ASTVผู้จัดการรายยัน - “มาร์ค” เด็ดขาด สั่ง สศช.-คลัง ร่างทีโออาร์พร้อมเปิดประมูลภายใน 3 เดือน หากไร้เงาเอกชนทำ ยุบทิ้งทันที ด้านชุมพลเปรยไม่ควรทำตั้งแต่แรกเปรียบเหมือนแชร์แม่ชะม้อย ด้านเอกชนเฮโละทิ้งได้ก็ดี อยู่ไปก็มีแต่ปัญหา ส่วนแอคทีฟสนซื้อกิจการ
วานนี้(17 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เอกชนเข้ามาดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ หรือบัตรอีลิทการ์ด ของบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดทำทีโออาร์หรือเงื่อนไขการเปิดประมูลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อเปิดประมูลให้กับเอกชนที่สนใจ ส่วนเอกชนที่จะซื้อโครงการนี้ไปดำเนินการต่อต้องรับไปทั้งหมดทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดทางกฎหมาย
“สิ่งเดียวที่รัฐบาลยังให้การสนับสนุนคือสิทธิของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐโดยตรง เช่นการตรวจลงตราคนเข้าเมืองหรือวีซ่า และบริการต่าง ๆ เท่านั้น หากภายใน 3 เดือนแล้วยังไม่มีบริษัทเอกชนรายใดแสดงความสนใจเข้ามา ก็จะใช้แนวทางที่ 2 คือการยกเลิกบริษัทและให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้าไปดำเนินการดูแลสมาชิกทั้งหมดแทน”นายกฯกล่าว
อย่างไรก็ตามมีเอกชนรายหนึ่งเสนอตัวที่จะมาซื้อโครงการนี้เพื่อไปบริหารจัดการเอง แต่มีเงื่อนไขคือภาครัฐต้องช่วยเหลือในการออกวีซ่าให้กับภาคเอกชน 5 ปี ต่อคน
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ครม.พิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษไทยแลนด์พริวิเลจคาร์ด(Thailand Privilege Card)หรืออีลิทการ์ด จาก 4 แนวทาง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยแบ่งเป็น 2 ทางเลือกคือ 1.ปิดบริษัทไทยแลนด์พริวิเลจคาร์ด จำกัด และยุติโครงการฯโดยสิ้นเชิง หรือ 2.การดำเนินโครงการฯต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 แนวทางคือ การดำเนินโครงการฯต่อไป โดยการร่วมทุนกับภาคเอกชน หรือ การดำเนินโครงการฯต่อไป โดยปรับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือ การดำเนินภารกิจให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ดำเนินการต่อไป
นายวัชระ กล่าวถึงบรรยากาศการประชุมพิจารณาวาระดังกล่าวว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.ท่องเที่ยวฯ ได้รายงานกับทื่ประชุมครม.ถึงที่มาที่ไปว่าโครงการดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะว่าการทำงานของโครงการดังกล่าวนี้เหมือนกับแชร์แม่ชะม้อย คือนำเอาเงินของสมาชิกคนอื่นมาปะหรือมาใช้ ซึ่งขณะนี้ยอดขาย 2 พันกว่าคนวันนี้เหลือเงินอยู่ 3 ร้อยล้านบาท และมีปัญหาเยอะมาก ซึ่งหน่วยงานที่ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์หรือหน่วยงานอื่นส่วนใหญ่เห็นพ้องให้ยุติโครงการ
“นายชุมพลบอกกับที่ประชุมครม.ว่าขณะนี้ได้สกรีนในส่วนของสมาชิกเพราะจาก 2 พันกว่าราย อย่างน้อยวันนี้มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีประมาณ 700 รายที่อาจจะไม่เข้าข่ายคุณสมบัติของการเป็นสมาชิก ซึ่งนายชุมพลย้ำว่าขณะนี้กระบวนการตรวจสอบยังดำเนินต่อไป ขณะนี้มีการปรับค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งในเรื่องปริมาณของบอร์ด พนักงานลงไปเรื่อยๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายขณะนี้อยู่ที่เดือนละประมาณ 20 ล้านบาท”นายวัชระ กล่าว
