรกรเพียงประมาณ 1.8% ของพลเมืองแต่กลับมีแรงงาน 30% อยู่ในวงจรอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งน่าจะเป็นภาคแรงงานที่ใหญ่ที่สุดรองจากภาคบริการที่มีประมาณ 60%
ส่วนรถยนต์นั้นมีแรงงานไม่ถึง 2% ด้วยซ้ำ สำหรับประเทศเดนมาร์กก็เป็นประเทศที่รวยที่สุดในโลกประเทศหนึ่งทั้งที่เขาทำแต่ (อุตสาหกรรม) การเกษตรเท่านั้น และทั้งที่เขามีพื้นที่เพาะปลูกต่อหัวประชากรน้อย (เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นพลเมืองสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก) และเพาะปลูกได้เพียงปีละ 4 เดือนอีกต่างหาก มีฝนตกเพียงปีละ 600 มม. เท่านั้น (ในขณะที่อีสานไทยที่ว่าแล้งมีฝนปีละ 900 มม.)
หาก พ.ร.บ.นี้บรรลุเป้าหมาย มันหมายความว่าจะเกิดการกระจายความเจริญ และกระจายรายได้ไปทั่วทุกส่วนของประเทศ คน 80% จะมีรายได้ 50% ไม่ใช่ 3% แบบทุกวันนี้ ซึ่งต้องการค่าจ้างแรงงานที่ยุติธรรมในระดับสากลด้วย ไม่ใช่วันละซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เพียง 6 ชามเช่นทุกวันนี้ (มันต้องสัก 20 ชามถึงจะดีที่สุด) ยังเป็นการสร้างงานในท้องถิ่นทำให้คนไม่ทิ้งถิ่นและลูกเต้าไปขายแรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมริมทะเล ปล่อยให้ลูกเต้าโตขึ้นมาแบบขาดความอบอุ่นและการอบรม กลายเป็นปัญหาระยะยาวของชาติอีกโสดหนึ่ง
แทนการพึ่งทุนต่างชาติ เราต้องหันมาพึ่งตนเองให้มากกว่านี้ (เพื่อศักดิ์ศรีของชาติด้วย) ต้องหัดที่จะกล้าคิดกล้าทำอะไรด้วยตนเองเสียที ให้สมกับที่เป็นชาติเก่าแก่มานาน
รัฐบาลไทยหลายชุดที่ผ่านมา โดยเฉพาะชุด “ทักษิณ” มักนิยมเอาตัวเลขรายได้ประชาชาติเป็นเกณฑ์หรือเป็นหลักในการชี้วัดระดับการพัฒนาของประเทศ หรือความเก่งในการบริหารประเทศของตนเสมอมา แท้จริงแล้วตัวเลขนี้มันใช้ไม่ได้ (สำหรับบริบทประเทศไทย) และมันยังหลอกให้เราหลงระเริงและตายใจจนอาจสิ้นชาติได้ง่ายๆอีกด้วย
ขณะนี้รายได้ประชาชาติไทย (GDP) ประมาณ 10 ล้านล้านบาท ถ้าเอาจำนวนคน 63 ล้านคนหาร และประมาณว่า 1 หลังคาเรือนมี 5 คน (พ่อแม่ลูกสองและปู่ย่าตายายอีก1) จะคำนวณได้ว่าแต่ละหลังคาเรือนมีรายได้เฉลี่ยเดือนละกว่า 66,000 บาท ซึ่งถือได้ว่าเรา “รวย” กันหมดทุกครอบครัวเลยก็ว่าได้ (จน UN เขาตัดการช่วยเหลือการกู้เงินตปท. ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพงกว่าประเทศยากจนอื่น) แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ความจริง คือ เรายังจนอยู่มาก ไม่ต่างอะไรกับลาว พม่า เขมร ที่เราชอบดูถูกกันสักเท่าใดนักหรอก เพราะรายได้ GDP ประมาณ 70% ตกอยู่ในมือของนักลงทุนต่างชาติไม่กี่คน ส่วนอีก 30% นั้นแม้ไม่มีตัวเลขก็เดาได้ไม่ยากนักว่า 15% ตกอยู่ในมือของ 11 ตระกูล (รวมเศรษฐีใหม่อย่างตระกูลชินวัตรด้วย) ส่วนคนไทยประมาณ 63 ล้านคนนั้นได้ส่วนแบ่งประมาณ 15% เท่านั้น เท่ากับว่ารายได้ต่อครัวเรือนประมาณ 9,900 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ตัวเลข 9,900 นี้ถ้าเอามาจำแนกต่อว่าคนกลุ่ม 20% แรกมีรายได้ 80% ของทั้งหมด (คือคนในกทม. และหัวเมือง ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าถูกต้องพอควรตามที่เคยอ่านพบจากการประเมินขององค์การสหประชาชาติ) ก็จะคำนวณได้ว่าคนในเมืองมีรายได้เฉลี่ยครัวละ 39,600 บาท ส่วนคนชนบทมีรายได้เฉลี่ยครัวละ 2,475 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สมจริงตามสภาพที่พบเห็นด้วยสายตาทั่วๆ ไป เช่น คนชนบทอีสานนั้นจำนวนมากมีรายได้สุทธิเพียงเดือนละประมาณ 1,000 บาทเท่านั้นเอง (นา 5 ไร่ ขายได้กำไรสุทธิไร่ละ 2,000 บาท เท่านั้น) ทำให้ส่วนใหญ่ยังใช้ฟืนสดหุงหาอาหารอยู่เลย แม้ในเขตอำเภอเมือง จ.นครราชสีมา ทั้งนี้เพราะไม่มีเงินพอแม้จะไปหาซื้อถ่าน อย่าว่าแต่แก๊ส
