นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงว่า ที่ประชุม กกต.มีมติขยายเวลาการสอบสวนกรณี นายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์และเครือข่าย และนายเรือง ไกรลีกิจวัฒนะ ส.ว. สรรหา ขอให้ตรวจสอบและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงตามมาตรา 182 (7) ตามรัฐธรรมนูญ ในประเด็นนายอภสิทธิ์ เรียก พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน คดีลอบยิงนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้าพบหลายครั้ง
และประเด็น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ในขณะนั้น มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผกก.6 กองบังคับการตำรวจน้ำ ที่พล.ต.อ.ธานี เรียกให้มาร่วมชุดสอบสวนให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ที่ จ. สุราษฎร์ธานี ว่าการดำเนินการทั้ง 2 ประเด็นเข้าข่ายแทรกแซงการปฎิบัติหน้าที่ของจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ เนื่องจาก กกต. เห็นว่าตามรายงานของคณะกรรมการไต่สวนนั้นยังไม่ได้เชิญผู้ถูกกล่าวหาคือ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพมาชี้แจง ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูล ประกอบการพิจารณา และเป็นการให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายจึงให้คณะกรรมการไต่สวนแจ้งเหตุแห่งการร้องเรียนให้บุคคลทั้ง 2 ทราบเพื่อมาชี้แจง หรือส่งคำชี้แจง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ที่ประชุม กกต. ได้พิจารณารายงานผลการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการไต่สวน กรณี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร้องขอให้ กกต. ตรวจสอบ การรับเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ จากบริษัท ทีพีไอโพลีนจำกัด (มหาชน) และ การใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ โดยมีมติให้ประธาน กกต. อาศัยอำนาจตาม มาตรา 26 (3) ของ พ.ร.บ. กกต. ทำหนังสือเรียกนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารบริษัท ทีพีไอฯ มาให้ถ้อยคำ พร้อมเรียกเอกสารประกอบหลายรายการ อาทิ รายงานทางบัญชีของบริษัท ทีพีไอ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ทีพีไอ สัญญาโครงการว่าจ้างบริษัทในการทำประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา
ส่วนเหตุที่ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. กกต. เรียกนายประชัยมาให้ถ้อยคำ เนื่องจากคณะกรรมการไต่สวนฯ ได้เคยมีหนังสือเชิญนายประชัยมาชี้แจง ซึ่งนายประชัยก็เคยมีหนังสือชี้แจงกลับมาในครั้งแรกระบุว่าให้ถือเอาการให้ถ้อยคำ ของนาย ไวพจน์ คตบัว ผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหลักฐาน พร้อมกับระบุว่าหากประธาน กกต. ยังเห็นว่า จำเป็นที่ตนต้องมาให้ถ้อยคำก็พร้อม โดยขอเลื่อนการเข้าให้ถ้อยคำเป็นเดือน พ.ย.
