นางสาวณัฐรินทร์ ตาลทอง กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KS เปิดเผยว่า กำไรสุทธิของบริษัทช่วง 2 เดือนสุดท้ายปีนี้จะเติบโตสูงคาดไม่ต่ำกว่า 70% ของกำไรสุทธิงวด 9 เดือนล่าสุดที่มี 134 ล้านบาท ผลจากรายได้งานวาณิชธนกิจตั้งแต่ต้นปีมีดีลที่จบไปแล้วทั้งสิ้น 2 ดีล มูลค่ารวมกว่า 9,000 ล้านบาท และมีดีลที่คาดว่าจะจบภายในสิ้นปี อีก 2 ดีล มูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่พฤศจิกายนนี้
ปัจจุบัน บริษัทมีลูกค้าประมาณ 11,000 บัญชี จากเดิมที่มีอยู่ 8,500 บัญชี แม้อัตราการเติบโตจะไม่สูงมาก แต่ลูกค้าของบริษัทเป็นกลุ่ม ระดับบนที่มีการซื้อขายสูง จึงทำให้รายได้จากค่าบริการซื้อขายหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทมีแผนจะเข้าไปเจาะฐานลูกค้าระดับกลางของธนาคารกสิกรไทย กว่า 2 ล้านบัญชีให้เข้ามาลงทุนกับบริษัท จึงมีแผนจะเพิ่มมาร์เก็ตอีก 130 ตำแหน่ง
ขณะเดียวการบริการใหม่ปี 53 บริษัทมีแผนจะให้บริการนายหน้าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (Bond Trading) และการเสนอขายหุ้นกู้ รวมถึงกองทุนรวมของบริษัทจัดการลงทุนในเครือเข้ามาเสริม แต่ยืนยันว่าไม่ใช่รายได้ที่เน้นให้ความสำคัญมากนัก เพียงแต่ต้องนำมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามคอนเซ็ปต์ One Stop Service หรือเพื่อเพิ่มช่องทางลงทุนในกรณีที่การลงทุนหุ้นผันผวน ให้สามารถโยกเงินลงทุนไปสู่สินทรัพย์อื่นๆเพื่อรับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
สำหรับ ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปีนี้ บริษัทรายได้ 339 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิกว่า 134 ล้านบาท เติบโต 362 % จากงวดเดียวกันปี51ที่มีกำไรสุทธิ 29 ล้านบาทและมีรายได้เพียง 273 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาด (ไม่รวม proprietary trade) เฉลี่ย 10 เดือนแรก อยู่ที่ 2.64 % อยู่ในอันดับที่ 18
" ความสำเร็จของ KS สะท้อนได้จากการสร้างกิจกรรมทางการตลาดโดยยึดเอาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ภายใต้คอนเซปต์ "KS...more" รวมถึงการทำงานในรูปแบบ Partnership ทั้งกับบริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย พันธมิตรทางธุรกิจ และการเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพ ทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถเติบโตติดอันดับ 1 ใน 3 ของโบรกเกอร์ไทย หรือมีมาร์เกตแชร์ 5%ให้ได้ภายใน 3 ปีนี้แน่นอน " นางสาวณัฐรินทร์กล่าว
ทั้งนี้ กรรมการ บล.กสิกรไทย กล่าวว่าการเปิดเสรีค่าคอมฯ น่าจะทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรงมากขึ้น โดยบล.มีแนวโน้มการควบรวมกิจการกันเองถึง40% ซึ่งจะเหลืออยู่เพียง 25 แห่ง จากปัจจุบันที่ 37 บริษัท โดยในที่สุดจะเหลือเฉพาะบล.ขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งมากกว่า 5% บล.ที่มีธนาคารเป็นพันธมิตร และบล.ต่างประเทศ และอาจเกิด Discount broker หรือบล.ที่ไม่เน้นในเรื่องของบทวิเคราะห์ และลดต้นทุนต่างๆ ให้น้อยที่สุด
ปัจจุบัน บริษัทมีลูกค้าประมาณ 11,000 บัญชี จากเดิมที่มีอยู่ 8,500 บัญชี แม้อัตราการเติบโตจะไม่สูงมาก แต่ลูกค้าของบริษัทเป็นกลุ่ม ระดับบนที่มีการซื้อขายสูง จึงทำให้รายได้จากค่าบริการซื้อขายหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทมีแผนจะเข้าไปเจาะฐานลูกค้าระดับกลางของธนาคารกสิกรไทย กว่า 2 ล้านบัญชีให้เข้ามาลงทุนกับบริษัท จึงมีแผนจะเพิ่มมาร์เก็ตอีก 130 ตำแหน่ง
ขณะเดียวการบริการใหม่ปี 53 บริษัทมีแผนจะให้บริการนายหน้าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (Bond Trading) และการเสนอขายหุ้นกู้ รวมถึงกองทุนรวมของบริษัทจัดการลงทุนในเครือเข้ามาเสริม แต่ยืนยันว่าไม่ใช่รายได้ที่เน้นให้ความสำคัญมากนัก เพียงแต่ต้องนำมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามคอนเซ็ปต์ One Stop Service หรือเพื่อเพิ่มช่องทางลงทุนในกรณีที่การลงทุนหุ้นผันผวน ให้สามารถโยกเงินลงทุนไปสู่สินทรัพย์อื่นๆเพื่อรับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
สำหรับ ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปีนี้ บริษัทรายได้ 339 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิกว่า 134 ล้านบาท เติบโต 362 % จากงวดเดียวกันปี51ที่มีกำไรสุทธิ 29 ล้านบาทและมีรายได้เพียง 273 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาด (ไม่รวม proprietary trade) เฉลี่ย 10 เดือนแรก อยู่ที่ 2.64 % อยู่ในอันดับที่ 18
" ความสำเร็จของ KS สะท้อนได้จากการสร้างกิจกรรมทางการตลาดโดยยึดเอาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ภายใต้คอนเซปต์ "KS...more" รวมถึงการทำงานในรูปแบบ Partnership ทั้งกับบริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย พันธมิตรทางธุรกิจ และการเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพ ทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถเติบโตติดอันดับ 1 ใน 3 ของโบรกเกอร์ไทย หรือมีมาร์เกตแชร์ 5%ให้ได้ภายใน 3 ปีนี้แน่นอน " นางสาวณัฐรินทร์กล่าว
ทั้งนี้ กรรมการ บล.กสิกรไทย กล่าวว่าการเปิดเสรีค่าคอมฯ น่าจะทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรงมากขึ้น โดยบล.มีแนวโน้มการควบรวมกิจการกันเองถึง40% ซึ่งจะเหลืออยู่เพียง 25 แห่ง จากปัจจุบันที่ 37 บริษัท โดยในที่สุดจะเหลือเฉพาะบล.ขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งมากกว่า 5% บล.ที่มีธนาคารเป็นพันธมิตร และบล.ต่างประเทศ และอาจเกิด Discount broker หรือบล.ที่ไม่เน้นในเรื่องของบทวิเคราะห์ และลดต้นทุนต่างๆ ให้น้อยที่สุด