ASTVผู้จัดการรายวัน-ปชป.จวก"ไอ้ตู่" ทำตัวเป็นสายลับให้กัมพูชา โดยไม่มีสำนึกของความเป็นไทย ชี้กุเรื่องเทปลับ อาจเป็นการตัดต่ออย่างที่เคยทำมาแล้ว หรืออาจดักฟังในไทย "มาร์ค"เผยสัมพันธ์ไทย-เขมร ยังนิ่ง ชี้ต้องแยกเรื่องจับกุมวิศวกร กับการตั้ง"แม้ว"เป็นที่ปรึกษาออกจากกัน ย้ำสัมพันธ์จะกลับคืน เขมรต้องทบทวนเรื่องการตั้งที่ปรึกษา รวมทั้งการก้าวล่วงขบวนการยุติธรรม และการเมืองของไทย
จากกรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มเสื้อแดง ออกมาแถลงข่าวที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมาว่าทางกัมพูชา มีเทปลับที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ สั่งการผ่านอุปทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ให้ติดต่อนายศิวรักษ์ โชติพงษ์ วิศวกรบริษัทบริการจราจรทางอากาศกัมพูชา(CATS) ให้ส่งตารางกำหนดการบินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาให้ทางการไทย จนทำให้นายศิวรักษ์ ถูกทางการกัมพูชา จับกุมในข้อหาล้วงความลับนั้น ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมกัมพูชา ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง ทางการกัมพูชาไม่มีการดังฟังการสนทนาดังกล่าว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนเชื่อคำพูดของ พล.อ.เตียบันห์ และขอขอบคุณรัฐบาลกัมพูชา ที่ไม่ดักฟังโทรศัพท์หรือการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ไทย ของสถานทูตไทย เพราะถ้าทำอย่างนั้น กัมพูชาเองก็จะเสียหาย ทุกประเทศเขาก็จะระแวงกันหมด เป็นการผิดกติกา มารยาทในทางการทูตระหว่างประเทศ
"ผมเข้าใจดีว่า พรรคเพื่อไทย เสื้อแดง พวกบริวารคุณทักษิณเขาคุ้นเคยกับวิธีการดักฟังโทรศัพท์ที่ทำอยู่ในประเทศไทย พวกคุณก็ระวังให้ดีเถอะ ผมโดนประจำ บางทีพูดๆไป ผมก็ด่าฝากไปบ้าง เพราะว่ารำคาญที่ดักฟังโทรศัพท์ผม ดังฟังจนโทรศัพท์ผมพังไปหมดแล้ว คนดีๆ คนอื่น เขาไม่ทำกันหรอก มีแต่พวกนี้ที่ชอบแส่อยากรู้ว่าคนคุยอะไรกัน ทำอะไรกัน" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
**เทปตัดต่อหรือแอบดักฟังในไทย
ด้านนพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ประชุมวอร์รูมของพรรคได้มีการหารือกัยถึงเรื่องนี้ และเห็นว่า การที่นายจตุพร อ้างว่ามีคลิปเสียงนายกษิต แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีจริงหรือไม่ หรือถ้ามีจะเป็นคลิปเสียงที่มีการตัดต่อสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ เพราะเคยมีการตัดต่อเทปเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่ามีการสั่งการให้ทหารใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์สงกรานต์เลือดมาครั้งหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเรื่องนี้เป็นการจงใจเพิ่มปัญหา เพื่อสร้างผลกระทบต่อปัญหาการคลี่คลายคดีของนายศิวรักษ์ ซึ่งทางกัมพูชาก็ออกมายืนยันแล้วว่าไม่มีการบันทึกเทปเสียงดังกล่าว ฉะนั้นที่ประชุมวิเคาระห์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือนายจตุพร คงจะล่วงรู้ว่ามีการบันทึกเทป ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นที่กัมพูชา แต่อาจจะเกิดขึ้นจากเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณในเมืองไทยมากกว่า และมีความพยายามที่จะให้นายจตุพร ส่งมอบเทปดังกล่าว ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวสอดรับกับคำพูดของนายจตุพรว่า เรื่องนี้ไปถึงมือฝ่ายกัมพูชาแล้ว
"อยากถามว่าพฤติกรรม ของนายจตุพรซึ่งกระทำเยี่ยงเป็นสายลับให้กับประเทศกัมพูชา ส่งมอบข้อมูลที่ให้ร้ายคนไทย และรัฐบาลไทย ขอถามว่านายจตุพร มีความสำนึกในความเป็นคนไทยหรือไม่ และยืนอยู่ฝ่ายใดกันแน่" นพ.บุรณัชย์กล่าว
