นายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ท.) แถลงว่าการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตรวจสอบพบข้าราชการใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลโดยมีการเบิกจ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และผิดปกติว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ของข้าราชการ มาเป็นระบบเบิกจ่ายตรง ด้วยการให้ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ไปรับการรักษา แล้วให้โรงพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บจากกรมบัญชีกลาง พบว่า มีการเบิกจ่ายงบประมาณค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นปีละ 15-20 % คิดเป็นเงิน ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งที่จำนวนข้าราชการลดลง จากการเออรี่รีไทร์ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จำเป็นต้องเข้ามาตรวจสอบ เพื่อป้องปรามไม่ให้มีการกระทำความผิดขยายเป็นวงกว้างขึ้น เพราะส่งผลกระทบกับข้าราชการที่บริสุทธิ์ ง
นายภิญโญ กล่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้เข้าไปตรวจสอบรายละเอียดในแต่ละคดี พบว่า ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นข้าราชการ และข้าราชการบำนาญมีพฤติกรรมคล้ายการเบิกเวียน เพื่อให้ได้ยารักษาโรคจำนวนมาก และเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ซึ่งต้องใช้ยารักษาโรคราคาแพง โดยคนหนึ่งจะเวียนไปเข้ารับการรักษาและยาจากหลายโรงพยาบาลเช่น โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โรงพยาบาลพระมงกุฎ โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ พบว่า เป็นข้าราชการทหาร บางรายเบิกค่ารักษาพยาบาลปีละ 1-2 ล้านบาท ขณะที่บางรายเบิก 6-8 แสนบาทต่อปี และเบิกมากถึง 20 ครั้งต่อปี โดยการเบิกจำนวนยาดังกล่าว จากการสอบถามแพทย์ พบว่า มีปริมาณมากเกินกว่าความจำเป็น
ด้าน พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ ผอ.สำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 2 กล่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปพบกับแพทย์ และเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง เพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า ปริมาณยาที่ผู้ป่วยเบิกไป หากผู้ป่วยรับประทานทั้งหมดจะต้องเสียชีวิตแน่นอน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ได้วางแนวทางการสืบสวน โดยตั้งข้อสันนิษฐานไว้หลายประเด็น อาทิ อาจจะมีการทุจริตแบบเป็นขบวนการ โดยร่วมกับบริษัทยา เป็นการเบิกเท็จ ของเจ้าหน้าที่ เพื่อนำยาไปจำหน่ายภายนอก หรือนำยาไปแจกให้กับบุคคลอื่นที่ป่วยเป็นโรคเดียวกัน
นายภิญโญ กล่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้เข้าไปตรวจสอบรายละเอียดในแต่ละคดี พบว่า ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นข้าราชการ และข้าราชการบำนาญมีพฤติกรรมคล้ายการเบิกเวียน เพื่อให้ได้ยารักษาโรคจำนวนมาก และเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ซึ่งต้องใช้ยารักษาโรคราคาแพง โดยคนหนึ่งจะเวียนไปเข้ารับการรักษาและยาจากหลายโรงพยาบาลเช่น โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โรงพยาบาลพระมงกุฎ โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ พบว่า เป็นข้าราชการทหาร บางรายเบิกค่ารักษาพยาบาลปีละ 1-2 ล้านบาท ขณะที่บางรายเบิก 6-8 แสนบาทต่อปี และเบิกมากถึง 20 ครั้งต่อปี โดยการเบิกจำนวนยาดังกล่าว จากการสอบถามแพทย์ พบว่า มีปริมาณมากเกินกว่าความจำเป็น
ด้าน พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ ผอ.สำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 2 กล่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปพบกับแพทย์ และเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง เพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า ปริมาณยาที่ผู้ป่วยเบิกไป หากผู้ป่วยรับประทานทั้งหมดจะต้องเสียชีวิตแน่นอน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ได้วางแนวทางการสืบสวน โดยตั้งข้อสันนิษฐานไว้หลายประเด็น อาทิ อาจจะมีการทุจริตแบบเป็นขบวนการ โดยร่วมกับบริษัทยา เป็นการเบิกเท็จ ของเจ้าหน้าที่ เพื่อนำยาไปจำหน่ายภายนอก หรือนำยาไปแจกให้กับบุคคลอื่นที่ป่วยเป็นโรคเดียวกัน