นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลการการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยนิติบัญญัติ 2552 ระหว่างวันที่ 13 ส.ค-25 พ.ย. ซึ่งมีจำนวนการลงมติในกฎหมายสำคัญๆทั้งสิ้น 100 ครั้ง ไม่รวมถึงการประชุมร่วมสองสภา พบว่ามีจำนวน ส.ส.ที่ลงมติมากที่สุดครบทั้ง100 ครั้ง มีทั้งสิ้น 58 คน หรือ 12.24 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนส.ส.ทั้งหมด 474 คน แบ่งเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 46 คน จากทั้งหมด 172 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 3 คน จาก 25 คน พรรคภูมิใจไทย 3 คน จาก 31 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คน จาก 32 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน จาก 9 คน พรรคกิจสังคม 1 จาก 5 คน พรรคประชาราช 1 จาก 8 คน
ส่วน ส.ส.ที่ไม่เคยลงมติเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีจำนวนทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภา นางฟารีดา สุไลมาน ส.ส.สุรินทร์ พรรคมาตุภูมิ นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย รวมถึงส.ส.ตระกูลเทียนทอง ทั้ง 3 คน คือนายฐานิศร์ นางตรีนุช และนายเสนาะ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็มีติดมา 1 คน คือ นายทิวา เงินยวง ส.ส. กทม. ซึ่งป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาล
สำหรับในส่วนของประธานสภา และรองประธานสภา หากมาดูถึงความเหมาะสมในความเป็นกลาง สามาถเทียบได้กับกรณีของนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภา ที่ลงมติในร่างกฎหมายสำคัญ ถึง 11 ครั้ง จึงคิดว่าคนที่เป็นประธานสภา และรองประธานสภา น่าจะร่วมลงมติในกฎหมายได้ เมื่อไม่ได้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
"จากการตรวจสอบพบว่า มีกลุ่มส.ส.ที่สอบตกในการลงมติ ถึง 33.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 159 คน ถือเป็น 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด คือ ลงมติไม่ถึง 50 ครั้ง โดยแยกเป็นพรรคเพื่อไทย 126 คน หรือคิดเป็น 67 เปอร์เซ็นต์ พรรคภูมิใจไทย 7 คน หรือ 22 เปอร์เซ็นต์ พรรคประชาธิปัตย์ 5 คน หรือ 3 เปอร์เซ็นต์ พรรคประชาราช 6 คน หรือ 75 เปอร์เซ็นต์ พรรคเพื่อแผ่นดิน 6 คน หรือ 18.75 เปอร์เซ็นต์ พรรคชาติไทยพัฒนา 4 คน หรือ 16 เปอร์เซ็นต์ พรคมาตุภูมิ 3 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีส.ส.อยู่แค่ 3 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน หรือ 22 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่พรรคกิจสังคม ไม่มี ส.ส.คนใดสอบตกเลย" นายบุญยอดกล่าว
ในส่วนการลงมติของส.ส. ที่เป็นรัฐมนตรีด้วย พบว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นคนที่ลงคะแนนมากถึง 68 ครั้ง นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน 75 ครั้ง นายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 70 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐมนตรีที่ลงคะแนนน้อย ส่วนใหญ่มากจากพรรคภูมิใจไทย โดยคนที่ลงมติน้อยที่สุดได้แก่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ที่ลงคะแนนเพียง 4 ครั้ง ตามด้วยนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ 7 ครั้ง นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ 11 ครั้ง จึงอยากถามว่า ทำไมถึงไม่มาประชุมสภา ทั้งที่เป็นส.ส. ขอเรียกร้องให้เข้าประชุมสภามากกว่านี้ เพราะจำนวนครั้งของการลงมติของบุคคลเหล่านี้ ห่างจากนายกฯ มาก
**แฉ"ไอ้ตู่"ลงมติแค่ครั้งเดียว
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลของส.ส.ที่น่าสนใจ คือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ลงมติเพียงแค่ 1 ครั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ลงมติเพียง 1 ครั้งเช่นกัน ขณะที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ลงมติ 9 ครั้ง ร.ต.อ.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ลงมติ 13 ครั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 38 ครั้ง นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน 71 ครั้ง นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผุ้แทนราษฎร 15 ครั้ง หากเทียบกันนายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ป่วยต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำได้มาลงมติถึง 88 ครั้ง ส่วนนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ หรือ วอลล์เปเปอร์ ก็ลงมติถึง 88 ครั้งเช่นกัน
