ในบรรดาความเสียหายจากการปิดธนาคารบีบีซี ซึ่งเวลานี้เป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังนายราเกซ กลับมาเมืองไทย โดยความย่อยยับเป็นจำนวนหลายหมื่นหรือแสนล้านนั้น
ตัวตนจริงของผู้เสียหายไม่มีใครกล่าวถึง กลายเป็นบุคคลนิรนามทั้งที่มีจำนวนหลายหมื่นหรือเป็นแสนคน
เราจะนำเรื่องราวของลูกค้าธนาคารผู้เสียหายมาเล่าสู่กันฟัง
แน่นอนไม่ได้ใช้ชื่อจริงทั้งหมด แต่เหตุการณ์เป็นเรื่องจริงที่ได้รับฟังจากญาติพี่น้อง
เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องของนายวิภาค แสงสุวิภาคกร (พยายามให้ชื่อและนามสกุลใกล้เคียงความจริงมากที่สุด)
ชายผู้นี้เป็นเจ้าของร้านเช่าวิดีโอเทปย่านถนนสีลม
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
น่าจะเป็นเหมือนวันทั่วๆ ไป ของนายวิภาค แสงสุวิภาคกร, นางสุรภีร วินิตา, นายกิจจา บริหารรุ่งเกียรติ, คุณสมถวิล นุกูลธนวัตร, นายสมหวัง พึ่งก่อการ ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย, ด.ช.ปั้น โรเจอร์ ธนธร และเด็กหญิงฟอน โรส ธนธร ที่เคนซิงตัน อังกฤษ และนายพูนศักดิ์ ประเสริฐวิทยาวิทย์ ซึ่งไปดูงานเกษตรกรรมที่มหาวิทยาลัยแมซซี นิวซีแลนด์
แต่ละคนมาจากครอบครัวที่มีฐานะหรือการงานต่างกัน ต่างกันทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ และไม่ได้รู้จักกัน พูดกันง่ายๆ พวกเขาเหล่านั้นไม่มีอะไรที่กล่าวได้ว่า เคยได้พบกันเลยในประเทศไทย
แต่ชะตากรรมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 ล้วนมาบรรจบกันเพราะในวันที่ 8 พฤษภาคมนั้น เป็นวันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาไทย หลายคนที่กล่าวมานั้นอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ไม่ได้ข่าวเรื่องนี้
แต่มีสองสามคนรู้ข่าว และคาดการณ์ล่วงหน้าอาจจะเกิดเรื่องถึงขั้นรัฐบาลต้องปรับคณะรัฐมนตรีหรือลาออก เป็นไปได้ที่ต้องยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ใครจะคิดว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจะร้ายแรงไปกว่านี้
-วิภาค แสงสุวิภาคกร เป็นคนพ้นวัยหนุ่มแล้ว เขาอายุย่างเข้าสู่วัย 40 เมื่อไม่นานมานี้ เคยรับราชการอยู่ในกระทรวงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้แค่ 2-3 ปีก็เบื่องานประจำ ที่ซ้ำซากไม่ก้าวหน้า
เขาออกมาตั้งบริษัทเล็กๆ โดยไปกู้เงินธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ มาแค่ 2 ล้านบาท รวมกับที่เขาเก็บสะสมอีก 1 ล้านบาทมาซื้อห้องแถวในซอยแห่งหนึ่งที่แยกจากถนนสีลมในราคาไม่แพงนัก เพราะไม่ใช่ย่านชุมชน