สรุปว่าเงินรายได้ประชาชาติที่แสนโก้หรูจำนวน 100 บาท ตกถึงคน 80% ของประเทศเพียง 3 บาทเท่านั้น แล้วอย่างนี้ผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศยังจะไม่ตกใจสุดขีดแล้วคิดทำอะไรให้มันดีขึ้นบ้างหรือ ถ้าคิดบัญชีให้ดีโดยนำส่วนที่ไม่ใช่ตัวเงินเข้ามาร่วมตีราคาด้วยน่าจะได้ข้อสรุปว่า 40 ปีที่ผ่านมา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายฉบับและภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดต่างๆ นั้นคุณภาพการดำรงชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ต่ำลงกว่าเดิม ไม่ต้องเอาอะไรเป็นตัววัดให้ยุ่งยาก แค่เอาจำนวนชามก๋วยเตี๋ยวที่ซื้อได้มาวัดก็จะเห็นง่ายๆ เช่น
เมื่อปี 2520 คนจบปริญญาตรีทำงานราชการได้เงินเดือน 1,800 บาท ก๋วยเตี๋ยวชามละ 3 บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 600 ชาม ปัจจุบัน ป.ตรีจบใหม่ได้เดือนละ 9,000 บาท แต่ก๋วยเตี๋ยวราคา 30 บาท ซื้อได้ 300 ชาม แสดงว่าคุณภาพชีวิตลดลง 2 เท่า เชื่อว่าถ้าเอาค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ หรือเอารายได้เกษตรกรมาวัดก็จะได้ตัวเลขทำนองเดียวกัน แสดงว่ายิ่ง GDP มากขึ้นคนไทยส่วนใหญ่ก็ยิ่งจนลง โดยเฉพาะชนชั้นล่าง ซึ่งก่อให้เกิดแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจสะสมต่อพวกเขาแบบเงียบๆ มานานแล้ว แต่ระยะนี้ถ้ารัฐเงี่ยหูฟังให้ดีจะได้ยินสัญญาณบอกเหตุมากมายทีเดียว
การที่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมป่วนชาติกันบ่อยครั้งเพื่อปกป้องคนคนเดียวที่เขา “รัก” โดยที่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นรากหญ้าจากชนบทนั้น หากมองให้ดีๆ แล้วจะเห็นได้ว่าพลังส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมืองของคนกลุ่มนี้หาใช่พลังที่มีจุดกำเนิดมาจากการเมืองไม่ แต่เป็นพลังที่เกิดจากการบีบคั้นทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า เพียงแต่ว่าการเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อให้พวกเขาได้แสดงออกถึงการถูกบีบคั้นทางเศรษฐกิจ และความบีบคั้นนี้ก็เนื่องจากความผิดพลาดเชิงนโยบายของรัฐที่สะสมมาในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานั่นเอง
ทิศทางที่เศรษฐกิจสังคมไทยกำลังพุ่งมาจากโมเมนตัมของนโยบายการพัฒนาและการบริหารประเทศที่ผิดๆ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้ รัฐต้องตระหนักและเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด ถ้าทิศทางและอัตราถดถอยยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกสัก 20 ปีเชื่อว่าสังคมจะพังด้วยกลียุคอย่างแน่นอน เพราะชนชั้นล่าง 80% ถูกบีบคั้นหนักขึ้นทุกวัน (ทำงานหนักขึ้นแต่มาตรฐานการดำรงชีวิตลดลง) แรงบีบคั้นที่เกินระดับหนึ่งจะก่อให้เกิดการแตกหักในที่สุด (หลักการพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์)
ผู้เขียนเชื่อว่าสาเหตุสำคัญที่สุดที่สร้างความไม่สมประกอบนี้คือ การที่รัฐมีนโยบายให้มีการลงทุนของชาวต่างชาติมากเกินไป ซึ่งทำให้เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเราบิดเบี้ยวไปมาก (โดยเฉพาะสังคมฐานรากในชนบท) การเพิ่มของ GDP ผลักให้ค่าครองชีพแพงขึ้น แต่ปรากฏว่าค่าครองชีพสูงขึ้นในอัตราที่เร็วกว่ารายได้ของคนสัญชาติไทยส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ารายได้ส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนค่าครองชีพให้สูงขึ้นนี้ไปอยู่ในมือของคนต่างชาตินั่นเอง