รองโฆษก กล่าวอีกว่า นายชุมพล กล่าวในที่ประชุมอีกว่าในขณะที่มีการร่างทีโออาร์เพื่อเปิดประมูลใหม่นั้นสมาชิกเดิมยังไม่ถูกตัดสิทธิ์หรือยกเลิก ยังสามารถใช้บริการได้ตามปกติ
***อดีตบอสอีลิทค้าน
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ รักษาการรองผู้ว่าการด้านบริหาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด กล่าวแสดงความมั่นใจว่า จะมีเอกชนสนใจเข้ามาดำเนินการแน่นอน เพราะอีลิท การ์ด ยังได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะเรื่องให้วีซ่าฟรี 5 ปีที่ถือว่าคุ้มค่า โดยที่ผ่านเอกชนที่สนใจลงทุน คือ บริษัท การบินกรุงเทพ ผู้ให้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และมีกระแสข่าวว่าบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นเนล ก็สนใจเช่นกัน
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าไม่เห็นด้วยที่ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการเพราะพิจารณาจากแผนการดำเนินงานแล้ว อีลิท การ์ด ยังเติบโตได้ และที่ผ่านมาได้ปรับลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในองค์กรต่อเนื่อง หากดำเนินการต่อไปภายใต้แผนที่กำหนด จะส่งผลให้ อีลิท การ์ด ดำเนินงานได้มีประสิทธิภาพแน่นอน
****เอกชนไชโยรัฐสั่งอีลิทพ้นอก****
ทางด้านนายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว(ทีทีเอเอ) และโฆษก สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟสต้า) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่ขายกิจการอีลิทการ์ดออกไป เพราะอยู่ไปก็สิ้นเปลืองงบประมาณของภาครัฐ ที่จะไปใช้อุ้มกลุ่มผู้มีเงิน ซึ่งภาคเอกชนท่องเที่ยวมีแนวคิดว่าต้องขายหรือยุบกิจการมาโดยตลอดอยู่แล้ว
ทั้งนี้มองว่าบริษัทอีลิทการ์ดนี้ยากที่จะฟื้นกลับมาโด่งดังเหมือนในอดีตได้ แม้จะเปลี่ยนไปเป็นของเอกชน เพราะชื่อเสียงและการทำงานที่ล้มไปแล้วจะฟื้นยาก และก็จะไม่มีความเป็นบัตรเทวดาอีกต่อไป แต่หากขายกิจการไม่ได้แล้วจะมาฝากไว้กับ ททท.นั้นเอกชนไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด เพราะบริษัทนี้รัฐไม่ควรจัดสรรงบประมาณมาอุ้มอีกต่อไป
***แอคทีฟแย้มสนใจซื้อกิจการ*******
นางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทแอคทีฟ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายบัตรอีลิทการ์ดรายใหญ่ กล่าวว่า การตัดสินใจของรัฐบาลจะไม่กระทบต่อสมาชิกผู้ถือบัตร เพราะตอนนี้เชื่อว่าทุกคนเฝ้ารอแต่ว่าผลการตัดสินใจของรัฐบาลจะเป็นเช่นใด และถ้าเอกชนเป็นเจ้าของก็จะได้ไม่ถูกโยงไปเกี่ยวข้องกับการเมืองให้วุ่นวายอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศราว 6-7 ราย เคยชวนแอคทีฟให้ร่วมหุ้นเพื่อเข้าซื้อกิจการของอีลิทการ์ดอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้คงต้องกลับไปศึกษาก่อนว่า จะทำเช่นนั้นหรือไม่ โดยจะขอดูเงื่อนไขของรัฐบาลในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ ต่างๆจากภาครัฐ เช่น ฟรีวีซ่าตลอดชีวิต โดยต่ออายุทุก 5 ปี และเงื่อนไขอื่นๆ เพราะต้องให้แน่ใจก่อนว่า