วิภาคเปิดร้านขายและให้เช่าวิดีโอเทป ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งเขามีอยู่และสั่งซื้อมาจากต่างประเทศจำนวนมาก เวลานั้นร้านแบบนี้มีน้อยในเขตกรุงเทพฯ และในบริเวณสีลมมีแค่ 2-3 ร้าน ร้านหนึ่งขายภาพยนตร์อินเดียล้วนๆ อีก 2 ร้านขายภาพยนตร์จีนกำลังภายในซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมกัน มีเพียงร้านวิภาคที่ขายและให้เช่าภาพยนตร์ฝรั่ง เขาขายดี จึงจัดโปรโมชัน คือ เช่าดู 3 วัน 5 ม้วนขึ้นไปแถมอีก 1 เรื่อง และถ้าอยากจะซื้อก็ให้ซื้อได้ 1 ม้วนจากหนังที่เช่าไป 5 เรื่อง
ระบบบัญชีรายชื่อลูกค้าของวิภาคลงในคอมพิวเตอร์ ถึงวันเกิดเขาจะส่งบัตรอวยพรไปให้ในมูลค่า 100 บาทหมายความว่า ลูกค้าเอานำแลกดูภาพยนตร์ฟรีได้ 2 ม้วน
วิภาคได้สั่งภาพยนตร์ประเภทซีรีส์ มาจำนวนหนี่ง เช่น Kane&Abel (สร้างจากนวนิยาย) The Wind of War (จากนวนิยาย) และ War and Remembrance (ภาคต่อของ The Wind of War และเรื่องอื่นๆ อีก 30-40 ชุด โดยซีรีส์เหล่านี้กำลังอยู่ในความนิยมที่สหรัฐอเมริกาและทั่วโลก
ดังนั้นแฟนประจำต่างก็ต้องมีคิวจองภาพยนตร์ชุดของร้านจนวิภาคตัดสินใจซื้ออุปกรณ์อัดหนังเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 5 เครื่องเป็น 15 เครื่อง
แม้เป็นเงินไม่มากนัก แต่ธนาคารเห็นตัวเลขกำไรที่เขาทำได้ในรายปีแล้วก็อนุมัติในวงเงิน 1 ล้านบาท วิภาคขอรับเพียง 5 แสนเท่านั้น
เขาสามารถจ่ายเงิน 5 แสนคืนแค่ 3 เดือน และร้านของวิภาคก็ยังคงทำกำไรเป็นกอบเป็นกำได้ในเวลาต่อมา
หนังของวิภาคเป็นหนังลิขสิทธิ์ เขาซื้อมาสเตอร์มาทั้งหมดอย่างถูกต้อง แต่หัวม้วนของแต่ละเรื่องมีคำเตือนไว้ว่า ให้ใช้เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน
ที่สำคัญที่สุดก็คือ “ห้ามทำการผลิตซ้ำในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง”
วิภาคใช้วิธีบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องลงในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ หลังจากทดลองบันทึกด้วยวิธีอื่นๆ มาก่อน รวมทั้งบันทึกจากเทปตรงไปยังเครื่องอัดทีละ 15 เครื่อง พร้อมกัน
เขาพบว่ามันชัดแค่เครื่องอัดตัวแรก และสัญญาณอ่อนลง จนไม่ชัดถึงไม่ชัดเลยในเครื่องถัดมา ดังนั้นเขาจึงไปถามผู้รู้ซึ่งไม่ได้คำตอบเป็นที่น่าสนใจ เขากลับมาค้นคว้าเพิ่มเติมจากนิตยสารต่างประเทศที่บอกวิธีต่างๆ เมื่อรู้วิธีจัดการบันทึกลงฮาร์ดดิสก์ได้แล้ว เขาทำตามนั้น และได้ผลดีเกินคาด
วิภาคไปเดินตามร้านขายอุปกรณ์เชื่อมต่อและซื้อตัวรีพีทสัญญาณหรือบูทสเตอร์มาอีก 2 ตัวเชื่อมต่อเพื่อไม่ให้สัญญาณถดถอย เมื่อแก้ปัญหาได้ภาพยนตร์ชุดของแท้ก็ชัดเหมือนตัวมาสเตอร์เทปทุกเรื่อง เขาขายภาพยนตร์ซีรีส์ได้เกือบทุกเรื่องทั้งรายได้เป็นจำนวนมาก และนี่คือเหตุที่เขาคืนเงิน 5 แสน ให้กับธนาคารจนหมดภายในเวลา 3 เดือน แทนที่จะทยอยจ่ายคืนภายในเวลา 1 ปี
