ASTVผู้จัดการรายวัน-กกร.ถกวันนี้(8 ธ.ค.) หารือแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งศาลดึงกนอ.ชี้แจงแผนปฏิบัติงานทั้งปัจจุบันและอนาคต แบะท่ากกร.ไม่มีหน้าที่ห้ามใครไม่ให้ฟ้องได้ ยอมรับหากเอกชนต้องหยุดกิจการจริงแล้วเสียหาย บางรายอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายคืนจากรัฐได้ ขณะที่อุตสาหกรรมหนักชะงักจ่อเผ่นหนีไม่มีมาบตาพุด เซาท์เทิรน์ซีบอร์ดก็ยังไม่เกิดหาที่เกิดยากแล้ว
นายพยุงศักดิ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในวันที่ 8 ธ.ค.คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้นัดหารือประจำเดือน โดยมีวาระสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบจากกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับโครงการในมาบตาพุด 65 โครงการ ซึ่งจะเชิญผู้บริหารจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)มาร่วมหารือถึงแนวทางการปฏิบัติตามคำสั่งศาล รวมถึงทิศทางการดำเนินงานในอนาคต
อย่างไรก็ตามกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าไม่ต้องการให้เอกชนฟ้องร้องรัฐนั้นเรื่องนี้คงตอบแทนใครไม่ได้คงขึ้นอยู่แต่ละบริษัทที่จะดำเนินการฟ้องร้องหากเกิดความเสียหายขึ้นจริงและกกร.เองก็ไม่สามารถจะห้ามได้เช่นกัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าบางบริษัทอาจจะมีการถูกฟ้องร้องจากผู้ร่วมทุน ผู้ถือหุ้น ผู้รับเหมาหากต้องหยุดการดำเนินงานจริง ส่วนการหยุดกิจการของแต่ละบริษัทนั้นคงจะต้องรอคำสั่งจากกนอ.และกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)ว่าจะมีหนังสือแจ้งมาเมื่อไรแต่ล่าสุดยังไม่มีหนังสือแจ้ง
“เชื่อว่าเอกชนเองไม่อยากจะฟ้องร้องกับหน่วยงานรัฐหากไม่จำเป็น แต่ถ้าต้องหยุดการดำเนินงานตามคำสั่งศาล ก็ห้ามไม่ได้ที่บริษัทรับเหมาหรือผู้ถือหุ้นจะฟ้องร้องกับบริษัทเมื่อเกิดความเสียหายก็ต้องเข้าใจว่าเอกชนอาจจะต้องฟ้องร้องค่าเสียหายรัฐได้เพราะที่ผ่านมาเอกชนยืนยันทำตามกติกาของภาครัฐปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่สิ่งที่เอกชนจะต้องกลายเป็นผู้รับแทนเนื่องจากกฏหมายเป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำที่จะต้องทำให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550 “ นายพยุงศักดิ์กล่าว
นายวีระพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่ากนอ.กล่าวว่า วันที่ 8 ธ.ค.ทางกนอ.คงจะไปชี้แจงถึงแนวทางการปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้กับกกร.รับทราบหลังจากนั้นในวันเดียวกันก็จะหารือกับผู้ประกอบการที่ถูกระงับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบาตาพุดและคาดว่าภายหลังจากนั้นคงจะสามารถทำหนังสือแจ้งถึงผู้ประกอบการอย่างเป็นทางการถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ส่วนกรณีที่เกิดปัญหาเซฟตี้วาล์วเกิดการชำรุด จนทำให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซบิวทีน1 ในเรือสินค้า GLOBAL HIME บริเวณท่าเรือมาบตาพุด(MTT) ได้ให้สำนักท่าเรือมาบตาพุด สั่งการบริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัลจำกัด ผู้ดำเนินการขนส่งสินค้าเหลวเร่งตรวจสอบระบบท่อภายในบริษัท และหยุดดำเนินการขนถ่ายสินค้าไว้ก่อน จนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
**ลงทุนใหม่นิ่งผวาเผ่นหนี
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า ปัญหามาบตาพุดหากเอกชนต้องหยุดการดำเนินการใดๆ จริงและต้องใช้เวลาในการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) ที่จะต้องใช้เวลาอย่างต่ำเป็นปีนั้นเชื่อว่าจะมีผลให้การลงทุนใหม่ของประเทศไทยต้องหยุดชะงักทันทีโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก ฯลฯ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมองว่าไทยมีความเสี่ยงต่อการลงทุนในอนาคตแล้ว
“ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองไทยเสี่ยงกับการลงทุนขนาดใหญ่แล้วเพราะวันดีคืนดีเขาลงทุนแล้วถูกฟ้องได้อีกหรือไม่นี่เป็นคำถามและปีหน้าการลงทุนไทยที่เป็นอุตสาหกรรมหนักคงลำบากแน่นอนหลายบริษัทที่คิดว่าจะมีแผนการขยายการลงทุนในปีหน้าก็ต้องชะลอออกไปแล้วและนั่นหมายถึงโอกาสจะย้ายไปที่อื่นก็จะสูงด้วยถ้าไทยยังมีความคลุมเคลือเช่นนี้ ”นายสมมาตกล่าว