ยังเป็นการตัดตอนเศรษฐกิจของตนเองอีกด้วย ทุกวันนี้ถ้าคนไทยคิดจะทำธุรกิจอะไรก็ยากมากเพราะสินค้าและบริการทุกชนิดถูกกลุ่มทุนต่างชาติครองตลาดไว้หมดแล้ว ตั้งแต่กระดาษเช็ดก้นยันรถยนต์นั่ง รวมถึงค้าปลีก ยังปัญหามลพิษ แต่ที่สำคัญที่สุดคือปัญหาสังคมชนบทล่มสลายเนื่องจากพ่อแม่ทิ้งลูกเต้าเข้ามาขายแรงงานในโรงงานต่างชาติ (และโรงงานไทยที่หากินกับต่างชาติ) ในนิคมอุตสาหกรรมห่างไกลบ้าน
ใคร่ขอเสนอวิธีแก้ในระยะ 10 ปีคือ รัฐวางนโยบาย โดยออกเป็น พ.ร.บ.อาจให้ชื่อว่า พ.ร.บ.พัฒนาฐานรากอุตสาหกรรมในชนบท พ.ร.บ.นี้มุ่งสร้างอุตสาหกรรมในระดับอำเภอ (ไม่ใช่อุตสาหกรรมครัวเรือนแบบโอทอป ที่หวังเพียงผลทางการเมืองแบบทักษิณ) โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมจากผลิตผลการเกษตร เช่น การแปรรูปเป็นอาหาร อาหารเสริม (เช่น การสกัดวิตามิน E จากปาล์มน้ำมัน) สารประกอบอาหาร (เช่น แป้งแปรรูป) ยาสมุนไพร ยางรถยนต์ (ยางพารา) สารประกอบเครื่องสำอาง วัสดุชีวภาพ (เช่น ไบโอพลาสติก) ฯลฯ รวมทั้งอุตสาหกรรมจากป่าไม้ (ประเทศเรามีภูมิอากาศที่ทำให้ไม้โตเร็วมากกว่ายุโรป 10 เท่า) เช่น เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด และอุตสาหกรรมประมง (ซึ่งต้องแปรรูปทั้งหมด)
การแปรรูปผลิตผลเกษตรให้ดีจะได้มูลค่าเพิ่ม 10-20 เท่าโดยไม่ยากนัก ซึ่งจะทำให้สังคมไทยร่ำรวยและลดช่องว่างของการกระจายรายได้ลงได้มาก อีกทั้งอุตสาหกรรมเกษตรนั้นมีตัวคูณทางเศรษฐกิจสูงมาก เพราะมีขั้นตอนการผลิตหลายต่อ และต้องใช้แรงงานพื้นฐานมาก มูลค่าสินค้าที่เพิ่ม 15 เท่าอาจก่อผลคูณทางเศรษฐกิจ 150 เท่าก็เป็นได้ จึงไม่แปลกอะไรที่ข้อมูลระบุว่า USA มีเกษตรกรเพียงประมาณ 1.8% ของพลเมืองแต่กลับมีแรงงาน 30% อยู่ในวงจรอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งน่าจะเป็นภาคแรงงานที่ใหญ่ที่สุดรองจากภาคบริการที่มีประมาณ 60%
ส่วนรถยนต์นั้นมีแรงงานไม่ถึง 2% ด้วยซ้ำ สำหรับประเทศเดนมาร์กก็เป็นประเทศที่รวยที่สุดในโลกประเทศหนึ่งทั้งที่เขาทำแต่ (อุตสาหกรรม) การเกษตรเท่านั้น และทั้งที่เขามีพื้นที่เพาะปลูกต่อหัวประชากรน้อย (เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นพลเมืองสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก) และเพาะปลูกได้เพียงปีละ 4 เดือนอีกต่างหาก มีฝนตกเพียงปีละ 600 มม. เท่านั้น (ในขณะที่อีสานไทยที่ว่าแล้งมีฝนปีละ 900 มม.)
หาก พ.ร.บ.นี้บรรลุเป้าหมาย มันหมายความว่าจะเกิดการกระจายความเจริญ และกระจายรายได้ไปทั่วทุกส่วนของประเทศ คน 80% จะมีรายได้ 50% ไม่ใช่ 3% แบบทุกวันนี้ ซึ่งต้องการค่าจ้างแรงงานที่ยุติธรรมในระดับสากลด้วย ไม่ใช่วันละซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เพียง 6 ชามเช่นทุกวันนี้ (มันต้องสัก 20 ชามถึงจะดีที่สุด) ยังเป็นการสร้างงานในท้องถิ่นทำให้คนไม่ทิ้งถิ่นและลูกเต้าไปขายแรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมริมทะเล ปล่อยให้ลูกเต้าโตขึ้นมาแบบขาดความอบอุ่นและการอบรม กลายเป็นปัญหาระยะยาวของชาติอีกโสดหนึ่ง
แทนการพึ่งทุนต่างชาติ เราต้องหันมาพึ่งตนเองให้มากกว่านี้ (เพื่อศักดิ์ศรีของชาติด้วย) ต้องหัดที่จะกล้าคิดกล้าทำอะไรด้วยตนเองเสียที ให้สมกับที่เป็นชาติเก่าแก่มานาน