ธนาคารให้เขาเอาเงินไปอีก 5 แสน แม้เขาไม่ต้องการ แต่ก็อยากรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ วิภาคก็รับเงิน 5 แสนไว้ เขาไม่คิดว่าเงิน 5 แสนจะมีความหมายอะไร เพราะแค่ 3 เดือน เขาก็จะใช้คืนได้
วันหนึ่งชะตากรรมของวิภาคก็มาถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมชาวต่างประเทศได้เข้ามาขอตรวจค้นร้านเช่าวิดีโอของเขา ได้กล่าวว่าเขาได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการ “ผลิตซ้ำ” เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการเช่าหรือขาย ภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ไปจำนวนมาก แม้วิภาคจะนำภาพยนตร์มาสเตอร์ให้ดูเป็นจำนวนมาก แต่ชาวต่างประเทศคนนั้นไม่สนใจ
การต่อรองซึ่งหน้าภายในร้านก็ไม่เกิดผล ตำรวจนายนั้นขอเงินวิภาค 2 แสนบาท แลกกับการไม่เอาเรื่อง และขอร้องให้เขาทำได้แค่เช่าเฉพาะสมาชิกที่มีอยู่ โดยไม่ให้ขาจรที่มีอยู่จำนวนมากเช่าเด็ดขาด
เขายอมในประเด็นหลัง แต่ต่อรองเรื่องเงินอ้างว่าเขาให้ได้แค่ 5-6 หมื่นเท่านั้น เนื่องจากเขาเป็นหนี้ธนาคารอยู่ 5 แสนบาท แล้วถ้าไม่จ่ายคืนเขาก็ต้องปิดร้านและต้องเลิกกิจการ
เขาเจ๊งหมดตัวแน่
…ติดตามตอนไปในสัปดาห์หน้า....
ตัวตนจริงของผู้เสียหายไม่มีใครกล่าวถึง กลายเป็นบุคคลนิรนามทั้งที่มีจำนวนหลายหมื่นหรือเป็นแสนคน
เราจะนำเรื่องราวของลูกค้าธนาคารผู้เสียหายมาเล่าสู่กันฟัง
แน่นอนไม่ได้ใช้ชื่อจริงทั้งหมด แต่เหตุการณ์เป็นเรื่องจริงที่ได้รับฟังจากญาติพี่น้อง
เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องของนายวิภาค แสงสุวิภาคกร (พยายามให้ชื่อและนามสกุลใกล้เคียงความจริงมากที่สุด)
ชายผู้นี้เป็นเจ้าของร้านเช่าวิดีโอเทปย่านถนนสีลม
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
น่าจะเป็นเหมือนวันทั่วๆ ไป ของนายวิภาค แสงสุวิภาคกร, นางสุรภีร วินิตา, นายกิจจา บริหารรุ่งเกียรติ, คุณสมถวิล นุกูลธนวัตร, นายสมหวัง พึ่งก่อการ ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย, ด.ช.ปั้น โรเจอร์ ธนธร และเด็กหญิงฟอน โรส ธนธร ที่เคนซิงตัน อังกฤษ และนายพูนศักดิ์ ประเสริฐวิทยาวิทย์ ซึ่งไปดูงานเกษตรกรรมที่มหาวิทยาลัยแมซซี นิวซีแลนด์
แต่ละคนมาจากครอบครัวที่มีฐานะหรือการงานต่างกัน ต่างกันทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ และไม่ได้รู้จักกัน พูดกันง่ายๆ พวกเขาเหล่านั้นไม่มีอะไรที่กล่าวได้ว่า เคยได้พบกันเลยในประเทศไทย