ทั้งนี้ยอมรับว่าส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนที่ลงมติน้อย มีอยู่หลายคน โดยเฉพาะส.ส.ที่มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีด้วย ที่จะได้คะแนนต่ำเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่ลงมติเพียง 41 ครั้ง นายอลงกณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ 38 ครั้ง จึงอยากบอกว่า ผลการศึกษานี้คือข้อเท็จจริงอยากให้บุคคลดังกล่าว ได้เห็นข้อเท็จจริง และหันมาแบ่งเวลาให้กับการประชุมสภามากขึ้น
"สำหรับนายจตุพร ที่จะออกไปเป็นแกนนำในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่กลับทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ โดยร่วมลงมติกฎหมายสำคัญเพียง 1 ครั้งเท่านั้น จึงอยากถามว่า นายจตุพร รักประชาธิปไตยจริงหรือไม่ เหตุใดไม่มาทำหน้าที่ในสภา นายจตุพร รับเงินเดือนซึ่งมาจากภาษีของประชาชนเดือนละ 104,000 บาท เมื่อรวมกับเงินเดือนผู้ช่วย และที่ปรึกษาเป็นเดือนละ 174,000 บาท ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา นายจตุพร ลงมติเพียงครั้งเดียว แสดงให้เห็นว่าการจะให้นายจตุพรลงมติกฎหมายใดสักฉบับหนึ่ง จะต้องใช้เงินถึง 696,000 บาท" นายบุญยอดกล่าว
**"ไอ้ตู่"อ้างเป็นเอกสิทธิ์
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเรื่องข้อมูลการลงมติที่ นายบุญยอด นำออกมาแฉว่า ก่อนที่นายบุญยอด จะมาถามหาความรับผิดชอบกับส.ส.พรรคอื่นต้องไปย้อนถามกับแกนนำในพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ หรือนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ก่อนว่า เคยลงมติกฎหมาย ในสมัยประชุมสภาบ้างหรือไม่ หรือลงมติไปแล้วกี่ครั้ง เพราะเท่าที่พรรคเพื่อไทยตรวจสอบ ก็ไม่เคยเห็นทั้ง 2 คนมาลงมติ
เรื่องนี้กลายเป็นว่านายบุญยอด อาจหาเรื่องทำร้ายผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์เอง ส่วนการที่ตนมีชื่อในสถิติของสภาว่า ลงมติเพียงครั้งเดียวนั้น ยืนยันว่าเป็นสิทธิส่วนตัวของส.ส. ที่จะไม่ลงมติในกฎหมายที่ไม่เห็นชอบ และยอมรับว่าติดภารกิจอื่น แต่ก็ได้เข้าร่วมประชุมสภาโดยลงชื่อสม่ำเสมอ เพียงแต่ไม่ได้ร่วมลงมติกฎหมายเท่านั้น
"เรื่องนี้นายบุญยอด ต้องถามตัวเองดีกว่า เพราะตั้งแต่เป็นส.ส.มา เคยทำงานอะไรบ้างนอกจากประท้วง สร้างความรำคาญให้กับสภา ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่ส.ส.อย่างเต็มความสามารถ มีบทบาททั้งการอภิปราย ตั้งกระทู้ มีหลักฐานในการลงบันทึกการประชุมชัดเจน เรื่องสถิติในการลงมติกฎหมายนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะมาวัดได้ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ที่จะไม่ลงมติกฎหมายใดๆ ก็ย่อมได้ หากเราไม่เห็นชอบ" นายจตุพรกล่าว
ส่วน ส.ส.ที่ไม่เคยลงมติเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีจำนวนทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภา นางฟารีดา สุไลมาน ส.ส.สุรินทร์ พรรคมาตุภูมิ นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย รวมถึงส.ส.ตระกูลเทียนทอง ทั้ง 3 คน คือนายฐานิศร์ นางตรีนุช และนายเสนาะ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็มีติดมา 1 คน คือ นายทิวา เงินยวง ส.ส. กทม. ซึ่งป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาล
สำหรับในส่วนของประธานสภา และรองประธานสภา หากมาดูถึงความเหมาะสมในความเป็นกลาง สามาถเทียบได้กับกรณีของนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภา ที่ลงมติในร่างกฎหมายสำคัญ ถึง 11 ครั้ง จึงคิดว่าคนที่เป็นประธานสภา และรองประธานสภา น่าจะร่วมลงมติในกฎหมายได้ เมื่อไม่ได้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
"จากการตรวจสอบพบว่า มีกลุ่มส.ส.ที่สอบตกในการลงมติ ถึง 33.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 159 คน ถือเป็น 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด คือ ลงมติไม่ถึง 50 ครั้ง โดยแยกเป็นพรรคเพื่อไทย 126 คน หรือคิดเป็น 67 เปอร์เซ็นต์ พรรคภูมิใจไทย 7 คน หรือ 22 เปอร์เซ็นต์ พรรคประชาธิปัตย์ 5 คน หรือ 3 เปอร์เซ็นต์ พรรคประชาราช 6 คน หรือ 75 เปอร์เซ็นต์ พรรคเพื่อแผ่นดิน 6 คน หรือ 18.75 เปอร์เซ็นต์ พรรคชาติไทยพัฒนา 4 คน หรือ 16 เปอร์เซ็นต์ พรคมาตุภูมิ 3 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีส.ส.อยู่แค่ 3 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน หรือ 22 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่พรรคกิจสังคม ไม่มี ส.ส.คนใดสอบตกเลย" นายบุญยอดกล่าว
