เมื่อเร็วๆ นี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกครั้งใหญ่ ที่ต้องการให้มีประธานกลุ่มสินค้า หรือ Chief of Product ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดูแลสินค้าส่งออกสำคัญ 10 รายการแรกของประเทศไทยเป็นพิเศษ โดยแต่ละคนจะมีสินค้าแต่ละรายการให้รับผิดชอบในการคิด ทำแผน ทำกลยุทธ์ จัดกิจกรรม เพื่อผลักดันการส่งออกให้เหมาะสมกับแต่ละสินค้า แต่ละตลาด
เหตุผลที่ต้องตั้งประธานกลุ่มสินค้าเข้ามาดูแลสินค้าในแต่ละรายการ เพราะสินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยนั้น มีสัดส่วนคิดเป็น 70% ของการส่งออกรวมทั้งหมด ขณะที่มูลค่าคิดเป็น 85% ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด
“ต้องการให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบเป็นรายสินค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออก และยังสะดวกในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยเอกชนที่ต้องการมาติดต่อก็จะรู้เลยว่าสินค้านี้ บริการนี้ ควรจะคุยกับใคร จะได้ทำงานกันง่ายขึ้น”นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้เหตุผลไว้
สำหรับสินค้าทั้ง 10 รายการ จะมีประธานกลุ่มสินค้าแยกกันดูแลแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1.นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ดูแลสินค้าอาหาร เช่น อาหาร Ready to eat ผัก ผลไม้สดแข่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และข้าว และดูแลบริการ เช่น ร้านอาหาร
2.นางพิรมล เจริญเผ่า รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ดูแลสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ บริการ เช่น บริการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการตัดเย็บเสื้อผ้า
3.นางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ดูแลสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น เฟอร์นิเจอรื เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และเคหะสิ่งทอ บริการ เช่น ธุรกิจวางระบบซอฟต์แวร์ ธุรกิจ Outsourcing
4.นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ ดูแลสินค้าวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เหล็ก ปูนซิเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก บริการ เช่น บริการรับเหมาะก่อสร้าง บริการออกแบบก่อสร้าง บริการบริหารโครงการ
5.สินค้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เช่น รถกระบะ รถจักรยานยนต์ อะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ ยางแผ่นรมควัน ยางรถยนต์ ถุงมือยาง ไม้ยางพารา และบริการ เช่น บริการอู่ซ่อมรถ ยังไม่ได้แต่งตั้งประธานกลุ่มสินค้า
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติมประธานกลุ่มอีก 3 กลุ่ม คือ
สินค้าเอกลักษณ์ไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม กล้วยไม้ อาหารไทยและสปาไทย ได้มอบหมายให้นางทัศนีย์ สุทธภักติ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดูแล
สินค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออก เช่น เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์เภสัช เคื่องมือแพทย์ เครื่องเขียน ได้มอบหมายให้นางณัฎฐา รัตนเลิศ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดูแล
การดูแล SMEs เช่น การบ่มเพาะผู้ส่งออกและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจการค้าและการส่งออกไปยังตลาดต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการทำธุรกิจผ่าน E-Commerce และกิจกรรมการเข้าตลาดต่างประเทศของกรมส่งเสริมการส่งออก และการดูแลส่งเสริมสินค้า OTOP ได้มอบหมายให้นางสาวกาญจนา เทพารักษ์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดูแล
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากมีประธานกลุ่มสินค้าแล้ว ผู้ที่รับผิดชอบจะทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ว่า สินค้าที่ตัวเองดูแลอยู่นั้นๆ ปัจจุบันมีมูลค่าการส่งออกเท่าไร มีตลาดส่งออกสำคัญอะไรบ้าง ยอดการส่งออกไปแต่ละตลาดเป็นอย่างไร ตลาดไหนตัวเลขการส่งออกดี ตลาดไหนตัวเลขการส่งออกลด ซึ่งเมื่อมองเห็นแล้ว ก็จะต้องมานั่งคิดว่า หากต้องการเพิ่มยอดการส่งออก จะต้องทำอะไรบ้าง จะจัดกิจกรรมอะไร เพื่อผลักดันการส่งออก
ที่สำคัญ การทำงานไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่แค่เฉพาะประธานกลุ่มสินค้า แต่จะทำงานร่วมกับภาคเอกชนในแต่ละสินค้า โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบ กลยุทธ์ กิจกรรม ในการบุกเจาะตลาดด้วย โดยรัฐจะเป็นผู้ให้การสนับสนุน เพราะการส่งออกเป็นหน้าที่ของเอกชน เพียงแต่รัฐจะต้องอำนวยความสะดวกให้อย่างเต็มที่
การทำงานในรูปแบบใหม่นี้ จะเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยประธานกลุ่มสินค้าแต่ละกลุ่มจะมีการแนะนำตัวกับภาคเอกชนในเร็วๆ นี้ เพื่อปรับวิธีการทำงานร่วมกัน