เมื่อซื้อกิจการไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆอีกแม้จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
โดยส่วนตัวมองว่าอีลิทการ์ดสามารถทำเงินได้จำนวนมาก หากมีนโยบายที่นิ่งพอ ก็สามารถเพิ่มราคาขายบัตรได้ อีกทั้งศักยภาพของสมาชิกที่มีอยู่และจะเป็นต่อไปในอนาคต เชื่อว่ากว่า 50% เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพด้านการลงทุนสูง แต่เรายังไม่ได้นำประโยชน์จากคนกลุ่มนี้มาใช้ให้เกิดกับประเทศ หากผู้ที่เข้าใจในศักยภาพตรงนี้มั่นใจว่า เมื่อรัฐบาลประกาศขายจะมีเอกชนสนใจซื้อแน่นอน
**บางกอกแอร์-คิงเพาเวอร์ไม่สนอีลิท****
มล.นันทกา วรวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส กล่าวว่า เคยหารือกับผู้บริหารอีลิทการ์ด ว่าสนใจเข้าไปร่วมบริหารโครงการในรูปแบบการร่วมทุน แต่เมื่อเวลาผ่านไปประกอบกับบริษัทได้ทบทวนก็ได้ล้มเลิกแนวคิดดังกล่าว เพราะบริษัทมองว่ายังไม่พร้อมที่จะรับภาระหนี้สินของอีลิทการ์ดประกอบกับเป็นช่วงเศรษฐกิจขาลงบวกกับชื่อเสียงที่เสียหาของบริษัท ทำให้การทำตลาดเพื่อหาผู้ซื้อคงจะลำบาก
"ช่วงที่ทีพีซีปรับโครงสร้างองค์กร ก็เคยเข้าไปคุยกับผู้บริหาร เพราะเห็นว่าต้องการให้เอกชนเข้าไปบริหาร หรือเป็นที่ปรึกษา แต่ตอนนี้มองว่ามันเลยจากจุดที่จะเข้าไปดำเนินการแล้ว ก็คงไม่สนใจแน่นอน”
ทางด้าน นายสมบัตร เดชาพาณิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทคิง พาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป กล่าวว่า จาก กระแสข่าวลือที่ว่า คิงพาวเวอร์ จะเข้าไปซื้อกิจการอีลิทการ์ดนั้นไม่เป็นความจริง เพราะไม่เคยมีแนวคิดดังกล่าวเลย
///////////////////
วานนี้(17 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เอกชนเข้ามาดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ หรือบัตรอีลิทการ์ด ของบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดทำทีโออาร์หรือเงื่อนไขการเปิดประมูลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อเปิดประมูลให้กับเอกชนที่สนใจ ส่วนเอกชนที่จะซื้อโครงการนี้ไปดำเนินการต่อต้องรับไปทั้งหมดทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดทางกฎหมาย
“สิ่งเดียวที่รัฐบาลยังให้การสนับสนุนคือสิทธิของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐโดยตรง เช่นการตรวจลงตราคนเข้าเมืองหรือวีซ่า และบริการต่าง ๆ เท่านั้น หากภายใน 3 เดือนแล้วยังไม่มีบริษัทเอกชนรายใดแสดงความสนใจเข้ามา ก็จะใช้แนวทางที่ 2 คือการยกเลิกบริษัทและให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้าไปดำเนินการดูแลสมาชิกทั้งหมดแทน”นายกฯกล่าว
อย่างไรก็ตามมีเอกชนรายหนึ่งเสนอตัวที่จะมาซื้อโครงการนี้เพื่อไปบริหารจัดการเอง แต่มีเงื่อนไขคือภาครัฐต้องช่วยเหลือในการออกวีซ่าให้กับภาคเอกชน 5 ปี ต่อคน