ซึ่ง กรรมการไต่สวนก็มีหนังสือถึงนายประชัยอีกครั้งโดยระบุว่า ขอให้มาให้ถ้อยคำด้วยตนเองในวันที่ 27 ต.ค. แต่นายประชัยมีหนังสือกลับมาในวันที่ 19 ต.ค. ระบุว่าช่วงดังกล่าวไม่สามารถมาให้ถ้อยคำได้ เพราะติดภารกิจไปต่างประเทศ จึงส่งผลให้คณะกรรมการไต่สวนฯใช้อำนาจตามข้อ 56 ของระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาด ที่กำหนดให้สามารถตัดพยานหลักฐานดังกล่าวออกได้หากเป็นกรณีล่าช้าเกินความจำเป็น และสรุปผลการสอบสวน
อย่างไรก็ตามเมื่อเลขานุการคณะกรรมการไต่สวนฯ ได้รายงานให้ กกต. ทราบ กกต. เห็นว่า นายประชัยก็ยินดีที่จะมาให้ถ้อยคำ โดยระบุว่าพร้อมที่จะมาภายในเดือน พ.ย. ประกอบกับนายพิชา วิจิตรศิลป์ ได้ยื่นคัดค้านกระบวนการสืบสวนสอบสวนว่า หาก กกต. ตัดพยานในส่วนของนายประชัยออกจะทำให้เกิดผลได้ผลเสียต่อการวินิจฉัย กกต.จึงเห็นว่าเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการพิจารณาจึงมีมติดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการไต่สวนดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 30 วัน ซึ่งหนังสือที่ส่งถึงนายประชัยจะส่งทางไปรษณีย์ หากนายประชัยไม่มาให้การจะมีโทษตามมาตรา 44 ของ พ.ร.บ. กกต. คือระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนที่ กกต.ไม่ใช้อำนาจตาม มาตรา 26 วรรคสามเรียกนายประชัย มาให้ปากคำตั้งแต่แรกนั้น นายสุทธิพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการไตร่สวน ไม่ได้ระบุความเห็นที่ชัดเจนว่าจะให้ กกต. ทำอย่างไรทุกครั้งที่มีการรายงานจะบอกแต่เพียงว่ามีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ ขณะนี้ กกต. เห็นว่าการร้องคัดค้านกระบวนการสืบสวนสอบสวนประกอบกับการจะใช้มาตราดังกล่าวต้องเป็นการใช้ในกรณีจำเป็น ซึ่งในการพิจารณาการสอบสวนครั้งนี้ กกต. เห็นว่า แม้จะมีคำให้การของนายไวพจน์ ที่นายประชัยระบุให้ กกต. ยึดถือ แต่ก็มีหลายประเด็นของการสืบสวนที่ไม่อาจตอบประเด็นที่ กกต.สงสัยได้ โดยที่ประชุม กกต. ได้ยกตัวอย่างประเด็นต่างๆ ที่ นายประชัยควรมาตอบเอง แต่ตนไม่สามารถนำมาเปิดเผยได้ เพราะอาจมีผลต่อรูปคดี อีกทั้งความเห็นของคณะกรรมการไต่สวน ก็มีเสียงข้างมาก ข้างน้อย กกต. จึงเห็นว่าเพื่อให้การสอบสวนสิ้นกระแสความจึงต้องให้นายประชัยมาชี้แจง
นายสุทธิพล ยืนยันว่า กกต.ไม่ได้ซื้อเวลาเพื่อหวังผลใดๆ เพราะจากข้อมูลที่ เลขานุการของคณะกรรมการไต่สวนชี้แจงพบว่ายังมีพยานหลักฐานและเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการไต่สวนไม่เคยเรียกนำมาประกอบใช้ในการพิจารณา มาก่อน ทาง กกต. จึงเห็นว่ากรณีนี้ต้องใช้ดุลพินิจให้รอบคอบจำเป็นต้องรอเอกสารและการให้ปากคำของนายประชัยก่อน
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมากดดัน กกต.เรื่องยุบพรรค ประชาธิปัตย์ โดยขู่จะเอา กฎหมายอาญา มาตรา 157 มาดำเนินการกับ กกต.นั้น อยากเรียนว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่ได้อยู่ที่กล้าหรือไม่กล้า แต่อยู่ที่ว่า ผิดหรือไม่ผิด ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิดก็ไม่มีเหตุผลที่จะมายุบพรรค แต่ถ้าผิดจริง ก็ไม่มีเหตุผลที่จะยกเว้น กกต.ต้องปฏิบัติออย่างเคร่งครัด ไม่อยากให้กระแสพรรคเพื่อไทยมาทำลายมาตรฐานความยุติธรรมของ กกต.