แต่ชะตากรรมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 ล้วนมาบรรจบกันเพราะในวันที่ 8 พฤษภาคมนั้น เป็นวันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาไทย หลายคนที่กล่าวมานั้นอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ไม่ได้ข่าวเรื่องนี้
แต่มีสองสามคนรู้ข่าว และคาดการณ์ล่วงหน้าอาจจะเกิดเรื่องถึงขั้นรัฐบาลต้องปรับคณะรัฐมนตรีหรือลาออก เป็นไปได้ที่ต้องยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ใครจะคิดว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจะร้ายแรงไปกว่านี้
-วิภาค แสงสุวิภาคกร เป็นคนพ้นวัยหนุ่มแล้ว เขาอายุย่างเข้าสู่วัย 40 เมื่อไม่นานมานี้ เคยรับราชการอยู่ในกระทรวงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้แค่ 2-3 ปีก็เบื่องานประจำ ที่ซ้ำซากไม่ก้าวหน้า
เขาออกมาตั้งบริษัทเล็กๆ โดยไปกู้เงินธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ มาแค่ 2 ล้านบาท รวมกับที่เขาเก็บสะสมอีก 1 ล้านบาทมาซื้อห้องแถวในซอยแห่งหนึ่งที่แยกจากถนนสีลมในราคาไม่แพงนัก เพราะไม่ใช่ย่านชุมชน
วิภาคเปิดร้านขายและให้เช่าวิดีโอเทป ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งเขามีอยู่และสั่งซื้อมาจากต่างประเทศจำนวนมาก เวลานั้นร้านแบบนี้มีน้อยในเขตกรุงเทพฯ และในบริเวณสีลมมีแค่ 2-3 ร้าน ร้านหนึ่งขายภาพยนตร์อินเดียล้วนๆ อีก 2 ร้านขายภาพยนตร์จีนกำลังภายในซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมกัน มีเพียงร้านวิภาคที่ขายและให้เช่าภาพยนตร์ฝรั่ง เขาขายดี จึงจัดโปรโมชัน คือ เช่าดู 3 วัน 5 ม้วนขึ้นไปแถมอีก 1 เรื่อง และถ้าอยากจะซื้อก็ให้ซื้อได้ 1 ม้วนจากหนังที่เช่าไป 5 เรื่อง
ระบบบัญชีรายชื่อลูกค้าของวิภาคลงในคอมพิวเตอร์ ถึงวันเกิดเขาจะส่งบัตรอวยพรไปให้ในมูลค่า 100 บาทหมายความว่า ลูกค้าเอานำแลกดูภาพยนตร์ฟรีได้ 2 ม้วน
วิภาคได้สั่งภาพยนตร์ประเภทซีรีส์ มาจำนวนหนี่ง เช่น Kane&Abel (สร้างจากนวนิยาย) The Wind of War (จากนวนิยาย) และ War and Remembrance (ภาคต่อของ The Wind of War และเรื่องอื่นๆ อีก 30-40 ชุด โดยซีรีส์เหล่านี้กำลังอยู่ในความนิยมที่สหรัฐอเมริกาและทั่วโลก
ดังนั้นแฟนประจำต่างก็ต้องมีคิวจองภาพยนตร์ชุดของร้านจนวิภาคตัดสินใจซื้ออุปกรณ์อัดหนังเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 5 เครื่องเป็น 15 เครื่อง
แม้เป็นเงินไม่มากนัก แต่ธนาคารเห็นตัวเลขกำไรที่เขาทำได้ในรายปีแล้วก็อนุมัติในวงเงิน 1 ล้านบาท วิภาคขอรับเพียง 5 แสนเท่านั้น
