ประเทศไทยก็เหมือนกับประเทศในเอเชียตะวันออกอีกหลายประเทศที่เศรษฐกิจมีการพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนสูง การที่ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องดังที่เป็นอยู่ ทำให้ไทยและประเทศอื่นๆในเอเชียต้องแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำเพื่อพยุงการส่งออก ในการแทรกแซงค่าเงินนั้นส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมทำให้ปริมาณเงินขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ได้ในอนาคต
การแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในประเทศผ่านกลไก 2 ทางด้วยกันคือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯโดยตรง
การแทรกแซงให้ค่าเงินต่ำทำให้สินค้าออกราคาถูก จึงทำให้เกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด กรณีของไทย หลังจากวิกฤติการเงินในปี 2540/41 ประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปี 2550 (ยกเว้นปี 2548 ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น) เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทสูงขึ้นตามการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องดำเนินการแทรกแซงค่าเงินด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผมคาดว่าจะต้องทำต่อเนื่องต่อไปอีกในปี 2553 เพราะค่าเงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดต่ำลงไปอีก ทำให้เป็นภาระอย่างมากที่ ธปท.ในการแทรกแซงค่าเงิน
การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง และการแทรกแซงค่าเงิน ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศ (รวมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสุทธิ) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 22,963 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2541 เป็นถึง 150,540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2552 โดยเฉพาะใน 10 เดือนแรกของปี 2552 เงินสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มถึง 32,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเป็นภาระอย่างมากที่ ธปท. ต้องเข้าดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าวออกไป โดย ธปท.แถลงว่า จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม ธปท.ได้เข้าไปดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินแล้วทั้งหมดถึง 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งผมคาดว่าบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะดูดซับได้หมด จึงทำให้มีความวิตกกังวลว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินจะนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ในอนาคตอีกไม่นานนี้
เหตุการณ์ของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกก็ไม่ต่างจากไทย ล่าสุดทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ออกมาเตือนในเรื่องนี้ โดยธนาคารโลกได้กล่าวเตือนว่า อาจจะเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และเวียดนาม ขณะที่ IMF เตือนว่า ฮ่องกงอาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนตุลาคมนี้ราคาคอนโดมิเนียมในฮ่องกงพุ่งขึ้นถึงร้อยละ 40 โดยราคาสูงสุดในบริเวณเลขที่ 39 ถนนคอนดิท ซื้อขายกันในราคาสูงเกือบตารางฟุตละ 11,300 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 3.4 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังไม่มีสัญญาณว่าปัญหาฟองสบู่ดังกล่าวจะมีความรุนแรงจนส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน เป็นที่น่าสังเกตว่า ในรายงานของทั้งธนาคารโลกและIMF ไม่มีการกล่าวถึงประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกที่เคยประสบปัญหาวิกฤติการเงินในปี 2540/41 ว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวกับฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์
ผมยังเชื่อว่าไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกที่เคยมีวิกฤติการเงิน ยังไม่เกิดปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยรวมในไทยอาจจะมีภาวะฟองสบู่อยู่บ้างในตลาดคอนโดมิเนียมราคาสูง ทว่าก็เป็นตลาดที่ผู้ซื้อมีกำลังทรัพย์พอที่จะผ่อนได้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นหนี้เสียและนำไปสู่ปัญหาสถาบันการเงินจึงมีน้อยมาก ขณะเดียวกัน แม้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะพุ่งสูงขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอีกเท่าใดนัก และมีการปรับลดลงในบางครั้ง จึงยังไม่น่าจะเกิดปัญหารุนแรงเช่นเดียวกัน
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ประเทศซึ่งเคยเผชิญวิกฤติการเงินในอดีต มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดปัญหาฟองสบู่ในวัฎจักรเศรษฐกิจรอบนี้ ก็เพราะว่ามีการควบคุมและกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์อย่างเข้มงวด ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ก็เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออย่างมาก สภาพคล่องที่เกิดขึ้นจึงยังไม่นำไปสู่เศรษฐกิจฟองสบู่ ในอดีตช่วงทศวรรษ 1980 มีบางประเทศเช่น สิงคโปร์ และจีนไทเป ที่มีสภาพคล่องล้นระบบแต่ไม่เกิดปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ที่รุนแรง ก็เนื่องจากมีการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เข้มงวดนั่นเอง
โดยสรุปแล้ว แม้ว่าการแทรกแซงค่าเงินในปัจจุบันจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินจำนวนมาก ทว่าผมยังเชื่อว่าประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกที่เคยเผชิญวิกฤติการเงินในอดีต ยังไม่เกิดปัญหาฟองสบู่ที่รุนแรงเหมือนประเทศอื่นๆ เพราะการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าปัญหาฟองสบู่จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต เพราะถ้าเราทำเช่นนี้ต่อไปโดยไม่มีกำหนด ก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ได้ ดังนั้นการแทรกแซงค่าเงินควรจะทำในระยะเวลาจำกัด ซึ่งผมคิดว่าอีกระยะหนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางของประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ก็จะค่อยๆปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้นตามกลไกตลาด