ส่วนที่บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบเพราะมียันต์กันเหนียวนั้น นายเทพไท กล่าวว่า พรรคไม่มียันต์กันเหนียว แต่เกราะที่จะป้องันไม่ให้ถูกยุบคือ ความถูกต้องชอบธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ที่ทำให้พรรคยืนอยู่ทุกวันนี้จะมาอ้างเรื่อง มาตรฐาน 4 พรรคที่ถูกยุบมาเทียบเคียงกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะทั้ง 4 พรรคที่ถูกยุบเพราะทุจริตการเลือกตั้ง และมีหลักฐานปรากฎชัด ศาลพิจาณาตัดสินจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญ จึงไม่ควรมาสร้างกระแส กดดันให้สังคมเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์รอดมาได้เพราะการช่วยเหลือจาก กกต. แต่อยากให้สังคมเข้าใจว่า พรรครอดมาได้เพราะความซื่อสัตย์ที่สุด
และประเด็น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ในขณะนั้น มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผกก.6 กองบังคับการตำรวจน้ำ ที่พล.ต.อ.ธานี เรียกให้มาร่วมชุดสอบสวนให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ที่ จ. สุราษฎร์ธานี ว่าการดำเนินการทั้ง 2 ประเด็นเข้าข่ายแทรกแซงการปฎิบัติหน้าที่ของจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ เนื่องจาก กกต. เห็นว่าตามรายงานของคณะกรรมการไต่สวนนั้นยังไม่ได้เชิญผู้ถูกกล่าวหาคือ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพมาชี้แจง ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูล ประกอบการพิจารณา และเป็นการให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายจึงให้คณะกรรมการไต่สวนแจ้งเหตุแห่งการร้องเรียนให้บุคคลทั้ง 2 ทราบเพื่อมาชี้แจง หรือส่งคำชี้แจง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ที่ประชุม กกต. ได้พิจารณารายงานผลการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการไต่สวน กรณี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร้องขอให้ กกต. ตรวจสอบ การรับเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ จากบริษัท ทีพีไอโพลีนจำกัด (มหาชน) และ การใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ โดยมีมติให้ประธาน กกต. อาศัยอำนาจตาม มาตรา 26 (3) ของ พ.ร.บ. กกต. ทำหนังสือเรียกนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารบริษัท ทีพีไอฯ มาให้ถ้อยคำ พร้อมเรียกเอกสารประกอบหลายรายการ อาทิ รายงานทางบัญชีของบริษัท ทีพีไอ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ทีพีไอ สัญญาโครงการว่าจ้างบริษัทในการทำประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา
ส่วนเหตุที่ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. กกต. เรียกนายประชัยมาให้ถ้อยคำ เนื่องจากคณะกรรมการไต่สวนฯ ได้เคยมีหนังสือเชิญนายประชัยมาชี้แจง ซึ่งนายประชัยก็เคยมีหนังสือชี้แจงกลับมาในครั้งแรกระบุว่าให้ถือเอาการให้ถ้อยคำ ของนาย ไวพจน์ คตบัว ผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหลักฐาน พร้อมกับระบุว่าหากประธาน กกต. ยังเห็นว่า จำเป็นที่ตนต้องมาให้ถ้อยคำก็พร้อม โดยขอเลื่อนการเข้าให้ถ้อยคำเป็นเดือน พ.ย.
ซึ่ง กรรมการไต่สวนก็มีหนังสือถึงนายประชัยอีกครั้งโดยระบุว่า ขอให้มาให้ถ้อยคำด้วยตนเองในวันที่ 27 ต.ค. แต่นายประชัยมีหนังสือกลับมาในวันที่ 19 ต.ค. ระบุว่าช่วงดังกล่าวไม่สามารถมาให้ถ้อยคำได้ เพราะติดภารกิจไปต่างประเทศ จึงส่งผลให้คณะกรรมการไต่สวนฯใช้อำนาจตามข้อ 56 ของระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาด ที่กำหนดให้สามารถตัดพยานหลักฐานดังกล่าวออกได้หากเป็นกรณีล่าช้าเกินความจำเป็น และสรุปผลการสอบสวน
