ASTVผู้จัดการรายวัน-อัยการนำ “เจ้าหน้าที่ระดับสูงทีโอที” ขึ้นไต่สวนคดียึดทรัพย์ “ทักษิณ” 7.6 หมื่นล้าน ระบุ AIS แก้สัญญาลดส่วนแบ่งรายได้บริการโทรศัพท์ Prepaid ปี 44 จนทีโอทีขาดรายได้
วานนี้ (26 พ.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมองค์คณะ รวม 9 คน ไต่สวนพยานคดีหมายเลขดำที่ อม.14/2551 ที่อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัวรวมทั้งผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ รวม 22 ราย จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ โดยใช้อำนาจหน้าที่ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว
โดยอัยการนำพยานไต่สวนรวม 4 ปาก ประกอบด้วย นายสายันห์ ถิ่นสำราญ อดีต ผอ.ฝ่ายการเงินและงบประมาณ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บ.ทีโอที, นายพิพัฒน์ ปทุมวงษ์ ผอ.กองบริหารผลประโยชน์ บ.ทีโอที และนางพจนี ไทยจินดา ผู้จัดการส่วนบริหารใบแจ้งหนี้ บ.ทีโอที ซึ่งเบิกความสอดคล้องกันประเด็นการพิจารณาเสนออัตราการจัดเก็บรายได้จากค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบบัตรเติมเงิน หรือ Prepaid ของบริษัท AIS ในช่วงปี 2544 โดยยืนยันว่าฝ่ายปฏิบัติการได้นำเสนอแผนการจัดเก็บรายได้จาก บ.AIS ในหลายรูปแบบ โดยคำนวณจากข้อมูลที่ปรึกษาทางการเงินจากหลายบริษัท และได้เสนอรายงานให้กับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที พิจารณาให้เก็บรายได้จากบริการระบบ Prepaid อัตราร้อยละ 22 ซึ่งขณะนั้นปี 2544 ยังไม่มีสัญญาการเก็บรายได้จากระบบ Prepaid จึงเทียบเคียงอัตรากับการเก็บระบบค่าบริการแบบจ่ายรายเดือน หรือ PostPaid ในขณะนั้นที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้าร้อยละ 25 แต่ บ.AIS เสนอขอลดเหลืออัตราร้อยละ 20 ซึ่งภายหลังมีการอนุมัติให้เรียกเก็บอัตราร้อยละ 20 ได้ตามที่ขอแก้ไขสัญญาเรื่องลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการในระบบ Prepaid ทำให้ บ.AIS ได้รับผลประโยชน์ แต่ บ.ทีโอที ต้องขาดรายได้
ภายหลังไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานอัยการที่เหลือ ประกอบด้วย นายบรรเจิด สิงคเนติ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (คตส.) เบิกความประเด็นการออกนโยบายยุครัฐบาลทักษิณ ที่เอื้อประโยชน์ธุรกิจและพวกพ้อง, นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส. ประเด็นการปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิมแบงก์) ดอกเบี้ยต่ำ มูลค่า 4,000 ล้านบาทให้รัฐบาลพม่า, นายกล้าณรงค์ จันทิก คณะกรรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอดีต คตส. เบิกความประเด็นการซุกหุ้น, คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีต คตส. ประเด็นการอายัดทรัพย์ และนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. เบิกความสรุปปิดท้ายภาพรวม ในวันที่ 1 และ 3 ธ.ค.นี้ เวลา 09.30 น.
ส่วนการไต่สวนพยานอัยการนัดสุดท้าย วันที่ 8 ธ.ค.นี้ ศาลมีคำสั่งยกเลิกนัด เนื่องจากผู้พิพากษาองค์คณะติดภารกิจราชการต่างประเทศ ศาลจึงกำหนดไต่สวนนัดสุดท้ายเป็นวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ซึ่งอัยการเตรียมนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี เบิกความปิดท้ายประเด็นการปล่อยกู้ของเอ็กซิมแบงก์.
วานนี้ (26 พ.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมองค์คณะ รวม 9 คน ไต่สวนพยานคดีหมายเลขดำที่ อม.14/2551 ที่อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัวรวมทั้งผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ รวม 22 ราย จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ โดยใช้อำนาจหน้าที่ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว
โดยอัยการนำพยานไต่สวนรวม 4 ปาก ประกอบด้วย นายสายันห์ ถิ่นสำราญ อดีต ผอ.ฝ่ายการเงินและงบประมาณ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บ.ทีโอที, นายพิพัฒน์ ปทุมวงษ์ ผอ.กองบริหารผลประโยชน์ บ.ทีโอที และนางพจนี ไทยจินดา ผู้จัดการส่วนบริหารใบแจ้งหนี้ บ.ทีโอที ซึ่งเบิกความสอดคล้องกันประเด็นการพิจารณาเสนออัตราการจัดเก็บรายได้จากค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบบัตรเติมเงิน หรือ Prepaid ของบริษัท AIS ในช่วงปี 2544 โดยยืนยันว่าฝ่ายปฏิบัติการได้นำเสนอแผนการจัดเก็บรายได้จาก บ.AIS ในหลายรูปแบบ โดยคำนวณจากข้อมูลที่ปรึกษาทางการเงินจากหลายบริษัท และได้เสนอรายงานให้กับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที พิจารณาให้เก็บรายได้จากบริการระบบ Prepaid อัตราร้อยละ 22 ซึ่งขณะนั้นปี 2544 ยังไม่มีสัญญาการเก็บรายได้จากระบบ Prepaid จึงเทียบเคียงอัตรากับการเก็บระบบค่าบริการแบบจ่ายรายเดือน หรือ PostPaid ในขณะนั้นที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้าร้อยละ 25 แต่ บ.AIS เสนอขอลดเหลืออัตราร้อยละ 20 ซึ่งภายหลังมีการอนุมัติให้เรียกเก็บอัตราร้อยละ 20 ได้ตามที่ขอแก้ไขสัญญาเรื่องลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการในระบบ Prepaid ทำให้ บ.AIS ได้รับผลประโยชน์ แต่ บ.ทีโอที ต้องขาดรายได้
ภายหลังไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานอัยการที่เหลือ ประกอบด้วย นายบรรเจิด สิงคเนติ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (คตส.) เบิกความประเด็นการออกนโยบายยุครัฐบาลทักษิณ ที่เอื้อประโยชน์ธุรกิจและพวกพ้อง, นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส. ประเด็นการปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิมแบงก์) ดอกเบี้ยต่ำ มูลค่า 4,000 ล้านบาทให้รัฐบาลพม่า, นายกล้าณรงค์ จันทิก คณะกรรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอดีต คตส. เบิกความประเด็นการซุกหุ้น, คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีต คตส. ประเด็นการอายัดทรัพย์ และนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. เบิกความสรุปปิดท้ายภาพรวม ในวันที่ 1 และ 3 ธ.ค.นี้ เวลา 09.30 น.
ส่วนการไต่สวนพยานอัยการนัดสุดท้าย วันที่ 8 ธ.ค.นี้ ศาลมีคำสั่งยกเลิกนัด เนื่องจากผู้พิพากษาองค์คณะติดภารกิจราชการต่างประเทศ ศาลจึงกำหนดไต่สวนนัดสุดท้ายเป็นวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ซึ่งอัยการเตรียมนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี เบิกความปิดท้ายประเด็นการปล่อยกู้ของเอ็กซิมแบงก์.