ในส่วนการลงมติของส.ส. ที่เป็นรัฐมนตรีด้วย พบว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นคนที่ลงคะแนนมากถึง 68 ครั้ง นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน 75 ครั้ง นายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 70 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐมนตรีที่ลงคะแนนน้อย ส่วนใหญ่มากจากพรรคภูมิใจไทย โดยคนที่ลงมติน้อยที่สุดได้แก่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ที่ลงคะแนนเพียง 4 ครั้ง ตามด้วยนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ 7 ครั้ง นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ 11 ครั้ง จึงอยากถามว่า ทำไมถึงไม่มาประชุมสภา ทั้งที่เป็นส.ส. ขอเรียกร้องให้เข้าประชุมสภามากกว่านี้ เพราะจำนวนครั้งของการลงมติของบุคคลเหล่านี้ ห่างจากนายกฯ มาก
**แฉ"ไอ้ตู่"ลงมติแค่ครั้งเดียว
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลของส.ส.ที่น่าสนใจ คือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ลงมติเพียงแค่ 1 ครั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ลงมติเพียง 1 ครั้งเช่นกัน ขณะที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ลงมติ 9 ครั้ง ร.ต.อ.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ลงมติ 13 ครั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 38 ครั้ง นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน 71 ครั้ง นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผุ้แทนราษฎร 15 ครั้ง หากเทียบกันนายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ป่วยต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำได้มาลงมติถึง 88 ครั้ง ส่วนนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ หรือ วอลล์เปเปอร์ ก็ลงมติถึง 88 ครั้งเช่นกัน
ทั้งนี้ยอมรับว่าส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนที่ลงมติน้อย มีอยู่หลายคน โดยเฉพาะส.ส.ที่มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีด้วย ที่จะได้คะแนนต่ำเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่ลงมติเพียง 41 ครั้ง นายอลงกณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ 38 ครั้ง จึงอยากบอกว่า ผลการศึกษานี้คือข้อเท็จจริงอยากให้บุคคลดังกล่าว ได้เห็นข้อเท็จจริง และหันมาแบ่งเวลาให้กับการประชุมสภามากขึ้น
"สำหรับนายจตุพร ที่จะออกไปเป็นแกนนำในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่กลับทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ โดยร่วมลงมติกฎหมายสำคัญเพียง 1 ครั้งเท่านั้น จึงอยากถามว่า นายจตุพร รักประชาธิปไตยจริงหรือไม่ เหตุใดไม่มาทำหน้าที่ในสภา นายจตุพร รับเงินเดือนซึ่งมาจากภาษีของประชาชนเดือนละ 104,000 บาท เมื่อรวมกับเงินเดือนผู้ช่วย และที่ปรึกษาเป็นเดือนละ 174,000 บาท ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา นายจตุพร ลงมติเพียงครั้งเดียว แสดงให้เห็นว่าการจะให้นายจตุพรลงมติกฎหมายใดสักฉบับหนึ่ง จะต้องใช้เงินถึง 696,000 บาท" นายบุญยอดกล่าว
**"ไอ้ตู่"อ้างเป็นเอกสิทธิ์
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเรื่องข้อมูลการลงมติที่ นายบุญยอด นำออกมาแฉว่า ก่อนที่นายบุญยอด จะมาถามหาความรับผิดชอบกับส.ส.พรรคอื่นต้องไปย้อนถามกับแกนนำในพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ หรือนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ก่อนว่า เคยลงมติกฎหมาย ในสมัยประชุมสภาบ้างหรือไม่ หรือลงมติไปแล้วกี่ครั้ง เพราะเท่าที่พรรคเพื่อไทยตรวจสอบ ก็ไม่เคยเห็นทั้ง 2 คนมาลงมติ
เรื่องนี้กลายเป็นว่านายบุญยอด อาจหาเรื่องทำร้ายผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์เอง ส่วนการที่ตนมีชื่อในสถิติของสภาว่า ลงมติเพียงครั้งเดียวนั้น ยืนยันว่าเป็นสิทธิส่วนตัวของส.ส. ที่จะไม่ลงมติในกฎหมายที่ไม่เห็นชอบ และยอมรับว่าติดภารกิจอื่น แต่ก็ได้เข้าร่วมประชุมสภาโดยลงชื่อสม่ำเสมอ เพียงแต่ไม่ได้ร่วมลงมติกฎหมายเท่านั้น
"เรื่องนี้นายบุญยอด ต้องถามตัวเองดีกว่า เพราะตั้งแต่เป็นส.ส.มา เคยทำงานอะไรบ้างนอกจากประท้วง สร้างความรำคาญให้กับสภา ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่ส.ส.อย่างเต็มความสามารถ มีบทบาททั้งการอภิปราย ตั้งกระทู้ มีหลักฐานในการลงบันทึกการประชุมชัดเจน เรื่องสถิติในการลงมติกฎหมายนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะมาวัดได้ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ที่จะไม่ลงมติกฎหมายใดๆ ก็ย่อมได้ หากเราไม่เห็นชอบ" นายจตุพรกล่าว