**สัมพันธ์ไทย-กัมพูชายังนิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการประสานให้มารดานายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ พนักงานวิศวะกรไทย ที่ถูกกัมพูชาจับกุมเข้าเยี่ยมว่า เมื่อวันที่19 พ.ย. ที่ผ่านมา รมว.ต่างประเทศ บอกว่ากำลังดำเนินการอย่างเต็มที่ จะเร่งให้เร็วที่สุด ตอนนี้อยู่ระหว่างการดูแลเรื่องรายละเอียด หนังสือเดินทางอะไรต่างๆ แต่ต้องประสานไปทางฝ่ายกัมพูชา ซึ่งตอนนี้ท่าทีของฝ่ายกัมพูชาโดยรวมดีขึ้นในเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงคำพูดของพล.อ.เตียบันห์ ที่ออกมาปฏิเสธเรื่องเทปลับดักฟัง ที่นายจตุพรกล่าวอ้างนั้น จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างสองประเทศดีขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นนายสุเทพ ได้กล่าวขอบคุณที่ทางกัมพูชายืนยันตามข้อเท็จจริง อย่างตรงไปตรงมาต่างๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน อย่างที่เรียนเป็นเรื่องแปลกมาก หากนายจตุพร จะอ้างข้อมูลซึ่งบอกว่าเป็นข้อมูลสำคัญของฝ่ายกัมพูชา มันน่าคิด หากเป็นอย่างนั้นบทบาทของใคร เป็นอย่างไร มันดูจะลุกลามไปมาก
เมื่อถามว่าวันนี้สถานการณ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในระดับไหน นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่ามีสองส่วน ส่วนแรกคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเฉพาะ เช่น กรณีของนายศิวรักษ์ และกรณีบริษัท กำลังเร่งคลี่คลายกันอยู่ ภาพรวมความสัมพันธ์ คือว่า อยู่ในจุดที่นิ่งอยู่ แต่ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) ซึ่งจะมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมของไทย กับ พล.อ.เตียบันห์ รมว.กลาโหมของกัมพูชา เป็นประธานร่วมกัน ณ ขณะนี้ทั้งสองฝ่าย มีความพร้อมที่จะพบปะพูดคุยกัน เป็นการยืนยันว่าเราจำกัดวงในสิ่งที่เห็นไม่ตรงกัน และยังเป็นปัญหากันอยู่ คงถูกจำกัดวงขีดวงไว้แล้ว
เมื่อถามว่า หมายความว่าด้านความสัมพันธ์ไม่ได้ลดระดับลง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ได้คิดว่าลดระดับลงต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องการคลี่คลายปัญหาเฉพาะหน้าส่วนหนึ่ง และขีดวงจำกัดในส่วนที่เป็นประเด็นที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา กับเรื่องของนายศิวรักษ์ เราต้องแยกกัน เรื่องนายศิวรักษ์ เราต้องรักษาสิทธิของคนไทย และช่วยเหลือเรื่องกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตอนแรกเราก็ห่วงเพราะสองสามวันแรก ไม่ได้รับเรื่องการเข้าเยี่ยม ตอนนี้เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จะต้องไปว่าตามกระบวนการยุติธรรมของเขา
**ย้ำกัมพูชาต้องทบทวนเรื่องตั้ง"แม้ว"
เมื่อถามว่าสถานการณ์ทางการทูต จะส่งทูตไทยกลับไปประจำกัมพูชาเมื่อไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อันนี้มันโยงกับปัญหาพื้นฐานแรก จุดเริ่มต้นที่เป็นตัวปัญหาขึ้นมา คือเรื่องการตั้งที่ปรึกษา ข้อตกลงที่มีผลประโยชน์ขัดกัน และการเข้ามาก้าวล่วงกระบวนยุติธรรม และการเมืองของไทย ทางกัมพูชาต้องไปทบทวนตรงนั้น
เมื่อถามว่าแสดงว่าตราบใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นที่ปรึกษาของฮุนเซน ก็จะไม่มีการส่งทูตไทยไปประจำ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ไปเจาะจงลึกว่า จะต้องเป็นมาตรการไหนที่ต้องยืนอย่างไร แต่ตรงนั้นคือต้นตอของปัญหา จะต้องมีการไปแก้ไขตรงนั้น หากจะให้กลับไปสู่ความเป็นปกติก้ต้องถอยกลับไป คือพูดง่ายๆ ถอยกลับไปเหมือนก่อนที่จะเกิดเรื่องขึ้นเท่านั้น คือเรื่องการแต่งตั้งที่ปรึกษา
"ขอเรียนว่าขณะนี้แง่การค้าขายชายแดนก็ดำเนินการไปตามปมกติ ความสัมพันธ์ในหลายๆ ด้าน เช่นที่จะมีการประชุมจีบีซี ก็เป็นไปตามปกติ สิ่งที่เป็นปัญหาคือ เราทบทวนบางเรื่อง เนื่องจากเราเห็นว่ามีสิ่งที่ทำแล้วเราเห็นว่าไม่ถูกต้องอยู่บางเรื่อง แต่ทั้งหมดอยู่บนพื้นที่ฐานการติดต่อพูดคุยเจรจา เพื่อให้ได้ทางออกที่ดี" นายกรัฐมนตรีกล่าว
เมื่อถามว่ายังหวังว่ากัมพูชาจะถอยกลับไปที่จุดเดิม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังเชื่อมั่นว่า ในที่สุดทั้งสองประเทศต้องกลับมาสู่ภาวะความเป็นปกติ และต้องไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มันไม่มีทางอื่น