นอกจากนี้การลงทุนใหม่รัฐบาลจะต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าหากพื้นที่ในบริเวณมาบตาพุดมีปัญหาไม่สามารถขยายการลงทุนใหม่ได้อีกจากนี้ไปแล้วที่ใหม่ที่เหมาะสมคืออะไรเพราะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) ก็ยังไม่ได้เริ่มต้น ดังนั้นหากสถานการณ์ความไม่ชัดเจนจะกระทบการลงทุนในอนาคตของประเทศไทยอย่างมากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันหาความชัดเจนหากไม่เช่นนั้นการลงทุนจะหยุดยาว
**“ส.ว.ประสาร”แนะเอกชน-ราชการ โดดร่วมแก้ปัญหามาบตาพุด
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะตัวแทนกรรมาธิการ 5 คณะของวุฒิสภา ร่วมลงพื้นที่มาบตาพุด กับคณะกรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด กล่าวถึงกรณีผลการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ 11 โครงการอุตสาหกรรมมาบตาพุดดำเนินการต่อ แต่อีก 65 โครงการ ถูกสั่งคุ้มครองชั่วคราว ว่า น่าเห็นใจภาคเอกชน เพราะมีผลทำให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดปัญหาได้รับผลกระทบในเรื่องการลงทุน การจ้างแรงงาน รวมทั้งกระบวนการต่อเนื่องจากการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงักทันที ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมจะต้องแบกรับปัญหาในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งอยากให้ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการหันหน้ามาหากันเพื่อร่วมแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดผลดีกับทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเรื่องนี้หน่วยงานราชการ จะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน เพราะเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการให้ภาคนิคมอุตสาหกรรม และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
“การที่ศาลปกครองระงับทั้ง 65 โครงการมาบตาพุดนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในระยะใกล้ สำหรับภาคเอกชน แต่ถ้ามองในระยะยาว จะทำให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในการลงทุนภาคอุตสาหกรรมได้" นายประสารกล่าว
นายพยุงศักดิ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในวันที่ 8 ธ.ค.คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้นัดหารือประจำเดือน โดยมีวาระสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบจากกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับโครงการในมาบตาพุด 65 โครงการ ซึ่งจะเชิญผู้บริหารจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)มาร่วมหารือถึงแนวทางการปฏิบัติตามคำสั่งศาล รวมถึงทิศทางการดำเนินงานในอนาคต
อย่างไรก็ตามกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าไม่ต้องการให้เอกชนฟ้องร้องรัฐนั้นเรื่องนี้คงตอบแทนใครไม่ได้คงขึ้นอยู่แต่ละบริษัทที่จะดำเนินการฟ้องร้องหากเกิดความเสียหายขึ้นจริงและกกร.เองก็ไม่สามารถจะห้ามได้เช่นกัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าบางบริษัทอาจจะมีการถูกฟ้องร้องจากผู้ร่วมทุน ผู้ถือหุ้น ผู้รับเหมาหากต้องหยุดการดำเนินงานจริง ส่วนการหยุดกิจการของแต่ละบริษัทนั้นคงจะต้องรอคำสั่งจากกนอ.และกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)ว่าจะมีหนังสือแจ้งมาเมื่อไรแต่ล่าสุดยังไม่มีหนังสือแจ้ง
“เชื่อว่าเอกชนเองไม่อยากจะฟ้องร้องกับหน่วยงานรัฐหากไม่จำเป็น แต่ถ้าต้องหยุดการดำเนินงานตามคำสั่งศาล ก็ห้ามไม่ได้ที่บริษัทรับเหมาหรือผู้ถือหุ้นจะฟ้องร้องกับบริษัทเมื่อเกิดความเสียหายก็ต้องเข้าใจว่าเอกชนอาจจะต้องฟ้องร้องค่าเสียหายรัฐได้เพราะที่ผ่านมาเอกชนยืนยันทำตามกติกาของภาครัฐปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่สิ่งที่เอกชนจะต้องกลายเป็นผู้รับแทนเนื่องจากกฏหมายเป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำที่จะต้องทำให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550 “ นายพยุงศักดิ์กล่าว
นายวีระพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่ากนอ.กล่าวว่า วันที่ 8 ธ.ค.ทางกนอ.คงจะไปชี้แจงถึงแนวทางการปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้กับกกร.รับทราบหลังจากนั้นในวันเดียวกันก็จะหารือกับผู้ประกอบการที่ถูกระงับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบาตาพุดและคาดว่าภายหลังจากนั้นคงจะสามารถทำหนังสือแจ้งถึงผู้ประกอบการอย่างเป็นทางการถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ส่วนกรณีที่เกิดปัญหาเซฟตี้วาล์วเกิดการชำรุด จนทำให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซบิวทีน1 ในเรือสินค้า GLOBAL HIME บริเวณท่าเรือมาบตาพุด(MTT) ได้ให้สำนักท่าเรือมาบตาพุด สั่งการบริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัลจำกัด ผู้ดำเนินการขนส่งสินค้าเหลวเร่งตรวจสอบระบบท่อภายในบริษัท และหยุดดำเนินการขนถ่ายสินค้าไว้ก่อน จนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
**ลงทุนใหม่นิ่งผวาเผ่นหนี
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า ปัญหามาบตาพุดหากเอกชนต้องหยุดการดำเนินการใดๆ จริงและต้องใช้เวลาในการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) ที่จะต้องใช้เวลาอย่างต่ำเป็นปีนั้นเชื่อว่าจะมีผลให้การลงทุนใหม่ของประเทศไทยต้องหยุดชะงักทันทีโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก ฯลฯ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมองว่าไทยมีความเสี่ยงต่อการลงทุนในอนาคตแล้ว
“ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองไทยเสี่ยงกับการลงทุนขนาดใหญ่แล้วเพราะวันดีคืนดีเขาลงทุนแล้วถูกฟ้องได้อีกหรือไม่นี่เป็นคำถามและปีหน้าการลงทุนไทยที่เป็นอุตสาหกรรมหนักคงลำบากแน่นอนหลายบริษัทที่คิดว่าจะมีแผนการขยายการลงทุนในปีหน้าก็ต้องชะลอออกไปแล้วและนั่นหมายถึงโอกาสจะย้ายไปที่อื่นก็จะสูงด้วยถ้าไทยยังมีความคลุมเคลือเช่นนี้ ”นายสมมาตกล่าว
นอกจากนี้การลงทุนใหม่รัฐบาลจะต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าหากพื้นที่ในบริเวณมาบตาพุดมีปัญหาไม่สามารถขยายการลงทุนใหม่ได้อีกจากนี้ไปแล้วที่ใหม่ที่เหมาะสมคืออะไรเพราะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) ก็ยังไม่ได้เริ่มต้น ดังนั้นหากสถานการณ์ความไม่ชัดเจนจะกระทบการลงทุนในอนาคตของประเทศไทยอย่างมากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันหาความชัดเจนหากไม่เช่นนั้นการลงทุนจะหยุดยาว
**“ส.ว.ประสาร”แนะเอกชน-ราชการ โดดร่วมแก้ปัญหามาบตาพุด
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะตัวแทนกรรมาธิการ 5 คณะของวุฒิสภา ร่วมลงพื้นที่มาบตาพุด กับคณะกรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด กล่าวถึงกรณีผลการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ 11 โครงการอุตสาหกรรมมาบตาพุดดำเนินการต่อ แต่อีก 65 โครงการ ถูกสั่งคุ้มครองชั่วคราว ว่า น่าเห็นใจภาคเอกชน เพราะมีผลทำให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดปัญหาได้รับผลกระทบในเรื่องการลงทุน การจ้างแรงงาน รวมทั้งกระบวนการต่อเนื่องจากการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงักทันที ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมจะต้องแบกรับปัญหาในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งอยากให้ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการหันหน้ามาหากันเพื่อร่วมแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดผลดีกับทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเรื่องนี้หน่วยงานราชการ จะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน เพราะเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการให้ภาคนิคมอุตสาหกรรม และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
“การที่ศาลปกครองระงับทั้ง 65 โครงการมาบตาพุดนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในระยะใกล้ สำหรับภาคเอกชน แต่ถ้ามองในระยะยาว จะทำให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในการลงทุนภาคอุตสาหกรรมได้" นายประสารกล่าว