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ครม.พิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกพิเศษไทยแลนด์พริวิเลจคาร์ด(Thailand Privilege Card)หรืออีลิทการ์ด จาก 4 แนวทาง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยแบ่งเป็น 2 ทางเลือกคือ 1.ปิดบริษัทไทยแลนด์พริวิเลจคาร์ด จำกัด และยุติโครงการฯโดยสิ้นเชิง หรือ 2.การดำเนินโครงการฯต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 แนวทางคือ การดำเนินโครงการฯต่อไป โดยการร่วมทุนกับภาคเอกชน หรือ การดำเนินโครงการฯต่อไป โดยปรับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือ การดำเนินภารกิจให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ดำเนินการต่อไป
นายวัชระ กล่าวถึงบรรยากาศการประชุมพิจารณาวาระดังกล่าวว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.ท่องเที่ยวฯ ได้รายงานกับทื่ประชุมครม.ถึงที่มาที่ไปว่าโครงการดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะว่าการทำงานของโครงการดังกล่าวนี้เหมือนกับแชร์แม่ชะม้อย คือนำเอาเงินของสมาชิกคนอื่นมาปะหรือมาใช้ ซึ่งขณะนี้ยอดขาย 2 พันกว่าคนวันนี้เหลือเงินอยู่ 3 ร้อยล้านบาท และมีปัญหาเยอะมาก ซึ่งหน่วยงานที่ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์หรือหน่วยงานอื่นส่วนใหญ่เห็นพ้องให้ยุติโครงการ
“นายชุมพลบอกกับที่ประชุมครม.ว่าขณะนี้ได้สกรีนในส่วนของสมาชิกเพราะจาก 2 พันกว่าราย อย่างน้อยวันนี้มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีประมาณ 700 รายที่อาจจะไม่เข้าข่ายคุณสมบัติของการเป็นสมาชิก ซึ่งนายชุมพลย้ำว่าขณะนี้กระบวนการตรวจสอบยังดำเนินต่อไป ขณะนี้มีการปรับค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งในเรื่องปริมาณของบอร์ด พนักงานลงไปเรื่อยๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายขณะนี้อยู่ที่เดือนละประมาณ 20 ล้านบาท”นายวัชระ กล่าว
รองโฆษก กล่าวอีกว่า นายชุมพล กล่าวในที่ประชุมอีกว่าในขณะที่มีการร่างทีโออาร์เพื่อเปิดประมูลใหม่นั้นสมาชิกเดิมยังไม่ถูกตัดสิทธิ์หรือยกเลิก ยังสามารถใช้บริการได้ตามปกติ
***อดีตบอสอีลิทค้าน
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ รักษาการรองผู้ว่าการด้านบริหาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด กล่าวแสดงความมั่นใจว่า จะมีเอกชนสนใจเข้ามาดำเนินการแน่นอน เพราะอีลิท การ์ด ยังได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะเรื่องให้วีซ่าฟรี 5 ปีที่ถือว่าคุ้มค่า โดยที่ผ่านเอกชนที่สนใจลงทุน คือ บริษัท การบินกรุงเทพ ผู้ให้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และมีกระแสข่าวว่าบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นเนล ก็สนใจเช่นกัน
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าไม่เห็นด้วยที่ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการเพราะพิจารณาจากแผนการดำเนินงานแล้ว อีลิท การ์ด ยังเติบโตได้ และที่ผ่านมาได้ปรับลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในองค์กรต่อเนื่อง หากดำเนินการต่อไปภายใต้แผนที่กำหนด จะส่งผลให้ อีลิท การ์ด ดำเนินงานได้มีประสิทธิภาพแน่นอน
****เอกชนไชโยรัฐสั่งอีลิทพ้นอก****
ทางด้านนายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว(ทีทีเอเอ) และโฆษก สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟสต้า) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่ขายกิจการอีลิทการ์ดออกไป เพราะอยู่ไปก็สิ้นเปลืองงบประมาณของภาครัฐ ที่จะไปใช้อุ้มกลุ่มผู้มีเงิน ซึ่งภาคเอกชนท่องเที่ยวมีแนวคิดว่าต้องขายหรือยุบกิจการมาโดยตลอดอยู่แล้ว