**"เทือก"เชื่อ"แม้ว"ไม่ยอมถอย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง กล่าวถึงการฟื้นสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชาว่า วิธีแก้ไขที่ง่ายก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาและประกาศว่า ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว รัฐบาลกัมพูชา จะได้ตระหนักว่า เมื่อหุ้นส่วนถอนตัว ก็ไม่คุ้มค่าอะไรที่จะมามีปัญหากับประเทศไทย เราก็จะได้มีโอกาสไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กัน ซึ่งตนก็เตรียมพร้อมอยู่แล้วว่ามีช่องทางไหนที่จะพูดจาให้ทางกัมพูชาเขาเข้าใจได้ ลดดีกรีของความรู้สึกที่อึดอัดอยู่ และแก้ไข ค่อยๆ ผ่อนคลาย ก็จะเรียบร้อย เราก็สามารถที่จะส่งทูตกลับไปประจำที่กัมพูชาได้ และกัมพูชา ก็ส่งทูตมาประจำในประเทศไทยได้ การติดต่อทางการทูตกันตามปกติก็จะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สถานการณ์ต่างๆ ก็จะดีขึ้นกว่านี้
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ตนเสนอนี้ เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่ทำ เพราะเขาอุตสาห์ลงทุน ลงแรง ลงเงิน เตรียมการวางแผนไว้มากมาย ว่าจะใช้สถานการณ์นี้มาบีบรัฐบาล มาโค่นรัฐบาล ทำประสานกันทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เพราะฉะนั้นเขาคงไม่ยอมทำหรอก
" คุณทักษิณ พยายามหาทางที่จะให้มีเหตุผลที่จะเดินทางไปอยู่กัมพูชาเป็นช่วงๆ และหวังที่จะใช้ที่กัมพูชาเป็นฐานที่มั่นในการดำเนินงานทางการเมือง เพราะอยู่ใกล้กว่าที่ดูไบ ลูกสมุนบริวาร ก็ไปมาหาสู่ได้รวดเร็ว เรื่องการสนับสนุนเงินทอง ก็ทำได้คล่อง แต่มันเสียหาย เพราะกลายเป็นทำให้ประเทศที่เป็นเพื่อนบ้าน และมีความสัมพันธ์กันดีอยู่ ต้องพลอยมีปัญหาไปด้วย และกระทบกระเทือนธุรกิจของคนอื่นที่เป็นนักลงทุนเข้าไปลงทุนโดยสุจริต แต่นี่ก็ยุ่งไปหมด" นายสุเทพกล่าว
คาดยื่นประกันตัว “ศิวรักษ์” สัปดาห์หน้า
นาย ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธินายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้นาย ศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรบริษัทCATSได้เลือกทนายความเพื่อดำเนินการทางคดีแล้ว คาดว่าในต้นสัปดาห์หน้าจะมีการยื่นเรื่องขอประกันตัว ทั้งนี้จะต้องใช้เวลา 10 วันนับจากวันยื่นขอประกัน ส่วนกรณีที่ครอบครัวของนายศิวรักษ์ติดต่อขอเดินทางไปพบนายศิวรักษ์นั้นขณะนี้ได้ มีการประสานมาแล้วและเรื่องของวันเวลาจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ส่วนกรณีที่ทางการกัมพูชาเข้าไปควบคุมกิจการของบริษัทCATS บริษัทลูกของเครือสามารถฯนั้น อยู่ในช่วงที่ฝ่ายกฎหมายของบ.สามารถฯดูในเรื่องของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการค้าว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง อย่างไรก็ตามผู้บริหารบ.สามารถฯกับผู้นำของกัมพูชามีความสนิทเพราะรู้จักกันมานานน่าจะมีการพูคุยกันได้
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลยอมรับว่าได้ยินกระแสข่าวที่ทางการของกัมพูชาจะมีการยึดบริษัทคัมโบเดีย แอร์ทราฟฟิคฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกอยู่เหมือนกัน แต่คาดว่ากัมพูชาคงทำไม่ได้เพราะบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนในต่างประเทศ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลกัมพูชายึดบริษัทและฉีกสัมปทานที่ให้ไว้จำนวน 32 ปีก็อาจจะมีผลกระทบกับกฎหมายหลายฉบับ ดังนั้นถ้าหากกัมพูชาทำอย่างนั้นอาจไม่คุ้มเสีย อีกทั้งอีกไม่นานจะมีการเปิดตลาดเสรีถ้ากัมพูชาทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับบริษัทต่างชาติอาจจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของกัมพูชาเองด้วย
**เลิกเอ็มโอยู ต้องดูข้อดี ข้อเสีย
พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาว่า ในระดับทหารด้วยกัน กองทัพเรือที่ดูแลด้านจันทบุรี และตราดยังเรียบร้อยดี และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คิดว่าคงไม่มีการเพิ่มเติมกำลัง ส่วนการลาดตระเวนร่วมกันคงเหมือนเดิมตามปกติ