เขาสามารถจ่ายเงิน 5 แสนคืนแค่ 3 เดือน และร้านของวิภาคก็ยังคงทำกำไรเป็นกอบเป็นกำได้ในเวลาต่อมา
หนังของวิภาคเป็นหนังลิขสิทธิ์ เขาซื้อมาสเตอร์มาทั้งหมดอย่างถูกต้อง แต่หัวม้วนของแต่ละเรื่องมีคำเตือนไว้ว่า ให้ใช้เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน
ที่สำคัญที่สุดก็คือ “ห้ามทำการผลิตซ้ำในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง”
วิภาคใช้วิธีบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องลงในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ หลังจากทดลองบันทึกด้วยวิธีอื่นๆ มาก่อน รวมทั้งบันทึกจากเทปตรงไปยังเครื่องอัดทีละ 15 เครื่อง พร้อมกัน
เขาพบว่ามันชัดแค่เครื่องอัดตัวแรก และสัญญาณอ่อนลง จนไม่ชัดถึงไม่ชัดเลยในเครื่องถัดมา ดังนั้นเขาจึงไปถามผู้รู้ซึ่งไม่ได้คำตอบเป็นที่น่าสนใจ เขากลับมาค้นคว้าเพิ่มเติมจากนิตยสารต่างประเทศที่บอกวิธีต่างๆ เมื่อรู้วิธีจัดการบันทึกลงฮาร์ดดิสก์ได้แล้ว เขาทำตามนั้น และได้ผลดีเกินคาด
วิภาคไปเดินตามร้านขายอุปกรณ์เชื่อมต่อและซื้อตัวรีพีทสัญญาณหรือบูทสเตอร์มาอีก 2 ตัวเชื่อมต่อเพื่อไม่ให้สัญญาณถดถอย เมื่อแก้ปัญหาได้ภาพยนตร์ชุดของแท้ก็ชัดเหมือนตัวมาสเตอร์เทปทุกเรื่อง เขาขายภาพยนตร์ซีรีส์ได้เกือบทุกเรื่องทั้งรายได้เป็นจำนวนมาก และนี่คือเหตุที่เขาคืนเงิน 5 แสน ให้กับธนาคารจนหมดภายในเวลา 3 เดือน แทนที่จะทยอยจ่ายคืนภายในเวลา 1 ปี
ธนาคารให้เขาเอาเงินไปอีก 5 แสน แม้เขาไม่ต้องการ แต่ก็อยากรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ วิภาคก็รับเงิน 5 แสนไว้ เขาไม่คิดว่าเงิน 5 แสนจะมีความหมายอะไร เพราะแค่ 3 เดือน เขาก็จะใช้คืนได้
วันหนึ่งชะตากรรมของวิภาคก็มาถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมชาวต่างประเทศได้เข้ามาขอตรวจค้นร้านเช่าวิดีโอของเขา ได้กล่าวว่าเขาได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการ “ผลิตซ้ำ” เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการเช่าหรือขาย ภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ไปจำนวนมาก แม้วิภาคจะนำภาพยนตร์มาสเตอร์ให้ดูเป็นจำนวนมาก แต่ชาวต่างประเทศคนนั้นไม่สนใจ
การต่อรองซึ่งหน้าภายในร้านก็ไม่เกิดผล ตำรวจนายนั้นขอเงินวิภาค 2 แสนบาท แลกกับการไม่เอาเรื่อง และขอร้องให้เขาทำได้แค่เช่าเฉพาะสมาชิกที่มีอยู่ โดยไม่ให้ขาจรที่มีอยู่จำนวนมากเช่าเด็ดขาด
เขายอมในประเด็นหลัง แต่ต่อรองเรื่องเงินอ้างว่าเขาให้ได้แค่ 5-6 หมื่นเท่านั้น เนื่องจากเขาเป็นหนี้ธนาคารอยู่ 5 แสนบาท แล้วถ้าไม่จ่ายคืนเขาก็ต้องปิดร้านและต้องเลิกกิจการ
เขาเจ๊งหมดตัวแน่
…ติดตามตอนไปในสัปดาห์หน้า....