อย่างไรก็ตามเมื่อเลขานุการคณะกรรมการไต่สวนฯ ได้รายงานให้ กกต. ทราบ กกต. เห็นว่า นายประชัยก็ยินดีที่จะมาให้ถ้อยคำ โดยระบุว่าพร้อมที่จะมาภายในเดือน พ.ย. ประกอบกับนายพิชา วิจิตรศิลป์ ได้ยื่นคัดค้านกระบวนการสืบสวนสอบสวนว่า หาก กกต. ตัดพยานในส่วนของนายประชัยออกจะทำให้เกิดผลได้ผลเสียต่อการวินิจฉัย กกต.จึงเห็นว่าเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการพิจารณาจึงมีมติดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการไต่สวนดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 30 วัน ซึ่งหนังสือที่ส่งถึงนายประชัยจะส่งทางไปรษณีย์ หากนายประชัยไม่มาให้การจะมีโทษตามมาตรา 44 ของ พ.ร.บ. กกต. คือระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนที่ กกต.ไม่ใช้อำนาจตาม มาตรา 26 วรรคสามเรียกนายประชัย มาให้ปากคำตั้งแต่แรกนั้น นายสุทธิพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการไตร่สวน ไม่ได้ระบุความเห็นที่ชัดเจนว่าจะให้ กกต. ทำอย่างไรทุกครั้งที่มีการรายงานจะบอกแต่เพียงว่ามีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ ขณะนี้ กกต. เห็นว่าการร้องคัดค้านกระบวนการสืบสวนสอบสวนประกอบกับการจะใช้มาตราดังกล่าวต้องเป็นการใช้ในกรณีจำเป็น ซึ่งในการพิจารณาการสอบสวนครั้งนี้ กกต. เห็นว่า แม้จะมีคำให้การของนายไวพจน์ ที่นายประชัยระบุให้ กกต. ยึดถือ แต่ก็มีหลายประเด็นของการสืบสวนที่ไม่อาจตอบประเด็นที่ กกต.สงสัยได้ โดยที่ประชุม กกต. ได้ยกตัวอย่างประเด็นต่างๆ ที่ นายประชัยควรมาตอบเอง แต่ตนไม่สามารถนำมาเปิดเผยได้ เพราะอาจมีผลต่อรูปคดี อีกทั้งความเห็นของคณะกรรมการไต่สวน ก็มีเสียงข้างมาก ข้างน้อย กกต. จึงเห็นว่าเพื่อให้การสอบสวนสิ้นกระแสความจึงต้องให้นายประชัยมาชี้แจง
นายสุทธิพล ยืนยันว่า กกต.ไม่ได้ซื้อเวลาเพื่อหวังผลใดๆ เพราะจากข้อมูลที่ เลขานุการของคณะกรรมการไต่สวนชี้แจงพบว่ายังมีพยานหลักฐานและเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการไต่สวนไม่เคยเรียกนำมาประกอบใช้ในการพิจารณา มาก่อน ทาง กกต. จึงเห็นว่ากรณีนี้ต้องใช้ดุลพินิจให้รอบคอบจำเป็นต้องรอเอกสารและการให้ปากคำของนายประชัยก่อน
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมากดดัน กกต.เรื่องยุบพรรค ประชาธิปัตย์ โดยขู่จะเอา กฎหมายอาญา มาตรา 157 มาดำเนินการกับ กกต.นั้น อยากเรียนว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่ได้อยู่ที่กล้าหรือไม่กล้า แต่อยู่ที่ว่า ผิดหรือไม่ผิด ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิดก็ไม่มีเหตุผลที่จะมายุบพรรค แต่ถ้าผิดจริง ก็ไม่มีเหตุผลที่จะยกเว้น กกต.ต้องปฏิบัติออย่างเคร่งครัด ไม่อยากให้กระแสพรรคเพื่อไทยมาทำลายมาตรฐานความยุติธรรมของ กกต.
ส่วนที่บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบเพราะมียันต์กันเหนียวนั้น นายเทพไท กล่าวว่า พรรคไม่มียันต์กันเหนียว แต่เกราะที่จะป้องันไม่ให้ถูกยุบคือ ความถูกต้องชอบธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ที่ทำให้พรรคยืนอยู่ทุกวันนี้จะมาอ้างเรื่อง มาตรฐาน 4 พรรคที่ถูกยุบมาเทียบเคียงกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะทั้ง 4 พรรคที่ถูกยุบเพราะทุจริตการเลือกตั้ง และมีหลักฐานปรากฎชัด ศาลพิจาณาตัดสินจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญ จึงไม่ควรมาสร้างกระแส กดดันให้สังคมเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์รอดมาได้เพราะการช่วยเหลือจาก กกต. แต่อยากให้สังคมเข้าใจว่า พรรครอดมาได้เพราะความซื่อสัตย์ที่สุด