นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย ออกโรงต้าน พ.ร.บ.ค้าปลีกฯ ที่เร่งรีบผลักดันเข้า ครม. เผยมีผลกระทบเป็นวงกว้างกับเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของต่างชาติ แถมผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าแพง ชี้กฏหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือผิดประเภทไม่สามารถแก้ปัญหาโชวห่วยไทยได้จริงสกัดการแข่งขันเสรีทางการค้า แถมไม่ได้ยึดหลักผู้บริโภคเป็นสำคัญ
นายชาติวิทย์ มงคลเสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย กล่าวถึงการผลักดันร่าง พรบ.ค้าปลีกฯ เข้าครม.ในวันนี้ว่ารัฐบาลควรพิจารณาให้รอบคอบเพราะกฎหมายนี้ มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจซึ่งมีมูลค่ามหาศาล และกระทบต่อผู้บริโภคทุกคน ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ รอบด้านและครบวงจร เพราะมาตรการต่างๆที่จะออกมาบังคับใช้ ต้องมีความชัดเจน และต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคคนสุดท้ายให้มากกว่านี้ จะเห็นว่าร่างนี้ ไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค และการพัฒนาโชวห่วยแต่ประการใดเลย
สำหรับพรบ.ค้าปลีกฯนี้ให้อำนาจปัจเฉกชนเหนืออำนาจศาล จะเห็นจากมาตรา ๔๒ การเปรียบเทียบปรับ ลงโทษ ให้อำนาจแก่คนๆเดียวใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเหนือกว่าอำนาจศาลเสียอีก ต้องแก้ไขให้เป็นรูปคณะกรรมการจะดีกว่าเพราะยากต่อการ Lobby หรือศาลศาลยุติธรรมน่าจะเหมาะสมกว่า
นายชาติวิทย์ กล่าวต่อไปว่า การที่ภาครัฐจะออกกฎหมายใดๆ หรือมาตรการต่างๆใด ต้องพิจารณาถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น TDRI การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพทางธุรกิจ สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ การหยุดขยายสาขา จะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร? ในเมื่อผู้บริโภคยังมีความต้องการอยู่ จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบและครอบคลุม โดยต้องสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ได้ข้อมูลที่ถุกต้องและแม่นยำ
"การต่อต้านห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ประเด็นหลัก ไม่ใช่อยู่ที่การแข่งขันระหว่างร้านค้าใหญ่และผู้ค้ารายย่อย หากแต่อยู่ที่ความต้องการของกลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มพ่อค้าคนกลางที่ต้องการผลกำไรสูงสุด (maximize)ของตนต่อไป โดยไม่ยอมมอบอำนาจการตัดสินใจให้กับผู้บริโภค นั่นเอง"
นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย กล่าวต่อไปว่ามีนักวิชาการหลายคน เช่น ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ และดร.นิพนธ์ พัวพงศธร ประธานสถาบัน TDRI กล่าวไว้ว่า ร่างกฎหมายนี้ เป็นเครื่องมือที่ผิดประเภท คือ 1.มิได้ทำให้อำนาจผูกขาดที่มีอยู่เดิมลดลง 2.มิได้มีหลักประกันว่า จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม 3.มิได้ยึดผู้บริโภคเป็นหัวใจหลักสำคัญ เป็นศูนย์กลาง เห็นได้จากโครงสร้างคณะกรรมการ 19 คน มีผู้บริโภคเพียง 1 เดียว 4.การให้อำนาจคณะกรรมการจากส่วนกลางกำหนดทุกอย่าง แทนที่จะให้ท้องถิ่นชุมชนกำหนด ถือว่าเป็นการบัญญัติกฎหมายที่ถอยหลังลงคลอง ต้องมีหลักคิดใหม่คือ ให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจ แก้ปัญหาเอง จึงจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สามารถรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคไว้ได้ ซัพพลายเออร์ ขายสินค้าให้ โชวห่วย แพงกว่าราคาขายปลีกของร้านสะดวกซื้อ