ทั้งนี้ การเป็นทหารที่มีคุณภาพ ไม่ใช่ว่าจำเป็นต้องรบชนะ บางทีการที่ไม่ต้องรบ แต่เราสามารถชนะได้ คือชนะใจเขาได้ คิดว่าเป็นวิธีการรบที่ดีที่สุด ขณะนี้กองทัพเรือทางชายทะเลของกัมพูชาไม่มีการเคลื่อนไหว ยังเป็นปกติ
ส่วนการยกเลิกเอ็มโอยู จะส่งผลกระทบต่อกองทัพเรือ ที่ดูแลพื้นที่ทางทะเลหรือไม่นั้น พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า คิดว่าขณะนี้คงดูแลในรายละเอียดอยู่ แม้จะผ่านมติครม.แล้ว แต่ต้องผ่านรัฐสภาด้วย ทั้งนี้ ต้องช่วยกันคิดว่าผลจะออกมาอย่างไร แต่กองทัพดูแลอยู่มีการลาดตระเวนในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ใดที่ยังไม่สำรวจ เราก็ไปดูว่ามีการละเมิดข้อตกลงหรือไม่ ซึ่งกองทัพทำมานานเป็นปกติตลอดไม่เฉพาะฝั่งตะวันออก แต่รวมถึงฝั่งอันดามัน ซึ่งเราพยายามเสริมสร้างความเป็นมิตรกับกองทัพเพื่อนบ้านเสมอ
"คิดว่ากระทรวงการต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการพิจารณา ที่มีอยู่ 3 คณะ มีความเป็นมืออาชีพทั้งนั้น เชื่อว่าเขานึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และคิดว่าอะไรเป็นข้อดี ข้อเสียของประเทศมากกว่า คงไม่ต้องห่วง แต่หากมีนโยบายอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามกรอบนโยบาย" ผบ.ทร.กล่าว
**ถก "เจบีซี"ลดความตึงเครียด
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ในวันที่ 26 -27 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี โดยเป็นการประชุมระดับรมว.กลาโหมของไทยและกัมพูชา ซึ่งครั้งนี้ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยการประชุมจะมีการหารือถึงสถานการณ์ความมั่นคงตามแนวชายแดน ความร่วมมือทางด้านทหาร ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ระบุว่าจะใช้ความสัมพันธ์ของกองทัพ ในการลดความตรึงเครียดของทั้งสองประเทศ แม้ว่าระดับรัฐบาลจะมีความขัดแย้ง แต่ระดับกองทัพยังมีการพูดคุยกันตลอด ซึ่งกระทรวงกลาโหมจะใช้กลไกกองทัพ เป็นตัวเชื่อมลดความขัดแย้งภายใต้กรอบกลไกของรัฐบาลที่ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้มีความแน่นแฟ้นและไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น
**ไทยทักท้วงเขมรหยุดผุดเมืองใหม่
พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) เปิดเผยถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ ว่า ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะปกติ กำลังทหารของทั้งสองประเทศไม่มีภาวะตึงเครียด ยังปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยพูดคุยกันไว้ ส่วนการแข่งขันกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างราษฎรไทย กับกัมพูชา ในวันที่ 20 พ.ย.ที่โรงเรียนภูมิซรอลวิทยานั้น จำเป็นต้องเลื่อนออกไป เพราะต้องรอดูสถานการณ์ให้นิ่งก่อน หากสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้นก็จะหารือกันอีกครั้ง
ส่วนการค้าขายของประชาชนตามแนวชายแดนทั้ง 2 ประเทศยังเป็นปกติ ทั้งบริเวณช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ และช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนทั้ง 2 ประเทศมีการไปมาหาสู่กันตามปกติ
พล.ท.วีร์วลิต กล่าวถึงกรณีชายแดนบริเวณช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดเขาพระวิหาร ที่ฝ่ายกัมพูชามีแผนโครงการที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา ว่า เป็นแผนเดิมของฝ่ายกัมพูชา และฝ่ายไทยได้แจ้งทักท้วงไปแล้วว่า ขอให้ระงับไว้ก่อนและไทยไม่เห็นด้วยกับการที่จะมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นตรงนั้น เพราะขณะนี้ในเรื่องของการจัดระเบียบการผ่านด่านอะไรต่างๆ ไทยเราอยากจะดำเนินการตรงบริเวณ ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ก่อน โดยทางกัมพูชาอยากจะให้ไปพัฒนาทางช่องตาเฒ่าด้วย ซึ่งเราได้ขอว่าให้รอไปอีกก่อน และยังไม่ได้มีข้อตกลงใดๆ