คาดกันว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการปรับรูปแบบการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าในแนวใหม่นี้แล้ว จะสามารถผลักดันให้ยอดการส่งออกสินค้าไทยในปี 2553 มีอัตราการขยายตัวได้ 10-15% และอาจจะมีโอกาสขยายตัวได้สูงถึง 18% ส่วนโอกาสจะเป็นไปได้แค่ไหน และสำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูกันต่อไป
เหตุผลที่ต้องตั้งประธานกลุ่มสินค้าเข้ามาดูแลสินค้าในแต่ละรายการ เพราะสินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยนั้น มีสัดส่วนคิดเป็น 70% ของการส่งออกรวมทั้งหมด ขณะที่มูลค่าคิดเป็น 85% ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด
“ต้องการให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบเป็นรายสินค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออก และยังสะดวกในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยเอกชนที่ต้องการมาติดต่อก็จะรู้เลยว่าสินค้านี้ บริการนี้ ควรจะคุยกับใคร จะได้ทำงานกันง่ายขึ้น”นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้เหตุผลไว้
สำหรับสินค้าทั้ง 10 รายการ จะมีประธานกลุ่มสินค้าแยกกันดูแลแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1.นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ดูแลสินค้าอาหาร เช่น อาหาร Ready to eat ผัก ผลไม้สดแข่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และข้าว และดูแลบริการ เช่น ร้านอาหาร
2.นางพิรมล เจริญเผ่า รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ดูแลสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ บริการ เช่น บริการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการตัดเย็บเสื้อผ้า
3.นางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ดูแลสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น เฟอร์นิเจอรื เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และเคหะสิ่งทอ บริการ เช่น ธุรกิจวางระบบซอฟต์แวร์ ธุรกิจ Outsourcing
4.นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ ดูแลสินค้าวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เหล็ก ปูนซิเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก บริการ เช่น บริการรับเหมาะก่อสร้าง บริการออกแบบก่อสร้าง บริการบริหารโครงการ
5.สินค้ายานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เช่น รถกระบะ รถจักรยานยนต์ อะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ ยางแผ่นรมควัน ยางรถยนต์ ถุงมือยาง ไม้ยางพารา และบริการ เช่น บริการอู่ซ่อมรถ ยังไม่ได้แต่งตั้งประธานกลุ่มสินค้า
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติมประธานกลุ่มอีก 3 กลุ่ม คือ
สินค้าเอกลักษณ์ไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม กล้วยไม้ อาหารไทยและสปาไทย ได้มอบหมายให้นางทัศนีย์ สุทธภักติ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดูแล
สินค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออก เช่น เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์เภสัช เคื่องมือแพทย์ เครื่องเขียน ได้มอบหมายให้นางณัฎฐา รัตนเลิศ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดูแล
การดูแล SMEs เช่น การบ่มเพาะผู้ส่งออกและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจการค้าและการส่งออกไปยังตลาดต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการทำธุรกิจผ่าน E-Commerce และกิจกรรมการเข้าตลาดต่างประเทศของกรมส่งเสริมการส่งออก และการดูแลส่งเสริมสินค้า OTOP ได้มอบหมายให้นางสาวกาญจนา เทพารักษ์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดูแล
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากมีประธานกลุ่มสินค้าแล้ว ผู้ที่รับผิดชอบจะทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ว่า สินค้าที่ตัวเองดูแลอยู่นั้นๆ ปัจจุบันมีมูลค่าการส่งออกเท่าไร มีตลาดส่งออกสำคัญอะไรบ้าง ยอดการส่งออกไปแต่ละตลาดเป็นอย่างไร ตลาดไหนตัวเลขการส่งออกดี ตลาดไหนตัวเลขการส่งออกลด ซึ่งเมื่อมองเห็นแล้ว ก็จะต้องมานั่งคิดว่า หากต้องการเพิ่มยอดการส่งออก จะต้องทำอะไรบ้าง จะจัดกิจกรรมอะไร เพื่อผลักดันการส่งออก
ที่สำคัญ การทำงานไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่แค่เฉพาะประธานกลุ่มสินค้า แต่จะทำงานร่วมกับภาคเอกชนในแต่ละสินค้า โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบ กลยุทธ์ กิจกรรม ในการบุกเจาะตลาดด้วย โดยรัฐจะเป็นผู้ให้การสนับสนุน เพราะการส่งออกเป็นหน้าที่ของเอกชน เพียงแต่รัฐจะต้องอำนวยความสะดวกให้อย่างเต็มที่
การทำงานในรูปแบบใหม่นี้ จะเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยประธานกลุ่มสินค้าแต่ละกลุ่มจะมีการแนะนำตัวกับภาคเอกชนในเร็วๆ นี้ เพื่อปรับวิธีการทำงานร่วมกัน
คาดกันว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการปรับรูปแบบการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าในแนวใหม่นี้แล้ว จะสามารถผลักดันให้ยอดการส่งออกสินค้าไทยในปี 2553 มีอัตราการขยายตัวได้ 10-15% และอาจจะมีโอกาสขยายตัวได้สูงถึง 18% ส่วนโอกาสจะเป็นไปได้แค่ไหน และสำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูกันต่อไป