bunluasak.p@cimbthai.com
การแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในประเทศผ่านกลไก 2 ทางด้วยกันคือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯโดยตรง
การแทรกแซงให้ค่าเงินต่ำทำให้สินค้าออกราคาถูก จึงทำให้เกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด กรณีของไทย หลังจากวิกฤติการเงินในปี 2540/41 ประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปี 2550 (ยกเว้นปี 2548 ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น) เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทสูงขึ้นตามการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องดำเนินการแทรกแซงค่าเงินด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผมคาดว่าจะต้องทำต่อเนื่องต่อไปอีกในปี 2553 เพราะค่าเงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดต่ำลงไปอีก ทำให้เป็นภาระอย่างมากที่ ธปท.ในการแทรกแซงค่าเงิน
การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง และการแทรกแซงค่าเงิน ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศ (รวมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสุทธิ) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 22,963 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2541 เป็นถึง 150,540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2552 โดยเฉพาะใน 10 เดือนแรกของปี 2552 เงินสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มถึง 32,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเป็นภาระอย่างมากที่ ธปท. ต้องเข้าดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าวออกไป โดย ธปท.แถลงว่า จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม ธปท.ได้เข้าไปดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินแล้วทั้งหมดถึง 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งผมคาดว่าบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะดูดซับได้หมด จึงทำให้มีความวิตกกังวลว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินจะนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ในอนาคตอีกไม่นานนี้
เหตุการณ์ของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกก็ไม่ต่างจากไทย ล่าสุดทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ออกมาเตือนในเรื่องนี้ โดยธนาคารโลกได้กล่าวเตือนว่า อาจจะเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และเวียดนาม ขณะที่ IMF เตือนว่า ฮ่องกงอาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนตุลาคมนี้ราคาคอนโดมิเนียมในฮ่องกงพุ่งขึ้นถึงร้อยละ 40 โดยราคาสูงสุดในบริเวณเลขที่ 39 ถนนคอนดิท ซื้อขายกันในราคาสูงเกือบตารางฟุตละ 11,300 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 3.4 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังไม่มีสัญญาณว่าปัญหาฟองสบู่ดังกล่าวจะมีความรุนแรงจนส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน เป็นที่น่าสังเกตว่า ในรายงานของทั้งธนาคารโลกและIMF ไม่มีการกล่าวถึงประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกที่เคยประสบปัญหาวิกฤติการเงินในปี 2540/41 ว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวกับฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์
ผมยังเชื่อว่าไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกที่เคยมีวิกฤติการเงิน ยังไม่เกิดปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยรวมในไทยอาจจะมีภาวะฟองสบู่อยู่บ้างในตลาดคอนโดมิเนียมราคาสูง ทว่าก็เป็นตลาดที่ผู้ซื้อมีกำลังทรัพย์พอที่จะผ่อนได้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นหนี้เสียและนำไปสู่ปัญหาสถาบันการเงินจึงมีน้อยมาก ขณะเดียวกัน แม้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะพุ่งสูงขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอีกเท่าใดนัก และมีการปรับลดลงในบางครั้ง จึงยังไม่น่าจะเกิดปัญหารุนแรงเช่นเดียวกัน
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ประเทศซึ่งเคยเผชิญวิกฤติการเงินในอดีต มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดปัญหาฟองสบู่ในวัฎจักรเศรษฐกิจรอบนี้ ก็เพราะว่ามีการควบคุมและกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์อย่างเข้มงวด ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ก็เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออย่างมาก สภาพคล่องที่เกิดขึ้นจึงยังไม่นำไปสู่เศรษฐกิจฟองสบู่ ในอดีตช่วงทศวรรษ 1980 มีบางประเทศเช่น สิงคโปร์ และจีนไทเป ที่มีสภาพคล่องล้นระบบแต่ไม่เกิดปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ที่รุนแรง ก็เนื่องจากมีการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เข้มงวดนั่นเอง
โดยสรุปแล้ว แม้ว่าการแทรกแซงค่าเงินในปัจจุบันจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินจำนวนมาก ทว่าผมยังเชื่อว่าประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกที่เคยเผชิญวิกฤติการเงินในอดีต ยังไม่เกิดปัญหาฟองสบู่ที่รุนแรงเหมือนประเทศอื่นๆ เพราะการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าปัญหาฟองสบู่จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต เพราะถ้าเราทำเช่นนี้ต่อไปโดยไม่มีกำหนด ก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ได้ ดังนั้นการแทรกแซงค่าเงินควรจะทำในระยะเวลาจำกัด ซึ่งผมคิดว่าอีกระยะหนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางของประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ก็จะค่อยๆปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้นตามกลไกตลาด
bunluasak.p@cimbthai.com