"ผู้บริโภค จึงต้องซื้อของแพง ในมุมกลับ เมื่อโชวห่วย ซื้อของถูกมาขาย ผู้บริโภคก็ซื้อถูกตาม อย่างนี้ ใครได้รับ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม...สังคมมีคำตอบ กฎหมายที่ดีต้องผ่านกระบวนการของสังคม ให้สังคมช่วยกลั่นกรองผ่านการพูดคุยกันมาตั้งแต่ต้น ที่ดำเนินการอยู่นี้ ถือว่าดี แต่ยังไม่ดีพอ เพราะเร่งรีบ รวบรัดเกินไป"
นายชาติวิทย์ มงคลเสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย กล่าวถึงการผลักดันร่าง พรบ.ค้าปลีกฯ เข้าครม.ในวันนี้ว่ารัฐบาลควรพิจารณาให้รอบคอบเพราะกฎหมายนี้ มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจซึ่งมีมูลค่ามหาศาล และกระทบต่อผู้บริโภคทุกคน ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ รอบด้านและครบวงจร เพราะมาตรการต่างๆที่จะออกมาบังคับใช้ ต้องมีความชัดเจน และต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคคนสุดท้ายให้มากกว่านี้ จะเห็นว่าร่างนี้ ไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค และการพัฒนาโชวห่วยแต่ประการใดเลย
สำหรับพรบ.ค้าปลีกฯนี้ให้อำนาจปัจเฉกชนเหนืออำนาจศาล จะเห็นจากมาตรา ๔๒ การเปรียบเทียบปรับ ลงโทษ ให้อำนาจแก่คนๆเดียวใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเหนือกว่าอำนาจศาลเสียอีก ต้องแก้ไขให้เป็นรูปคณะกรรมการจะดีกว่าเพราะยากต่อการ Lobby หรือศาลศาลยุติธรรมน่าจะเหมาะสมกว่า
นายชาติวิทย์ กล่าวต่อไปว่า การที่ภาครัฐจะออกกฎหมายใดๆ หรือมาตรการต่างๆใด ต้องพิจารณาถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น TDRI การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพทางธุรกิจ สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ การหยุดขยายสาขา จะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร? ในเมื่อผู้บริโภคยังมีความต้องการอยู่ จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบและครอบคลุม โดยต้องสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ได้ข้อมูลที่ถุกต้องและแม่นยำ
"การต่อต้านห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ประเด็นหลัก ไม่ใช่อยู่ที่การแข่งขันระหว่างร้านค้าใหญ่และผู้ค้ารายย่อย หากแต่อยู่ที่ความต้องการของกลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มพ่อค้าคนกลางที่ต้องการผลกำไรสูงสุด (maximize)ของตนต่อไป โดยไม่ยอมมอบอำนาจการตัดสินใจให้กับผู้บริโภค นั่นเอง"
นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย กล่าวต่อไปว่ามีนักวิชาการหลายคน เช่น ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ และดร.นิพนธ์ พัวพงศธร ประธานสถาบัน TDRI กล่าวไว้ว่า ร่างกฎหมายนี้ เป็นเครื่องมือที่ผิดประเภท คือ 1.มิได้ทำให้อำนาจผูกขาดที่มีอยู่เดิมลดลง 2.มิได้มีหลักประกันว่า จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม 3.มิได้ยึดผู้บริโภคเป็นหัวใจหลักสำคัญ เป็นศูนย์กลาง เห็นได้จากโครงสร้างคณะกรรมการ 19 คน มีผู้บริโภคเพียง 1 เดียว 4.การให้อำนาจคณะกรรมการจากส่วนกลางกำหนดทุกอย่าง แทนที่จะให้ท้องถิ่นชุมชนกำหนด ถือว่าเป็นการบัญญัติกฎหมายที่ถอยหลังลงคลอง ต้องมีหลักคิดใหม่คือ ให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจ แก้ปัญหาเอง จึงจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สามารถรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคไว้ได้ ซัพพลายเออร์ ขายสินค้าให้ โชวห่วย แพงกว่าราคาขายปลีกของร้านสะดวกซื้อ
"ผู้บริโภค จึงต้องซื้อของแพง ในมุมกลับ เมื่อโชวห่วย ซื้อของถูกมาขาย ผู้บริโภคก็ซื้อถูกตาม อย่างนี้ ใครได้รับ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม...สังคมมีคำตอบ กฎหมายที่ดีต้องผ่านกระบวนการของสังคม ให้สังคมช่วยกลั่นกรองผ่านการพูดคุยกันมาตั้งแต่ต้น ที่ดำเนินการอยู่นี้ ถือว่าดี แต่ยังไม่ดีพอ เพราะเร่งรีบ รวบรัดเกินไป"