"ฉะนั้นการที่จะไปสร้างบ้านเอื้ออาทร หรือ สร้างเมืองใหม่ขึ้น ก็เป็นแผนเดิมของฝ่ายกัมพูชา แต่ไทยเรายังไม่ได้ให้สร้าง จึงสร้างไม่ได้" พล.ท.วีร์วลิต กล่าว
จากกรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มเสื้อแดง ออกมาแถลงข่าวที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมาว่าทางกัมพูชา มีเทปลับที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ สั่งการผ่านอุปทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ให้ติดต่อนายศิวรักษ์ โชติพงษ์ วิศวกรบริษัทบริการจราจรทางอากาศกัมพูชา(CATS) ให้ส่งตารางกำหนดการบินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาให้ทางการไทย จนทำให้นายศิวรักษ์ ถูกทางการกัมพูชา จับกุมในข้อหาล้วงความลับนั้น ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมกัมพูชา ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง ทางการกัมพูชาไม่มีการดังฟังการสนทนาดังกล่าว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนเชื่อคำพูดของ พล.อ.เตียบันห์ และขอขอบคุณรัฐบาลกัมพูชา ที่ไม่ดักฟังโทรศัพท์หรือการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ไทย ของสถานทูตไทย เพราะถ้าทำอย่างนั้น กัมพูชาเองก็จะเสียหาย ทุกประเทศเขาก็จะระแวงกันหมด เป็นการผิดกติกา มารยาทในทางการทูตระหว่างประเทศ
"ผมเข้าใจดีว่า พรรคเพื่อไทย เสื้อแดง พวกบริวารคุณทักษิณเขาคุ้นเคยกับวิธีการดักฟังโทรศัพท์ที่ทำอยู่ในประเทศไทย พวกคุณก็ระวังให้ดีเถอะ ผมโดนประจำ บางทีพูดๆไป ผมก็ด่าฝากไปบ้าง เพราะว่ารำคาญที่ดักฟังโทรศัพท์ผม ดังฟังจนโทรศัพท์ผมพังไปหมดแล้ว คนดีๆ คนอื่น เขาไม่ทำกันหรอก มีแต่พวกนี้ที่ชอบแส่อยากรู้ว่าคนคุยอะไรกัน ทำอะไรกัน" รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
**เทปตัดต่อหรือแอบดักฟังในไทย
ด้านนพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ประชุมวอร์รูมของพรรคได้มีการหารือกัยถึงเรื่องนี้ และเห็นว่า การที่นายจตุพร อ้างว่ามีคลิปเสียงนายกษิต แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีจริงหรือไม่ หรือถ้ามีจะเป็นคลิปเสียงที่มีการตัดต่อสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ เพราะเคยมีการตัดต่อเทปเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่ามีการสั่งการให้ทหารใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์สงกรานต์เลือดมาครั้งหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเรื่องนี้เป็นการจงใจเพิ่มปัญหา เพื่อสร้างผลกระทบต่อปัญหาการคลี่คลายคดีของนายศิวรักษ์ ซึ่งทางกัมพูชาก็ออกมายืนยันแล้วว่าไม่มีการบันทึกเทปเสียงดังกล่าว ฉะนั้นที่ประชุมวิเคาระห์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือนายจตุพร คงจะล่วงรู้ว่ามีการบันทึกเทป ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นที่กัมพูชา แต่อาจจะเกิดขึ้นจากเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณในเมืองไทยมากกว่า และมีความพยายามที่จะให้นายจตุพร ส่งมอบเทปดังกล่าว ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวสอดรับกับคำพูดของนายจตุพรว่า เรื่องนี้ไปถึงมือฝ่ายกัมพูชาแล้ว
"อยากถามว่าพฤติกรรม ของนายจตุพรซึ่งกระทำเยี่ยงเป็นสายลับให้กับประเทศกัมพูชา ส่งมอบข้อมูลที่ให้ร้ายคนไทย และรัฐบาลไทย ขอถามว่านายจตุพร มีความสำนึกในความเป็นคนไทยหรือไม่ และยืนอยู่ฝ่ายใดกันแน่" นพ.บุรณัชย์กล่าว
