ASTVผู้จัดการรายวัน – บอร์ด ก.ล.ต. เห็นชอบแนวทางการพัฒนาตลาดตราสาร “ศุกูก” เปิดทางแบงก์อิสลาม ระดมทุนแสนล้านป้อนไทยแข็มแข็ง เดินหน้าออกหลักเกณฑ์การออกและเสนอขาย คาดไตรมาสแรกปีหน้าได้เห็นแน่นอน
นางสุรีรัตน์ สุรเดชะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารศุกูกของไทย โดยอนุญาตให้ผู้ระดมทุน หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ที่ผู้ระดมทุนจัดตั้งขึ้น เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตีเพื่อการออกตราสารศุกูก (asset trustee) โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการอนุญาต รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารศุกูกในแนวทางเดียวกับการเสนอขายตราสารหนี้
ทั้งนี้ ตราสารศุกูกถูกพัฒนาขึ้นตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อใช้ในการระดมทุน เทียบเคียงได้กับการออกตราสารหนี้ (conventional bond) โดยมีความแตกต่างในเรื่องผลตอบแทนของตราสาร ซึ่งต้องไม่อยู่ในรูปของดอกเบี้ย แต่เป็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและรับความเสี่ยงร่วมกัน
โดยการระดมทุนผ่านตราสารศุกูกนี้มีหลายรูปแบบ และรูปแบบที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ผู้ระดมทุนจะนำเงินจากการเสนอขายตราสารศุกูกไปซื้อหรือเช่าทรัพย์สินเพื่อปล่อยเช่าต่อ และจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือตราสารในรูปค่าเช่า หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการร่วมลงทุนระหว่างผู้ระดมทุนและผู้ถือตราสาร หรือผู้ถือตราสารด้วยกันเอง หรือการว่าจ้างบริหารจัดการเงินลงทุน และนำผลตอบแทนที่ได้ไปจ่ายให้กับผู้ถือตราสารในรูปส่วนแบ่งกำไร ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่ใช้เป็นฐานอ้างอิงการทำธุรกรรมต้องสอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์
สำหรับหลักเกณฑ์การออกเสนอขาย และการเปิดเผยข้อมูลของตราสารศุกูกจะใช้แนวทางเดียวกับหลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ทั่วไป และต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายให้การรับรองว่าโครงสร้างการทำธุรกรรมได้ผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลามแล้ว ซึ่งการที่ตราสารศุกูกจะอยู่ในรูปของใบทรัสต์ (trust certificate: TC) ภายใต้พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สำนักงานก.ล.ต. จึงจะออกประกาศเพื่ออนุญาตให้ผู้ระดมทุนหรือ SPV ที่ผู้ระดมทุนตั้งขึ้นสามารถเป็น asset trustee ได้โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตเป็น asset trustee
นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะเสนอแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อเปิดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นสามารถประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายตราสารศุกูกได้
ทั้งนี้ การพัฒนาตราสารศุกูกเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของชาวมุสลิมทั่วโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าสินทรัพย์อิสลามทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง3-4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
นางสุรีรัตน์กล่าวว่า ภายหลังจากบอร์ดเห็นชอบในหลักการแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารศุกูก ก่อนจะออกประกาศบังคับใช้ต่อไป โดยคาดว่าในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า น่าจะได้เห็น ซึ่งในไทยเอง สถาบันการเงินที่น่าจะออกได้ก่อน น่าจะเป็นธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมทั้งธนาคารซี ไอ เอ็ม บี จากมาเลเซียที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเตรียมออกหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ระดมทุนด้วยการออกตราสารเพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล โดยในเบื้องต้นมีมูลค่าการระดมทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือออกพันธบัตรขายในประเทศ 5 หมื่นล้านบาท และขายในต่างประเทศอีก 5 หมื่นล้านบาท โดยการระดมทุนในส่วนนี้ จะเป็นการระดมทุนผ่านกองทุนสวัสดิการ ซึ่งจะเป็นการระดมทุนเพื่อนำไปลงทุนเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงพยาบาล ปรับปรุงสถานีอนามัย จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ
นางสุรีรัตน์ สุรเดชะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารศุกูกของไทย โดยอนุญาตให้ผู้ระดมทุน หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ที่ผู้ระดมทุนจัดตั้งขึ้น เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตีเพื่อการออกตราสารศุกูก (asset trustee) โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการอนุญาต รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารศุกูกในแนวทางเดียวกับการเสนอขายตราสารหนี้
ทั้งนี้ ตราสารศุกูกถูกพัฒนาขึ้นตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อใช้ในการระดมทุน เทียบเคียงได้กับการออกตราสารหนี้ (conventional bond) โดยมีความแตกต่างในเรื่องผลตอบแทนของตราสาร ซึ่งต้องไม่อยู่ในรูปของดอกเบี้ย แต่เป็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและรับความเสี่ยงร่วมกัน
โดยการระดมทุนผ่านตราสารศุกูกนี้มีหลายรูปแบบ และรูปแบบที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ผู้ระดมทุนจะนำเงินจากการเสนอขายตราสารศุกูกไปซื้อหรือเช่าทรัพย์สินเพื่อปล่อยเช่าต่อ และจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือตราสารในรูปค่าเช่า หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการร่วมลงทุนระหว่างผู้ระดมทุนและผู้ถือตราสาร หรือผู้ถือตราสารด้วยกันเอง หรือการว่าจ้างบริหารจัดการเงินลงทุน และนำผลตอบแทนที่ได้ไปจ่ายให้กับผู้ถือตราสารในรูปส่วนแบ่งกำไร ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่ใช้เป็นฐานอ้างอิงการทำธุรกรรมต้องสอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์
สำหรับหลักเกณฑ์การออกเสนอขาย และการเปิดเผยข้อมูลของตราสารศุกูกจะใช้แนวทางเดียวกับหลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ทั่วไป และต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายให้การรับรองว่าโครงสร้างการทำธุรกรรมได้ผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลามแล้ว ซึ่งการที่ตราสารศุกูกจะอยู่ในรูปของใบทรัสต์ (trust certificate: TC) ภายใต้พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สำนักงานก.ล.ต. จึงจะออกประกาศเพื่ออนุญาตให้ผู้ระดมทุนหรือ SPV ที่ผู้ระดมทุนตั้งขึ้นสามารถเป็น asset trustee ได้โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตเป็น asset trustee
นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะเสนอแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อเปิดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นสามารถประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายตราสารศุกูกได้
ทั้งนี้ การพัฒนาตราสารศุกูกเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของชาวมุสลิมทั่วโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าสินทรัพย์อิสลามทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง3-4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
นางสุรีรัตน์กล่าวว่า ภายหลังจากบอร์ดเห็นชอบในหลักการแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารศุกูก ก่อนจะออกประกาศบังคับใช้ต่อไป โดยคาดว่าในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า น่าจะได้เห็น ซึ่งในไทยเอง สถาบันการเงินที่น่าจะออกได้ก่อน น่าจะเป็นธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมทั้งธนาคารซี ไอ เอ็ม บี จากมาเลเซียที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเตรียมออกหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ระดมทุนด้วยการออกตราสารเพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล โดยในเบื้องต้นมีมูลค่าการระดมทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือออกพันธบัตรขายในประเทศ 5 หมื่นล้านบาท และขายในต่างประเทศอีก 5 หมื่นล้านบาท โดยการระดมทุนในส่วนนี้ จะเป็นการระดมทุนผ่านกองทุนสวัสดิการ ซึ่งจะเป็นการระดมทุนเพื่อนำไปลงทุนเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงพยาบาล ปรับปรุงสถานีอนามัย จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