ทั้งนี้มองว่าบริษัทอีลิทการ์ดนี้ยากที่จะฟื้นกลับมาโด่งดังเหมือนในอดีตได้ แม้จะเปลี่ยนไปเป็นของเอกชน เพราะชื่อเสียงและการทำงานที่ล้มไปแล้วจะฟื้นยาก และก็จะไม่มีความเป็นบัตรเทวดาอีกต่อไป แต่หากขายกิจการไม่ได้แล้วจะมาฝากไว้กับ ททท.นั้นเอกชนไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด เพราะบริษัทนี้รัฐไม่ควรจัดสรรงบประมาณมาอุ้มอีกต่อไป
***แอคทีฟแย้มสนใจซื้อกิจการ*******
นางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทแอคทีฟ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายบัตรอีลิทการ์ดรายใหญ่ กล่าวว่า การตัดสินใจของรัฐบาลจะไม่กระทบต่อสมาชิกผู้ถือบัตร เพราะตอนนี้เชื่อว่าทุกคนเฝ้ารอแต่ว่าผลการตัดสินใจของรัฐบาลจะเป็นเช่นใด และถ้าเอกชนเป็นเจ้าของก็จะได้ไม่ถูกโยงไปเกี่ยวข้องกับการเมืองให้วุ่นวายอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศราว 6-7 ราย เคยชวนแอคทีฟให้ร่วมหุ้นเพื่อเข้าซื้อกิจการของอีลิทการ์ดอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้คงต้องกลับไปศึกษาก่อนว่า จะทำเช่นนั้นหรือไม่ โดยจะขอดูเงื่อนไขของรัฐบาลในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ ต่างๆจากภาครัฐ เช่น ฟรีวีซ่าตลอดชีวิต โดยต่ออายุทุก 5 ปี และเงื่อนไขอื่นๆ เพราะต้องให้แน่ใจก่อนว่า
เมื่อซื้อกิจการไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆอีกแม้จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
โดยส่วนตัวมองว่าอีลิทการ์ดสามารถทำเงินได้จำนวนมาก หากมีนโยบายที่นิ่งพอ ก็สามารถเพิ่มราคาขายบัตรได้ อีกทั้งศักยภาพของสมาชิกที่มีอยู่และจะเป็นต่อไปในอนาคต เชื่อว่ากว่า 50% เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพด้านการลงทุนสูง แต่เรายังไม่ได้นำประโยชน์จากคนกลุ่มนี้มาใช้ให้เกิดกับประเทศ หากผู้ที่เข้าใจในศักยภาพตรงนี้มั่นใจว่า เมื่อรัฐบาลประกาศขายจะมีเอกชนสนใจซื้อแน่นอน
**บางกอกแอร์-คิงเพาเวอร์ไม่สนอีลิท****
มล.นันทกา วรวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส กล่าวว่า เคยหารือกับผู้บริหารอีลิทการ์ด ว่าสนใจเข้าไปร่วมบริหารโครงการในรูปแบบการร่วมทุน แต่เมื่อเวลาผ่านไปประกอบกับบริษัทได้ทบทวนก็ได้ล้มเลิกแนวคิดดังกล่าว เพราะบริษัทมองว่ายังไม่พร้อมที่จะรับภาระหนี้สินของอีลิทการ์ดประกอบกับเป็นช่วงเศรษฐกิจขาลงบวกกับชื่อเสียงที่เสียหาของบริษัท ทำให้การทำตลาดเพื่อหาผู้ซื้อคงจะลำบาก
"ช่วงที่ทีพีซีปรับโครงสร้างองค์กร ก็เคยเข้าไปคุยกับผู้บริหาร เพราะเห็นว่าต้องการให้เอกชนเข้าไปบริหาร หรือเป็นที่ปรึกษา แต่ตอนนี้มองว่ามันเลยจากจุดที่จะเข้าไปดำเนินการแล้ว ก็คงไม่สนใจแน่นอน”
ทางด้าน นายสมบัตร เดชาพาณิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทคิง พาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป กล่าวว่า จาก กระแสข่าวลือที่ว่า คิงพาวเวอร์ จะเข้าไปซื้อกิจการอีลิทการ์ดนั้นไม่เป็นความจริง เพราะไม่เคยมีแนวคิดดังกล่าวเลย
///////////////////