**สัมพันธ์ไทย-กัมพูชายังนิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการประสานให้มารดานายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ พนักงานวิศวะกรไทย ที่ถูกกัมพูชาจับกุมเข้าเยี่ยมว่า เมื่อวันที่19 พ.ย. ที่ผ่านมา รมว.ต่างประเทศ บอกว่ากำลังดำเนินการอย่างเต็มที่ จะเร่งให้เร็วที่สุด ตอนนี้อยู่ระหว่างการดูแลเรื่องรายละเอียด หนังสือเดินทางอะไรต่างๆ แต่ต้องประสานไปทางฝ่ายกัมพูชา ซึ่งตอนนี้ท่าทีของฝ่ายกัมพูชาโดยรวมดีขึ้นในเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงคำพูดของพล.อ.เตียบันห์ ที่ออกมาปฏิเสธเรื่องเทปลับดักฟัง ที่นายจตุพรกล่าวอ้างนั้น จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างสองประเทศดีขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นนายสุเทพ ได้กล่าวขอบคุณที่ทางกัมพูชายืนยันตามข้อเท็จจริง อย่างตรงไปตรงมาต่างๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน อย่างที่เรียนเป็นเรื่องแปลกมาก หากนายจตุพร จะอ้างข้อมูลซึ่งบอกว่าเป็นข้อมูลสำคัญของฝ่ายกัมพูชา มันน่าคิด หากเป็นอย่างนั้นบทบาทของใคร เป็นอย่างไร มันดูจะลุกลามไปมาก
เมื่อถามว่าวันนี้สถานการณ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในระดับไหน นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่ามีสองส่วน ส่วนแรกคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเฉพาะ เช่น กรณีของนายศิวรักษ์ และกรณีบริษัท กำลังเร่งคลี่คลายกันอยู่ ภาพรวมความสัมพันธ์ คือว่า อยู่ในจุดที่นิ่งอยู่ แต่ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) ซึ่งจะมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมของไทย กับ พล.อ.เตียบันห์ รมว.กลาโหมของกัมพูชา เป็นประธานร่วมกัน ณ ขณะนี้ทั้งสองฝ่าย มีความพร้อมที่จะพบปะพูดคุยกัน เป็นการยืนยันว่าเราจำกัดวงในสิ่งที่เห็นไม่ตรงกัน และยังเป็นปัญหากันอยู่ คงถูกจำกัดวงขีดวงไว้แล้ว
เมื่อถามว่า หมายความว่าด้านความสัมพันธ์ไม่ได้ลดระดับลง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ได้คิดว่าลดระดับลงต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องการคลี่คลายปัญหาเฉพาะหน้าส่วนหนึ่ง และขีดวงจำกัดในส่วนที่เป็นประเด็นที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา กับเรื่องของนายศิวรักษ์ เราต้องแยกกัน เรื่องนายศิวรักษ์ เราต้องรักษาสิทธิของคนไทย และช่วยเหลือเรื่องกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตอนแรกเราก็ห่วงเพราะสองสามวันแรก ไม่ได้รับเรื่องการเข้าเยี่ยม ตอนนี้เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จะต้องไปว่าตามกระบวนการยุติธรรมของเขา
**ย้ำกัมพูชาต้องทบทวนเรื่องตั้ง"แม้ว"
เมื่อถามว่าสถานการณ์ทางการทูต จะส่งทูตไทยกลับไปประจำกัมพูชาเมื่อไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อันนี้มันโยงกับปัญหาพื้นฐานแรก จุดเริ่มต้นที่เป็นตัวปัญหาขึ้นมา คือเรื่องการตั้งที่ปรึกษา ข้อตกลงที่มีผลประโยชน์ขัดกัน และการเข้ามาก้าวล่วงกระบวนยุติธรรม และการเมืองของไทย ทางกัมพูชาต้องไปทบทวนตรงนั้น
เมื่อถามว่าแสดงว่าตราบใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นที่ปรึกษาของฮุนเซน ก็จะไม่มีการส่งทูตไทยไปประจำ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ไปเจาะจงลึกว่า จะต้องเป็นมาตรการไหนที่ต้องยืนอย่างไร แต่ตรงนั้นคือต้นตอของปัญหา จะต้องมีการไปแก้ไขตรงนั้น หากจะให้กลับไปสู่ความเป็นปกติก้ต้องถอยกลับไป คือพูดง่ายๆ ถอยกลับไปเหมือนก่อนที่จะเกิดเรื่องขึ้นเท่านั้น คือเรื่องการแต่งตั้งที่ปรึกษา
"ขอเรียนว่าขณะนี้แง่การค้าขายชายแดนก็ดำเนินการไปตามปมกติ ความสัมพันธ์ในหลายๆ ด้าน เช่นที่จะมีการประชุมจีบีซี ก็เป็นไปตามปกติ สิ่งที่เป็นปัญหาคือ เราทบทวนบางเรื่อง เนื่องจากเราเห็นว่ามีสิ่งที่ทำแล้วเราเห็นว่าไม่ถูกต้องอยู่บางเรื่อง แต่ทั้งหมดอยู่บนพื้นที่ฐานการติดต่อพูดคุยเจรจา เพื่อให้ได้ทางออกที่ดี" นายกรัฐมนตรีกล่าว
เมื่อถามว่ายังหวังว่ากัมพูชาจะถอยกลับไปที่จุดเดิม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังเชื่อมั่นว่า ในที่สุดทั้งสองประเทศต้องกลับมาสู่ภาวะความเป็นปกติ และต้องไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มันไม่มีทางอื่น
**"เทือก"เชื่อ"แม้ว"ไม่ยอมถอย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง กล่าวถึงการฟื้นสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชาว่า วิธีแก้ไขที่ง่ายก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาและประกาศว่า ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว รัฐบาลกัมพูชา จะได้ตระหนักว่า เมื่อหุ้นส่วนถอนตัว ก็ไม่คุ้มค่าอะไรที่จะมามีปัญหากับประเทศไทย เราก็จะได้มีโอกาสไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กัน ซึ่งตนก็เตรียมพร้อมอยู่แล้วว่ามีช่องทางไหนที่จะพูดจาให้ทางกัมพูชาเขาเข้าใจได้ ลดดีกรีของความรู้สึกที่อึดอัดอยู่ และแก้ไข ค่อยๆ ผ่อนคลาย ก็จะเรียบร้อย เราก็สามารถที่จะส่งทูตกลับไปประจำที่กัมพูชาได้ และกัมพูชา ก็ส่งทูตมาประจำในประเทศไทยได้ การติดต่อทางการทูตกันตามปกติก็จะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สถานการณ์ต่างๆ ก็จะดีขึ้นกว่านี้
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ตนเสนอนี้ เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่ทำ เพราะเขาอุตสาห์ลงทุน ลงแรง ลงเงิน เตรียมการวางแผนไว้มากมาย ว่าจะใช้สถานการณ์นี้มาบีบรัฐบาล มาโค่นรัฐบาล ทำประสานกันทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เพราะฉะนั้นเขาคงไม่ยอมทำหรอก
" คุณทักษิณ พยายามหาทางที่จะให้มีเหตุผลที่จะเดินทางไปอยู่กัมพูชาเป็นช่วงๆ และหวังที่จะใช้ที่กัมพูชาเป็นฐานที่มั่นในการดำเนินงานทางการเมือง เพราะอยู่ใกล้กว่าที่ดูไบ ลูกสมุนบริวาร ก็ไปมาหาสู่ได้รวดเร็ว เรื่องการสนับสนุนเงินทอง ก็ทำได้คล่อง แต่มันเสียหาย เพราะกลายเป็นทำให้ประเทศที่เป็นเพื่อนบ้าน และมีความสัมพันธ์กันดีอยู่ ต้องพลอยมีปัญหาไปด้วย และกระทบกระเทือนธุรกิจของคนอื่นที่เป็นนักลงทุนเข้าไปลงทุนโดยสุจริต แต่นี่ก็ยุ่งไปหมด" นายสุเทพกล่าว
คาดยื่นประกันตัว “ศิวรักษ์” สัปดาห์หน้า
นาย ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธินายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้นาย ศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรบริษัทCATSได้เลือกทนายความเพื่อดำเนินการทางคดีแล้ว คาดว่าในต้นสัปดาห์หน้าจะมีการยื่นเรื่องขอประกันตัว ทั้งนี้จะต้องใช้เวลา 10 วันนับจากวันยื่นขอประกัน ส่วนกรณีที่ครอบครัวของนายศิวรักษ์ติดต่อขอเดินทางไปพบนายศิวรักษ์นั้นขณะนี้ได้ มีการประสานมาแล้วและเรื่องของวันเวลาจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ส่วนกรณีที่ทางการกัมพูชาเข้าไปควบคุมกิจการของบริษัทCATS บริษัทลูกของเครือสามารถฯนั้น อยู่ในช่วงที่ฝ่ายกฎหมายของบ.สามารถฯดูในเรื่องของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการค้าว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง อย่างไรก็ตามผู้บริหารบ.สามารถฯกับผู้นำของกัมพูชามีความสนิทเพราะรู้จักกันมานานน่าจะมีการพูคุยกันได้
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลยอมรับว่าได้ยินกระแสข่าวที่ทางการของกัมพูชาจะมีการยึดบริษัทคัมโบเดีย แอร์ทราฟฟิคฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกอยู่เหมือนกัน แต่คาดว่ากัมพูชาคงทำไม่ได้เพราะบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนในต่างประเทศ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลกัมพูชายึดบริษัทและฉีกสัมปทานที่ให้ไว้จำนวน 32 ปีก็อาจจะมีผลกระทบกับกฎหมายหลายฉบับ ดังนั้นถ้าหากกัมพูชาทำอย่างนั้นอาจไม่คุ้มเสีย อีกทั้งอีกไม่นานจะมีการเปิดตลาดเสรีถ้ากัมพูชาทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับบริษัทต่างชาติอาจจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของกัมพูชาเองด้วย
**เลิกเอ็มโอยู ต้องดูข้อดี ข้อเสีย
พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาว่า ในระดับทหารด้วยกัน กองทัพเรือที่ดูแลด้านจันทบุรี และตราดยังเรียบร้อยดี และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คิดว่าคงไม่มีการเพิ่มเติมกำลัง ส่วนการลาดตระเวนร่วมกันคงเหมือนเดิมตามปกติ
ทั้งนี้ การเป็นทหารที่มีคุณภาพ ไม่ใช่ว่าจำเป็นต้องรบชนะ บางทีการที่ไม่ต้องรบ แต่เราสามารถชนะได้ คือชนะใจเขาได้ คิดว่าเป็นวิธีการรบที่ดีที่สุด ขณะนี้กองทัพเรือทางชายทะเลของกัมพูชาไม่มีการเคลื่อนไหว ยังเป็นปกติ
ส่วนการยกเลิกเอ็มโอยู จะส่งผลกระทบต่อกองทัพเรือ ที่ดูแลพื้นที่ทางทะเลหรือไม่นั้น พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า คิดว่าขณะนี้คงดูแลในรายละเอียดอยู่ แม้จะผ่านมติครม.แล้ว แต่ต้องผ่านรัฐสภาด้วย ทั้งนี้ ต้องช่วยกันคิดว่าผลจะออกมาอย่างไร แต่กองทัพดูแลอยู่มีการลาดตระเวนในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ใดที่ยังไม่สำรวจ เราก็ไปดูว่ามีการละเมิดข้อตกลงหรือไม่ ซึ่งกองทัพทำมานานเป็นปกติตลอดไม่เฉพาะฝั่งตะวันออก แต่รวมถึงฝั่งอันดามัน ซึ่งเราพยายามเสริมสร้างความเป็นมิตรกับกองทัพเพื่อนบ้านเสมอ
"คิดว่ากระทรวงการต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้องในคณะกรรมาธิการพิจารณา ที่มีอยู่ 3 คณะ มีความเป็นมืออาชีพทั้งนั้น เชื่อว่าเขานึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และคิดว่าอะไรเป็นข้อดี ข้อเสียของประเทศมากกว่า คงไม่ต้องห่วง แต่หากมีนโยบายอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามกรอบนโยบาย" ผบ.ทร.กล่าว
**ถก "เจบีซี"ลดความตึงเครียด
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ในวันที่ 26 -27 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี โดยเป็นการประชุมระดับรมว.กลาโหมของไทยและกัมพูชา ซึ่งครั้งนี้ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยการประชุมจะมีการหารือถึงสถานการณ์ความมั่นคงตามแนวชายแดน ความร่วมมือทางด้านทหาร ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ระบุว่าจะใช้ความสัมพันธ์ของกองทัพ ในการลดความตรึงเครียดของทั้งสองประเทศ แม้ว่าระดับรัฐบาลจะมีความขัดแย้ง แต่ระดับกองทัพยังมีการพูดคุยกันตลอด ซึ่งกระทรวงกลาโหมจะใช้กลไกกองทัพ เป็นตัวเชื่อมลดความขัดแย้งภายใต้กรอบกลไกของรัฐบาลที่ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้มีความแน่นแฟ้นและไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น
**ไทยทักท้วงเขมรหยุดผุดเมืองใหม่
พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) เปิดเผยถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ ว่า ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะปกติ กำลังทหารของทั้งสองประเทศไม่มีภาวะตึงเครียด ยังปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยพูดคุยกันไว้ ส่วนการแข่งขันกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างราษฎรไทย กับกัมพูชา ในวันที่ 20 พ.ย.ที่โรงเรียนภูมิซรอลวิทยานั้น จำเป็นต้องเลื่อนออกไป เพราะต้องรอดูสถานการณ์ให้นิ่งก่อน หากสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้นก็จะหารือกันอีกครั้ง
ส่วนการค้าขายของประชาชนตามแนวชายแดนทั้ง 2 ประเทศยังเป็นปกติ ทั้งบริเวณช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ และช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนทั้ง 2 ประเทศมีการไปมาหาสู่กันตามปกติ
พล.ท.วีร์วลิต กล่าวถึงกรณีชายแดนบริเวณช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดเขาพระวิหาร ที่ฝ่ายกัมพูชามีแผนโครงการที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา ว่า เป็นแผนเดิมของฝ่ายกัมพูชา และฝ่ายไทยได้แจ้งทักท้วงไปแล้วว่า ขอให้ระงับไว้ก่อนและไทยไม่เห็นด้วยกับการที่จะมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นตรงนั้น เพราะขณะนี้ในเรื่องของการจัดระเบียบการผ่านด่านอะไรต่างๆ ไทยเราอยากจะดำเนินการตรงบริเวณ ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ก่อน โดยทางกัมพูชาอยากจะให้ไปพัฒนาทางช่องตาเฒ่าด้วย ซึ่งเราได้ขอว่าให้รอไปอีกก่อน และยังไม่ได้มีข้อตกลงใดๆ
"ฉะนั้นการที่จะไปสร้างบ้านเอื้ออาทร หรือ สร้างเมืองใหม่ขึ้น ก็เป็นแผนเดิมของฝ่ายกัมพูชา แต่ไทยเรายังไม่ได้ให้สร้าง จึงสร้างไม่ได้" พล.ท.วีร์วลิต กล่าว